แนะ 5 ข้อปฏิบัติเสริมความปลอดภัยทางไซเบอร์ขององค์กร

Loading

  ในปีที่ผ่านมา เกิดข้อถกเถียงกันในแวดวงวิศวกรรมและการออกแบบ เนื่องจากมีการพบว่าบริษัทยักษ์ใหญ่หลายแห่งยังคงมีการใช้งานซอฟต์แวร์ที่ไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ   ในปีที่ผ่านมา เกิดข้อถกเถียงกันในแวดวงวิศวกรรมและการออกแบบ เนื่องจากมีการพบว่าบริษัทยักษ์ใหญ่หลายแห่งยังคงมีการใช้งานซอฟต์แวร์ที่ไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิกันอย่างแพร่หลาย   จากการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ตำรวจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ช่วงที่ผ่านมาได้เผยให้เห็นว่า บริษัทด้านการออกแบบและวิศวกรรมที่ใช้ซอฟต์แวร์ที่ไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิหลายบริษัทมีส่วนร่วมในโครงการที่เกี่ยวกับระบบโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ ด้วยเหตุนี้ บีเอสเอ | พันธมิตรซอฟต์แวร์ (BSA | Software Alliance) จึงออกมาแจ้งเตือนพร้อมเน้นย้ำถึงการใช้ซอฟต์แวร์หมดอายุการใช้งานและไม่ปลอดภัยในโครงการดังกล่าว ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสี่ยงในด้านความปลอดภัยแก่สาธารณะได้   นายดรุณ ซอว์เนย์ ผู้อำนวยการอาวุโส บีเอสเอ กล่าวว่า ผู้บริหารและผู้นำทางธุรกิจทุกท่านในอุตสาหกรรมวิศวกรรมและการออกแบบควรตั้งเป้าหมายสำหรับปี 2567 ในด้านการจัดการสินทรัพย์ซอฟต์แวร์อย่างรัดกุม เนื่องจากรัฐบาลทั่วทั้งภูมิภาคกำลังจับตามองการใช้ซอฟต์แวร์ในโครงการสาธารณะอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ทุกโครงการที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานอันมาจากภาษีของประชาชน ได้ถูกออกแบบด้วยซอฟต์แวร์ที่ปลอดภัยและถูกต้องตามกฎหมาย   ซอฟต์แวร์ที่ไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ มีความเสี่ยงสูงต่อการถูกคุกคามทางไซเบอร์ ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนเพิ่มขึ้นทั่วโลก โดยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีมูลค่าความเสียหายที่เกิดจากการละเมิดข้อมูลพุ่งแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ สร้างความสูญเสียเป็นมูลค่ามากกว่า 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 100 ล้านบาท ในปี 2566 ซึ่งสูงขึ้นถึง 6% เมื่อเทียบกับปี 2565   ดรุณ ซอว์เนย์   บริษัทต่าง…

‘ความปลอดภัยทางไซเบอร์’ ปมท้าทายผู้นำโลกปี 2024

Loading

  การประชุมเวิลด์ อีโคโนมิก ฟอรัม (WEF) 2024 ที่เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งมีขึ้นระหว่างวันที่ 15-19 ม.ค.นี้ ประเด็นความปลอดภัยทางไซเบอร์ และความสามารถในการรับมือ รวมทั้งการปรับตัวเพื่อดำรงภาวะที่เป็นปกติ เป็นหนึ่งในประเด็นหารือที่สำคัญในการประชุม   รายงานว่าด้วยเรื่อง แนวโน้มความปลอดภัยทางไซเบอร์ 2024 (Global Cybersecurity Outlook 2024) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ การประชุม WEF 2024 ได้ศึกษาเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นความท้าทายในรูปแบบต่าง ๆ ที่บรรดาผู้นำโลกต้องเผชิญ ท่ามกลางความพยายามในการเตรียมตัวหาแนวทางป้องกันตัวเองจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ ความทนทานต่อการบุกรุกและการโจมตีระบบ รวมทั้งความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และการกู้คืนระบบให้กลับมาดำเนินการได้ตามปกติ หรือที่เรียกโดยรวมว่า Cyber Resilience   ความท้าทายที่กล่าวมานี้ จะมาในหลากหลายรูปแบบตั้งแต่การขาดแคลนบุคลากรที่มีทักษะ ไปจนถึงการมีบทบาทมากขึ้นของ Generative AI ซึ่งเป็นปัญญาประดิษฐ์สุดอัจฉริยะที่สามารถสร้างเนื้อหาใหม่ ๆ จากผลงานสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่เคยทำไว้ ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพ วิดีโอ เสียง ข้อความ และอื่น ๆ แต่ความฉลาดของ Generative AI…

ภัยใหม่ยุค IoT เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านถูกแฮ็กไปทำ Botnet! แล้วจะป้องกันได้อย่างไร?

