นักธุรกิจถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานวางแผนวางระเบิดกลางกรุงลอนดอน

Loading

  นักธุรกิจวัย 50 ปี ถูกศาลอาญากลางอังกฤษตัดสินให้มีความผิด ข้อหาวางแผนวางระเบิด หลังวางอุปกรณ์คล้ายระเบิด 2 ชิ้นที่ย่านกฎหมายของกรุงลอนดอน   โจนาธาน นัตทอลล์ นักธุรกิจวัย 50 ปี ถูกศาลอาญากลางอังกฤษตัดสินให้มีความผิด ในข้อหาวางแผนวางระเบิด จากกรณีที่เขามีความแค้นฝังลึกต่อทนายความ 2 คนของสำนักงานอาชญากรรมแห่งชาติ (NCA) จึงวางอุปกรณ์คล้ายระเบิด 2 ชิ้นที่ใจกลางย่านกฎหมายของกรุงลอนดอนเพื่อข่มขู่พวกเขา   นัตทอลล์เกิดความแค้นกับทนายความทั้งสองจากข้อพิพาททางกฎหมายซึ่งทำให้เขาเสี่ยงที่จะสูญเสียบ้านหรูของเขาในแฮมป์เชียร์ที่ชื่อว่า “คฤหาสน์เอ็มบลีย์”     ทนายความของ NCA สองคน ได้แก่ แอนดรูว์ ซุตคลิฟฟ์ และแอนน์ จีวอนส์ ตกเป็นเป้าหมายเพราะพวกเขาทำหน้าที่ให้กับ NCA ในคดีที่ อแมนดา ภรรยาของนัตทอลล์ถูกตั้งข้อสงสัยว่าเกี่ยวพันกับการฟอกเงินและความผิดอื่น ๆ นำไปสู่การมีคำสั่งให้ริบทรัพย์สินมากกว่า 1 ล้านปอนด์ (มากกว่า 45 ล้านบาท) จากเธอในปี 2019   สำหรับการก่อเหตุวางแผนวางระเบิดนี้ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 14…

กกต. สหราชอาณาจักรเผยแฮ็กเกอร์ทำข้อมูลรั่ว หน่วยข่าวเชื่อเป็นฝีมือรัสเซีย

Loading

  คณะกรรมการการเลือกตั้งของสหราชอาณาจักรออกมาขอโทษกรณีพบการแฮ็กที่มีความซับซ้อนโดยใช้มัลแวร์เรียกค่าไถ่ในเดือนตุลาคม 2022 แต่การแฮ็กจริงเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2021 แล้ว   การแฮ็กนี้ทำให้ข้อมูลทะเบียนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่มีชื่อและที่อยู่ระหว่างปี 2014 – 2022 หลุดออกมา   สำนักข่าว The Times และ The Telegraph เผยว่าบรรดาหน่วยข่าวกรองของสหราชอาณาจักรพบหลักฐานที่เชื่อมยังการโจมตีเข้ากับรัฐบาลรัสเซีย   เซอร์ เดวิด โอมานด์ (Sir David Omand) อดีตผู้อำนวยการศูนย์สื่อสารรัฐบาล (GCHQ) ซึ่งเป็นหน่วยงานข่าวกรองสัญญาณของสหราชอาณาจักร เชื่อว่ารัสเซียน่าจะอยู่เบื้องหลังการโจมตีในครั้งนี้ เช่นเดียวกับ เซอร์ ริชาร์ด เดียร์เลิฟ (Sir Richard Dearlove) อดีตผู้อำนวยการ MI6 ที่กล่าวในลักษณะเดียวกัน   กรณีนี้ทำให้เกิดความกังวลว่า กกต. อาจไม่สามารถเข้าถึงรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง แต่ทางองค์กรชี้ว่าความเสี่ยงที่การแฮ็กดังกล่าวจะส่งผลต่อการเลือกตั้งนั้นมีน้อยนิด เพราะลงคะแนนเสียงเลือกตั้งทำด้วยกระดาษ   อย่างไรก็ดี ชอน แม็กแนลลี (Shaun McNally) ประธาน กกต.…

