HijackLoader พันธุ์ใหม่ กระแสแรง โลกอาชญากรรมไซเบอร์

Loading

เมื่อเทคโนโลยีมีการพัฒนาที่เพิ่มสูงขึ้น สิ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เลยคือ ภัยคุกคามที่จะหลั่งไหลมาในหลากหลายรูปแบบและนับวันก็จะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ ในวันนี้ผมจะขอพูดถึงตัวโหลดมัลแวร์อย่าง HijackLoader ที่ได้รับความสนใจในกลุ่มอาชญากรไซเบอร์โดยมีการส่งมอบเพย์โหลดต่าง ๆ

ความน่ากลัวของเครื่อง ‘False Base Station’ แค่คลิกเดียวเกลี้ยงทั้งบัญชี

Loading

  สน.รอตรวจ โดย บิ๊กสลีป ว่าด้วยเรื่อง ความน่ากลัวของเครื่อง ‘False Base Station’ หรือเครื่องจําลองสถานีฐาน ที่แก๊งมิจฉาชีพนำมาใช้หลอกเหยื่อ แค่พลาดคลิกลิ้งก์แค่ครั้งเดียวเงินของเราก็เกลี้ยงทั้งบัญชี   เรื่องราวที่น่าหวั่นวิตกนี้เกิดขึ้นสืบเนื่องจากมีผู้เสียหาย ตกเป็นเหยื่อจากขบวนการส่ง SMS ในลักษณะลิงก์ปลอม อ้างชื่อเป็นธนาคารกสิกรไทย หลอกดูดเงินผู้เสียหาย ซึ่งขบวนการดังกล่าว กําลังแพร่ระบาดอย่างมาก ค่าความเสียหายรวมกว่า 175 ล้านบาท   โดยคนร้ายจะนําเครื่องจําลองสถานีฐาน (False Base Station) ใส่ไว้ในรถแล้วขับออกไปยังสถานที่ต่าง ๆ ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล หากรถแล่นผ่านไปทางใด ก็จะส่งสัญญาณไปยังโทรศัพท์มือถือที่อยู่บริเวณใกล้เคียง แล้วส่ง SMS ในลักษณะลิงก์ปลอม อ้างชื่อเป็นสถาบันการเงิน กรมสรรพากร การไฟฟ้า     ซึ่งอุปกรณ์ดังกล่าวถูกใช้ที่ชายแดนประเทศเพื่อนบ้านและส่งสัญญาณในประเทศไทย ทำให้ไทยใช้มาตรการควบคุมสัญญาณให้อยู่ในรัศมีวงจำกัด มิจฉาชีพจึงต้องนำเข้าเครื่องนี้เข้ามาในประเทศโดยตรงแทน หากใครหลงเชื่อและกดลิงก์ก็จะถูกให้ติดตั้งแอปพลิเคชันควบคุมเครื่องระยะไกล สามารถโอนเงินจากบัญชีธนาคารที่เครื่องโทรศัพท์นั้นติดตั้งแอปพลิเคชันประเภท Mobile Banking   ล่าสุดตำรวจสามารถจับกุมตัว นายสุขสันต์ อายุ 40…

‘อาชญากรรมไซเบอร์’ ระบาดหนัก ปลุก ’งบฯ ซิเคียวริตี้’ โตสวนศก.โลก

Loading

    ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การโจมตีทางไซเบอร์เกิดขึ้นทั้งกับธุรกิจขนาดใหญ่ไล่ไปจนถึงกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและเล็ก จึงกลายเป็นภารกิจหลักของผู้บริหารระดับสูงของทุกองค์กร ขณะที่ อาชญากรรมไซเบอร์ใช้เครื่องมือสำเร็จรูปมากขึ้นและผสานการโจมตีหลากหลายรูปแบบเข้าด้วยกัน   “เพียร์ แซมซัน” ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายรายได้ (CRO) บริษัท Hackuity ตั้งข้อสังเกต พร้อมยกคาดการณ์ ที่ระบุว่าภายในปี 2568 ภัยจากอาชญากรรมไซเบอร์ทั่วโลกจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจโลก สูงกว่า 10.5 ล้านล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจาก 3 ล้านล้านดอลลาร์เมื่อปี 2558   สำหรับปี 2566 นี้ คาดว่า ภัยจากอาชญากรรมไซเบอร์ทั่วโลก น่าจะสร้างความเสียหายประมาณ 8 ล้านล้านดอลลาร์ ตามข้อมูลของ Cybersecurity Ventures บริษัทวิจัยทางการตลาดในสหรัฐอเมริกา และยังระบุอีกว่า ภัยคุกคามต่อความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่พบบ่อย เช่น   -การล่อลวงด้วยฟิชชิง (phishing scams)   -มัลแวร์เรียกค่าไถ่ (ransomware)   -มัลแวร์ (malware)   -การละเมิดข้อมูล และเทคนิควิศวกรรมสังคม…

‘เทคนิคโจร’ ก็พัฒนา ‘ปล้นออนไลน์’ อาวุธ ‘จุดอ่อนเหยื่อ’

