สู้ภัยกลโกงการเงินด้วยระบบไบโอเมตริก หลอกระบบด้วยรูปภาพ-สวมหน้ากากไม่ได้!

Loading

  เปิดเหตุผลทำไมการเสริมการป้องกันกลโกงการเงิน จึงทำได้ด้วยระบบรักษาความปลอดภัยแบบไบโอเมตริก? โดยหนึ่งในเหตุผลนั้น คือระบบไบโอเมตริกวันนี้เฉลียวฉลาดสุด ๆ และไม่สามารถ “หลอก” ด้วยรูปภาพ หรือการสวมหน้ากากใด ๆ   นายธัชพล โปษยานนท์ ผู้อำนวยการประจำประเทศไทยและอินโดจีน พาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ กล่าวว่า การใช้ระบบสแกนแบบไบโอเมตริกเพื่อป้องกันกลโกงต่าง ๆ ถือเป็นแนวทางการรักษาความปลอดภัยขั้นสูงที่แนะนำสำหรับการปกป้องเงินของผู้บริโภค และแนวทางรักษาความปลอดภัยขั้นสูงที่ว่าก็จำเป็นต้องใช้ควบคู่ไปกับแนวคิดซีโรทรัสต์ (Zero Trust) ด้วยเช่นกัน   “ธนาคารต้องให้ความรู้แก่ลูกค้าในด้านมาตรการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์เบื้องต้น เช่น ไม่คลิกลิงก์หรือไฟล์แนบที่น่าสงสัย ไม่ป้อนข้อมูลส่วนตัวบนแพลตฟอร์มที่ไม่ปลอดภัย เป็นต้น”   ธัชพล โปษยานนท์ ผู้อำนวยการประจำประเทศไทยและอินโดจีน พาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์   พาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ ประเมินสถานการณ์วันนี้ว่ากลโกงของมิจฉาชีพมีการพัฒนาและปรับเปลี่ยนวิธีการอยู่ตลอดเวลา เช่น Smishing (การล่อลวงแบบฟิชชิงด้วย SMS) และ Vishing (การการล่อลวงแบบฟิชชิงด้วยการโทร.) เป็นสาเหตุให้ผู้คนจำนวนมากตกเป็นเหยื่อจนเกิดความสูญเสียนับไม่ถ้วนในปัจจุบัน และเงินในบัญชีของหลายคนถึงกับกลายเป็นศูนย์   เนื่องจากอาชญากรรมทางไซเบอร์มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง…

เปิดโปงอาชญากรไซเบอร์จีนตามพรมแดนไทย-เมียนมา มุ่งโจมตีเหยื่อทั่วโลก

Loading

Chinese restaurants with signage in Chinese and Burmese are seen in Shwe Kokko, a newly built town in Myanmar’s Karen state. (VOA Burmese)   องค์กรอาชญากรรมไซเบอร์จากจีนที่ปฏิบัติการอยู่ตามแนวพรมแดนไทย – เมียนมา กำลังคุกคามผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกด้วยหลอกลวงออนไลน์และการฉ้อโกงทางการเงิน โดยใช้ “ทาสทางไซเบอร์” ในการก่ออาชญากรรมต่าง ๆ อ้างอิงจากรายงานของสถาบันแห่งสันติภาพสหรัฐฯ หรือ USIP (United States Institute of Peace) ในกรุงวอชิงตัน   รายงานที่ชื่อ “A Criminal Cancer Spreads in Southeast Asia” ระบุว่า อาชญากรไซเบอร์เหล่านั้นถูกขับไล่ออกจากจีน และขณะนี้ดำเนินการอยู่ตามแนวพรมแดนของหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้ง ไทย…

รัฐบาลมาเลเซียขู่ดำเนินคดีกับเมตา (Meta)

