รายงานชี้ จีนอยู่เบื้องหลังแผนจารกรรมไซเบอร์ครั้งใหญ่ทั่วโลก หน่วยงานรัฐโดนอ่วม

Loading

FILE PHOTO REUTERS   รายงานชี้ จีนอยู่เบื้องหลังแผนจารกรรมไซเบอร์ครั้งใหญ่ทั่วโลก หน่วยงานรัฐโดนอ่วม   สำนักข่าวเอเอฟพีและรอยเตอร์รายงานว่า Mandiant บริษัทด้านความมั่นคงทางไซเบอร์ของกูเกิลกล่าวเมื่อวันที่ 15 มิถุนายนว่า กลุ่มแฮ็กเกอร์ที่ได้รับการหนุนหลังจากทางการจีนได้ใช้ช่องโหว่ทางความปลอดภัยของระบบรักษาความปลอดภัยของอีเมลที่ได้รับความนิยม เพื่อเจาะเข้าสู่เครือข่ายขององค์กรสาธารณะและเอกชนหลายร้อยแห่งทั่วโลก โดยเกือบ 1 ใน 3 ของทั้งหมดเป็นหน่วยงานรัฐบาล   นายชาร์ลส์ คาร์มาคาล ผู้บริหารระดับสูงด้านเทคโนโลยีของ Mandiant ระบุว่า “นี่คือแคมเปญจารกรรมทางไซเบอร์ครั้งใหญ่ที่สุดที่ทราบมาว่าดำเนินการโดยผู้คุกคามจากจีน นับตั้งแต่การแฮ็กเข้าสู่ระบบครั้งใหญ่ของ Microsoft Exchange เมื่อช่วงต้นปี 2021”   คาร์มาคาลกล่าวอีกว่า บรรดาแฮ็กเกอร์ได้ทำการโจมตีระบบป้องกันทางคอมพิวเตอร์ขององค์กรหลายร้อยแห่งให้เกิดช่องโหว่ โดยบางครั้งได้ทำการขโมยอีเมลของพนักงานคนสำคัญที่ทำหน้าที่ดูแลในประเด็นที่รัฐบาลจีนให้ความสนใจ Mandiant มั่นใจว่ากลุ่มแฮ็กเกอร์ที่ถูกอ้างอิงในชื่อ ยูเอ็นซี4841 เป็นผู้อยู่เบื้องหลังโครงการจารกรรมทางไซเบอร์เป็นวงกว้างซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลจีน   แฮ็กเกอร์จะทำการส่งอีเมลที่แนบไฟล์อันตรายไปเพื่อเข้าถึงอุปกรณ์และข้อมูลขององค์กรที่เป็นเป้าหมาย โดยพุ่งเป้าไปที่เหยื่อในอย่างน้อย 16 ประเทศ การกำหนดเป้าหมายให้ความสำคัญไปที่ประเด็นด้านนโยบายที่มีความสำคัญอย่างมากต่อรัฐบาลจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและไต้หวัน โดยเหยื่อที่ตกเป็นเป้าหมายยังรวมถึงกระทรวงต่างประเทศ องค์กรด้านการวิจัย และสำนักงานการค้าต่างประเทศที่ตั้งอยู่ในฮ่องกงและไต้หวัน   ขณะเดียวกัน สำนักความมั่นคงโครงสร้างพื้นฐานและการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (ซีไอเอสเอ) ของสหรัฐออกมาระบุในวันเดียวกันว่า…

ออสซี่โดดร่วมวง แบนติ๊กต็อก บนอุปกรณ์ของรัฐ ปักกิ่งประณามทันที จี้ปฏิบัติเป็นธรรมกับบริษัทจีน

