HP พบมัลแวร์ปลอมตัวเป็นตัวอัปเดต Windows

Loading

  ทีม Wolf Security ของ HP ตรวจพบ Magniber มัลแวร์เรียกค่าไถ่ชนิดใหม่ที่ปลอมเป็นตัวอัปเดตของระบบปฏิบัติการ Windows ผู้ใช้ที่ตกเป็นเหยื่อของมัลแวร์ชนิดนี้จะต้องจ่ายเงินราว 2,500 เหรียญ (ประมาณ 95,677 บาท) เพื่อแลกข้อมูลคืนมาจากแฮกเกอร์ Magniber ปรากฎตัวในเว็บไซต์ที่แฮกเกอร์เป็นเจ้าของ เว็บไซต์แห่งนี้หลอกล่อให้ผู้ใช้งานดาวน์โหลดไฟล์นามสกุล .ZIP ข้างในมีไฟล์ JavaScript ที่ปลอมตัวเป็น Antivirus หรือไม่ก็ตัวอัปเดต Windows 10 เมื่อเหยื่อดาวน์โหลด Magniber มาเปิดใช้งาน มัลแวร์ตัวนี้ก็จะปล่อยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ลงบนหน่วยความจำในอุปกรณ์ของเหยื่อ รวมถึงยังสามารถทะลวงผ่านระบบรักษาความปลอดภัยของอุปกรณ์ ซึ่งจะทำให้มัลแวร์เปิดใช้งานโดยที่ผู้ใช้งานหรือผู้ดูแลระบบไม่รู้ นอกจากนี้ Magniber ยังลบไฟล์ shadow copy และปิดฟีเจอร์สำรองข้อมูลและเรียกคืนข้อมูลของ Windows เพื่อบีบให้เหยื่อจ่ายเงินค่าไถ่ Wolf Security เตือนให้ผู้ใช้งานคอยอัปเดต Windows และฟีเจอร์รักษาความมั่นคงปลอดภัยอย่าง Antivirus และ Firewall อย่างสม่ำเสมอ รวมถึงให้คอยระวังอีเมล ข้อความ และเบอร์โทรแปลก ๆ…

เนียนขั้นสุด แรนซัมแวร์ตัวใหม่ แฝงมากับอัปเดตปลอม

Loading

  ปัจจุบัน วิธีใหม่ของเหล่าแฮกเกอร์คือพยายามส่ง Ransomware หรือมัลแวร์เรียกค่าไถ่มากับการอัปเดต Windows หรือซอฟต์แวร์ที่ผู้คนไว้ใจ ซึ่งจะส่งผลให้การโจมตีมีโอกาสประสบความสำเร็จมากขึ้น   มัลแวร์ตัวใหม่นี้มีชื่อ HavanaCrypt ค้นพบโดยนักวิจัยจาก Trend Micro ซึ่งได้ปลอมแปลงตัวเองเป็นการอัปเดตจาก Google Software Update และสิ่งที่น่าแปลกใจอีกอย่างคือ เซิร์ฟเวอร์คำสั่งและการควบคุม ของมัลแวร์ใช้โฮสต์บนที่อยู่ IP เว็บโฮสติ้งของ Microsoft   HavanaCrypt นั้นมีการใช้เทคนิคในการโจมตีมากมาย ไม่ว่าจะเป็น การตรวจสอบว่าเครื่องดังกล่าวกำลังทำงานในสภาพแวดล้อมเสมือนจริงหรือไม่ หรือเป็นแค่เครื่องหลอกที่ใช้ดักมัลแวร์ มีการใช้รหัสของตัวจัดการรหัสผ่านโอเพ่นซอร์สอย่าง KeePass Password Safe ระหว่างการเข้ารหัส และการใช้ฟังก์ชัน .Net ที่เรียกว่า “QueueUserWorkItem” เพื่อเพิ่มความเร็วในการเข้ารหัส   HavanaCrypt เป็นหนึ่งในเครื่องมือเรียกค่าไถ่และมัลแวร์อื่นๆ ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาได้มีการเผยแพร่ในรูปแบบของการอัปเดตปลอมสำหรับ Windows 10, Microsoft Exchange และ Google Chrome   ในเดือนพฤษภาคม นักวิจัยด้านความปลอดภัยพบแรนซัมแวร์ที่มีชื่อว่า…