ทลาย “เสาเถื่อน” ลอบปล่อยสัญญาณให้แก๊งคอลเซ็นเตอร์ข้ามชายแดน

Loading

  ตร.ไซเบอร์ – กสทช.ตรวจสอบเสาเถื่อนลอบปล่อยสัญญาณให้แก๊งคอลเซ็นเตอร์ข้ามชายแดน พบลักลอบตั้ง 4 สถานีวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาต และ 23 สถานีฯ ที่ได้รับอนุญาต แต่มีสายอากาศหันไปทางประเทศเพื่อนบ้าน สั่งถอนการติดตั้งบางจุด ไม่ให้แพร่สัญญาณออกนอกไทย   วันที่ 16 ส.ค.2566 พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รอง ผบ.ตร. ร่วมกับ พล.ต.อ.ณัฐธร เพราะสุนทร กสทช. ด้านกฎหมายและประธานอนุกรรมการบูรณาการบังคับใช้กฎหมายความผิดทางเทคโนโลยีฯ นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รักษาการแทนเลขาธิการ กสทช. พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท. นำกำลังลงพื้นที่ อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว เพื่อตรวจสอบสถานีวิทยุคมนาคมที่ไม่ได้รับอนุญาต และสถานีวิทยุคมนาคมที่ได้รับอนุญาตแต่ปฏิบัติผิดเงื่อนไข เช่น หันตัวส่งสัญญาณไปยังประเทศเพื่อนบ้าน รวมจำนวน 27 สถานี   พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ฯ กล่าวว่า การหลอกลวงและกระทำผิดทางเทคโนโลยีที่ได้สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชน และมีมูลค่าความเสียหายที่สูงมาก ถือเป็นนโยบายสำคัญเร่งด่วนที่ต้องปราบปรามอย่างจริงจัง จากแนวทางการสืบสวนพบว่าแก๊งคอลเซ็นเตอร์ส่วนใหญ่ อยู่บริเวณแนวชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน ได้อาศัยสัญญาณโทรศัพท์และสัญญาณอินเทอร์เน็ตจากประเทศไทยในการกระทำผิด   ทั้งนี้…

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จับมือ True Money นำเสนอเทคโนโลยี ยกระดับความปลอดภัยทางการเงินคนไทย

Loading

  สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร่วมหารือกับ เครือเจริญโภคภัณฑ์ และ บริษัท ทรูมันนี่ จำกัด ถึงความคืบหน้าโครงการ ‘ไซเบอร์วัคซีน’ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันต้านภัยอาชญากรรมทางเทคโนโลยี   ซึ่งนอกจากจะมีการร่วมผลิตและเผยแพร่ข้อมูลความรู้กลโกงในรูปแบบต่าง ๆ ผ่านช่องทางการสื่อสารของเครือซีพีซึ่งมีธุรกิจค้าปลีกค้าส่งและธุรกิจโทรคมนาคม เพื่อเตือนภัยทุจริตทางการเงินบนโลกออนไลน์อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นวัคซีนที่ใช้เป็นภูมิคุ้มกันให้พี่น้องประชาชนได้รู้เท่าทันและรับมือมิจฉาชีพได้โดยไม่ตกเป็นเหยื่อแล้วนั้น ล่าสุด บริษัท ทรูมันนี่ จำกัด ประกาศพร้อมให้การสนับสนุนด้านระบบและเทคโนโลยี เพื่อช่วยป้องกันประชาชนจากการตกเป็นเหยื่อถูกทุจริตทางการเงินโดยมิจฉาชีพ   โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติเปิดเผยว่ารอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (14 – 20 พ.ค. 2566) สถิติการรับแจ้งความคดีออนไลน์มากที่สุด 5 อันดับ ได้แก่ 1) คดีหลอกลวงซื้อขายสินค้าหรือบริการ 2) คดีหลอกลวงให้โอนเงินเพื่อทำงานหารายได้พิเศษ 3) คดีหลอกลวงให้กู้เงิน 4) คดีข่มขู่ทางทางโทรศัพท์ให้เกิดความกลัวแล้วหลอกให้โอนเงิน (Call Center) 5) คดีหลอกลวงให้ลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์   อธิปัตย์ พลอยพรายแก้ว ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารความเสี่ยงและตรวจสอบทุจริต บริษัท ทรูมันนี่ จำกัด เปิดเผยว่า ทรูมันนี่…

