ฝรั่งเศส ประกาศภาวะฉุกเฉินในนิวแคลิโดเนีย นานาชาติแนะเปิดโต๊ะเจรจายุติปัญหา

Loading

หลังจากรัฐสภาฝรั่งเศส ลงมติเมื่อวันอังคาร(14 พ.ค.67)ให้แก้ไขรัฐธรรมนูญของนิวแคลิโดเนีย (New Caledonia) ดินแดนโพ้นทะเลของฝรั่งเศสในแถบตะวันตกเฉียงใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก โดยให้พลเมืองชาวฝรั่งเศสที่มีที่พักอาศัยประจำอยู่ในนิวแคลิโดเนียมีสิทธิ์เลือกตั้งท้องถิ่น ให้บางคนกังวลว่าจะทำให้ชนพื้นเมืองมีสิทธิมีเสียงลดลง กลุ่มซีซีเอที (CCAT) ได้ชักชวนคนออกมาชุมนุมประท้วง และกลายเป็นเหตุจลาจล

วุ่นหนัก! ฝรั่งเศสประกาศภาวะฉุกเฉินที่นิวแคลิโดเนีย จากเหตุจลาจลทางการเมือง

Loading

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากเมืองนูเมอา ดินแดนนิวแคลิโดเนีย เมื่อวันที่ 16 พ.ค. ว่าประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง ผู้นำฝรั่งเศส ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ที่ดินแดนนิวแคลิโดเนีย และสั่งให้ทหารลงพื้นที่รักษาความปลอดภัยตามท่าเรือทุกแห่ง และท่าอากาศยานนานาชาติ ตั้งแต่วันที่ 16 พ.ค. หลังเกิดจลาจลต่อเนื่องสองคืนก่อนหน้านั้น ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 4 ราย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีกหลายร้อยคน ถือเป็นสถานการณ์ความไม่สงบครั้งรุนแรงที่สุดในรอบหลายทศวรรษ ซึ่งเกิดขึ้นกับดินแดนแห่งนี้

กระแสประท้วงหนุนปาเลสไตน์ในมหาวิทยาลัยเกิดที่ไหนบ้าง?

Loading

กระแสการประท้วงสนับสนุนปาเลสไตน์และต่อต้านการทำสงครามของอิสราเอลในฉนวนกาซาปะทุขึ้นในหลายมหาวิทยาลัยทั่วสหรัฐฯ ตั้งแต่ช่วงกลางเดือนเมษายนที่ผ่านมา ก่อนจะกลายเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการประท้วงในมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่งทั่วโลก อาทิ แคนาดา, สหราชอาณาจักร, ฝรั่งเศส, ออสเตรเลีย, ญี่ปุ่น, อินเดีย, อียิปต์, เยเมน, จอร์แดน และเลบานอน

แอปพลิเคชันของสายการบินแควนตัส เพี้ยนแชร์ข้อมูลผู้โดยสาร

Loading

เมื่อวันที่ 1 พ.ค. สายการบินแควนตัสของออสเตรเลีย ประกาศเร่งตรวจสอบความผิดพลาดที่เกิดขึ้นกับระบบแอปพลิเคชันของสายการบินในโทรศัพท์สมาร์ตโฟน

ตำรวจออสเตรเลีย รวบ 7 วัยรุ่น ในนครซิดนีย์ฐานมีแนวคิดรุนแรง ก่อเหตุทำร้ายบิชอบในซิดนีย์

Loading

หลังเกิดเหตุเด็กวัยรุ่นชายอายุ 16 ปีคนหนึ่งถูกจับกุม หลังบุกใช้มีดเข้าทำร้ายบิชอป หรือ มุขนายก มาร์ มารี เอ็มมานูเอล กับคนอื่นๆ ที่พยายามเข้าไปห้ามที่โบสถ์ คริสต์ เดอะ กู๊ด เชพเพิร์ด (Christ The Good Shepherd Church) ในเขตเวคลีย์ (Wakeley)ทางตะวันตกของนครซิดนีย์ เมื่อช่วงค่ำวันจันทร์ที่ 15 เม.ย. 2567 ขณะมีการเทศนาถ่ายทอดสดผ่านโลกออนไลน์

จับตาแก๊งแฮ็กเกอร์จีน ก่อหวอด ‘Cyber Warfare’

Loading

    สหรัฐฯ สหราชอาณาจักร และนิวซีแลนด์ เผย ถูกแฮ็กเกอร์จีนเจาะระบบ โดยมีนักการเมืองและผู้ลงคะแนนเสียงเป็นเหยื่อ   การโจมตีทางไซเบอร์ที่มีรัฐอยู่เบื้องหลัง (state-sponsor) มีการพูดถึงกันมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เพราะเป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันเชิงกลยุทธ์และเศรษฐกิจทั่วโลก   โดยรัฐทำหน้าที่เป็นท่อน้ำเลี้ยงหลักให้กับเหล่าบรรดาแฮ็กเกอร์และเมื่อเร็ว ๆ นี้ทางการสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร และนิวซีแลนด์ได้กล่าวหา แก๊งแฮ็กเกอร์ชาวจีน ซึ่งได้รับการสนับสนุนและเชื่อมโยงกับรัฐบาลจีนว่าได้โจมตีทางไซเบอร์ซึ่งถือเป็นการคุกคามที่ร้ายแรงอย่างมาก   รัฐมนตรีสำนักงานความมั่นคงด้านการสื่อสารของนิวซีแลนด์ได้เปิดเผยว่า มีการตรวจพบกิจกรรมทางไซเบอร์ที่เป็นอันตรายซึ่งมุ่งเป้าไปที่สำนักงานที่ปรึกษารัฐสภาและฝ่ายบริการรัฐสภาในปี 64   ส่วนในสหรัฐมีอัตราการละเมิดความปลอดภัยทางไซเบอร์ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลจีนเพิ่มสูงขึ้น เพื่อพยายามทำลายความปลอดภัยทางไซเบอร์ในประเทศและนวัตกรรมต่าง ๆ ของสหรัฐ   อย่างกรณีที่แฮ็กเกอร์ส่งอีเมลปลอมมากกว่า 10,000 ฉบับ ไปยังเหยื่อที่เกี่ยวข้องทางการเมือง รวมถึงเจ้าหน้าที่รณรงค์เลือกตั้งอาวุโส เจ้าหน้าที่ความมั่นคงแห่งชาติอาวุโสของรัฐบาลสหรัฐฯ ที่เกษียณอายุแล้ว   โดยทำให้ดูเหมือนว่ามาจากสำนักข่าวหรือนักข่าวชื่อดัง ภายในอีเมลจะมีลิงก์ซ่อนอยู่เพื่อเก็บและส่งข้อมูลเกี่ยวกับผู้รับ ตำแหน่งและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเข้าถึงอีเมลไปยังเซิร์ฟเวอร์ของแฮ็กเกอร์เพื่อเจาะเครือข่าย บัญชีอีเมล บัญชีที่เก็บข้อมูลบนคลาวด์ และบันทึกการโทร นอกจากนี้บริษัทของสหรัฐฯ   ในอุตสาหกรรมการป้องกัน เทคโนโลยีสารสนเทศ โทรคมนาคม การผลิตและการค้า การเงิน การให้คำปรึกษา กฎหมายและการวิจัย ก็ตกเป็นเป้าหมายของกลุ่มนี้…