Loading

โลโก้ของเมตา (Meta) ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของเฟซบุ๊ก (Facebook), อินสตาแกรม (Instagram) และวอทแอปส์ (WhatsApp) (Photo by Chris DELMAS / AFP)   มาเลเซียขู่ว่าจะดำเนินการทางกฎหมายกับเมตา (Meta) โดยกล่าวหาว่ายักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีไม่สามารถลบเนื้อหาที่ “ไม่พึงปรารถนา” ออกจากเฟซบุ๊กได้   เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันศุกร์ที่ 23 มิถุนายน 2566 กล่าวว่า หน่วยงานกำกับดูแลด้านการสื่อสารของมาเลเซียเตรียมดำเนินคดีทางกฎหมายกับเมตา (Meta) ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของเฟซบุ๊ก (Facebook)   หน่วยงานภายใต้การกำกับของรัฐบาลกล่าวว่า แพลตฟอร์มเฟซบุ๊กถูกรบกวนด้วยปริมาณที่มากมายของโพสต์ที่เป็นอันตรายในประเด็นต่าง ๆ เช่น เชื้อชาติ, ราชวงศ์, ศาสนา และการพนันออนไลน์ และเมตาล้มเหลวในการคัดกรองเนื้อหาดังกล่าวแม้ว่าจะมีการร้องขอซ้ำแล้วซ้ำเล่า จึงเตรียมดำเนินคดีทางกฎหมายกับบริษัทสหรัฐฯ   “เนื่องจากเมตาไม่ได้ให้ความร่วมมืออย่างเพียงพอ คณะกรรมาธิการจึงไม่มีทางเลือกนอกจากต้องดำเนินการขั้นเด็ดขาดทางกฎหมาย” คณะกรรมาธิการการสื่อสารและมัลติมีเดียของมาเลเซียกล่าวในแถลงการณ์   อย่างไรก็ดี มูลฟ้องยังไม่ได้รับการเปิดเผยว่าเมตาจะถูกดำเนินคดีข้อหาอะไร   ฟาห์มี ฟาดซิล รัฐมนตรีกระทรวงสื่อสารของมาเลเซีย แสดงความคิดเห็นต่อคำแถลงของหน่วยงานกำกับดูแล…

เอฟบีไอเตือนชาวเน็ต ระวังแก๊งโจรใช้เอไอแปลงรูปถ่ายทั่วไปเป็นรูปโป๊

Loading

  เอฟบีไอออกโรงเตือนประชาชนให้ระมัดระวังการโพสต์ภาพถ่ายและคลิปวิดีโอบนโซเชียลมีเดีย เนื่องจากมีแก๊งมิจฉาชีพจ้องขโมยภาพถ่ายหรือวิดีโอแล้วนำไปดัดแปลงให้เป็นคอนเทนต์อนาจารเพื่อเรียกร้องเงินทอง   เมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 2566 สำนักงานสืบสวนกลางสหรัฐหรือเอฟบีไอได้ออกแถลงการณ์แจ้งเตือนเกี่ยวกับแก๊งมิจฉาชีพซึ่งมีแนวโน้มจะใช้เทคโนโลยีเอไอเป็นเครื่องมือ โดยเฉพาะการนำภาพถ่ายหรือคลิปวิดีโอของตัวบุคคลไปเข้าโปรแกรม ‘ดีพเฟค’ และสร้างภาพถ่ายหรือวิดีโอที่มีเนื้อหาเข้าข่ายอนาจาร แล้วนำไปข่มขู่หรือเรียกเงินจากเจ้าของใบหน้า   กระบวนการตัดต่อและดัดแปลงภาพเพื่อก่ออาชญากรรมนี้เป็นปัญหาที่น่ากังวลอย่างมาก เนื่องจากอาชญากรมักนำภาพถ่ายและคลิปวิดีโอที่คนทั่วไปโพสต์ลงแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียมาใช้ และตัดเฉพาะส่วนที่เป็นใบหน้า จากกนั้นก็ใช้เทคโนโลยีเอไอแปลงให้เป็นภาพถ่ายอนาจาร   ทางเอฟบีไอ แจ้งว่า ได้รับรายงานจากผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของการดัดแปลงภาพโป๊เปลือยเหล่านี้ ซึ่งมีทั้งเหยื่อที่ยังเป็นผู้เยาว์และผู้ใหญ่ที่โดนนำรูปไปใช้โดยไม่ได้รับความยินยอม   หลังจากที่ดัดแปลงภาพถ่ายหรือคลิปวิดีโอให้ออกมาในเชิงอนาจารแล้ว แก๊งมิจฉาชีพก็จะนำคอนเทนต์เหล่านี้ไปเผยแพร่อย่างเปิดเผยผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียหรือเว็บไซต์อนาจาร โดยมีจุดประสงค์เพื่อก่อกวน สร้างความเดือดร้อนรำคาญใจแก่เหยื่อ ซึ่งมีศัพท์เรียกเฉพาะว่า Sextortion   ด้วยเหตุนี้ ทางเอฟบีไอจึงได้ออกคำเตือนประชาชนให้ระมัดระวังการโพสต์ภาพถ่ายหรือคลิปวิดีโอส่วนตัวลงในสื่อออนไลน์ หรือแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย ซึ่งอาจถูกนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการดัดแปลงภาพหรือวิดีโอโป๊เปลือย   นอกจากผู้ที่ตกเป็นเหยื่อจะได้รับความอับอาย เสื่อมเสียชื่อเสียง เดือดร้อนรำคาญใจแล้ว ยังอาจจะต้องสูญเสียทรัพย์สินเพื่อแลกกับการยุติการเผยแพร่ภาพดัดแปลงเหล่านี้ ซึ่งสุดท้ายก็อาจกำจัดได้ไม่หมด และทำให้ต้องตกเป็นเหยื่อซ้ำแล้วซ้ำอีกในระยะยาว   เอฟบีไอแถลงว่า ตั้งแต่เดือน เม.ย. เป็นต้นมา หน่วยงานพบว่ามีผู้ตกเป็นเหยื่อในกรณีที่เข้าข่าย Sextortion มากขึ้น จากการที่ภาพถ่าย หรือวิดีโอของบุคคลเหล่านี้ที่โพสต์ลงในโซเชียลมีเดีย ถูกนำไปดัดแปลงให้เป็นคอนเทนต์อนาจารด้วยเทคโนโลยีดีพเฟค   แก๊งมิจฉาชีพมักจะข่มขู่ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ…

