“ชัยวุฒิ”เสนอ อาเซียนตั้งองค์กรร่วมมือปราบอาชญากรรมออนไลน์

Loading

  “ดีอีเอส” ร่วมเปิดเวทีประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัล ครั้งที่ 3 เสนอสมาชิกอาเซียน เร่งจัดตั้งหน่วยงานข้ามชาติ เเก้ปัญหา Call Center ลดภัยคุกคามผ่านสื่อออนไลน์   วันนี้ (9 ก.พ.) นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เป็นผู้แทนประเทศไทย เข้าร่วมประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิทัลครั้งที่ 3 ณ เกาะโบราไคย์ ประเทศฟิลิปปินส์ พร้อมด้วย ศาสตราจารย์พิเศษ วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดีอีเอส และนายตุลย์ ไตรโสรัส เอกอัครราชทูต ณ กรุงมะนิลา เข้าร่วมประชุมด้วย     นายชัยวุฒิ กล่าวว่า การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัลในครั้งนี้ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกันในด้านดิจิทัลของกลุ่มประเทศ 10 ประเทศ โดยการนำเทคโนโลยีการสื่อสารไอซีทีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เป็นการนำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นมาใช้อย่างเต็มรูปแบบ   นอกจากนี้ ประเทศไทย ได้เสนอต่อที่ประชุมอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ให้จัดตั้งองค์กรหรือหน่วยงาน เพื่อกำกับดูแลและทำความร่วมมือระหว่างกันในการปราบปรามอาชญากรรมออนไลน์ หรือ การหลอกลวงออนไลน์…

อินเดียพิจารณาแบนเนื้อหาออนไลน์ ที่รัฐบาลถือเป็น “ข่าวปลอม”

Loading

    รัฐบาลอินเดียจะไม่อนุญาตให้แพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์แสดงข้อมูลใด ๆ ที่ถูกระบุว่าเป็น “ข้อมูลเท็จ” ตามข้อเสนอร่างกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) ของประเทศ ที่เผยแพร่ในสัปดาห์นี้   สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานจากกรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย เมื่อวันที่ 19 ม.ค. ว่า ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นมาตรการล่าสุดของรัฐบาลนิวเดลี ของนายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี ผู้นำอินเดีย ซึ่งถูกมองว่าเป็นความพยายามที่จะควบคุมบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยี   ข้อมูลใด ๆ ที่ถูกระบุ “ปลอมหรือเท็จ” โดยสำนักประชาสัมพันธ์ (พีไอบี) หรือหน่วยงานอื่นใดที่ได้รับอนุญาตในการตรวจสอบข้อเท็จจริงจากรัฐบาล หรือจาก “หน่วยงานที่มีการทำธุรกรรมดังกล่าว” จะถูกห้ามเผยแพร่ภายใต้ร่างกฎหมายใหม่นี้   เมื่อข้อมูลถูกระบุว่าปลอมหรือเท็จ แพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ หรือ “ตัวกลางทางออนไลน์อื่น ๆ” จะต้อง “ใช้ความพยายามตามสมควร” เพื่อทำให้มั่นใจว่า ผู้ใช้งานจะไม่จัด, แสดง, อัปโหลด, ดัดแปลง, เผยแพร่, ส่งต่อ, จัดเก็บ, อัปเดต หรือแชร์ข้อมูลนั้น ๆ   India…

ตำรวจเตือนพ่อแม่ยุคใหม่ “Sharenting” โพสต์ข้อมูลส่วนตัวลูก เสี่ยงตกเป็นเหยื่อภัยไซเบอร์

Loading

  MGROnline – ตำรวจไซเบอร์ ฝากเตือนภัยพฤติกรรม “Sharenting” ของผู้ปกครองโพสต์ข้อมูลส่วนตัวบุตรหลานในความปกครองเสี่ยงเปิดโอกาสผู้ไม่หวังดี   วันนี้ (7 ม.ค.) พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) ขอประชาสัมพันธ์เตือนภัยพฤติกรรม Sharenting พ่อแม่โพสต์ข้อมูลส่วนตัวเด็กเสี่ยงเปิดโอกาสผู้ไม่หวังดี ดังนี้   Sharenting เกิดจากการผสมคำว่า share + parenting ใช้เรียกพฤติกรรมของพ่อแม่ที่แชร์ภาพ วิดีโอ รวมถึงข้อมูลส่วนตัวของลูกมากเกินไป   จริงอยู่ที่พ่อแม่ ผู้ปกครองไม่ได้มีเจตนาร้าย ส่วนใหญ่เป็นการโพสต์รูปลูกด้วยความรักใคร่ เอ็นดู และอยากจะส่งต่อความน่ารักนี้ให้คนอื่นได้เห็น แต่ในอีกด้านหนึ่งอาจส่งผลกระทบต่อตัวบุตรหลานในอนาคตได้ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยในชีวิตประจำวัน   เปิดโอกาสให้มิจฉาชีพ หรือผู้ไม่หวังดีเข้าถึงตัวบุตรหลานได้ง่าย จากกิจกรรมที่ผู้ปกครองโพสต์ไว้ในสื่อโซเชียลมีเดีย เช่น การขโมยตัวตน (Identity Theft) สวมรอยเหยื่อนำข้อมูลส่วนตัวไปกระทำผิดกฎหมาย หรือนำภาพเด็กไปสร้างเรื่องราวขอรับเงินบริจาคต่าง ๆ ปัญหาเรื่องล่วงละเมิดทางเพศเด็ก การนำภาพเด็กไปขายในเว็บมืด (Dark web) หรือนำไปเพื่อใช้ตอบสนองทางเพศของกลุ่มคนที่มีอาการใคร่เด็ก (Pedophile)…

