Telstra บริษัทโทรคมนาคมออสเตรเลียอ้างความผิดพลาดในระบบทำให้ข้อมูลลูกค้านับแสนรายหลุด

Loading

  Telstra บริษัทโทรคมนาคมจากออสเตรเลียอ้างว่าความบกพร่องของการจัดการฐานข้อมูลทำให้ข้อมูลลูกค้า 130,000 คน รั่วไหลออกสู่สาธารณะ   ข้อมูลเหล่านี้มีทั้ง ชื่อ เบอร์โทรศัพท์ และที่อยู่ของลูกค้าที่เคยข้อให้นำข้อมูลเหล่านี้ออกจากโลกออนไลน์   ไมเคิล แอ็กแลนด์ (Michael Ackland) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินยืนยันว่าข้อมูลที่หลุดออกมาเกิดจากความบกพร่องในการจัดเรียงข้อมูลภายในฐานข้อมูลที่ใช้ในการให้บริการ ไม่ได้เกิดจากการโจมตีทางไซเบอร์แต่อย่างใด   นอกจากนี้ แอ็กแลนด์ยังได้กล่าวคำขอโทษและชี้ว่าบริษัทอยู่ระหว่างการนำข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าออกจากระบบอยู่ โดยจะติดต่อลูกค้าที่ข้อมูลที่รั่วไหลทุกคน รวมถึงจะมีการตรวจสอบภายในด้วย   “พวกเราเสียใจที่เรื่องนี้เกิดขึ้น และเรารู้ว่าเราทำให้ทุกท่านผิดหวัง” แอ็กแลนด์กล่าว   ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา คู่แข่งรายใหญ่ของ Telstra อย่าง Optus ก็เพิ่งจะถูกโจมตีทางไซเบอร์จนข้อมูลลูกค้าเกือบ 10 ล้านรายหลุดออกไป     ที่มา Bloomberg         ——————————————————————————————————————————————————————— ที่มา :                 …

ออสเตรเลียผ่านกฎหมายลงโทษคนทำข้อมูลส่วนบุคคลหลุดสุดโหด ค่าปรับคิดตามความเสียหาย

Loading

  ออสเตรเลียผ่านกฎหมายขึ้นค่าปรับการทำข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล จากเดิมที่ค่าปรับสูงสุดอยู่ที่ 2.2 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย กลายเป็นค่าปรับไม่มีเพดานแต่จะคิดจากความเสียหายหรือขนาดองค์กรที่ทำข้อมูลหลุดแทน โดยค่าปรับในกรณีที่เกิดความเสียร้ายแรงหรือทำผิดซ้ำ   โดยเพดานค่าปรับจะดูจากสามเงื่อนไขและคิดเงื่อนไขที่เพดานค่าปรับสูงสุด เงื่อนไขได้แก่ – 50 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย – สามเท่ามูลค่าผลประโยชน์ที่คนร้ายได้ไปจากการใช้ข้อมูล – 30% ของเงินหมุนเวียนของบริษัท (adjusted turnover)   ออสเตรเลียพบปัญหาข้อมูลหลุดครั้งใหญ่ ๆ หลายครั้งในปีนี้ เช่น เครือข่ายโทรศัพท์มือถือ Optus ทำข้อมูลลูกค้าหลุด 9.8 ล้านคน หรือบริการประกันสุขภาพ Medibank ที่ทำข้อมูลหลุดถึง 9.7 ล้านคน   นอกจากการเพิ่มบทลงโทษแล้ว กฎหมายนี้ยังให้อำนาจกรรมการข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับการช่วยสอบสวนเหตุการณ์ข้อมูลหลุดและการเปิดเผยข้อมูลเพื่อปกป้องลูกค้าขององค์กรที่ข้อมูลหลุด   กฎหมายนี้นับเป็นวาระเร่งด่วนของรัฐบาล Albanese ที่เพิ่งรับตำแหน่งในปีนี้ ทางรัฐบาลประกาศว่าจะแก้ไขกฎหมายข้อมูลส่วนตัวเพิ่มเติมต่อไป     ที่มา – Australia Attorney General ภาพ – vjohns1580    …

