1 ปีที่โลกวุ่น สายสืบออสซี่งานรุม เพราะสายลับต่างประเทศเกลื่อน

Loading

    “ไมค์ เบอร์เกส” อธิบดีองค์กรข่าวกรองความมั่นคงแห่งออสเตรเลีย (เอเอสไอโอ) เผยว่า ภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้นจากการแทรกแซงต่างประเทศ ในรัฐบาลออสเตรเลีย และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ทำให้องค์กรสายลับงานล้นมากกว่าเหตุก่อการร้าย 9/11 หรือเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ ในช่วงสงครามเย็น   สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานถ้อยแถลงการประเมินภัยคุกคามประจำปีของเบอร์เกส ระบุว่า ออสเตรเลียเผชิญกับความท้าทายอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน จากหน่วยสืบราชการลับและการแทรกแซงของต่างประเทศ     ตลอด 12 เดือนที่ผ่านมา เอเอสไอโอเข้าสลายรังสายลับที่ทำงานให้กับปฏิบัติการแทรกแซงต่างประเทศ บางคนได้รับหน้าที่ปฏิบัติงานเมื่อหลายปีก่อน   นั่นหมายความว่า เอเอสไอโองานรุมเร้าอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน งานยุ่งกว่าช่วงเวลาอื่น ๆ ในประวัติศาสตร์ 74 ปี งานมากกว่าช่วงสงครามเย็น และเหตุก่อการร้าย 9/11   เอเอสไอโอได้ทำลายแผนรัฐบาลต่างประเทศ ที่สอดแนมนักข่าวออสเตรเลียระดับอาวุโส ผ่านการศึกษาดูงานปลอม ๆ และตรวจสอบแนวทางที่น่าสงสัยให้กับสมาชิกตุลาการ   ทั้งนี้ เบอร์เกสไม่ได้ระบุชื่อประเทศที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานแทรกแซงต่างประเทศ เพียงแต่ทิ้งปมไว้ว่า ความหลากหลายของหน่วยสืบราชการลับในหลายรัฐบาล อาจทำให้ทุกคนต้องเซอร์ไพรส์        …

ออสเตรเลียสั่งถอดกล้องวงจรปิดจีนทั้งหมด-หวั่นด้านความมั่นคงประเทศ

Loading

    ออสเตรเลียเตรียมรื้อกล้องวงจรปิดที่ผลิตในจีนออกจากสถานที่ป้องกัน เพราะเกรงว่าอาจส่งผลต่อความมั่นคงของประเทศ   บีบีซี รายงานว่า รัฐบาลออสเตรเลียเตรียมถอดกล้องวงจรปิดจากจีน หลังจากการตรวจสอบสถานที่ของรัฐบาลในประเทศ พบว่า กล้องวงจรปิดและอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยกว่า 900 ตัวที่ติดตั้งอยู่บนสถานที่ของรัฐบาลมากกว่า 200 แห่งทั่วประเทศ โดยเฉพาะแผนกต่างประเทศและแผนกอัยการสูงสุดนั้นผลิตโดยบริษัทฮิควิชั่น (Hikvision) และบริษัทต้าหัว (Dahua) บริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยจากจีน ตามสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกาที่ได้ออกมาเคลื่อนไหวเรื่องดังกล่าวเมื่อปีที่ผ่านมา อ้างว่ากลัวรัฐบาลจีนอาจเข้าถึงข้อมูลสำคัญผ่านอุปกรณ์เหล่านี้ได้     ด้านนายริชาร์ด มาร์เลส รัฐมนตรีกลาโหมของออสเตรเลีย ระบุว่า รัฐบาลจะถอดกล้องวงจรปิดผลิตในจีนที่ติดตั้งอยู่ตามอาคารต่าง ๆ ในสังกัดของกระทรวงออกทั้งหมด เพื่อความปลอดภัยอย่างสมบูรณ์ ขณะเดียวกันทางรัฐบาลจะพิจารณาว่าจะมีการถอดกล้องวงจรปิดจากจีนที่ติดตั้งอยู่ในอาคารอื่น ๆ อีกหรือไม่ต่อไป   ด้านบริษัทฮิควิชั่น ออกมาแย้งว่า ข้อกล่าวหาเหล่านั้นไม่มีข้อมูลที่เป็นความจริง บริษัทไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลวิดีโอของผู้ใช้ปลายทางได้ ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะส่งต่อข้อมูลไปยังจีนอย่างแน่นอน ส่วนบริษัทต้าหัว ยังไม่ได้เคลื่อนไหวเกี่ยวกับเรื่องนี้   ขณะที่นายกรัฐมนตรีแอนโธนี อัลบานีส ของออสเตรเลีย กล่าวว่า เขาไม่เชื่อว่าการถอดกล้องออกจะส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีน เราปฏิบัติตามผลประโยชน์ของประเทศอย่างโปร่งใส   ทั้งนี้ บริษัททั้ง 2 แห่งของจีนถูกสหรัฐขึ้นบัญชีดำ…