Loading

  นอกจาก “ภัยโฆษณาเกินจริง” ที่ทาง “ทีมสกู๊ปเดลินิวส์” ได้ชี้ให้เห็น “อันตราย” ไปแล้ว…กับ “ภัยคุกคามทางไซเบอร์” อย่างการ “ขโมยข้อมูล-ต้มตุ๋นออนไลน์” ก็เป็นอีกภัยที่ใกล้ตัวคนไทยมากขึ้นเรื่อย ๆ   ซึ่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ ก็มีผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบระบบความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ของไทย ออกมาเผยข้อมูลเกี่ยวกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ โดยอ้างอิงผลสำรวจของ Identity Theft Resource Center ที่พบว่า…ปี 2565 ทั่วโลกมีการโจมตีด้านข้อมูลส่วนบุคคลมากมาย โดยมีผู้เสียหายที่ถูกขโมยข้อมูลมากถึง 442 ล้านคน!!! ซึ่งแน่นอนว่าในจำนวนนี้ก็ย่อมมี “เหยื่อคนไทย” รวมอยู่ด้วย   ตัวเลขนี้ฉายชัด “สถานการณ์ปัญหา”   ที่โลกยุคใหม่ต้องเผชิญ “โจรไซเบอร์”   อีกหนึ่ง “ภัยคุกคามที่น่ากลัว” ในยุคนี้   “การแฮ็กข้อมูล การถูกเจาะระบบ กำลังเป็นปัญหาใหญ่มากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะข้อมูลส่วนบุคคลได้กลายเป็นแหล่งทำเงินของแฮกเกอร์ไปแล้ว โดยแฮ็กเกอร์ที่ขโมยข้อมูลเหล่านี้ไปจะนำไปขายต่อเพื่อหาเงิน หรือแม้แต่สวมรอยแทนตัวตนของคนที่ถูกขโมยข้อมูลเพื่อใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่าง ๆ ทำให้เรื่องนี้เป็นปัญหาใหญ่ในขณะนี้” …เป็น “อันตราย”…

เรื่องใกล้ตัวกว่าที่คิด! “รู้ทันภัยไซเบอร์” ป้องกันอย่างไร..ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ

Loading

  ปัจจุบัน Cybercrime หรือ อาชญากรรมไซเบอร์เกิดขึ้นทุกวันและมีอัตราการโจมตีเพิ่มขึ้น ทำให้องค์กรในยุคปัจจุบันต้องเผชิญกับความเสี่ยงด้านความปลอดภัยมากกว่าในอดีต อีกทั้งอาชญากรรมไซเบอร์มีการพัฒนารูปแบบการจู่โจม เทคนิคและซับซ้อนมากยิ่งขึ้น พร้อมแทรกซึมเข้าสู่องค์กรเป้าหมายอยู่ตลอดเวลา   แล้วจะทำอย่างไร? ให้องค์กรของคุณ…สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างปลอดภัย และสามารถป้องกันพร้อมรับมือกับอาชญากรรมไซเบอร์ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้   “Attackers are adapting and finding new ways to implement their techniques, increasing the complexity of how and where they host campaign operation infrastructure.” – Amy Hogan-Burney, General Manager, Digital Crimes Unit, Microsoft     1. Malware Attack ภัยคุกคามรุ่นบุกเบิกที่มักจะแฝงตัวมากับไฟล์ที่ดาวน์โหลด อีเมล และจากการเชื่อมต่ออุปกรณ์เสริมต่างๆ เช่น…

แบงก์ชาติเอาจริง! ประกาศบังคับทุกธนาคาร เริ่มใช้มาตรการป้องกันภัยโกงเงิน

Loading

  แบงก์ชาติ (ธนาคารแห่งประเทศไทย) เผยว่า ปัจจุบันภัยทุจริตทางการเงินมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและหลากหลายรูปแบบ เช่น SMS หลอกลวง แก๊งคอลเซ็นเตอร์ แอปพลิเคชันให้สินเชื่อปลอม และแอปพลิเคชันดูดเงิน จึงต้องบังคับใช้มาตรการป้องกันกับทุกธนาคาร   แบงก์ชาติ หรือ ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้เห็นถึงความเดือดร้อนของประชาชนที่พบภัยจากไซเบอร์ ไม่ว่าจะเป็น SMS ปลอม , แก๊งคอลเซ็นเตอร์ และแอปพลิเคชั่นดูดเงินต่างๆ   แบงก์ชาติ จึงต้องออกนโยบายเป็นชุดมาตรการจัดการภัยทุจริตทางการเงิน ที่ดูแลตลอดเส้นทางการทำธุรกรรมทางการเงิน โดยกำหนดเป็นแนวปฏิบัติขั้นต่ำให้สถาบันการเงินทุกแห่งปฏิบัติตามเป็นมาตรฐานเดียวกัน สรุปได้ดังนี้     มาตรการป้องกัน เพื่อปิดช่องทางที่มิจฉาชีพจะเข้าถึงประชาชนได้มากขึ้น –  ให้สถาบันการเงินงดการส่งลิงก์ทุกประเภทผ่าน SMS อีเมล และงดส่งลิงก์ขอข้อมูลสำคัญ เช่น ชื่อผู้ใช้งาน รหัสผ่าน –  จำกัดจำนวนบัญชีผู้ใช้งาน mobile banking (username) ของแต่ละสถาบันการเงินให้ใช้ได้ใน 1 อุปกรณ์เท่านั้น โดยต้องจัดให้มีการแจ้งเตือนผู้ใช้บริการ mobile banking ก่อนทำธุรกรรมทุกครั้ง –  พัฒนาระบบความปลอดภัยบน…