อังกฤษขึ้นค่าปรับ กรณีจ้างแรงงานข้ามชาติโดยไม่ได้รับอนุญาต

Loading

  รัฐบาลสหราชอาณาจักร ประกาศเพิ่มค่าปรับ สำหรับนายจ้างและเจ้าของที่ดิน ซึ่งอนุญาตให้ผู้อพยพที่ไม่มีเอกสาร ทำงานหรือเช่าทรัพย์สินของพวกเขา ตามส่วนหนึ่งของมาตรการป้องกันการอพยพเข้าเมือง   สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานจากกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 7 ส.ค. ว่า กระทรวงมหาดไทยของสหราชอาณาจักร ระบุว่า การทำงานและการเช่าที่ผิดกฎหมาย เป็นปัจจัยดึงดูดสำคัญ ที่ทำให้ผู้อพยพจำนวนมากยอมเสี่ยงอันตราย เดินทางข้ามช่องแคบอังกฤษอย่างผิดกฎหมายด้วยเรือลำเล็ก เพื่อเข้ามายังสหราชอาณาจักร   ภายหลังการประกาศแก้ไขกฎหมาย บทลงโทษทางแพ่งสำหรับนายจ้างจะเพิ่มขึ้น 3 เท่า เป็นสูงสุดที่ 45,000 ปอนด์สเตอร์ลิงต่อคนงาน 1 คน (ราว 2 ล้านบาท) ส่วนค่าปรับสำหรับเจ้าของที่ดินจะเพิ่มจาก 1,000 ปอนสเตอร์ลิงต่อผู้อยู่อาศัย 1 คน (ราว 44,000 บาท) เป็นสูงสุด 10,000 ปอนด์สเตอร์ลิง (ราว 443,000 บาท) โดยค่าปรับสำหรับผู้พักอาศัยก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน   Fines hiked for firms…

ตำรวจอังกฤษ จับกุมสมาชิกกรีนพีซปีนหลังคาบ้านนายกรัฐมนตรี

Loading

  ตำรวจนอร์ธยอร์กเชียร์ ในอังกฤษ รายงานการจับกุมผู้ประท้วง 5 คนที่เป็นสมาชิกของกลุ่มกรีนพีซสหราชอาณาจักร ซึ่งบุกรุกและปีนขึ้นไปบนหลังคาบ้านของนายกรัฐมนตรี ริชี ซูแน็ก ในนอร์ธยอร์กเชียร์ เมื่อเวลาประมาณ 08.05 น.ตามเวลาท้องถิ่น เพื่อคัดค้านการออกสัมปทานน้ำมันและก๊าซทะเลเหนือฉบับใหม่ 100 ใบ ซึ่งพวกเขาเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำด้านการปกป้องภูมิอากาศไม่ใช่ผู้เผาทำลายสภาพแวดล้อม     จากภาพข่าวที่มีการเผยแพร่ พบว่า กลุ่มผู้ประท้วงได้ใช้ผ้าสีดำคลุมตั้งแต่หลังคาบ้านลงมาปิดหน้าต่าง และประตูบ้าน โดยผ้าสีดำนี้คือสัญลักษณ์ของน้ำมัน และไม่มีใครเข้าไปภายในบ้าน   ในช่วงแรกเจ้าหน้าจับกุมผู้ประท้วง 4 คนตามที่ปรากฏในภาพ คือชาย 2 คนและหญิง 2 คน ถูกตั้งข้อหาสร้างความเสียหายและก่อความรำคาญในที่สาธารณะ จากนั้นเจ้าหน้าที่จับกุมผู้ประท้วงคนที่ 5 ซึ่งเป็นชาย ในข้อหาสร้างความรำคาญในที่สาธารณะ ทั้งหมดยังอยู่ในการควบคุมตัวของตำรวจ   ด้านนายโอลิเวอร์ ดาวเดน รองนายกรัฐมนตรี วิพากษ์วิจารณ์ว่าคนอังกฤษเบื่อหน่ายกับการเคลื่อนไหวในลักษณะนี้ แม้แต่พรรคแรงงานที่เป็นฝ่ายค้านก็ยังมีความเห็นพ้องว่า เป็นการเคลื่อนไหวที่ผิดกฎหมาย บ้านและครอบครัวของนายกรัฐมนตรีไม่ควรตกเป็นเป้าหมายของการรณรงค์ใด ๆ ทั้งเห็นว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้วที่ตำรวจมีการจับกุมสมาชิกกลุ่ม   ด้านทำเนียบนายกรัฐมนตรีถนนดาวนิ่ง ระบุว่า รัฐบาลไม่ขอโทษสำหรับแนวทางที่ถูกต้องเพื่อรับประกันความมั่นคงด้านพลังงาน ด้วยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่…