ออสเตรเลียลดระดับเตือนภัยก่อการร้าย เป็นครั้งแรกในรอบ 8 ปี

Loading

  หน่วยงานความมั่นคงของออสเตรเลียลดระดับการเตือนภัยก่อการร้าย เป็นครั้งแรก นับตั้งแต่ปี 2557   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากเมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย เมื่อวันที่ 28 พ.ย. ว่า องค์กรความปลอดภัยข่าวกรองออสเตรเลีย ( เอเอสไอโอ ) ประกาศลดระดับเตือนภัยการก่อการร้ายจาก “เป็นไปได้” ลงมาอยู่ที่ “น่าจะเป็น”   ทั้งนี้ เอเอสไอโอยกระดับการเตือนภัยก่อการร้ายดังกล่าว เมื่อปี 2557 ท่ามกลางความวิตกกังวลเกี่ยวกับการมีพลเมืองออสเตรเลียเดินทางออกไปร่วมการสู้รบในซีเรีย และแนวโน้มของการเกิดเหตุก่อการร้าย หรือเหตุรุนแรง โดยคนร้ายซึ่งได้รับอิทธิพลจากกลุ่มหัวรุนแรงในอิรักและซีเรีย   Australia's terror threat level lowered for first time in almost a decade https://t.co/uIbrB8tKxh — ABC News (@abcnews) November 28, 2022   อย่างไรก็ตาม เอเอสไอโอเน้นย้ำว่า การลดระดับครั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า ความเสี่ยงของการเกิดเหตุก่อการร้ายต่อออสเตรเลียจะหมดไปอย่างสิ้นเชิง…

แฮ็กเกอร์ปล่อยข้อมูลของ Medibank ลงดาร์กเว็บ หลังไม่ได้รับค่าไถ่

Loading

  REvil กลุ่มมัลแวร์เรียกค่าไถ่นำข้อมูลละเอียดอ่อนของลูกค้าที่ขโมยมาได้จาก Medibank ผู้ให้บริการประกันสุขภาพรายใหญ่ของออสเตรเลียไปปล่อยลงดาร์กเว็บ หลังจากที่ Medibank ไม่ยอมจ่ายค่าไถ่   ข้อมูลที่ถูกนำมาปล่อยมีทั้ง ชื่อ ที่อยู่ วันเกิด เบอร์โทรศัพท์ อีเมล เลขหนังสือเดินทาง และข้อมูล Medicare หรือข้อมูลประกันสุขภาพของลูกค้า   ในจำนวนนี้ยังมีข้อมูลประวัติการรักษาของเหยื่อด้วย ซึ่งในบางกรณีเป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิต และการติดยาเสพติด รวมถึงข้อมูลการทำแท้งด้วย   Medibank เผยว่าได้รับทราบกรณีดังกล่าวแล้ว และเชื่อว่าข้อมูลที่ REvil เอามาปล่อยนั้นเป็นข้อมูลลูกค้าของทางบริษัทจริง และย้ำว่าจะแจ้งให้ลูกค้าทราบโดยละเอียด พร้อมให้คำแนะนำว่าควรจะทำอย่างไรต่อไป   ก่อนหน้านี้ทาง REvil เรียกค่าไถ่สูงถึง 10 ล้านเหรียญ (ราว 368.9 ล้านบาท) ก่อนจะลดลงมาเหลือ 9.7 ล้านเหรียญ (ราว 357 ล้านบาท) ตามจำนวนของลูกค้าที่ถูกแฮ็กข้อมูล   ทรอย ฮันต์ (Troy Hunt) ผู้เชี่ยวชาญด้านไซเบอร์ให้ความเห็นว่าการปล่อยข้อมูลของ REvil…

