“เอ็กซ์” จ่อเก็บข้อมูลอัตลักษณ์บุคคล, ประวัติการทำงาน และการศึกษาของผู้ใช้งาน

Loading

  สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า “เอ็กซ์” (X) หรือชื่อเดิมทวิตเตอร์ ได้ปรับปรุงนโยบายความเป็นส่วนตัวเพื่อเก็บข้อมูลผู้ใช้งานประเภทใหม่ ได้แก่ ข้อมูลอัตลักษณ์บุคคลที่ใช้พิสูจน์ตัวตนบุคคล   เอ็กซ์ระบุในนโยบายที่ปรับปรุงใหม่ว่า “เมื่อได้รับความยินยอมจากผู้ใช้งาน เราอาจเก็บรวบรวมและใช้ข้อมูลอัตลักษณ์บุคคลของคุณเพื่อวัตถุประสงค์ด้านความปลอดภัย ความมั่นคง และการระบุตัวตน” แม้เอ็กซ์ไม่ได้ให้คำจำกัดความที่ชัดเจนเกี่ยวกับข้อมูลอัตลักษณ์บุคคล แต่บริษัทอื่นมักใช้คำดังนี้เพื่ออธิบายถึงข้อมูลที่ดึงมาจากลักษณะใบหน้า ดวงตา และลายนิ้วมือของแต่ละบุคคล   นอกจากนี้ เอ็กซ์กล่าวเสริมว่า บริษัทยังมีความตั้งใจที่จะรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพและประวัติการศึกษาของผู้ใช้งานด้วยเช่นกัน   นโยบายความเป็นส่วนตัวที่ปรับปรุงใหม่ระบุว่า “เราอาจเก็บและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของคุณ เช่น ประวัติการทำงาน ประวัติการศึกษา งานที่ชอบ ทักษะและความสามารถ กิจกรรมการค้นหางานและการมีส่วนร่วม และอื่น ๆ เพื่อแนะนำงานที่เหมาะสำหรับคุณ ตลอดจนแบ่งปันข้อมูลกับผู้ที่อาจมาเป็นนายจ้างของคุณ เพื่อที่นายจ้างจะสามารถค้นหาผู้สมัครงานที่มีศักยภาพ และเพื่อแสดงโฆษณาที่เกี่ยวข้องแก่คุณมากขึ้น”   ทั้งนี้ บรรดาบริษัทโซเชียลมีเดียต่างถูกวิพากษ์วิจารณ์จากผู้ใช้งานและหน่วยงานกำกับดูแลกฎระเบียบทั่วโลกเกี่ยวกับการเก็บข้อมูลและวิธีการที่นำข้อมูลไปใช้ รวมถึงการขายโฆษณาที่มีการปรับให้เหมาะกับความสนใจของบุคคลและประวัติการค้นหา       ——————————————————————————————————————————————————– ที่มา :                 …

Meta ประกาศลบบัญชี IO จีน ออกจากเฟซบุ๊ก 7,700 บัญชี พบกระจายตัวกว่า 50 แพลตฟอร์ม

Loading

  บริษัทแม่ของเฟซบุ๊กจัดการปฏิบัติการ IO ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยพบมา มีพฤติกรรมอวยจีน-ด่าตะวันตก พบเชื่อมโยงกับผู้บังคับใช้กฎหมายในจีน   รายงานด้านความปลอดภัยประจำไตรมาสที่ 2 ของ Meta เจ้าของเฟซบุ๊กและอินสตาแกรม เผยว่า ได้มีการตรวจพบปฏิบัติการข่าวสาร หรือ ไอโอ (IO) ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยพบมา และได้ทำการลบบัญชีปลอมบนเฟซบุ๊กไปราว 7,700 บัญชี และบัญชีปลอมบนอินสตาแกรมอีก 15 บัญชี   สำหรับพฤติกรรมของบัญชีเหล่านี้ จะมีเนื้อหาเชิงบวกต่อจีนและเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ มีการวิพากษ์วิจารณ์การนโยบายด้านการต่างประเทศของสหรัฐฯ และชาติตะวันตก อีกทั้งยังโจมตีผู้วิจารณ์รัฐบาลจีน รวมไปถึงสื่อมวลชนและนักวิชาการ   ปฏิบัติการโฆษณาชวนเชื่อของจีนในลักษณะนี้ ได้รับการตั้งชื่อว่า สแปมมูฟลาจ (Spamouflage) ที่บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่หลายแห่งพยายามจัดการมาตั้งแต่ปี 2019 โดยเครือข่ายนี้มีการเล็งเป้าไปยังหลายพื้นที่ เช่น ไต้หวัน สหรัฐฯ ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น และประชากรที่ใช้ภาษาจีนทั่วโลก   Meta ยังพบว่าปฏิบัติการดังกล่าวกระจายตัวไปกว่า 50 แพลตฟอร์ม ทั้งแพลตฟอร์มหลักอย่าง Facebook, Instagram, TikTok,…

