5 คดีแก๊งคอลเซ็นเตอร์ประจำปี 66 อาชญากรรมไซเบอร์ดูดเงินคนไทยกว่า 4 หมื่นล้าน

Loading

  5 คดีแก๊งคอลเซ็นเตอร์ประจำปี 2566 อาชญากรรมไซเบอร์ที่ดูดเงินคนไทยกว่า 4 หมื่นล้านบาทต่อปี   ต้องยอมรับว่า ‘มิจฉาชีพ’ มีหลากหลายรูปแบบและสามารถเข้าถึงตัวเราได้ในหลายช่องทาง ยิ่งในยุคนี้ที่การสื่อสารเปิดกว้าง แทบจะทุกคนมีโทรศัพท์เป็นของตัวเอง ในส่วนของข้อดีโทรศัพท์ได้ช่วยทำให้การติดต่อระหว่างกันเป็นไปได้สะดวกง่ายขึ้น แต่ส่วนภัยร้ายที่แฝงมาก็อาจทำให้เกิดความสูญเสียจนถึงชีวิตได้เช่นกัน   ก่อนจะพูดถึง 5 คดีความเสียหายหายที่เกิดจาก ‘แก๊งคอลเซ็นเตอร์’ ทีมข่าว TNN Online ได้สรุปตัวเลขเหตุอาชญากรรมทางเทคโนโลยีมาให้พิจารณา ซึ่งในระยะเวลาเพียง 1 ปีเท่านั้น คนไทยต้องสูญเสียทรัพย์สินให้กับการหลอกลวงรูปแบบนี้ไม่ต่ำกว่า 4.5 หมื่นล้านบาท   อ้างอิงสถิติแจ้งความออนไลน์จากเว็บไซต์ www.thaipoliceonline.com ตั้งแต่ 1 มีนาคม 2565 – 30 กันยายน 2566 มีจำนวน 365,547 เรื่อง   แบ่งเป็นคดีออนไลน์ จำนวน 336,896 เรื่อง รวมมูลค่าความเสียหาย 45,738,507,864 บาท ตำรวจติดตามอายัดบัญชีได้ 167,347 บัญชี…

จาก เหยื่อค้ามนุษย์ (ถูกบังคับ)สู่ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ เรื่องร้ายที่น่ากลัว

Loading

ช่วงที่มีการตื่นตัวเรื่อง แก๊งคอลเซ็นเตอร์ ในประเทศไทยสำนักข่าวแห่งหนึ่งเคยตรวจสอบเจอว่า คนที่โทรมาหลอกลวงเรา ก็มีคนไทยที่ตกเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์ ถูกส่งไปต่างแดนเพื่อหวังรายได้สูง ๆ แต่กลับถูกล่อลวงให้ทำงานเป็น แก๊งคอลเซ็นเตอร์ หลบหนีก็ไม่ได้ และก็ไม่รู้ว่าทางรอดจะอยู่ตรงไหนด้วยเช่นกัน

ปลัดมท. เตือน!อย่าหลงเชื่อเพจรับทำบัตรประชาชนออนไลน์

Loading

‘บัตรประชาชนไม่ใช่ใครอ้างจะทำก็ทำได้’ ปลัด มท. ย้ำเตือนสังคมอย่าหลงเชื่อแฟนเพจรับทำบัตรประชาชน หรือใครก็ตามที่มาแอบอ้างช่วยทำบัตรประชาชน พร้อมย้ำ สายด่วนศูนย์ดำรงธรรม 1567 พร้อมให้ข้อมูลที่ถูกต้อง และประสานให้ดำเนินการกับผู้กระทำผิดตลอด 24 ชั่วโมง

กสทช. จ่อออกประกาศคนที่มีซิมการ์ดเกิน 5 หมายเลขต้องไปยืนยันตัวตนผู้ครอบครอง

Loading

กสทช. เตรียมออกประกาศเพื่อบังคับให้ผู้ครอบครองหมายเลขหรือซิมการ์ด ตั้งแต่ 5 เลขหมายขึ้นไป ต้องมาลงทะเบียนแจ้งการครอบครองกับผู้ให้บริการ เพื่อแก้ปัญหาเรื่องการนำซิมการ์ดไปใช้ในการหลอกลวงออนไลน์ หรือโอนเงินออกจากบัญชี หรือที่เรียกว่าซิมผี โดยจะมีการจัดเปิดรับฟังความคิดเห็นเฉพาะกลุ่มหรือโฟกัสกรุ๊ปอีกครั้ง

จับสังเกต ChatGPT อันตราย เปิดให้ใช้งานฟรี แต่เป็นลิงก์ปลอม

Loading

ด้วยความนิยมอย่างมากของ ChatGPT ที่เปิดให้ใช้งานได้ฟรี ทำให้มิจฉาชีพพยายามใช้ประโยชน์ฟิชชิ่งเพื่อหลอกลวง และขโมยข้อมูลจากผู้ใช้งาน ทั้งการทำเว็บไซต์เลียนแบบ สร้าง URL ให้มีความคล้ายคลึง หรือแม้กระทั่งการซื้อโฆษณาผ่านแพลทฟอร์มต่าง ๆ เพื่อล่อให้คนเข้ามาใช้งาน Techhub เลยจะมาแนะนำว่าวิธีดูว่า ลิงก์ไหน เป็นลิงก์ปลอม หรือวิธีสังเกต ChatGPT ปลอม ๆ

สกมช. เตือนเพจมิจฉาชีพ อ้างละเมิดข้อมูลหลอกคลิกลิงก์แฮ็กเฟซบุ๊ก

Loading

พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (กมช.) กล่าวว่า สำนักงานสกมช.ตรวจสอบพบกลเกมของมิจฉาชีพรูปแบบใหม่ในการหลอกขโมย ยูสเซอร์เนม พาสเวิร์ด ของเพจเฟซบุ๊ก ด้วยการโพสต์ข้อความ และ ติดแท็กไปยังเพจชื่อดังที่มียอดติดตามจำนวนมาก หวังขโมยรหัสผ่าน แฮ็กเฟซบุ๊ก เตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อ