Medibank ยืนยันไม่จ่ายค่าไถ่ให้กับแฮ็กเกอร์ที่เจาะข้อมูลลูกค้า

Loading

  Medibank ผู้ให้บริการประกันสุขภาพรายใหญ่ที่สุดของออสเตรเลีย เผยว่าจะไม่จ่ายเงินค่าไถ่ให้กับแฮ็กเกอร์โจมตีบริษัทด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่เมื่อเดือนที่แล้ว   บริษัทเผยว่าลูกค้าที่ได้รับผลกระทบรวมกันทั้งสิ้นราว 9.7 ล้านคน (ในจำนวนนี้มีลูกค้าของ ahm ซึ่งเป็นบริษัทลูกรวมอยู่ด้วย) การโจมตีครั้งนั้นทำให้แฮ็กเกอร์ได้ข้อมูลส่วนตัวที่มีทั้งชื่อ วันเกิด ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ และอีเมล รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับการรับสิทธิประกันสุขภาพ และข้อมูลประวัติการรักษา   นอกจากลูกค้าภายในประเทศแล้ว ข้อมูลหนังสือเดินทางของลูกค้าที่เป็นนักศึกษาจากนานาชาติยังถูกแฮ็กเกอร์เข้าดูด้วย   เดวิด ค็อกซ์คาร์ (David Koczkar) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Medibank ระบุเหตุผลที่ไม่จ่ายเงินค่าไถ่ในครั้งนี้เพราะได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญว่าการจ่ายเงินไม่ได้เป็นสิ่งการันตีว่าอาชญากรจะยอมคืนข้อมูล หรือเก็บข้อมูลของลูกค้าเป็นความลับ   “ในความเป็นจริง การจ่ายเงินอาจให้ผลในตรงกันข้าม และยังเอื้อให้อาชญากรตัดสินใจกรรโชกทรัพย์จากลูกค้าได้โดยตรง และยังมีโอกาสมากที่การจ่ายเงินค่าไถ่จะทำให้ผู้คนอีกมากตกอยู่ในอันตราย เพราะออสเตรเลียจะกลายเป็นเป้าโจมตีที่ใหญ่ขึ้น” ค็อกซ์คาร์ระบุ   ทั้งนี้ Medibank จะคอยให้ความช่วยเหลือในด้านสุขภาพจิตและสุขอนามัย การปกป้องตัวตน และจะมีมาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ลูกค้าที่ได้รับผลกระทบ รวมถึงจะให้มีกระบวนการตรวจสอบจากภายนอกเพื่อถอดบทเรียนจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและเสริมความเข้มแข็งให้กับลูกค้าของเราต่อไป   Medibank ยืนยันว่าจะทำงานร่วมกับรัฐบาลออสเตรเลีย โดยเฉพาะศูนย์ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (ACSC) และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (AFP)     ที่มา Medibank…

ForceNet ระบบสื่อสารของกลาโหมออสเตรเลียถูกโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่

Loading

  มีรายงานข่าวว่า ForceNet แพลตฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้สำหรับสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลของถูกโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่   ทั้งนี้ ยังไม่มีสิ่งบ่งชี้ว่ามีข้อมูลละเอียดอ่อนของกองทัพถูกขโมยไปในระหว่างการโจมตี แต่ข้อมูลบุคลากรของรัฐราว 30,000 – 40,000 ราย อาจเป็นส่วนหนึ่งที่ได้รับผลกระทบด้วย   กระทรวงกลาโหมอยู่ระหว่างตรวจสอบหาสาเหตุและวิเคราะห์การโจมตีในครั้งนี้ พร้อมออกคำสั่งให้เจ้าหน้าที่เปลี่ยนรหัสผ่านทั้งหมดด้วย   ขณะเดียวกัน กองบัญชาการทางสัญญาณของออสเตรเลีย (ASD) ซึ่งรับผิดชอบข่าวกรองทางสัญญาณและการรบทางไซเบอร์ได้เคยออกคำเตือนตั้งแต่เมื่อเดือนพฤศจิกายนของปีที่แล้วว่า Sitecore ซอฟแวร์ที่ใช้ในการสร้าง ForceNet มีช่องโหว่ที่เปิดทางให้ผู้ไม่หวังดีเข้าฝังมัลแวร์เพื่อควบคุมจากระยะไกลได้อยู่   ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ออสเตรเลียถูกกระหน่ำโจมตีทางไซเบอร์ อย่างในกรณีของ Medibank ผู้ให้บริการประกันสุขภาพรายใหญ่ก็ถูกแฮกข้อมูลลูกค้าเกือบ 4 ล้านราย ไปจนถึงกรณีของ Optus และ Telstra สองบริษัทด้านโทรคมนาคมใหญ่ที่สุดของประเทศก็ตกเป็นเหยื่อการเจาะข้อมูลเช่นกัน     ที่มา IT PRO       —————————————————————————————————————————————————- ที่มา :             …