ออสเตรเลียจ่อทุ่ม 1 พันล้าน ซื้อทุ่นระเบิดทะเลไฮเทค คาดสกัดอิทธิพลต่างชาติ

Loading

    โฆษกกระทรวงกลาโหมออสเตรเลีย เปิดเผยในวันนี้ (23 ม.ค.) ว่า ออสเตรเลียจะเร่งแผนซื้อทุ่นระเบิดทางทะเลประสิทธิภาพสูงเพื่อปกป้องเส้นทางเดินเรือและปกป้องท่าเรือจากผู้รุกราน ขณะที่สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า แผนการดังกล่าวมีขึ้นท่ามกลางแผนการขยายอิทธิพลของจีนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก   โฆษกกระทรวงกลาโหมออสเตรเลีย เปิดเผยว่า ทุ่นระเบิดดังกล่าวคือทุ่นระเบิดอัจฉริยะซึ่งออกแบบมา เพื่อแยกความแตกต่างระหว่างเป้าหมายทางทหารและเรือประเภทต่าง ๆ   กระทรวงกลาโหมออสเตรเลีย ระบุว่า “ออสเตรเลียกำลังเร่งจัดหาทุ่นระเบิดทางทะเลอัจฉริยะ ซึ่งจะช่วยรักษาความปลอดภัยในเส้นทางคมนาคมทางทะเลและเส้นทางการเดินเรือของออสเตรเลีย” โดยความสามารถสำคัญของทุ่นระเบิดสมัยใหม่นี้อยู่ที่การขัดขวางผู้บุกรุก   สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า แม้กระทรวงกลาโหมจะไม่ได้ชี้แจงรายละเอียดเพิ่มเติม แต่หนังสือพิมพ์ซิดนีย์ มอร์นิง เฮอร์รัลด์รายงานในวันนี้ว่า ออสเตรเลียอาจใช้งบประมาณสูงถึง 1 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (698 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในการจัดซื้ออาวุธใต้ทะเลไฮเทคดังกล่าว และยังรายงานอ้างแหล่งข่าวอีกว่า รัฐบาลกลางจะประกาศการทำสัญญาซื้อทุ่นระเบิดจำนวนมากจากผู้ค้าอาวุธยุทโธปกรณ์รายหนี่งในยุโรปในเร็ว ๆ นี้   ทั้งนี้ ออสเตรเลียได้เพิ่มการลงทุนทางทหารในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา รวมทั้งการบรรลุข้อตกลงเมื่อปี 2564 ในการซื้อเรือดำน้ำนิวเคลียร์จากสหรัฐและอังกฤษ         ——————————————————————————————————————————————————————– ที่มา :         …

Trend Micro พบอาชญากรใช้กลวิธีทำให้เว็บไซต์แฝงมัลแวร์ขึ้นผลค้นหาบน ๆ ของ Google เพื่อโจมตีเป้าหมายในออสเตรเลีย

