แบงก์ชาติระบุแอปดูดเงินแรงขึ้นช่วงสองเดือนที่ผ่านมาหลังคนร้ายใช้เทคนิคใหม่ ระบบล็อกบัญชีเร่งด่วนเสร็จสิ้นปีนี้

Loading

  ธนาคารแห่งประเทศไทยรายงานถึงการพัฒนามาตรการเพื่อป้องกันการทุจริตทางการเงิน หรือที่มักเรียกกันว่าแอปดูดเงิน โดยพบว่าช่วงต้นปีที่ผ่านมา มูลค่าความเสียหายค่อย ๆ ลดลงเรื่อย ๆ จนเหลือ 116 ล้านบาทในเดือนเมษายนที่ผ่านมา แต่พอมาถึงเดือนพฤษภาคมและมิถุนายนก็กลับมียอดความเสียหายเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากคนร้ายอาศัยเทคนิคใหม่ ๆ   แนวทางใหม่ของคนร้าย เช่น การหลอกลวงด้วยบทใหม่ ๆ ที่แนบเนียนขึ้น มีการปลอมตัวเป็นหน่วยงานราชการ, บริษัทขนาดใหญ่, หรือญาติพี่น้อง กระบวนการส่ง SMS นั้นอาศัยแนวทางสร้างเสาสัญญาณโทรศัพท์ปลอมเพื่อส่ง SMS ได้โดยไม่ผ่านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ ตลอดจนแอปดูดเงินเวอร์ชันใหม่ ๆ มีความสามาถหลบการตรวจจับโดยธนาคาร   ความเสียหายรวม ย้อนหลัง 7 เดือน •  ธันวาคม 2022: 182 ล้านบาท •  มกราคม 2023: 185 ล้านบาท •  กุมภาพันธ์ 2023: 161 ล้านบาท •  มีนาคม 2023: 135…

รายงานเผยในปี 2022 เว็บและเพจปลอมสูงขึ้นหลายเท่า

Loading

  ในรายงาน Digital Risk Trends 2023 (แนวโน้มความเสี่ยงบนโลกดิจิทัล) ของ Group-IB เผยว่าเว็บไซต์และหน้าเพจปลอมสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ในปี 2022   สถิติชี้ว่าเว็บไซต์ฟิชชิงที่ใช้หลอกดูดข้อมูลเหยื่อสูงขึ้น 62% เมื่อเทียบกับปี 2021 และหน้าเพจหลอกลวงเพิ่มขึ้นถึง 304% หรือมากกว่า 3 เท่า   นอกจากนี้ สถิติของการนำภาพลักษณ์หรือโลโก้ของธุรกิจต่าง ๆ ไปใช้ในการหลอกลวงยังเพิ่มขึ้นถึง 162% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เพิ่มขึ้นสูงถึง 211%   ภาคที่ตกเป็นเป้าที่สุดมากที่สุดคือภาคบริการทางการเงิน (74%) รองลงมาคือหวย พลังงาน และภาคค้าปลีก   หากแบ่งเป็นรายภูมิภาคพบว่า การหลอกลวงในยุโรปส่วนใหญ่แพร่กระจายบนแอปสนทนา ส่วนเอเชียแปซิฟิก และตะวันออกกลางและแอฟริกา จะแพร่ผ่านโซเชียลมีเดีย   รายงานระบุว่าสิ่งที่ทำให้การหลอกลวงมีเพิ่มขึ้นคือการใช้ระบบอัตโนมัติและโซเชียลมีเดียที่เพิ่มขึ้น และคาดว่าก็จะเพิ่มขึ้นอีกผ่านการใช้ AI     ที่มา Infosecurity Magazine      …