ดุดันไม่เกรงใจใคร! “ดีอีเอส” ขีดเส้น 1 เดือนจ่อปิด Facebook

Loading

  “ชัยวุฒิ” สับแหลก เฟซบุ๊ก รับเงินเพจปลอมเป็นสปอนเซอร์ยิงแอดโฆษณาหลอกลวงประชาชนถือเป็นรายได้เข้าบริษัท แต่กลับไม่มีการตรวจสอบและสกรีน แม้ที่ผ่านมา ดีอีเอส จะรวบรวมเสนอศาลขอคำสั่งปิด แต่เพจเหล่านี้ก็จะไปเปิดใหม่ เหมือนแมวไล่จับหนู ไม่จบสิ้น”   นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เปิดเผยว่า ดีอีเอส จะดำเนินการฟ้องต่อศาล เพื่อขอคำสั่งปิดกั้นแพลตฟอร์ม เฟซบุ๊ก ไม่ให้บริการในไทย หลังจากที่ผ่านมา เฟซบุ๊ก ได้มีการรับเงินโฆษณาจากเพจปลอมเพื่อเป็นสปอนเซอร์ที่หลอกชักชวนลงทุน จนเกิดความเสียหายต่อคนไทยจำนวนมาก โดยมีมูลค่ากว่า 1 แสนล้านบาท โดยจากสถิติการหลอกลวงลงทุนผ่านโซเซียลมีเดียกว่า 70% เป็นการหลอกลวงผ่าน เฟซบุ๊ก และจำนวน 90% เป็นการหลอกขายของออนไลน์ผ่านเฟซบุ๊ก   “ที่ผ่านมาเฟซบุ๊กมีการรับเงินจากเพจเหล่านี้ ซึ่งถือเป็นรายได้เข้าบริษัท แต่กลับไม่มีการตรวจสอบ และสกรีน ว่าเป็นเพจที่หลอกลวงหรือไม่ แต่กลับปล่อยให้เพจเหล่านี้มาหลอกลวงคนไทยจำนวนมาก แม้ที่ผ่านมา ดีอีเอส จะรวบรวมเสนอศาลขอคำสั่งปิดแต่เพจเหล่านี้ก็จะไปเปิดใหม่ เหมือนแมวไล่จับหนู ไม่จบสิ้น”     นายชัยวุฒิ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้จะมีการแนะนำให้ผู้เสียหายแจ้งความดำเนินคดีกับแพลตฟอร์มด้วย ทั้งคดีแพ่งและคดีอาญาด้วย…

สังคมโลก : มุดจีมา

Loading

  มือมีดที่บุกแทงคนในรถไฟใต้ดินที่แน่นขนัด หรือคนร้ายที่ไล่แทงผู้อื่นอย่างดุเดือดกลางถนน ฝันร้ายเหล่านี้ปรากฏขึ้นในจิตใจของชาวเกาหลีใต้จำนวนมาก หลังเกิดเหตุแทงประชาชนหลายคนอย่างน้อย 2 เหตุการณ์ ภายในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา   ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 21 ก.ค. ชายคนหนึ่งใช้มีดไล่แทงประชาชนที่สัญจรไปมาในเมืองหลวง ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 1 ราย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีก 3 คน โดยในภายหลัง ผู้ก่อเหตุบอกกับตำรวจว่า เขาใช้ชีวิตอย่างทนทุกข์ และอยากทำให้คนอื่นเป็นทุกข์เหมือนกัน   หลังจากนั้นในวันที่ 3 ส.ค. ชายคนหนึ่งในเมืองซองนัม ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของกรุงโซล ขับรถพุ่งชนคนเดินถนน บริเวณใกล้กับสถานีรถไฟใต้ดินแห่งหนึ่ง มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 4 คน ก่อนลงจากรถแล้ววิ่งเข้าไปในห้างสรรพสินค้า และก่อเหตุไล่แทงประชาชน 9 คน หนึ่งในนั้นเสียชีวิตในเวลาต่อมาซึ่งหลักฐานเผยให้เห็นว่า เหตุอุกอาจครั้งนี้อาจเป็นการเลียนแบบชายคนก่อนหน้า   KOREA NOW   ในเกาหลีใต้ “มุดจีมา” ซึ่งมีความหมายว่า “อย่าถาม” สื่อถึงการกระทำความรุนแรงที่ไม่สามารถอธิบายได้ต่อคนแปลกหน้า โดยผู้ก่อเหตุไม่มีความเชื่อมโยงส่วนตัวกับเหยื่อ หรือแรงจูงใจที่ชัดเจน   ชาวเกาหลีใต้เรียกอาชญากรรมเหล่านี้ว่า มุดจีมา (Mudjima)…

