สกมช. ผนึก โกโกลุค หนุนใช้ ฮูส์คอลล์ สกัดโจรไซเบอร์ งดรับสายมิจฉาชีพ

Loading

เมื่อวันที่ 18 มกราคม พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการ สกมช. ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ระหว่าง สกมช. กับ บริษัท โกโกลุค จำกัด โดยนายเจฟฟ์ กัว ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทโกโกลุค

เปิดปากเล่าประสบการณ์สุดโหดจากตึก 9 เมืองเล่าก์ก่าย-ฐานใหญ่แก๊งคอลเซ็นเตอร์จีนเทารัฐฉานเหนือ

Loading

  รัฐฉาน เมียนมา – ทั้งคนไทย-พม่าเปิดประสบการณ์สุดโหด..หลังหลงกลเข้าร่วมแก๊งอาชญากรรมออนไลน์ใต้เงาทุนจีนเทารัฐฉานเหนือ บางส่วนถูกส่งเข้าตึก 9 เมืองเล่าก์ก่าย หนึ่งในฐานแก๊งคอลเซ็นเตอร์ บางรายโดนขายต่อเป็นทอด มีทั้งบังคับขายตัว-ลวงเหยื่อทั่วโลก ก่อนถูกปราบ-ช่วยจนรอดมาได้     ตลอดหลายปีที่ผ่านมาขบวนการแก๊งคอลเซ็นเตอร์ สกิมเมอร์ ถ่ายทำภาพยนตร์ลามก และอาชญากรรมอื่น ๆ ได้ใช้พื้นที่ส่วนหนึ่งในรัฐฉาน ประเทศเมียนมา เป็นฐานปฏิบัติการ มีทั้งคนตกเป็นเหยื่อถูกหลอกลวง-คนหลงเชื่อ/สมัครใจ เข้าร่วมขบวนการก่ออาชญากรรมออนไลน์   กระทั่งทางการจีนได้ขอความร่วมมือและบางแห่งเข้าปฏิบัติการเอง เดินหน้าปราบปรามกลุ่มจีนเทาในพื้นที่ต่าง ๆ ทั้งเขตปกครองตนเองโกกั้ง เขตปกครองพิเศษที่ 2 (สหรัฐว้า) เขตเศรษฐกิจพิเศษสามเหลี่ยมทองคำ แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว จ.เมียวดี ประเทศเมียนมา ฯลฯ เพราะแก๊งจีนเทาส่งผลกระทบต่อชาวจีนอย่างหนัก   กอปรกับเกิดสงครามในเขตปกครองตนเองโกกั้ง และล่าสุดกองทัพพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติเมียนมา (Myanmar National Democratic Alliance Army: MNDAA) ซึ่งสนับสนุนประเทศจีนในการปราบแก๊งจีนเทาชนะสงครามและยึดพื้นที่ได้ทั้งหมด   พบว่าที่หลงและเข้าไปอยู่ใต้เงาแก๊งคอลเซ็นเตอร์-อาชญากรรมออนไลน์ หนีรอดและได้รับการช่วยเหลือส่งกลับช่วงเดือน พ.ย. 2566-ม.ค. 2567…

บุกทลายสถานีโทรคมนาคมเถื่อน ส่งสัญญาณข้ามประเทศ เอื้อแก๊งคอล-เว็บพนัน

Loading

ตร. พร้อมด้วย กสทช. ร่วมกันแถลงผลการจับกุมสถานีโทรคมนาคมผิดกฎหมาย ที่ อ.แม่สาย จ.เชียงราย พร้อมหารือเร่งออกประกาศ กสทช. เรื่องการอนุญาต และกำกับดูแลสถานีวิทยุคมนาคม บริเวณแนวชายแดน เพื่อแก้ไขการปัญหาการลักลอบส่งสัญญาณเอื้อแก๊งคอลเซ็นเตอร์

