โดรนติดอาวุธสหรัฐสังหารแกนนำระดับสูงอัล-กออิดะห์ในซีเรีย

Loading

  อากาศยานไร้คนขับแบบติดอาวุธของสหรัฐ สังหารสมาชิกระดับสูงของกลุ่มอัล-กออิดะห์ ในซีเรีย สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 22 ต.ค.ว่าศูนย์บัญชาการภูมิภาคกลางของกองทัพสหรัฐ (เซนต์คอม) เผยแพร่แถลงการณ์ เมื่อวันศุกร์ ว่าได้ส่งอากาศยานควบคุมทางไกลแบบติดอาวุธครบมือ รุ่น “เอ็มคิว-นาย รีเปอร์” (MQ-9 Reaper) หรือ “พรีเดเตอร์-บี” (Predator B) โจมตีเป้าหมายที่เมืองซูลุก ในจังหวัดรักกา ทางเหนือของซีเรีย เมื่อวันศุกร์ โดยได้สังหารนายอับดุล ฮามิด อัล-มาตาร์ หนึ่งในสมาชิกอาวุโสของกลุ่มอัล-กออิดะห์ ในซีเรีย   U.S. strike in the vicinity of Suluk, Syria, Oct. 22, 2021https://t.co/9OBPch45f8 — U.S. Central Command (@CENTCOM) October 22, 2021   เบื้องต้นเซนต์คอมยืนยัน ยังไม่พบผู้เสียชีวิตและผู้ได้รับบาดเจ็บจากการโจมตีครั้งนี้ และยืนยันว่า…

สทป. จัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมระบบอากาศยานไร้คนขับ ตามมาตรฐานสากลแห่งแรกของประเทศไทย

Loading

  ศูนย์ฝึกอบรมระบบอากาศยานไร้คนขับ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ(Defence Technology Institute Unmanned Aircraft Systems Training Centre : DTI-UTC)   สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ หรือ สทป. จัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมระบบอากาศยานไร้คนขับ ตามมาตรฐานสากลแห่งแรกของประเทศไทย และเป็นหนึ่งในภูมิภาคอาเซียน พร้อมพัฒนาบุคลากรผู้ใช้งานระบบอากาศยานไร้คนขับในประเทศไทยที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว เพื่อตอบสนองเทคโนโลยีระบบอากาศยานไร้คนขับ หรือ “โดรน” ที่ถูกนำไปประยุกต์ใช้งานด้านการพัฒนาประเทศ ทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคพลเรือน และเพื่อการพาณิชย์   อีกทั้งมีแนวโน้มในการนำระบบอากาศยานไร้คนขับมาประยุกต์ใช้งานด้านต่าง ๆ อาทิ การบินสำรวจถ่ายภาพ จัดทำแผนที่ 3 มิติ งานด้านการเกษตรกรรม การตรวจสภาวะแวดล้อม เพื่อการช่วยเหลือบรรเทาสาธารณภัย การปราบปรามอาชญากรรม ภารกิจด้านการรักษากฎหมาย และภารกิจด้านมนุษยธรรม ฯลฯ   ดังนั้น DTI-UTC จึงมุ่งเน้นในการสร้างและพัฒนาบุคลากรของกระทรวงกลาโหม หน่วยงานด้านความมั่นคง หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ด้วยกระบวนการฝึกอบรมในรูปแบบ Competency Base Training เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้พื้นฐานด้านการบิน (Knowledge)…

สทป.ประยุกต์ใช้แผนที่สถานการณ์ร่วม จำลองภารกิจการช่วยเหลือทางทหารในสถานการณ์ฉุกเฉิน