‘ใบสั่งออนไลน์’ ของจริง-ของปลอม ดูยังไง แนะวิธีตรวจสอบจะได้ไม่โดนหลอก

Loading

  ‘ใบสั่งจราจรออนไลน์’ ตรวจสอบยังไงระหว่างของจริงกับของปลอม แนะวิธีตรวจสอบผ่านระบบ PTM จะได้ไม่หลงกลมิจฉาชีพ   ‘ใบสั่งจราจรออนไลน์ปลอม’ กำลังระบาด หลังสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) พบว่า มีมิจฉาชีพหัวใส แอบอ้างเป็นส่วนราชการหลอกลวงประชาชนในรูปแบบการแอบอ้างเรื่องการชำระค่าปรับต่าง ๆ โดยหนึ่งในนั้นคือใบสั่งจราจร ที่ออกโดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งมีประชาชนหลงเชื่อและยอมโอนเงินจ่ายให้กับมิจฉาชีพ   นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลให้ความสำคัญต่อการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล โดยมุ่งหวังให้บริการของภาครัฐสะดวก รวดเร็ว อำนวยความสะดวกให้ประชาชนเข้าถึงบริการภาครัฐง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลภายใต้การนำของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ออกกฎหมายผลักดันรัฐบาลดิจิทัล   พร้อมจัดทำแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ตลอดจนมอบหมายให้หน่วยงานรัฐพัฒนาแอปฯ และบริการออนไลน์จำนวนมากเพื่อพัฒนาภาครัฐเป็นรัฐบาลดิจิทัล ทั้งนี้ หน่วยงานราชการหลาย ๆ หน่วยงานได้สานต่อนโยบาย พัฒนารูปแบบการให้บริการแบบออนไลน์มากยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มความสะดวกให้กับประชาชน   นางสาวรัชดา กล่าวว่า เพื่อให้รู้ทันกลโกงของมิจฉาชีพ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ แนะวิธีสังเกตใบสั่งจราจรอิเล็กทรอนิกส์ที่จัดส่งทางไปรษณีย์ไปยังเจ้าของรถถึงบ้าน ว่าฉบับไหนเป็นของจริง-ของปลอม   วิธีดูใบสั่งจราจรของจริง…

กรมประชาฯ เจอดี มิจฉาชีพทำเพจปลอม “ข่าวจริงประเทศไทย” ล้วงตับชาวเน็ต

Loading

  ทีมงานข่าวจริงประเทศไทย สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ แจ้งความเอาผิดกับคนที่ทำเพจปลอมเลียนแบบ ทักแชตแล้วอ้างศูนย์ดำรงธรรม ให้ส่งข้อมูลไปที่ไอดีไลน์และลิงก์ ขอประชาชนอย่าหลงเชื่อ   เมื่อ 3 มิ.ย. รายงานข่าวแจ้งว่า ทีมงานข่าวจริงประเทศไทย สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ ได้แจ้งความดำเนินคดีกับผู้ที่แอบอ้างกับกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) หรือตำรวจไซเบอร์ หลังจากที่มีเพจเฟซบุ๊กใช้ชื่อเลียนแบบว่า “ข่าวจริงประเทศไทย” สร้างขึ้นเมื่อเดือน เม.ย. 2566 ที่ผ่านมา มีผู้ติดตาม 379 คน   สำหรับพฤติกรรมของเพจเลียนแบบก็คือ เมื่อเข้าไปที่กล่องข้อความแล้วพิมพ์ข้อความ จะมีข้อความอัตโนมัติ ระบุว่า “สวัสดีครับ ผู้เสียหายที่ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมทางเทคโนโลยีออนไลน์ สามารถแจ้งหรือร้องทุกข์ได้ที่เจ้าหน้าที่ศูนย์ดำรงธรรม Line : … (ขอสงวนไอดีไลน์) คลิก : … (ขอสงวนลิงก์) ส่งหลักฐานประวัติการสนทนาและสลิปที่ถูกหลอกลวงหรือฉ้อโกงให้เจ้าหน้าที่เก็บรวบรวมเพื่อดำเนินการสืบสวนขยายผลดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปได้นะครับ” ซึ่งเป็นไอดีไลน์ปลอม   พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก บช.สอท. ให้ข้อมูลว่า กลุ่มคนร้ายมักจะดำเนินการในลักษณะดังกล่าว ขอประชาชนอย่าหลงเชื่อ หากคลิกลิงก์หรือแอดไลน์…