รัฐบาลชวนผู้ใช้บริการโมบายแบงก์กิ้งเร่งไปติดต่อสแกนใบหน้าเพื่อสกัดภัยออนไลน์

Loading

  ธปท.ประสานธนาคารรัฐ-เอกชนดึงผู้ใช้ Mobile Banking ที่โอนเงินตั้งแต่ 5 หมื่นบาทต่อครั้ง 2 แสนบาทต่อวัน ติดต่อสาขาธนาคารเพื่อสแกนใบหน้าตัดวงจรภัยออนไลน์ ชี้แอปพลิเคชัน 7 แบงก์พร้อมบริการแล้ว   31 พ.ค.2566 – น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ปัจจุบันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างผลักดันมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีหรือภัยออนไลน์ ซึ่งในส่วนของภาคการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ประสานสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐและธนาคารพาณิชย์เอกชน เพื่อยกระดับมาตรการเพื่อความปลอดภัย โดยมีหลายมาตรการที่ดำเนินการไปแล้ว อาทิ การยกเลิกการแนบลิงค์เพื่อส่งข้อความสั้น (SMS) หรืออีเมลไปยังลูกค้า   สำหรับอีกมาตรการที่จะเข้ามาช่วยให้ตัดวงจรภัยออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และขณะนี้ธนาคารต่างๆ อยู่ระหว่างดำเนินการ คือ การปรับปรุงระบบความปลอดภัยในบริการผ่านแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือหรือ Mobile Banking ซึ่งตั้งแต่ต้นเดือน พ.ค. เป็นต้นมาธนาคารแต่ละแห่งได้ประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าที่ใช้บริการ Mobile Banking ที่จะมีการโอนเงินต่อครั้งตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป และโอนยอดรวมต่อวันตั้งแต่ 200,000 บาทขึ้นไป และกรณีการเปลี่ยนวงเงินการทำธุรกรรมต่อวันเป็นตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป จะต้องไปทำการสแกนใบหน้าเพื่อยืนยันตัวตน…

แบงก์ชาติเปิด 3 เรื่องต้องรู้ เมื่อ พรก.มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี มีผลบังคับใช้

Loading

    ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เผยแพร่ 3 เรื่องต้องรู้ … เมื่อ พ.ร.ก.มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี มีผลบังคับใช้ หากถูกหลอกหรือตกเป็นเหยื่อ ต้องทำตัวอย่างไร โทษของการเปิดบัญชีม้าและซิมม้า รวมถึงโฆษณา จะเป็นอย่างไรบ้าง             —————————————————————————————————————————————— ที่มา :                                 สยามรัฐออนไลน์                            /…