Loading

  ผู้เชี่ยวชาญจาก Trend Micro พบว่าอาชญากรไซเบอร์ใช้โปรแกรมเล่นสื่อ VLC ในการปล่อยมัลแวร์ Cobalt Strike เพื่อโจมตีเป้าหมายในออสเตรเลีย   อาชญากรเหล่านี้สร้างเว็บไซต์ปลอมที่ได้รับการออกแบบให้ดูเหมือนกระดานสนทนาที่เผยแพร่เอกสารข้อตกลงเกี่ยวกับบริการสุขภาพในลักษณะไฟล์ ZIP   นอกจากนี้ ยังได้มีการใช้วิธีการที่เรียกว่า SEO (search engine optimization) poisoning หรือการทำให้เว็บไซต์ปลอมที่สร้างขึ้นไปอยู่ในผลการค้นหาของเสิร์ชเอนจิน โดยเฉพาะ Google ในลำดับบน ๆ ด้วยการใส่ลิงก์เว็บไซต์ปลอมที่ว่านี้ในหน้าเว็บไซต์อื่น ๆ และโพสต์ในโซเชียลมีเดียให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้   อาชญากรกลุ่มนี้ยังได้พยายามทำให้เว็บไซต์ของตัวเองเชื่อมโยงกับคีย์เวิร์ดอย่าง ‘โรงพยาบาล’ ‘สุขภาพ’ และ ‘ข้อตกลง’ จับคู่กับชื่อเมืองต่าง ๆ ในออสเตรเลีย   หากมีเหยื่อหลงไปดาวน์โหลดไฟล์ ZIP บนเว็บไซต์ปลอมดังกล่าวก็จะทำให้ตัว Gootkit Loader เข้าไปทำงานในเครื่องโดยจะปล่อยสคริปต์ PowerShell ที่จะดาวน์โหลดมัลแวร์เพิ่มเติมลงในอุปกรณ์ของเหยื่อ หนึ่งในไฟล์ที่ Gootkit ดาวน์โหลดเข้าไปในเครื่องเป็นไฟล์ VLC media player ซึ่งเมื่อเหยื่อเปิดไฟล์ตัวนี้ขึ้นมา มันจะมองหาไฟล์…

“ม.ออสเตรเลีย” กลับไปสอบ “ปากกา-กระดาษ” สกัดนศ.ใช้ “AI” โกงข้อเขียน

Loading

  เทคโนโลยีสุดล้ำอย่าง ปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) ที่สามารถคิดและวิเคราะห์ได้ใกล้เคียงมนุษย์มากขึ้นเรื่อย ๆ หากใช้ผิดทางย่อมนำมาซึ่งผลเสียมหันต์ เช่น มหาวิทยาลัยชั้นนำในออสเตรเลีย จำต้องเปลี่ยนกลับมาใช้วิธีสอบด้วย “ปากกาและกระดาษ” หลังพบนักศึกษาทุจริตใช้เอไอเขียนเรียงความแทน   เมื่อไม่นานนี้ มีปรากฏการณ์แชทบอทอัจฉริยะที่พัฒนามาจากปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) ที่เรียกว่า “ChatGPT” ของบริษัท OpenAI ซึ่งสร้างความฮือฮาไปทั่วโลก หลังจากเปิดตัวเมื่อเดือน พ.ย.ที่ผ่านมา พร้อมกับความสามารถสุดน่าทึ่ง เช่น สนทนาโต้ตอบในหัวข้ออะไรก็ได้ที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตอยากรู้ ตั้งแต่ประเด็นเชิงประวัติศาสตร์ ปรัชญา ไปจนถึงวิทยาศาสตร์ และทฤษฎีวิชาการต่าง ๆ   ด้วยเหตุนี้ โรงเรียนรัฐหลายแห่งในนิวยอร์กของสหรัฐจึงสั่งห้ามนักเรียนใช้ ChatGPT ในทุกอุปกรณ์ เนื่องจากกังวลเกี่ยวกับ “ผลกระทบเชิงลบต่อการเรียนรู้ของนักเรียน” และอาจมีการคัดลอกผลงานผู้อื่นด้วย   ล่าสุดในออสเตรเลีย สถาบันการศึกษาหลายแห่งได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับ ChatGPT และความสามารถของเทคโนโลยีอื่นที่คล้ายคลึงกัน ในการเลี่ยงซอฟต์แวร์ตรวจจับการคัดลอกผลงาน พร้อมกับช่วยนักศึกษาเขียนงานวิชาการได้อย่างรวดเร็วและน่าเชื่อถือเสมือนเขียนด้วยตัวเอง   Group of Eight หรือกลุ่ม 8 มหาวิทยาลัยที่เน้นการวิจัยระดับชั้นนำของออสเตรเลีย ระบุว่า ได้แก้ไขวิธีสอบวัดผลในปีการศึกษานี้…

