สหรัฐฯตั้งข้อหา 2 จนท.ข่าวกรองจีน หลังพยายามติดสินบนหน่วยงานปมคดีหัวเว่ย

Loading

  วันที่ 25 ตุลาคม 2565 เดอะการ์เดียนของอังกฤษรายงานเมื่อวานนี้ (24 ตุลาคม) ตามเวลาท้องถิ่นว่า อัยการกลางสหรัฐฯ ได้ทำการตั้งข้อหาพร้อมออกหมายจับ เจ้าหน้าที่หน่วยข่าวกรองจีน 2 คน จากความพยายามติดสินบนเจ้าหน้าที่ทางกฎหมาย ในการจะเข้าถึงข้อมูลวงในเกี่ยวกับคดีอาญากับหัวเว่ย บริษัทโทรคมนาคมยักษ์ใหญ่ของจีน   เมอร์ริค การ์แลนด์ อัยการสูงสุดสหรัฐฯ เปิดเผยถึงการตั้งข้อหา 2 เจ้าหน้าที่จีนว่า พวกเขายังได้คุกคามผู้เห็นต่างในสหรัฐฯ และกดดันให้นักวิชาการของสหรัฐฯ ทำงานให้กับพวกเขาแสดงให้เห็นว่า จีน “พยายามแทรกแซงสิทธิและเสรีภาพของบุคคลในสหรัฐอเมริกาและบ่อนทำลายระบบตุลาการของเราที่ปกป้องสิทธิ์เหล่านั้น   “กระทรวงยุติธรรมจะไม่ยอมให้อำนาจต่างชาติพยายามบ่อนทำลายหลักนิติธรรมซึ่งเป็นรากฐานของระบอบประชาธิปไตยของเรา” อัยการสูงสุด กล่าว   ตามเอกสารคำฟ้อง เจ้าหน้าที่ข่าวกรองจีน 2 คนที่ถูกตั้งข้อหาคือ เห่อ กัวชุน และเฉิง หวัง พยายามเตรียมแผนเพื่อขโมยบันทึกกลยุทธ์การดำเนินคดี รายชื่อพยาน และหลักฐานที่เป็นความลับอื่นๆ จากสำนักงานอัยการสหรัฐฯ ในเขตตะวันออกของนิวยอร์ก   “นี่เป็นความพยายามอย่างมหันต์โดยเจ้าหน้าที่ข่าวกรองของสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อปกป้องบริษัทที่ตั้งอยู่ในสาธารณรัฐประชาชนจีนจากความรับผิดชอบและบ่อนทำลายความสมบูรณ์ของระบบตุลาการของเรา” อัยการสูงสุด กล่าว   ด้านแหล่งข่าวที่ติดตามเรื่องดังกล่าวระบุว่า เอกสารคำฟ้องต่อนายเห่อและหวังนั้น…

หัวเว่ย ปฏิเสธข่าว เทคโนโลยีหัวเว่ยสอดแนมระบบสื่อสารออสเตรเลีย

Loading

  สืบเนื่องจากข้อกล่าวหาเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีของหัวเว่ยในการสอดแนมระบบการสื่อสารของประเทศออสเตรเลียตามข่าวนั้น หัวเว่ย ออกแถลงการณ์ปฏิเสธ!!! รายงานจากสำนักข่าว Bloomberg เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา ถือเป็นการบิดเบือนประเด็นข่าวจากแหล่งข่าวที่เชื่อถือไม่ได้ ทั้งยังอ้างว่าเป็นเรื่องราวที่ถูกเก็บเป็นความลับมานานเกือบสิบปี ส่งผลให้เกิดการคาดเดาจนนำไปสู่ความเข้าใจผิด อีกทั้งยังไม่ได้แถลงข่าวพร้อมกับ “หลักฐาน” ที่เชื่อถือได้ หัวเว่ย ดำเนินธุรกิจในประเทศออสเตรเลียมาเป็นเวลาเกือบ 20 ปี และนี่เป็นครั้งแรกที่บริษัทฯ รับทราบถึงประเด็นที่เป็นข่าวนี้ โดยผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมของออสเตรเลียทั้งสองรายอย่าง Optus และ TPG ต่างก็ออกมาปฏิเสธต่อสาธารณะว่าไม่ทราบเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าว ยิ่งไปกว่านั้นรายงานดังกล่าวยังระบุถึงภัยคุกคามที่มีความซับซ้อนเชิงเทคนิคเป็นอย่างมาก แต่กลับอ้างอิงถึงความคิดเห็นของนักการเมืองและอดีตเจ้าหน้าที่รัฐเท่านั้น จึงไม่เป็นที่แน่ชัดว่าทำไมสำนักข่าว Bloomberg จึงไม่สามารถหรือไม่สมัครใจที่จะรวมบทวิเคราะห์จากผู้เชี่ยวชาญอิสระด้านความมั่นคงที่น่าเชื่อถือลงไปในบทความชิ้นนี้ด้วย ข้อเท็จจริงเป็นไปดังนี้ : ประการแรก อุปกรณ์ของหัวเว่ยไม่ได้มีโปรแกรมจำพวกมัลแวร์ โดย NCSC ซึ่งเป็นองค์กรด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของสหราชอาณาจักรซึ่งมีความเข้มงวดที่สุดในโลก ได้ระบุอย่างชัดเจนว่าไม่พบความผิดปกติในอุปกรณ์ของหัวเว่ย และไม่ได้มีการแทรกแซงจากรัฐบาลจีน หัวเว่ยได้พยายามอย่างยิ่งยวดในการป้องกันไม่ให้ผู้ไม่ประสงค์ดีแทรกแซงระบบความปลอดภัยในอุปกรณ์ของบริษัทฯ แพ็คเกจซอฟต์แวร์ของหัวเว่ยประกอบไปด้วยชุดกลไกการทำงานที่แข็งแกร่ง เพื่อให้มั่นใจว่าหากมีการดัดแปลงจากการอัพเดทซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์นั้นจะไม่สามารถถูกอัปโหลดหรือติดตั้งได้ ประการที่สอง โครงข่ายถือเป็นกรรมสิทธิ์และบริหารโดยผู้ประกอบการโทรคมนาคม หัวเว่ยเป็นเพียงหนึ่งในผู้จัดหาอุปกรณ์ที่มีจำนวนมากมายในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม และบริษัทฯ ไม่สามารถเข้าถึงโครงข่ายของผู้ประกอบการโทรคมนาคมได้โดยปราศจากคำร้องขออย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ผู้ประกอบการโทรคมนาคมยังมีกระบวนการระบุตัวตนเพื่อความปลอดภัยที่เข้มงวดในการติดตั้งซอฟต์แวร์และระบบต่าง ๆ ซึ่งหัวเว่ยต้องปฏิบัติตามข้อบังคับเหล่านี้เช่นเดียวกับผู้ประกอบการรายอื่น…