Loading

  สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (สทป.) ได้ดำเนินการวิจัยและพัฒนาโครงการประยุกต์ใช้แผนที่สถานการณ์ร่วมเพื่อจำลองภารกิจการช่วยเหลือทางทหารในสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อสนับสนุนภารกิจทางทหารด้านความมั่นคงของกระทรวงกลาโหม (กห.) ที่ต้องปฏิบัติหลายประการ รวมไปถึงภารกิจที่ไม่ใช่ภารกิจด้านการรบ เช่น การส่งกำลังเข้าสนับสนุนการพัฒนาประเทศ การป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติ และการให้ความช่วยเหลือประชาชน โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับการเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติ และภารกิจการตอบสนองขณะประเทศประสบสภาวะวิกฤติและขาดสัญญาณการสื่อสาร โดยการจัดทำแผนที่สถานการณ์ร่วมจากข้อมูลภาพถ่ายที่ได้จากอากาศยานไร้คนขับ หรือ UAV โครงการประยุกต์ใช้แผนที่สถานการณ์ร่วมเพื่อจำลองภารกิจการช่วยเหลือทางทหารในสถานการณ์ฉุกเฉิน จึงดำเนินการสถาปนาระบบสื่อสารขึ้นเอง เพื่อสนับสนุนการเข้าช่วยเหลือของทหารในพื้นที่ฉุกเฉิน และการขยายขีดความสามารถของแผนที่สถานการณ์ช่วยสร้างผลกระทบในเชิงบวกกับหน่วยงานด้านความมั่นคง อีกทั้งในด้านเศรษฐกิจเพื่อเตรียมการรับมือ ตอบสนอง และบรรเทาภัยพิบัติ เช่น น้ำท่วม เป็นต้น ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อความสูญเสียทางเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อให้หน่วยงานภายใต้สังกัด กห. ได้นำแผนที่สถานการณ์ร่วมไปประยุกต์ใช้เพื่อจำลองภารกิจการช่วยเหลือทางทหารในสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยสร้างความเข้าใจและความตระหนักรู้สถานการณ์ร่วมให้ผู้บังคับบัญชาสั่งการที่ศูนย์ควบคุม และสั่งการในพื้นที่ห่างไกลได้ออกคำสั่งตามหนทางปฏิบัติที่ดีที่สุด รวมถึงการตัดสินใจต่อการปฏิบัติภารกิจฉุกเฉินให้ทหารที่ปฏิบัติการในพื้นที่รับคำสั่งไปปฏิบัติได้ทันที ในการนี้ สทป. และหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย หรือ บก.ทท. (นทพ.) ได้ตกลงร่วมกันจัดทำบันทึกข้อตกลงในการวิจัยและพัฒนาร่วม เพื่อให้ได้เครื่องมือซึ่งเป็นต้นแบบให้ทหารนำไปใช้ฝึกก่อนการปฏิบัติภารกิจฉุกเฉินขณะเกิดเหตุฉุกเฉินจากภัยพิบัติและสาธารณภัย และเมื่อสิ้นสุดโครงการจะส่งมอบให้หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 31 หรือ นพค.31 ที่มีขอบเขตความรับผิดชอบครอบคลุมพื้นที่ จังหวัดน่าน นำเข้าประจำการทดสอบทดลองเพื่อปฏิบัติภารกิจในพื้นที่รับผิดชอบ โครงการประยุกต์ใช้แผนที่สถานการณ์ร่วมเพื่อจำลองภารกิจการช่วยเหลือทางทหารในสถานการณ์ฉุกเฉิน เป็นการวิจัยและพัฒนาต่อยอดแผนที่สถานการณ์ร่วมในรูปแบบสามมิติด้วยภาพถ่ายจาก UAV มาถ่ายทอดสัญญาณและแสดงผลการปฏิบัติหน้าที่ของทหารขณะปฏิบัติภารกิจในสถานการณ์ฉุกเฉิน จากนั้นจึงใช้เทคโนโลยีการสร้างตัวแบบและการจำลองภาพสถานการณ์ฉุกเฉินในระบบศูนย์อำนวยการสถานการณ์ฉุกเฉิน…