ออสเตรเลีย ตั้งข้อหาวัยรุ่น ทำปืนใช้งานได้จริง จากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ

Loading

  วันที่ 14 มิ.ย. ซีเอ็นเอ็น รายงานว่า วัยรุ่นออสเตรเลีย ถูกตั้งข้อหามีความผิดเกี่ยวกับปืน หลังตำรวจยึดอาวุธปืนที่ทำงานได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งวัยรุ่นอ้างทำที่บ้านด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ   ดาบตำรวจแบลร์ สมิธ ถืออาวุธปืนที่ทำจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติที่ยึดได้ Credit: Nic Ellis ตำรวจในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียพบอาวุธปืนดังกล่าว และอาวุธปืนอื่นๆ จำนวนมาก หลังออกหมายค้นที่บ้านหนุ่มวัย 18 ปี ในช่วงต้นเดือน มิ.ย. ดาบตำรวจแบลร์ สมิธ บอกผู้สื่อข่าวว่า “อาวุธปืนนี้ แม้จะคล้ายของเล่น แต่มีความสามารถที่จะก่ออันตรายร้ายแรงภายในชุมชนของเรา เป็นที่น่ากังวลอย่างยิ่งว่า ผู้ชายคนนี้สามารถผลิตอาวุธปืนนี้ได้ที่บ้านด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ และวัสดุหาง่าย” ไนน์นิวส์ โทรทัศน์ออสเตรเลีย รายงานว่า อาวุธปืนพลาสติกดังกล่าวสามารถยิงกระสุนปืนได้ 15 ลูก ด้วยการเหนี่ยวไก 1 ครั้ง ตำรวจอ้างว่าใช้เวลา 2 วัน ในการผลิตด้วยวัสดุที่มีต้นทุนต่ำกว่า 40 ดอลลาร์ออสเตรเลีย…

สหรัฐฯ-อังกฤษ-ออสเตรเลียประกาศร่วมมือทางไฮเปอร์โซนิก หลังเพนตากอนซุ่มเงียบทดสอบมิสไซล์เหนือเสียงของล็อกฮีด มาร์ตินกลางมีนาคม

Loading

(ภาพบนขวา) มิสไซล์ไฮเปอร์โซนิก บริษัทล็อกฮีด มาร์ติน กลางมีนาคมปีนี้ และ (ภาพใหญ่) การทดสอบมิสไซล์ไฮเปอร์โซนิกบริษัทเรธีออน เทคโนโลยีส์ เมื่อกันยายนปีที่ผ่านมา   เอเอฟพี/เอเจนซีส์/MGRออนไลน์ – เมื่อวานนี้ (5 เม.ย.) สหรัฐฯ อังกฤษ และออสเตรเลียประกาศว่าจะเริ่มต้นร่วมมือทางความสามารถป้องกันและการโจมตีของมิสไซล์ไฮเปอร์โซนิกท่ามกลางคู่แข่งทั้งรัสเซียและจีนที่รุดหน้าในความก้าวหน้าเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว เกิดขึ้นหลังกองทัพสหรัฐฯ เมื่อกลางเดือนมีนาคมประสบความสำเร็จโครงการ Hypersonic Air-breathing Weapon Concept หรือ HAWC ที่ยิงออกมาจากเครื่องบินทิ้งระเบิด B-52 แต่ไม่มีการเปิดเผยต่อสาธารณะ   เอเอฟพีรายงานวันนี้ (6 เม.ย.) ว่า สหรัฐฯ อังกฤษ และออสเตรเลีย แถลงในวันอังคาร (5) ว่า จะทำงานร่วมกันในเทคโนโลยีทางการทหารไฮเปอร์โซนิกอันเป็นส่วนหนึ่งของการขยายพันธมิตรทางการป้องกันกลุ่ม AUKUS ที่จะช่วยติดอาวุธเรือดำน้ำนิวเคลียร์เพื่อต่อต้านการขยายอิทธิพลทางการทหารของจีนในภูมิภาค   โดยประเทศทั้งสามประกาศความร่วมมือต่อการพัฒนาไฮเปอร์โซนิก การต่อต้านไฮเปอร์โซนิก และความสามารถทางสงครามอิเล็กทรอนิกส์วอร์แฟร์ ในแถลงการณ์ที่ออกโดยประธานาธิบดีสหรัฐฯ โจ ไบเดน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ บอริส จอห์นสัน และนายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย…