แฮ็กเกอร์สั่งให้เครื่องพิมพ์ของมหาวิทยาลัยในออสเตรเลียพิมพ์จดหมายเรียกค่าไถ่ หลังโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่

Loading

  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีควีนส์แลนด์ (QUT) มหาวิทยาลัยใหญ่เป็นอันดับ 2 ของรัฐควีนส์แลนด์ ออสเตรเลีย ถูกโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่จนทำให้เครื่องพิมพ์สั่งพิมพ์จดหมายเรียกค่าไถ่ออกมาเอง   ในเบื้องต้น ทาง QUT ต้องระงับการใช้งานระบบไอทีหลายระบบเพื่อเป็นการมาตรการป้องกันการถูกขโมยข้อมูลเพิ่มเติม พร้อมระบุว่าระบบหลักที่เกี่ยวกับนักศึกษา บุคลากร และระบบการเงินยังปลอดภัยดี เพียงแต่ปิดใช้งานเอาไว้ก่อน   ศาสตราจารย์ มาร์กาเรต ชีล (Margaret Sheil) รองอธิการบดีของ QUT เผยว่าเครื่องพิมพ์ส่วนตัวก็ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นี้เช่นกัน จนทำให้พิมพ์จดหมายเรียกค่าไถ่ออกมาจนไม่เหลือกระดาษให้พิมพ์อีก   ในจดหมายเรียกค่าไถ่ระบุว่ามาจากกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า Royal ransomware ตามด้วยข้อความที่ชี้ว่าแฮ็กเกอร์ได้คัดลอกข้อมูลในระบบของ QUT ไปแล้ว และหากทางมหาวิทยาลัยฯ ไม่จ่ายค่าไถ่ ก็จะมีการเผยแพร่บนโลกออนไลน์ทันที   QUT ยังได้รับความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญภายนอกในการตรวจสอบการแฮกที่เกิดขึ้น และได้แจ้งนักศึกษาและบุคลากรเกี่ยวกับกรณีที่เกิดขึ้นแล้ว โดยมีการติดต่อไปยังนักศึกษาที่ได้รับข้อเสนอให้มาศึกษาต่อยังมหาวิทยาลัยฯ แต่นักศึกษาเหล่านี้จะยังไม่สามารถกรอกเอกสารได้จนกว่าระบบไอทีจะกลับมาทำงานเป็นปกติ   ชีลยังบอกด้วยว่ามหาวิทยาลัยฯ มีแผนรองรับการโจมตีทางไซเบอร์ และได้แจ้งไปยังหน่วยงานของรัฐบาลกลางแล้ว ซึ่งทางกระทรวงศึกษาธิการของรัฐบาลกลางออสเตรเลียยืนยันว่าได้รับทราบถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว   ก่อนหน้านี้ กระทรวงสุขภาพและบริการมนุษย์ของสหรัฐอเมริกา (HHS) เคยออกคำเตือนโรงพยาบาลต่าง ๆ เกี่ยวกับ…