รู้ทันภัย Phishing ปลอดภัยได้แค่ไม่ด่วนเชื่อและกด link ซี้ซั้ว

Loading

    แม้ว่าจะมีข่าวที่ประกาศเตือนภัยมิจฉาชีพในรูปแบบต่าง ๆ อยู่ทุกวัน แต่ในขณะเดียวกันก็มีข่าวของคนที่ตกเป็นเหยื่อแก๊งมิจฉาชีพอยู่ทุกวันเช่นเดียวกัน มูลค่าความเสียหายก็มีตั้งแต่ไม่กี่บาท (มักไม่เป็นข่าว แต่เริ่มมีการเตือนกันเองในหมู่คนรู้จัก) ไปจนถึงหลักล้านบาท ส่วนความเคลื่อนไหวของหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบก็เริ่มออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อป้องกันประชาชนไม่ให้ตกเป็นเหยื่อมากขึ้น มาตรการแบบวัวหายแล้วล้อมคอก เพราะขยับตัวออกเดินตามหลังมิจฉาชีพอยู่หลายก้าว เรียกได้ว่าเป็นการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมทางการเงินของภาครัฐที่ทำงานไม่ทันโจรเท่าไรนัก   อย่างไรก็ตาม มาตรการการจัดการภัยทุจริตทางการเงิน ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเพิ่งจะมีการออกมาตรการที่ชัดเจนเมื่อไม่นานที่ผ่านมาก็ค่อนข้างที่จะมีช่องโหว่อยู่พอสมควร อย่างเช่นมาตรการการให้ผู้ใช้บริการยืนยันตัวตนด้วย biometrics ในกรณีที่ลูกค้าทำธุรกรรมผ่าน mobile banking ในเงื่อนไขที่กำหนดไว้ อย่างการโอนเงินมากกว่า 50,000 บาท หรือปรับเพิ่มวงเงินทำธุรกรรมต่อวันเป็นตั้งแต่ 50,000 บาท ขึ้นไป ตรงจุดนี้ สำหรับคนหาเช้ากินค่ำที่ตกเป็นเหยื่อแก๊งมิจฉาชีพ จำนวนเงินที่ถูกโอนออกไปจากบัญชีอาจไม่มากถึง 50,000 บาท แต่มันก็เป็นเงินที่พวกเขาหามาอย่างยากลำบากและต้องเก็บไว้ใช้ดำรงชีพเหมือนกัน และมันอาจเป็นเงินสุทธิทั้งหมดที่พวกเขามีด้วย   นั่นหมายความว่าหากเหยื่อมีเงินในบัญชีไม่ถึง 50,000 บาท แล้วถูกมิจฉาชีพในกลโกงต่าง ๆ โอนเงินจำนวนนั้นออกไปทั้งหมด พวกเขาก็อาจจะไม่สามารถเข้าถึงมาตรการการยืนยันตัวตนก่อนที่เงินจะถูกโอนออกไป เพราะจำนวนเงินมันไม่ได้มากถึง 50,000 บาท ซึ่งเงินไม่ถึง 50,000 บาทที่โดนโกงไปนั้น มันก็ทำให้พวกเขาหมดตัวได้เช่นกัน…

ยูเครนทลายรังโจรไซเบอร์สร้างตลาดออนไลน์ปลอมหลอกเอาข้อมูลเหยื่อ

Loading

  ตำรวจยูเครนจับกุม 2 ผู้ต้องหา และคุมตัวผู้เกี่ยวข้องอีก 10 ราย สำหรับความเชื่อมโยงกับแก๊งอาชญากรรมไซเบอร์ที่ใช้วิธีฟิชชิ่งและเปิดตลาดออนไลน์ในการขโมยเงินกว่า 4.3 ล้านเหรียญ (ราว 146 ล้านบาท) จากเหยื่อ 1,000 รายทั่วยุโรป   แก๊งที่ว่านี้สร้างเว็บไซต์ดูดข้อมูลมากกว่า 100 แห่งเพื่อหลอกเอาข้อมูลบัตรธนาคารของเหยื่อ และล้วงข้อมูลบัญชี   เว็บไซต์เหล่านี้หลอกว่าขายผลิตภัณฑ์หลายตัวในราคาต่ำกว่าตลาด ซึ่งเมื่อเหยื่อเผลอกรอกข้อมูลทางการเงินเพื่อซื้อสินค้าเหล่านี้ ก็จะถูกขโมยข้อมูลทันที ก่อนจะสูญเงินไปทั้งหมด   นอกจากนี้ ยังมีการเปิดคอลเซ็นเตอร์ 2 แห่ง ตั้งอยู่ในเมืองวินนิตเซีย และลวิฟ ของยูเครน ซึ่งมีการจ้างพนักงานที่มีหน้าที่คอยดึงดูดให้เหยื่อเข้ามาซื้อสินค้า   เหยื่อมาจากหลายประเทศทั่วยุโรป ทั้ง เช็กเกีย โปแลนด์ ฝรั่งเศส สเปน และโปรตุเกส   2 ผู้ต้องหาสำคัญที่เจ้าหน้าที่เชื่อว่าเป็นหัวโจกถูกตั้งข้อหาฉ้อโกง และสร้างองค์กรอาชญากรรม มีโทษจำคุกสูงสุด 12 ปี ขณะที่เครือข่ายอีก 10 รายถูกเจ้าหน้าที่จากสหภาพยุโรปคุมตัวไว้สอบสวนต่อไป   โดยตำรวจยูเครนได้ทำงานร่วมกับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายของเช็กเกียจนนำมาสู่การทลายรังโจรในครั้งนี้…