ป้องกันข้อมูลองค์กรรั่วไหล

Loading

  อาชญากรรมทางเทคโนโลยีกำลังเป็นปัญหาใหญ่ ข้อมูลส่วนตัวที่ประชาชนหวงนักหวงหนา ถูกลักลอบนำไปใช้ทำร้ายตัวเอง! หลายคนหลายฝ่ายกำลังหน้าดำคร่ำเครียด ตำรวจไล่จับไม่เว้นแต่ละวัน แถมยังป่าวประกาศเตือนถึงกลโกงถี่ยิบ แต่ยังมีเหยื่อทั้งรายเล็กรายใหญ่โผล่ให้เห็นต่อเนื่อง!   ด้วยเรื่องนี้ขยายวงกว้างจนยั้งไม่อยู่ มีหลายส่วนที่เป็นรูรั่วให้แก๊งอาชญากรที่เราเรียกติดปากว่า “แก๊งคอลเซ็นเตอร์” ดูดเอาข้อมูลไปใช้หลอกลวงเหยื่อ   ล่าสุด พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร. สั่งการ พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ ดีพอ รองโฆษก ตร. ออกมาแถลงเตือน องค์กรหรือบริษัทต่างๆทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ที่ถูกแฮกเกอร์หรือผู้ไม่หวังดีแอบเอาข้อมูลที่เป็นความลับ หรือข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้ามาประกาศขายในโลกออนไลน์ หรือนำไปใช้ทำความผิดอื่น   ส่งผลกระทบต่อพี่น้องประชาชน และทำลายความน่าเชื่อถือขององค์กร!   พร้อมเสนอแนะแนวทางการป้องกัน 3 ขั้นตอน   1.องค์กรและบริษัทต้องระมัดระวังเรื่องการรักษาความปลอดภัยข้อมูล หมั่นตรวจสอบบัญชีผู้ดูแลระบบ หรือช่องทางที่สามารถเข้าถึงข้อมูลสำคัญ และลบบัญชีของผู้ดูแลระบบ หรือปิดกั้นช่องทางเข้าถึงข้อมูลที่ไม่จำเป็น เช่น กรณีพนักงานที่รับผิดชอบเปลี่ยนหน้าที่หรือลาออก ต้องเปลี่ยนรหัสผ่านเพื่อป้องกันข้อมูลสำคัญรั่วไหล   2.กำหนดสิทธิการเข้าถึงข้อมูลพนักงานแต่ละคน ควรอนุญาตให้เฉพาะผู้เกี่ยวข้องโดยตรงเท่านั้นที่เข้าถึง และกำชับให้ผู้มีสิทธิเข้าถึงข้อมูลเก็บรักษาบัญชีและรหัสผ่านให้ปลอดภัย   3.การสร้างบัญชีผู้ใช้งานไม่ควรตั้งรหัสผ่านที่คาดเดาง่าย หรือรหัสผ่านเหมือนเว็บไซต์อื่น เพราะในกรณีเว็บไซต์อื่นทำรหัสผ่านรั่วไหล ผู้ได้ข้อมูลไปจะไม่สามารถเข้าถึงบัญชีผู้ใช้งานขององค์กรหรือบริษัทได้   พนักงานในองค์กรหรือบริษัทต้องระมัดระวังการกดลิงก์หรือเข้าเว็บไซต์ต่างๆ…

ตร.แนะทางรอดถูกหักเงินจากบัญชี เลี่ยงผูกบัตรกับแอพพ์ต่างๆ -ปิดรหัสหลังบัตร

Loading

  เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 18 ตุลาคม ที่กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) พล.ต.ท.กรไชย คล้ายคลึง ผบช.สอท. พร้อมด้วย พล.ต.ต.ชูฉัตร ธารีฉัตร รอง ผบช.สอท., พล.ต.ต.นิเวศน์ อาภาวศิน ผู้บังคับการตรวจสอบและวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ผบก.ตอท.) และผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมเเถลงกรณีมีผู้เสียหายถูกหักเงินจากบัญชีธนาคาร หรือบัตรเดบิต จำนวนหลายครั้ง โดยไม่ทราบสาเหตุว่า ขณะนี้ตำรวจไซเบอร์ร่วมประชุมกับสภาธนาคารไทย และธปท. เพื่อหาความร่วมมือแก้ปัญหากรณีดังกล่าว เบื้องต้นพบว่า มีผู้เสียหายประมาณ 4 หมื่นคน ยอดสูงสุด 2 แสนบาท มูลค่าความเสียหายไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท ซึ่งผู้เสียหายถูกถอนเงินครั้งละจำนวนไม่มาก แต่หลายบาท หลายครั้ง เชื่อว่าคนร้ายไม่น่าจะก่อเหตุคนเดียวและมาจากหลายกลุ่มใช้วิธีหลายรูปแบบ   พล.ต.ท.กรไชยกล่าวว่า พฤติการณ์การก่อเหตุ สันนิษฐานว่าอาจเกิดจาก 3 ลักษณะ คือ 1.เป็นการผูกบัญชีบัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือบัญชีธนาคารเข้ากับแอพลิเคชั่นต่างๆ เช่น แอพพลิเคชั่นออนไลน์…