ตำรวจเวลส์ชี้เทคโนโลยีจำใบหน้าช่วยจับอาชญากรมาลงโทษได้

Loading

  สำนักงานตำรวจในเขตเซาต์เวลส์ของสหราชอาณาจักร (SWP) รายงานว่าการใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้าแบบย้อนหลังทำให้เบาะแสมากกว่า 140 รายการภายในเดือนเดียว   เจเรมี วอแกน (Jeremy Vaughan) ผู้บัญชาการ SWP เผยว่าเทคโนโลยีนี้ใช้เฉพาะในกรณีอาชญากรรมร้ายแรงอย่างการข่มขืนเท่านั้น โดยตรวจจับผู้กระทำผิดในสถานที่และยานพาหนะต่าง ๆ   แหล่งข้อมูลของเทคโนโลยีนีนี้คือกล้อง CCTV โทรศัพท์มือถือ และโซเชียลมีเดีย โดยนำมาเทียบกับภาพที่ SWP และตำรวจเมืองเกวนต์มีกว่า 600,000 ภาพ   วอแกนยังบอกอีกว่ามีการกำหนดขั้นตอนและมาตรการสำหรับการใช้เทคโนโลยีอย่างรัดกุม และไม่มีการเก็บข้อมูลประชาชน   อย่างไรก็ดี เทคโนโลยีนี้ได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก โดยเฉพาะในประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน และการเลือกปฏิบัติต่อคนบางกลุ่ม   ซึ่งวอแกนชี้ว่าการใช้เทคโนโลยีนี้ก็เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองประชาชน และใช้ตามกรอบของกฎหมายเท่านั้น แต่ก็สนับสนุนให้มีหลักเกณฑ์ภายในเพื่อป้องกันการใช้ในทางที่ผิด     ที่มา Biometric Update         ————————————————————————————————————————————————— ที่มา :           …

สหราชอาณาจักรออกพระราชบัญญัติความมั่นคงแห่งชาติ

Loading

ภาพจาก freepik   ร่างพระราชบัญญัติความมั่นคงแห่งชาติของสหราชอาณาจักรผ่านมติเห็นชอบจากรัฐสภาและการลงพระปรมาภิไธยรับรองของพระมหากษัตริย์ เมื่อ 11 ก.ค.66 เพื่อรับมือต่อภัยคุกคามความมั่นคงของประเทศ โดยเฉพาะจากรัฐต่างประเทศ   ปัจจุบันสหราชอาณาจักรตกเป็นเป้าหมายในการจารกรรม การแทรกแซงของต่างชาติ การบ่อนทำลาย การบิดเบือนข้อมูล การโจมตีทางไซเบอร์ การก่อวินาศกรรม การโจมตีด้วยอาวุธเคมี และก่อเหตุรุนแรงที่เป็นอันตรายต่อชีวิต เช่น การลอบสังหาร ทั้งนี้ สหราชอาณาจักรถือว่ารัสเซียเป็นภัยคุกคามที่ร้ายแรงที่สุด แม้จะมีการแทรกแซงจากจีน หรือการสังหารหรือลักพาตัวชาวอังกฤษจากอิหร่านก็ตาม   พระราชบัญญัติความมั่นคงแห่งชาติ (The National Security Act) มีการปรับปรุงเนื้อหากฎหมายเกี่ยวกับจารกรรมให้ทันต่อสถานการณ์ภัยคุกคามที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ในการยับยั้ง ตรวจจับ และขัดขวางภัยคุกคามยุคใหม่ของหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายและหน่วยข่าวกรอง   นอกจากนี้ กฎหมายยังระบุถึงการลงทะเบียนผู้มีอิทธิพลจากต่างชาติ (Foreign Influence Registration Scheme – FIRS) ซึ่งมีเป้าหมายต่อประเทศที่มีความเสี่ยงต่อความปลอดภัยหรือผลประโยชน์ของสหราชอาณาจักร เพื่อสามารถนำผู้กระทำความผิดมาลงโทษกรณีทำผิดข้อตกลง ทั้งเป็นการเสริมสร้างความหยืดยุ่น และความโปร่งใสในระบอบประชาธิปไตย       —————————————————————————————————————————————- ที่มา :     …