Loading

  สมัยนี้อะไร ๆ ก็ดูจะเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ตั้งทั้งหมด ไม่ใช่เฉพาะแต่คอมพิวเตอร์ เราเตอร์ เซิร์ฟเวอร์ และสมาร์ตโฟน แต่รวมไปถึงข้าวของเครื่องใช้อย่าง ตู้เย็น หม้อหุงข้าว ไปจนถึงมีดโกนหนวด   ผลการศึกษาของ Transforma Insights ชี้ว่าภายในปี 2030 น่าจะมีอุปกรณ์ชนิดต่าง ๆ เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตรวมกันถึง 24,100 ล้านอุปกรณ์   แต่รู้หรือไม่ว่าขึ้นชื่อว่าเชื่อมเน็ตแล้ว ย่อมเป็นช่องทางในการเข้าออกของผู้ที่ไม่หวังดีได้ทั้งหมด   เครื่องซักผ้าก็ถูกแฮ็กได้   @Johnnie ผู้ใช้งานรายหนึ่งบน X ออกมาโพสต์แสดงตั้งคำถามว่าเครื่องซักผ้าแบรนด์ดัง อยู่ดี ๆ ก็ใช้ข้อมูลอินเทอร์เน็ตถึงวันละ 3.6 จิกะไบต์ ส่วนใหญ่เป็นการอัปโหลดขึ้นในบนเครือข่ายถึง 3.57 จิกะไบต์ ขณะที่ดาวน์โหลดเพียง 100 เมกะไบต์เท่านั้น     ตอนนี้ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าเกิดจากอะไรแน่ ตั้งแต่ข่าวที่ผู้ผลิตแบรนด์ดังกล่าวบอกว่าจะใช้ข้อมูลจากเครื่องใช้ไฟฟ้าของลูกค้าไปสร้างซอฟต์แวร์ AI (แต่เฉพาะเมื่อได้รับอนุญาตเท่านั้น) ข้อมูลจากเราเตอร์จะผิดพลาด หรือแม้แต่มีคนแอบเอาเครื่องซักผ้าไปขุดคริปโท   ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม ความกังวลมากที่สุดคงหนีไม่พ้นการความเสี่ยงที่เครื่องใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าของบ้านเราจะถูกแฮ็ก…

“เจพีมอร์แกน” ชี้ภัยคุกคามจากแฮ็กเกอร์ในระบบธนาคารเพิ่มขึ้นในปีนี้

Loading

ประธานฝ่ายบริหารสินทรัพย์และความมั่งคั่งของเจพีมอร์แกนเปิดเผยว่า เจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โค ตรวจพบว่ามีแฮ็กเกอร์จำนวนมากขึ้นที่พยายามเจาะเข้าระบบของธนาคาร ในขณะที่กลุ่มธนาคารยังคงต่อสู้กับอาชญากรรมทางไซเบอร์ที่เพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก

ตร.เตือน 6 ภัยออนไลน์ส่งท้ายปี ที่มิจฉาชีพฉวยโอกาสหลอกหลวงประชาชน

Loading

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงขอเอาโอกาสนี้มาเตือนพี่น้องประชาชนให้ระมัดระวังตนเอง เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของกลุ่มมิจฉาชีพ เพราะอย่าลืมว่า แม้จะเป็นวันหยุด แต่มิจฉาชีพไม่เคยหยุด ซึ่งรูปแบบของภัยออนไลน์ที่พี่น้องประชาชนต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ในช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่

สู้ภัยกลโกงการเงินด้วยระบบไบโอเมตริก หลอกระบบด้วยรูปภาพ-สวมหน้ากากไม่ได้!

Loading

  เปิดเหตุผลทำไมการเสริมการป้องกันกลโกงการเงิน จึงทำได้ด้วยระบบรักษาความปลอดภัยแบบไบโอเมตริก? โดยหนึ่งในเหตุผลนั้น คือระบบไบโอเมตริกวันนี้เฉลียวฉลาดสุด ๆ และไม่สามารถ “หลอก” ด้วยรูปภาพ หรือการสวมหน้ากากใด ๆ   นายธัชพล โปษยานนท์ ผู้อำนวยการประจำประเทศไทยและอินโดจีน พาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ กล่าวว่า การใช้ระบบสแกนแบบไบโอเมตริกเพื่อป้องกันกลโกงต่าง ๆ ถือเป็นแนวทางการรักษาความปลอดภัยขั้นสูงที่แนะนำสำหรับการปกป้องเงินของผู้บริโภค และแนวทางรักษาความปลอดภัยขั้นสูงที่ว่าก็จำเป็นต้องใช้ควบคู่ไปกับแนวคิดซีโรทรัสต์ (Zero Trust) ด้วยเช่นกัน   “ธนาคารต้องให้ความรู้แก่ลูกค้าในด้านมาตรการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์เบื้องต้น เช่น ไม่คลิกลิงก์หรือไฟล์แนบที่น่าสงสัย ไม่ป้อนข้อมูลส่วนตัวบนแพลตฟอร์มที่ไม่ปลอดภัย เป็นต้น”   ธัชพล โปษยานนท์ ผู้อำนวยการประจำประเทศไทยและอินโดจีน พาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์   พาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ ประเมินสถานการณ์วันนี้ว่ากลโกงของมิจฉาชีพมีการพัฒนาและปรับเปลี่ยนวิธีการอยู่ตลอดเวลา เช่น Smishing (การล่อลวงแบบฟิชชิงด้วย SMS) และ Vishing (การการล่อลวงแบบฟิชชิงด้วยการโทร.) เป็นสาเหตุให้ผู้คนจำนวนมากตกเป็นเหยื่อจนเกิดความสูญเสียนับไม่ถ้วนในปัจจุบัน และเงินในบัญชีของหลายคนถึงกับกลายเป็นศูนย์   เนื่องจากอาชญากรรมทางไซเบอร์มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง…