“ออคัส”เพิ่มแนวพัฒนา“ไฮเปอร์โซนิก”

Loading

ผ่านมา 3 ปีเต็ม พร้อมย่างก้าวสู่ปีที่ 4 แล้ว… สำหรับ “กลุ่มกติกาสัญญาความมั่นคงไตรภาคีระหว่างออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา” หรือที่เรียกชื่อย่อจนฮิตติดปากว่า “ออคัส (AUKUS)” ซึ่งเป็นการนำอักษรตัวย่อชื่อประเทศที่เป็นภาษาอังกฤษของชาติสมาชิก มาเป็นชื่อกลุ่ม คือ   “A” หมายถึง ออสเตรเลีย (Australia) “UK” หมายถึง สหราชอาณาจักร (United Kingdom) และ “US” หมายถึง สหรัฐอเมริกา (United States of America)   กลุ่มกติกา “ออคัส” นี้ ถือกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2021 (พ.ศ. 2564) นับถึงวันนี้ก็ครบ 3 ปีกว่าแล้ว   แรกเริ่มเดิมทีภายใต้กติกา “ออคัส” ก็จะเป็นข้อตกลงที่ทั้งสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร ช่วยเหลือออสเตรเลีย ในการพัฒนาและใช้งาน “เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์”…

ออสซี่ผนึกอินโดนีเซีย ไฟเขียวกองทัพสองฝ่ายใช้พื้นที่ของอีกชาติได้

Loading

ออสซี่ผนึกอินโดนีเซีย ไฟเขียวกองทัพสองฝ่ายใช้พื้นที่ของอีกชาติได้
ออสซี่ผนึกอินโดนีเซีย – วันที่ 20 ส.ค. รอยเตอร์รายงานว่า ทางการออสเตรเลียและอินโดนีเซียบรรลุความร่วมมือด้านความมั่นคงระดับสนธิสัญญาที่จะส่งผลให้กองทัพของทั้งสองฝ่ายสามารถปฏิบัติภารกิจในดินแดนของอีกฝ่ายได้

ความหมายของ AUKUS

Loading

  ก่อนจะเขียนอื่นใดทั้งหมดต่อไป ขอส่งกำลังใจให้ฝรั่งเศสในวาระที่ได้ประจักษ์ความหมายในการเป็นพันธมิตรกับประเทศเจ้ามหาอำนาจและประเทศลูกคู่ที่พูดภาษาอังกฤษเออออกันด้วยความเข้าอกเข้าใจ แม้พวกเขาจะพูดกันเป็นคนละสำเนียง และอยู่ห่างไกลกันคนละฟากสมุทร การประจักษ์แบบนี้จะทำให้ฝรั่งเศสและสหภาพยุโรปคิดอ่านกันอย่างไรต่อไปเกี่ยวกับการจัดการความมั่นคงและการจัดการอุตสาหกรรมภาคความมั่นคงของยุโรปภายหลัง Brexit และ AUKUS ก็น่าคิดและน่าติดตามอยู่มาก   การถอดความหมายของ AUKUS –ความร่วมมือทางยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงระหว่างพันธมิตร 3 ฝ่ายใหม่ล่าสุดระหว่างออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา— ทำได้หลายทาง ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีท่านผู้รู้และชำนาญการให้ความเห็นไว้มากแล้ว ในที่นี้เลยจะขอหลบมาให้ความหมายแนวครูพักลักจำจากปรมาจารย์สายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (IR) ที่รุ่นเก่ารุ่นใหม่ชุมนุมคับคั่งอยู่ในสหรัฐฯ และอังกฤษมากหน้าหลายตา   เมื่อเป็นการเขียนแบบครูพักลักจำ ส่วนแสดงทฤษฎีจะมีน้อย จะหนักไปในส่วนเสนอทิฐิแทน ซึ่งบางทีก็เป็นทิฐิมานะ ท่านที่ไม่คุ้นภาษาพระ ทิฐิมานะคือการยึดมั่นในสถานะของตัวว่าอยู่เหนือคนอื่น ยึดมั่นในความคิดเห็นของตัวว่าถูกต้องกว่าของใครหมด แต่จะเป็นมิจฉาหรือสัมมาแบบไหน หรือเป็นทิฐิมานะของใคร ภาษาการทูตท่านให้รักษาความแนบเนียนไม่กล่าวโทษหรือก้าวล่วงใครออกมาชัดแจ้ง ส่วนการปาดหน้าเค้กหรือหยิบชิ้นปลามันที่พวกเดียวกันถือไว้ไปต่อหน้าต่อตาโดยไม่เจรจากับเขาดี ๆ อันนี้ต้องไปถามจากผู้เป็นเจ้ามหาอำนาจและบริวารว่ากลายเป็นแบบแผนพึงประพฤติมาแต่เมื่อใด   ท่านแต่ก่อนมาจนถึงรุ่น Susan Strange ปรมาจารย์ IR ฝั่งอังกฤษสายเศรษฐกิจการเมืองระหว่างประเทศสอนว่า วิธีการตามหาความหมายของเรื่องใดก็ตาม อย่างง่ายที่สุดและควรทำก่อนอื่นใดถ้าหากทำได้ คือถามหาว่า ใครได้ประโยชน์? / cui bono? และการตามหาว่าใครได้ประโยชน์ชัดเจนที่สุดก็คือ การตามจากเงิน พอเห็นการโยกย้ายถ่ายเทของเงินจากไหนไปไหนโดยผลของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น…

สหรัฐฯ พร้อมเปิดรับชาติยุโรปเสริมความมั่นคงในอินโด-แปซิฟิก

Loading

  นานาชาติจับตาความร่วมมือทางการทหารครั้งใหม่ระหว่างสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร และออสเตรเลีย โดยทั้งสองชาติ ประกาศจะมอบเทคโนโลยีเรือดำน้ำนิวเคลียร์ให้ ส่งผลให้ออสเตรเลียต้องฉีกสัญญาสร้างเรือดำน้ำที่ทำไว้ร่วมกับฝรั่งเศสสิ่งที่เกิดขึ้นสร้างความไม่พอใจให้ฝรั่งเศส และล่าสุดสหรัฐฯ เผยยังคงเปิดรับทุกโอกาสที่จะสร้างความมั่นคงในอินโด-แปซิฟิกร่วมกับชาติยุโรป ภาพการแถลงข่าวของสามผู้นำประเทศ ได้แก่ โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ, บอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร และสกอตต์ มอร์ริสัน นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย ประกาศความร่วมมือที่จะสร้างความมั่นคงและสันติภาพในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ในโครงการที่ชื่อว่า ออคัส ซึ่งทั้งสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักรจะแบ่งปันเทคโนโลยีมากมาย ตั้งแต่ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เทคโนโลยีควอนตัม และระบบการป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ รวมถึงเทคโนโลยีทางการทหารขั้นสูงที่สุด นั่นคือ เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์     หลังการประกาศความร่วมมือทางการทหารระหว่างสหรัฐฯ สหราชอาณาจักรและออสเตรเลียออกมามีหลายประเทศไม่พอใจ เช่น จีน ซึ่งก็เข้าใจได้ แต่ที่น่าสนใจคือ มีพันธมิตรหลักของสหรัฐฯ อย่างฝรั่งเศสออกมาแสดงความหงุดหงิดด้วย ฟลอเรนส์ พาร์ลีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมฝรั่งเศสเปิดแถลงข่าวทันที ระบุว่า เหมือนถูกแทงข้างหลัง เหตุใดฝรั่งเศสจึงไม่พอใจ เพราะก่อนหน้านี้ คื อเมื่อปี 2016 ออสเตรเลียตกลงและทำสัญญากับฝรั่งเศสไว้แล้ว ว่าจะให้ฝรั่งเศสสร้างเรือดำน้ำให้ 12…