“ชัยวุฒิ” หารือ กสทช.ศึกษาแนวทางแก้ ก.ม.กำกับดูแลบริการโอทีที

Loading

  รมว.ดีอีเอส พบ กรรมการ กสทช.หยิบยก เรื่องกำกับดูแล “โอทีที” หารือ ชี้ เทคโนโลยีเปลี่ยน ก.ม.เดิม อาจไม่มีประสิทธิภาพดูแลได้ 100% ศึกษาแนวทางแก้ ก.ม. และประสานการทำงานร่วมกันให้มากยิ่งขึ้น   วันนี้ (3 ม.ค.) นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอีเอส เปิดเผยว่า วันนี้ได้หารือกับทาง คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ถึงการกำกับดูแลบริการการให้บริการเนื้อหา ภาพยนต์ รายการโทรทัศน์ ผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ต หรือ โอทีที ที่ปัจจุบันได้รับความนิยมมากขึ้น โดยทางดีอีเอส มีกฎหมายที่เกี่ยวข้อง คือ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ที่ใช้ดูแลแพลตฟอร์ม และ คอนเทนต์ต่าง ๆ ส่วนทาง กสทช.ก็จะกำกับดูแลผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต และผู้ให้บริการมือถือ ซึ่งต้องมีการประสานการทำงานร่วมกันในเรื่องกำกับดูแลในเรื่องนี้   “ที่ผ่านมาก็มีการตั้งคณะทำงานร่วมกันอยู่แล้ว แต่ปัจจุบันคนดูทีวีภาคพื้นดิน หรือ ทีวีดิจิทัลน้อยลง…

เดือน ธ.ค .”ดีอีเอส” ปิดเว็บผิด ก.ม.ตามคำสั่งศาล 728 URLs

Loading

  ดีอีเอส เผย ธ.ค. 65 ขอคำสั่งศาลระงับเว็บผิดกฎหมาย 728 URL ชี้ข่าวปลอมในโซเชียลสร้างความสับสน ตื่นตระหนกแก่ประชาชน ขอให้ตรวจสอบก่อนเชื่อและแชร์ ระวังทำผิด ก.ม.   น.ส.นพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฝ่ายการเมือง (ดีอีเอส) เปิดเผยว่า จากที่กระทรวงดีอีเอส ได้ติดตามเรื่องคดีที่ผิดกฎหมายออนไลน์ รวมทั้งผลดำเนินการปิดกั้นเว็บไซต์ผิดกฎหมาย ซึ่งทางกระทรวงดีอีเอส ได้ดำเนินการยื่นขอศาลปิดกั้นเว็บไซด์ผิดกฎหมายในเดือนธันวาคม 2565 พบว่า ศาลมีคำสั่งระงับการทำให้แพร่หลายแล้ว รวม 728 URLs แบ่งเป็น – กรณีหมิ่นสถาบันฯ 534 URLs – พนันออนไลน์ 139 URLs – ลามกอนาจาร 52 URLs – ความผิดตามกฎหมายอาญาอื่น 3 URLs   ขณะนี้พบว่ามีการโพสต์ข้อความอันเป็นเท็จที่สร้างความตื่นตระหนก สร้างความสับสนให้กับประชาชน โดยกระทรวงได้เร่งติดตามมอนิเตอร์สถานการณ์ทุกวัน เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบแล้วว่าเข้าข่ายกระทำความผิด ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.…

‘Twitter’ เผยระบบเจอมือดี ‘แฮ็ก’ ข้อมูลบัญชีสมาชิกรั่วครั้งใหญ่ พบบัญชีคนดังเป็นเหยื่อเพียบ

Loading

  Hudson Rock ซึ่งเป็นบริษัทข่าวกรองไซเบอร์ของอิสราเอล รายงานว่า Twitter สื่อสังคมออนไลน์ยอดนิยมอาจโดนมือดีลักลอบเจาะเข้าระบบทำให้บัญชีข้อมูลสมาชิกเกิดการรั่วครั้งใหญ่ โดยแฮ็กเกอร์รายหนึ่งอ้างว่าได้ขโมยข้อมูลของผู้ใช้ Twitter กว่า 40 ล้านคน และนำไปขายบนเว็บมืด แถมยังโพสต์ระบุว่าบัญชีที่นำไปขายดังกล่าวยังไม่ใช่บัญชีทั้งหมดที่แฮกมาได้   สำหรับบัญชี Twitter ที่ถูกขโมยข้อมูลไปครั้งนี้ มีคนดังอย่าง ซันดาร์ พิชัย ซีอีโอของ Google กระทรวงข้อมูลและการแพร่ภาพกระจายเสียงแห่งอินเดีย และนักแสดงบอลลีวูดอย่าง ซัลมาน ข่าน รวมอยู่ด้วย   นอกจากนั้น ยังมี SpaceX ของ อีลอน มัสก์ ฝ่ายสื่อสารสังคมออนไลน์ของ World Health Organisation (WHO), ศิลปินอย่าง Charlie Puth, Shawn Mendes, Alexandria Ocasio-Cortez สื่ออย่าง CBS Media หรือกระทั่งคนดังอย่าง อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ Donald Trump Jr.…