เอ็นที กล่อมหน่วยงานรัฐย้ายระบบขึ้น ‘คลาวด์’ สร้างจุดเปลี่ยนรัฐบาลดิจิทัล

Loading

เอ็นที ตอกย้ำบทบาทนำเทคโนโลยีหนุนภาครัฐเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล ด้วยกาโอเพ่น ดาต้า ชี้บูรณาการข้อมูลบนคลาวด์เทรนด์ที่เลี่ยงไม่ได้ ชวนทุกหน่วยงานรัฐร่วมกันเดินหน้า Go Cloud First

รัฐบาลดิจิทัล (9) “เก็บ” ครั้งเดียวก็เกินพอ

Loading

  ทำไมต้องเอาสำเนาเอกสารราชการ ไปให้หน่วยงานรัฐที่เราไปติดต่อด้วย ทั้งๆ ที่เป็นเอกสารของราชการเอง แถมยังต้อง “ทำและรับรอง” สำเนาเท่ากับจำนวน “คำขอ” ที่เราจะยื่นอีก   หน่วยงานแห่งนั้นน่าจะยังไม่ได้ใช้ระบบไอที ทำให้แต่ละ “คำขอ” ต้องแนบเอกสารให้ครบจบในชุดเดียว จึงจะพิจารณาได้โดยไม่ต้องไปเปิดค้นเอกสารที่อื่นอีก ประชาชน“คนเดียว”มาติดต่อหลายเรื่องก็ต้องทำเป็น “หลายคำขอ”และสำเนาเอกสารแยกกัน   นี่เป็นการมองราชการเป็นศูนย์กลาง ถ้าหากมอง ประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Citizen Centric) แล้ว ประชาชนหนึ่งคน จะยื่นกี่คำขอก็ต้องถือเป็นเรื่องเดียวกันถ้ายื่นพร้อมกัน   ส่วนการรับรองสำเนา น่าจะเกิดจากการที่หน่วยงานรัฐไม่สามารถตรวจสอบ “ความจริงแท้” ของเอกสารสำเนาได้ จึงต้องให้นำทั้งเอกสาร “ตัวจริง”มาแสดง พร้อมกับ “ลงนาม” รับรองสำเนาถูกต้อง ถือว่า ประชาชนเป็นผู้รับผิดชอบในเอกสารต่างๆ ที่ยื่นเข้ามา หากปลอมแปลงหรือเป็นเท็จ ก็มีฐานทางกฎหมายที่จะปฏิเสธการอนุญาตหรืออาจดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไปได้   อย่างไรก็ตาม การตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารนั้น ที่จริงแล้ว เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐผู้รับเรื่อง พ.ร.บ. วิ อิเล็กทรอนิกส์ จึงให้เจ้าหน้าที่ต้องเป็นคนทำสำเนาและลงนามรับรองเอกสารเอง ไม่ใช่ประชาชนผู้ยื่นเรื่องอีกต่อไป   หลักการ “การจัดเก็บข้อมูลเพียงครั้งเดียว”…

รมว.ดีอี เผย รัฐมุ่งหน้าพัฒนา Cloud First Policy ป้องกันข้อมูลรั่ว คาด ปี 68 จะสมบูรณ์

Loading

รัฐบาล เดินหน้า พัฒนาระบบ Cloud First Policy เพื่อป้องกันข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล คาด ปี 68 จะเสร็จสมบูรณ์ มั่นใจ เก็บข้อมูลปลอดภัยมากขึ้น

การรั่วไหลของข้อมูลบริษัท i-Soon เปิดเผยปฏิบัติการจารกรรมทางไซเบอร์ และความเชื่อมโยงกับกลุ่มแฮ็กเกอร์ของจีน

Loading

นักวิจัยด้านความปลอดภัยเปิดเผยว่า จากการตรวจสอบข้อมูลรั่วไหลที่บุคคลได้โพสต์ไฟล์เอกสารกว่า 500 ฉบับ ตารางจัดการ บันทึกการสนทนา และสื่อการตลาดของบริษัท i-Soon ในเซี่ยงไฮ้ ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนด้านไอทีของจีนบนเว็บไซต์ Github เมื่อ ก.พ.67 นั้น พบว่า i-Soon ทำงานให้กับรัฐบาลจีนโดยการปฏิบัติการจารกรรมทางไซเบอร์ 3 ครั้ง รวมถึงมีความเชื่อมโยงกับกลุ่มแฮ็กเกอร์ของจีนด้วย