กรมประชาฯ เจอดี มิจฉาชีพทำเพจปลอม “ข่าวจริงประเทศไทย” ล้วงตับชาวเน็ต

Loading

  ทีมงานข่าวจริงประเทศไทย สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ แจ้งความเอาผิดกับคนที่ทำเพจปลอมเลียนแบบ ทักแชตแล้วอ้างศูนย์ดำรงธรรม ให้ส่งข้อมูลไปที่ไอดีไลน์และลิงก์ ขอประชาชนอย่าหลงเชื่อ   เมื่อ 3 มิ.ย. รายงานข่าวแจ้งว่า ทีมงานข่าวจริงประเทศไทย สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ ได้แจ้งความดำเนินคดีกับผู้ที่แอบอ้างกับกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) หรือตำรวจไซเบอร์ หลังจากที่มีเพจเฟซบุ๊กใช้ชื่อเลียนแบบว่า “ข่าวจริงประเทศไทย” สร้างขึ้นเมื่อเดือน เม.ย. 2566 ที่ผ่านมา มีผู้ติดตาม 379 คน   สำหรับพฤติกรรมของเพจเลียนแบบก็คือ เมื่อเข้าไปที่กล่องข้อความแล้วพิมพ์ข้อความ จะมีข้อความอัตโนมัติ ระบุว่า “สวัสดีครับ ผู้เสียหายที่ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมทางเทคโนโลยีออนไลน์ สามารถแจ้งหรือร้องทุกข์ได้ที่เจ้าหน้าที่ศูนย์ดำรงธรรม Line : … (ขอสงวนไอดีไลน์) คลิก : … (ขอสงวนลิงก์) ส่งหลักฐานประวัติการสนทนาและสลิปที่ถูกหลอกลวงหรือฉ้อโกงให้เจ้าหน้าที่เก็บรวบรวมเพื่อดำเนินการสืบสวนขยายผลดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปได้นะครับ” ซึ่งเป็นไอดีไลน์ปลอม   พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก บช.สอท. ให้ข้อมูลว่า กลุ่มคนร้ายมักจะดำเนินการในลักษณะดังกล่าว ขอประชาชนอย่าหลงเชื่อ หากคลิกลิงก์หรือแอดไลน์…

รัฐบาลชวนผู้ใช้บริการโมบายแบงก์กิ้งเร่งไปติดต่อสแกนใบหน้าเพื่อสกัดภัยออนไลน์

Loading

  ธปท.ประสานธนาคารรัฐ-เอกชนดึงผู้ใช้ Mobile Banking ที่โอนเงินตั้งแต่ 5 หมื่นบาทต่อครั้ง 2 แสนบาทต่อวัน ติดต่อสาขาธนาคารเพื่อสแกนใบหน้าตัดวงจรภัยออนไลน์ ชี้แอปพลิเคชัน 7 แบงก์พร้อมบริการแล้ว   31 พ.ค.2566 – น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ปัจจุบันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างผลักดันมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีหรือภัยออนไลน์ ซึ่งในส่วนของภาคการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ประสานสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐและธนาคารพาณิชย์เอกชน เพื่อยกระดับมาตรการเพื่อความปลอดภัย โดยมีหลายมาตรการที่ดำเนินการไปแล้ว อาทิ การยกเลิกการแนบลิงค์เพื่อส่งข้อความสั้น (SMS) หรืออีเมลไปยังลูกค้า   สำหรับอีกมาตรการที่จะเข้ามาช่วยให้ตัดวงจรภัยออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และขณะนี้ธนาคารต่างๆ อยู่ระหว่างดำเนินการ คือ การปรับปรุงระบบความปลอดภัยในบริการผ่านแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือหรือ Mobile Banking ซึ่งตั้งแต่ต้นเดือน พ.ค. เป็นต้นมาธนาคารแต่ละแห่งได้ประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าที่ใช้บริการ Mobile Banking ที่จะมีการโอนเงินต่อครั้งตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป และโอนยอดรวมต่อวันตั้งแต่ 200,000 บาทขึ้นไป และกรณีการเปลี่ยนวงเงินการทำธุรกรรมต่อวันเป็นตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป จะต้องไปทำการสแกนใบหน้าเพื่อยืนยันตัวตน…