เวียดนามคุมเข้มสื่อ สั่งปิดนิตยสารออนไลน์ 3 เดือน หลังตรวจสอบการเผยแพร่ข่าวสาร

Loading

  รอยเตอร์ – Zing News นิตยสารออนไลน์ยอดนิยมของเวียดนาม ของบริษัท VNG Corp กลุ่มบริษัทดิจิทัลชั้นนำของประเทศ ระบุว่าต้องระงับการเผยแพร่เป็นเวลา 3 เดือน หลังการตรวจสอบของรัฐบาล   เวียดนามกำลังยกระดับการปราบปรามสื่อที่มีแผนจะจำกัดบัญชีสื่อสังคมออนไลน์ที่โพสต์เนื้อหาเกี่ยวกับข่าวสาร ซึ่งรัฐบาลระบุว่าทำให้ผู้อ่านเข้าใจผิดคิดว่าพวกเขาเป็นสำนักข่าวที่ได้รับอนุญาต   คำแถลงที่โพสต์บนเว็บไซต์ Zing News กล่าวว่า ในช่วงเวลาที่ระงับการเผยแพร่ดังกล่าว บริษัทจะมุ่งเน้นที่การแก้ไขข้อบกพร่องอย่างละเอียดตามการตัดสินใจของนายกรัฐมนตรีตั้งแต่ปี 2562 ที่นำแผนการจัดการและพัฒนาสื่อมาใช้   แผนดังกล่าวเป็นการเพิ่มการควบคุมสื่อที่เข้มงวดขึ้น และท่ามกลางข้อจำกัดต่าง ๆ กำหนดให้หนังสือพิมพ์ต้องมีความเกี่ยวข้องกับกระทรวง และห้ามนิตยสารเผยแพร่ข่าวด่วน   Zing News ที่มีเจ้าของเดียวกันกับแอปพลิเคชันรับส่งข้อความ Zalo ได้รับอนุญาตให้เป็นนิตยสารดิจิทัล แต่เว็บไซต์ได้เผยแพร่เนื้อหาครอบคลุมหัวข้อต่างๆ ที่รวมถึงข่าวด่วน และข่าวรายวัน   นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่สื่อถูกระงับในเวียดนาม โดยในปี 2561 เว็บไซต์ Tuoi Tre ที่ดำเนินการโดยรัฐ ต้องระงับการเผยแพร่เป็นเวลา 3 เดือนเนื่องจากโพสต์ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ตามคำแถลงของรัฐบาล   เวียดนามอยู่ในอันดับที่…

ผู้ให้บริการสื่อสังคมออนไลน์ในอังกฤษ จะต้องส่งข้อมูลเพื่อสอบสวนกรณีเด็กเสียชีวิต

Loading

    เว็บไซต์ The Guardian รายงานเมื่อ 22 มิ.ย.66 ว่า รัฐสภาสหราชอาณาจักรได้ผ่านร่างกฎหมายความปลอดภัยบนโลกออนไลน์   โดยกำหนดให้แพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ ต้องส่งข้อมูลของเด็กในกรณีที่ต้องสงสัยว่าเสียชีวิตจากภัยบนโลกออนไลน์ให้แก่เจ้าหน้าที่ชันสูตรศพผ่าน Office of Communications (Ofcom) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลกิจการกระจายเสียง กิจการโทรคมนาคม และการสื่อสารในสหราชอาณาจักร เพื่อร่วมกันหาสาเหตุการเสียชีวิต   แม้ปัจจุบันแพลตฟอร์มออนไลน์จะแบ่งปันข้อมูลของเด็กที่เสียชีวิตให้กับเจ้าหน้าที่ชันสูตรศพโดยสมัครใจแต่กฎหมายได้ให้อำนาจอย่างจำกัด เช่น กรณีของ Molly Russell ที่ใช้เวลายาวนานถึง 5 ปี ในการสืบสวนหาสาเหตุการเสียชีวิต เนื่องจากข้อจำกัดด้านการรักษาความปลอดภัยข้อมูลบนอินสตราแกรม ซึ่งผลการสืบสวนพบว่า เธอได้ดูเนื้อหาจำนวนมากเกี่ยวกับการฆ่าตัวตาย ทั้งยังมีภาวะซึมเศร้า และทำร้ายตัวเอง สุดท้ายเธอได้ฆ่าตัวตายในอายุ 14 ปี   พ่อของ Russell กล่าวว่า มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่เจ้าหน้าที่ชันสูตรศพและครอบครัวจะต้องเข้าถึงข้อมูลบนแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ของเด็ก “มาตรการนี้จะเป็นก้าวแรกในการหยุดวงจรการสูญเสียได้” และแม้บางแพลตฟอร์มจะมีฟีเจอร์ “มรดกดิจิทัล (Digital legacy)” ที่อนุญาตให้ครอบครัวของผู้เสียชีวิตสามารถเข้าถึงบัญชีได้ แต่ฟีเจอร์ดังกล่าวก็ไม่เหมาะกับเด็กที่เสียชีวิตอย่างกะทันหัน      …