Loading

แฟ้มภาพรอยเตอร์   ออสซี่โดดร่วมวง แบนติ๊กต็อก บนอุปกรณ์ของรัฐ ปักกิ่งประณามทันที จี้ปฏิบัติเป็นธรรมกับบริษัทจีน   เมื่อวันที่ 4 เมษายน ออสเตรเลีย ประกาศแบนการใช้ ติ๊กต็อก แอปพลิเคชันแชร์วิดีโอสั้นยอดนิยม บนอุปกรณ์ของรัฐบาลทุกชนิด ส่งผลให้ออสเตรเลีย เป็นประเทศล่าสุดในกลุ่มชาติพันธมิตรตะวันตกที่ห้ามการใช้งานแอปสัญชาติจีนนี้บนอุปกรณ์ต่าง ๆ ของหน่วยงานรัฐบาล เนื่องจากกลัวเป็นภัยคุกคามความมั่นคงของชาติ   มาร์ก เดรย์ฟัส รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมของออสเตรเลีย กล่าวว่า การตัดสินใจครั้งนี้มีขึ้นภายหลังได้รับคำแนะนำจากหน่วยงานด้านข่าวกรองของประเทศและจะเริ่มปฏิบัติใช้โดยเร็วที่สุด อย่างไรก็ดีรัฐบาลจะอนุมัติข้อยกเว้นบางประการเป็นรายกรณีไปด้วยการผ่อนปรนด้านความปลอดภัยที่เหมาะสม   ท่าทีนี้ส่งผลให้ออสเตรเลีย เป็นชาติสุดท้ายในกลุ่ม “ไฟฟ์ อายส์” พันธมิตรด้านความมั่นคง ร่วมกับสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร แคนาดา และ นิวซีแลนด์ ที่ได้แบนติ๊กต็อกเข้าถึงอุปกรณ์ของหน่วยงานรัฐบาลของตนเองไปก่อนหน้านี้แล้ว นอกจากนี้ยังมีฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ และ สหภาพยุโรป (อียู) ที่ก็ได้ดำเนินการในลักษณะเดียวกัน   ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงทางไซเบอร์ กล่าวเตือนว่า ติ๊กต็อก ที่อ้างว่ามีผู้ใช้งานแอปนี้อยู่ทั่วโลกมากกว่า 1,000 ราย ได้แบ่งปันข้อมูลของผู้ใช้งานให้กับรัฐบาลจีน ซึ่งถือเป็นภัยคุกคามความมั่นคงของประเทศต่าง…

ยืนยัน ! 10 ม.ค. นี้ หน่วยงานรัฐรับเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ทุกแห่ง

Loading

    โฆษกประจำสำนักนายกฯ ยืนยัน ตั้งแต่ 10 ม.ค. 66 หน่วยงานรัฐต้องรับหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ทุกรูปแบบ ถ้าไม่รับอาจต้องรับผิดว่าจงใจฝ่าฝืนกฎหมายได้   นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตามที่พระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2565 และมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 90 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ยกเว้นบางมาตราที่มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไปนั้น     กองพัฒนากฎหมาย สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้มีข้ออธิบายถึงการใช้เอกสารหลักฐานในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ในการเบิกจ่ายเงินว่า เนื่องจากมาตรา 15 ของกฎหมายการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ รับรองการใช้เอกสารหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลักฐานเบิกจ่ายของส่วนราชการและท้องถิ่น ดังนั้น ตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม 2566 เป็นต้นไป หน่วยงานของรัฐทั้งส่วนราชการและท้องถิ่น ต้องรับเอกสารหรือหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็นไฟล์ PDF หรือภาพทางดิจิทัลในการรับจ่ายเงิน ถ้าไม่รับอาจต้องรับผิดว่าจงใจฝ่าฝืนกฎหมายได้   นายอนุชา กล่าวว่า สำหรับมาตรา 15 วรรคหนึ่ง…

“หน่วยงานรัฐ- CII” พร้อมมั้ย?สู้ภัยคุกคามโจมตีทางไซเบอร์!!

Loading

  ปัญหาภัยคุกคามทางไซเบอร์นับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นเมื่อเหล่า “อาชญากรทางโลกออนไลน์”ได้อาศัยช่องโหว่ในการเข้าแฮกเจาะระบบ… ปัญหาภัยคุกคามทางไซเบอร์นับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นเมื่อเหล่า “อาชญากรทางโลกออนไลน์” ได้อาศัยช่องโหว่ในการเข้าแฮกเจาะระบบของหน่วยงานต่างๆ ไม่เว้นวัน!!! ส่งผลให้สถานการณ์ด้านความปลอดภัยไซเบอร์เป็นเรื่องที่ทั่วโลกจับตาและเฝ้าระวังอยู่ตลอดเวลาเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในวงกว้าง สำหรับในประเทศไทย ตาม พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 ก็ได้มีการออกกฎหมายลำดับรอง (ก.ม.ลูก) ตามประกาศคณะกรรมการกำกับดูแลด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (กกม.) เรื่อง ประมวลแนวทางปฏิบัติและกรอบมาตรฐานด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์สำหรับหน่วยงานของรัฐ และหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ พ.ศ.2564 ซึ่งเป็นข้อกำหนดขั้นต่ำด้านการรักษาความมั่นคง ปลอดภัยไซเบอร์ โดยจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 6 ก.ย.65 ที่จะถึงนี้ โดยเหลือเวลาไม่ถึง 2 เดือน หรือ 60 วัน!! ที่นับถอยหลังที่หน่งงานรัฐและหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ หรือ CII (Critical Information Infrastructure ) ต้องปฎิบัติตามกฎหมายนี้!?    ภาพ pixabay.com  ซึ่งทาง สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ได้กำหนดหน่วยงาน CII ประกอบด้วย 7 ด้าน ได้แก่ ด้านความมั่นคงภาครัฐ ด้านบริการภาครัฐที่สำคัญ ด้านการเงินการธนาคาร ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคม ด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ ด้านพลังงานและสาธารณูปโภค…