สหรัฐฯ และ ออสเตรเลีย ลงนามแลกเปลี่ยนข้อมูลอาชญากร

Loading

  รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ เมอร์ริค การ์แลนด์​และ รัฐมนตรีกระทรวงกิจการภายในของออสเตรเลีย คาเรน แอนดรูวส์ แถลงหลังร่วมลงนามการเข้าถึงข้อมูลอาชญากรรมตามกาละเทศะระหว่างสองประเทศ เพื่อประโยชน์ในการสืบคดีอาชญากรรมร้ายแรง โดยข้อตกลงร่วมนี้อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติ คลาวด์ ของสหรัฐฯ ที่อนุญาตให้คู่สัญญาร้องขอและได้รับข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ จากบริษัทเทเลคอมต่าง ๆ ในอีกประเทศ โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการร้องขอต่อศาล ขณะที่รัฐบาลออสเตรเลียสามารถเรียกขอข้อมูลสื่อสารของผู้ต้องสงสัยได้แม้ว่าข้อมูลนั้นจะถูกเก็บไว้ในเซิร์ฟเวอร์ในสหรัฐฯ​ และ หน่วยงานยุติธรรมของสหรัฐฯ​จะไม่มีส่วนในการสืบสวนกรณีนั้นก็ตาม ————————————————————————————————————————————————- ที่มา :  AFP            / วันที่เผยแพร่   16 ธ.ค.2564 Link :  https://today.line.me/th/v2/article/oqOLMY6

หมดยุคอวตาร เล็งออกกฎหมายหมิ่นประมาท บังคับโซเชียล เปิดเผยตัวตน

Loading

  ออสเตรเลีย เตรียมออกกฎหมายหมิ่นประมาท บังคับโซเชียล เปิดเผยตัวตน นายกรัฐมนตรี สกอตต์ มอร์ริสัน แห่งออสเตรเลีย กำลังออกกฎหมายหมิ่นประมาทฉบับใหม่ ซึ่งจะบังคับให้แพลตฟอร์มออนไลน์ต้องเปิดเผยตัวตนของอวตารหรือโทรลล์ มิฉะนั้นแพลทฟอร์มจะต้องชดใช้ค่าเสียจากการหมิ่นประมาท กฎหมายดังกล่าวจะมีแพลตฟอร์มโซเชียล เช่น Facebook หรือ Twitter ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อความคิดเห็นใด ๆ ก็ตามที่สร้างความเสื่อมเสียให้กับผู้ใช้งาน แพลตฟอร์มจะต้องสร้างระบบการร้องเรียนที่ผู้คนสามารถใช้ได้หากรู้สึกว่าเป็นเหยื่อของการหมิ่นประมาท ในกระบวนการนี้ บุคคลที่โพสต์เนื้อหาที่หมิ่นประมาทจะถูกขอให้ลบออกในขั้นแรก แต่ถ้าพวกเขาปฏิเสธ หรือหากเหยื่อสนใจที่จะดำเนินการทางกฎหมาย แพลตฟอร์มก็สามารถขออนุญาตตามกฎหมายจากผู้โพสต์เพื่อเปิดเผยข้อมูลติดต่อของพวกเขาได้ ซึ่งจะสามารถดำเนินคดีตามกฏหมายต่อไป มอร์ริสัน เปิดเผยอีกว่า โลกออนไลน์ไม่ควรเป็นที่ซึ่งบอทและพวกหัวรุนแรงและโทรลล์และคนอื่น ๆ จะไม่เปิดเผยตัวตน แต่สามารถเข้ามาทำร้ายผู้คนได้ และร่างกฎหมาย “ต่อต้านโทรลล์” คาดว่าจะมีขึ้นในสัปดาห์นี้ คิดยังไงกัน หากกฏหมายนี้การบังคับใช้ในไทยบ้าง ?       ที่มาข้อมูล  https://www.theverge.com/2021/11/28/22806369/australia-proposes-defamation-laws-unmask-trolls     ————————————————————————————————————————————————————— ที่มา :  Techhub           …