’สกมช.‘ ชี้ปี 67 แรนซัมแวร์ยังป่วน ล็อคเป้าโจมตีหนีไม่พ้นรัฐ-เอกชน

Loading

ในปีที่ผ่านมา มีเหตุการณ์ที่ถูกกลุ่มแฮ็กเกอร์ดัง ที่ชื่อ ล็อคบิท และกลุ่มอื่น ๆ ทำการแฮ็กระบบของหน่วยงานรัฐ และเอกชน ในประเทศไทยประมาณ 30 ครั้ง โดยทาง สกมช. ได้เฝ้าติดตามในดาร์กเว็บ โดย กลุ่ม ล็อคบิท นี้ ได้มีการเรียกค่าไถ่หน่วยงานในไทยมีมูลค่าประมาณ 1,000 ล้านบาท

สหรัฐเจอฤทธิ์แก๊งโจรไซเบอร์รัสเซีย เจาะระบบผ่านแอปโอนถ่ายข้อมูล

Loading

  หน่วยงานราชการของสหรัฐอเมริกาหลายแห่ง โดนโจมตีจากแก๊งอาชญากรไซเบอร์จากรัสเซีย โดยอาศัยช่องทางผ่านแอปพลิเคชันดาวน์โหลดข้อมูลยอดนิยม   เอริก โกลด์สตีน ผู้ช่วยผู้อำนวยการบริหารสำนักความมั่นคงโครงสร้างพื้นฐานและการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของสหรัฐ หรือ CISA แถลงเมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 2566 ว่า ขณะนี้ ทางสำนักงานกำลังให้ความช่วยเหลือแก่หน่วยงานราชการของรัฐบาลกลางหลายแห่ง ที่พบการบุกรุกจากภายนอก โดยผ่านช่องทางการใช้งานแอปพลิชัน MOVEit   สำนักงาน CISA กำลังประเมินอย่างเร่งด่วนถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น และแสดงความมั่นใจว่าจะสามารถแก้ไขได้อย่างทันท่วงที หนึ่งในหน่วยงานที่ยืนยันมาแล้วว่าโดนแฮ็กระบบคือกระทรวงพลังงาน   นอกเหนือจากหน่วยงานราชการหลายแห่งแล้ว ยังมีบริษัทและองค์กรเอกชนจำนวนมากที่โดนแฮ็กข้อมูลผ่านแอปพลิเคชันดังกล่าว ทาง CISA ระบุว่า แก๊งอาชญากรไซเบอร์ที่ชื่อว่า CLOP เป็นผู้ลงมือโจมตีไปทั่วโลกในครั้งนี้   CLOP เป็นแก๊งอาชญากรไซเบอร์จากรัสเซีย มีพฤติกรรมการก่ออาชญากรรมในลักษณะของการแฮ็กเข้าระบบของหน่วยงานแล้วขโมยข้อมูล จากนั้นก็นำไปเรียกค่าไถ่ซึ่งมักจะอยู่ในระดับหลายล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ ยังไม่ปรากฏการเรียกร้องในลักษณะดังกล่าวต่อหน่วยงานราชการของสหรัฐ   เจน อีสเตอร์ลีย์ ผู้อำนวยการของ CISA กล่าวว่า ยังไม่พบผลกระทบที่ก่อให้เกิดปัญหาใหญ่ในหน่วยงานราชการที่เป็นกิจการของพลเรือน และเสริมว่า กลุ่มแฮ็กเกอร์เพียงใช้ช่องโหว่ในซอฟต์แวร์ เจาะเข้ามาในระบบเครือข่ายเพื่อมองหาโอกาสที่เป็นไปได้ในการก่ออาชญากรรม   การแฮ็กระบบทั่วโลกครั้งใหญ่นี้เริ่มต้นราว…