“การลักพาตัวไซเบอร์” สแกมรูปแบบใหม่ ที่นักศึกษาจีนในหลายประเทศกำลังตกเป็นเหยื่อ

Loading

GETTY IMAGES   สถานทูตจีนในกรุงวอชิงตัน ออกประกาศเตือนพลเมืองชาวจีนในสหรัฐฯ โดยเฉพาะนักศึกษา ว่าให้ระมัดระวัง “การลักพาตัวเสมือนจริง”   สถานทูตออกแถลงการณ์ดังกล่าวหลังจาก ไค จวง นักศึกษาชาวจีนวัย 17 ปี ที่ถูกรายงานว่าหายตัวไป ถูกพบอย่างปลอดภัยภายในแคมป์ชั่วคราวในเขตรกร้างห่างไกลผู้คนของรัฐยูทาห์ เมื่อวันที่ 31 ธ.ค. ที่ผ่านมา   พ่อแม่ของไคบอกกับเจ้าหน้าที่โรงเรียนว่า พวกเขาได้รับข้อความพร้อมภาพถ่ายที่ระบุว่า ลูกชายถูกลักพาตัวพร้อมกับคำเรียกร้องเงินค่าไถ่   จากข้อมูลของตำรวจ ระบุว่า ผู้ตกเป็นเหยื่อของการลักพาตัวทางไซเบอร์ มักถูกโน้มน้าวให้แยกตัวออกมาอยู่ลำพัง พร้อมกับถ่ายภาพให้ดูเหมือนว่ากำลังถูกจับ ถึงแม้ว่าผู้ก่อการลักพาตัวจะไม่ได้อยู่ตรงนั้นด้วยก็ตาม โดยเหยื่อจะถูกติดตามผ่านเฟซไทม์หรือสไกป์แทน   ทั้งเหยื่อและครอบครัวต่างถูกทำให้เชื่อว่าอีกฝ่ายจะได้รับอันตราย หากพวกเขาไม่ยอมทำตาม   ครอบครัวของไคถูกหลอกให้จ่ายเงินค่าไถ่ประมาณ 80,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 2.8 ล้านบาท เข้าบัญชีธนาคารแห่งหนึ่งในประเทศจีน จากข้อมูลของตำรวจท้องถิ่น   การลักพาตัวเสมือน (virtual kidnapping) คืออะไร   RIVERDALE POLICE DEPARTMENT ไค…

จีนสั่งปิดบัญชีออนไลน์ 34,000 บัญชี ฐานเผยแพร่ ‘ข่าวลือ’

Loading

ตำรวจจีนได้ปิดบัญชีออนไลน์ 34,000 บัญชี และลงโทษผู้คนมากกว่า 6,300 คน ฐานเผยแพร่ข่าวลือ ความเคลื่อนไหวครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของกฏหมายปราบปรามอาชญากรรมไซเบอร์ที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐที่ประกาศใช้ตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา

5 คดีแก๊งคอลเซ็นเตอร์ประจำปี 66 อาชญากรรมไซเบอร์ดูดเงินคนไทยกว่า 4 หมื่นล้าน

Loading

  5 คดีแก๊งคอลเซ็นเตอร์ประจำปี 2566 อาชญากรรมไซเบอร์ที่ดูดเงินคนไทยกว่า 4 หมื่นล้านบาทต่อปี   ต้องยอมรับว่า ‘มิจฉาชีพ’ มีหลากหลายรูปแบบและสามารถเข้าถึงตัวเราได้ในหลายช่องทาง ยิ่งในยุคนี้ที่การสื่อสารเปิดกว้าง แทบจะทุกคนมีโทรศัพท์เป็นของตัวเอง ในส่วนของข้อดีโทรศัพท์ได้ช่วยทำให้การติดต่อระหว่างกันเป็นไปได้สะดวกง่ายขึ้น แต่ส่วนภัยร้ายที่แฝงมาก็อาจทำให้เกิดความสูญเสียจนถึงชีวิตได้เช่นกัน   ก่อนจะพูดถึง 5 คดีความเสียหายหายที่เกิดจาก ‘แก๊งคอลเซ็นเตอร์’ ทีมข่าว TNN Online ได้สรุปตัวเลขเหตุอาชญากรรมทางเทคโนโลยีมาให้พิจารณา ซึ่งในระยะเวลาเพียง 1 ปีเท่านั้น คนไทยต้องสูญเสียทรัพย์สินให้กับการหลอกลวงรูปแบบนี้ไม่ต่ำกว่า 4.5 หมื่นล้านบาท   อ้างอิงสถิติแจ้งความออนไลน์จากเว็บไซต์ www.thaipoliceonline.com ตั้งแต่ 1 มีนาคม 2565 – 30 กันยายน 2566 มีจำนวน 365,547 เรื่อง   แบ่งเป็นคดีออนไลน์ จำนวน 336,896 เรื่อง รวมมูลค่าความเสียหาย 45,738,507,864 บาท ตำรวจติดตามอายัดบัญชีได้ 167,347 บัญชี…