ความหมายของ AUKUS

Loading

  ก่อนจะเขียนอื่นใดทั้งหมดต่อไป ขอส่งกำลังใจให้ฝรั่งเศสในวาระที่ได้ประจักษ์ความหมายในการเป็นพันธมิตรกับประเทศเจ้ามหาอำนาจและประเทศลูกคู่ที่พูดภาษาอังกฤษเออออกันด้วยความเข้าอกเข้าใจ แม้พวกเขาจะพูดกันเป็นคนละสำเนียง และอยู่ห่างไกลกันคนละฟากสมุทร การประจักษ์แบบนี้จะทำให้ฝรั่งเศสและสหภาพยุโรปคิดอ่านกันอย่างไรต่อไปเกี่ยวกับการจัดการความมั่นคงและการจัดการอุตสาหกรรมภาคความมั่นคงของยุโรปภายหลัง Brexit และ AUKUS ก็น่าคิดและน่าติดตามอยู่มาก   การถอดความหมายของ AUKUS –ความร่วมมือทางยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงระหว่างพันธมิตร 3 ฝ่ายใหม่ล่าสุดระหว่างออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา— ทำได้หลายทาง ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีท่านผู้รู้และชำนาญการให้ความเห็นไว้มากแล้ว ในที่นี้เลยจะขอหลบมาให้ความหมายแนวครูพักลักจำจากปรมาจารย์สายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (IR) ที่รุ่นเก่ารุ่นใหม่ชุมนุมคับคั่งอยู่ในสหรัฐฯ และอังกฤษมากหน้าหลายตา   เมื่อเป็นการเขียนแบบครูพักลักจำ ส่วนแสดงทฤษฎีจะมีน้อย จะหนักไปในส่วนเสนอทิฐิแทน ซึ่งบางทีก็เป็นทิฐิมานะ ท่านที่ไม่คุ้นภาษาพระ ทิฐิมานะคือการยึดมั่นในสถานะของตัวว่าอยู่เหนือคนอื่น ยึดมั่นในความคิดเห็นของตัวว่าถูกต้องกว่าของใครหมด แต่จะเป็นมิจฉาหรือสัมมาแบบไหน หรือเป็นทิฐิมานะของใคร ภาษาการทูตท่านให้รักษาความแนบเนียนไม่กล่าวโทษหรือก้าวล่วงใครออกมาชัดแจ้ง ส่วนการปาดหน้าเค้กหรือหยิบชิ้นปลามันที่พวกเดียวกันถือไว้ไปต่อหน้าต่อตาโดยไม่เจรจากับเขาดี ๆ อันนี้ต้องไปถามจากผู้เป็นเจ้ามหาอำนาจและบริวารว่ากลายเป็นแบบแผนพึงประพฤติมาแต่เมื่อใด   ท่านแต่ก่อนมาจนถึงรุ่น Susan Strange ปรมาจารย์ IR ฝั่งอังกฤษสายเศรษฐกิจการเมืองระหว่างประเทศสอนว่า วิธีการตามหาความหมายของเรื่องใดก็ตาม อย่างง่ายที่สุดและควรทำก่อนอื่นใดถ้าหากทำได้ คือถามหาว่า ใครได้ประโยชน์? / cui bono? และการตามหาว่าใครได้ประโยชน์ชัดเจนที่สุดก็คือ การตามจากเงิน พอเห็นการโยกย้ายถ่ายเทของเงินจากไหนไปไหนโดยผลของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น…

เปิดสาเหตุ “ออสเตรเลีย” ต้องการเรือดำน้ำนิวเคลียร์

Loading

  ทำไมออสเตรเลีย ต้องการเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ เพื่อต้องการปกป้องประเทศในหมู่เกาะมหาสมุทรแปซิฟิกซึ่งเสมือนหลังบ้านของตัวเอง ประเทศที่เป็นหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกมี 14 ประเทศ ได้แก่ ปาปัวนิวกินี, ปาเลา, สหพันธรัฐไมโครนีเชีย, หมู่เกาะมาร์แชลล์, นาอูรู, หมู่เกาะโซโลมอน, วานูอาตู, ฟิจิ, ตูวาลู, ตองกา, นีอูเอ, ซามัว, คิริบาส และหมู่เกาะคุก ปาปัวนิวกินี หนึ่งในประเทศแปซิฟิก ที่กำลังเต็มไปด้วยธงสีแดงของจีน โดยจีนมีผลประโยชน์ตั้งแต่การลงทุนขนาดใหญ่ กลุ่มอาคารและสาธารณูปโภคที่กำลังก่อสร้าง ไปจนถึงร้านอาหารจีนที่เกิดขึ้นทั่วเกาะ     เหล่านี้คือประจักษ์พยานของอุ้งมือพญามังกรที่เอื้อมมายังภูมิภาคนี้ คนที่นี่จำนวนมากได้ประโยชน์จากการลงทุนของจีน อย่างน้อยก็ในขณะนี้   อิทธิพลของจีนไม่ได้หยุดอยู่แค่ปาปัวนิวกินี ข้อมูลจาก สถาบัน Lowy Institute ในนครซิดนีย์ระบุว่า ช่วงทศวรรษที่ผ่านมา จีนเข้ามาลงทุนและให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่กลุ่มประเทศในโอเชียเนียหรือประเทศในหมู่เกาะแปซิฟิกมากกว่า 1,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 60,000 ล้านบาท รวมถึงยังมีความพยายามล็อบบี้กลุ่มประเทศเหล่านี้เพื่อผลทางการเมือง เช่น ในเดือนกันยายน ปี 2019 ที่จู่ ๆ คิริบาส…