‘แคสเปอร์สกี้’ แนะยุทธวิธี รับมือหลังถูก ‘ละเมิดข้อมูล’

Loading

    การรั่วไหลของ “ข้อมูลส่วนบุคคล” กลายเป็นปัญหาใหญ่ของทั้งธุรกิจองค์กรและบุคคลทั่วไป ทั้งมีแนวโน้มว่าเหตุการณ์จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในปีนี้และต่อๆ ไปในอนาคต   เซียง เทียง โยว ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ เปิดมุมมองว่า แม้ว่าการละเมิดข้อมูลจะส่งผลต่อความเป็นส่วนตัวของบุคคลโดยตรง แต่ความปลอดภัยทางไซเบอร์ขององค์กรก็ตกอยู่ในความเสี่ยงเช่นกัน   ที่ผ่านมา ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมักจะใช้อีเมลแอดเดรสของบริษัทเพื่อลงทะเบียนกับเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งอาจทำให้ข้อมูลรั่วไหลได้เมื่อข้อมูลที่ละเอียดอ่อน เช่น อีเมลแอดเดรส สามารถเข้าถึงได้โดยสาธารณะ     ข้อมูลดังกล่าวอาจเรียกความสนใจจากอาชญากรไซเบอร์ และจุดชนวนให้เกิดการสนทนาบนเว็บไซต์ดาร์กเน็ตเกี่ยวกับการโจมตีที่อาจเกิดขึ้นกับองค์กร มากกว่านั้นข้อมูลดังกล่าวยังสามารถใช้ทำฟิชชิงและวิศวกรรมสังคมได้อีกด้วย   ไม่ควรไล่ใครออก เมื่อเกิดเหตุ   ปัจจุบัน องค์กรต่างๆ ล้วนต้องมีความเสี่ยง ตั้งแต่บริษัทขนาดเล็กที่สุดที่เก็บสำรองข้อมูลแบบออฟไลน์ไว้ห่างจากสำนักงาน ไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ที่สุดที่ต้องการใช้ชุดโซลูชันการป้องกันขั้นสูง   เนื่องจากค่าเสียหายของการละเมิดข้อมูล ไม่ได้มีเพียงค่าใช้จ่ายในการจัดการกับการกู้คืนหลังการโจมตีเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความเสียหายต่อชื่อเสียงและการสูญเสียความต่อเนื่องทางธุรกิจ   ผู้เชี่ยวชาญของแคสเปอร์สกี้แนะนำรายการตรวจสอบเพื่อให้ธุรกิจสามารถกลับมาดำเนินการได้เร็วยิ่งขึ้น และเพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับการดำเนินงานด้านความปลอดภัยด้านไอทีหลังจากเกิดการละเมิดข้อมูล ดังนี้   1. ประเมินสถานการณ์ : ประเมินความเสี่ยงของการละเมิดข้อมูลที่มีต่อลูกค้า การประเมินความเสี่ยงช่วยให้ตัดสินใจขั้นตอนต่อไปและการรายงานการละเมิด หากมีความเสี่ยงสูงจะต้องแจ้งให้ลูกค้าทราบโดยไม่รีรอ   2. ไม่ไล่…

รักษาความปลอดภัยอย่าวางใจ แฮ็กเกอร์ก็ชอบวันหยุด

Loading

  เมื่อถึงวันหยุดยาวต่อเนื่องหลายวัน มักเป็นช่วงเวลาที่สร้างรอยยิ้มให้กับคนทำงาน เพราะจะได้พักผ่อนและวางภาระหน้าที่จากการงานลง มีเวลาให้กับตัวเองและครอบครัวมากขึ้น หรือไปเที่ยวในสถานที่ต่าง ๆ   แต่รู้หรือไม่ว่า นอกจาก “พวกเรา” ที่ตั้งตารอวันหยุดอยางมีความสุขกันแล้ว “มิจฉาชีพ” ก็ชอบวันหยุดเช่นกัน เห็นได้จากข่าวอยู่บ่อย ๆ ว่า ในช่วงวันหยุดยาวที่เราหลายคนพักผ่อน มิจฉาชีพจะออกทำงาน เช่น โจรกรรมทรัพย์สิน สำนักงานตำรวจแห่งชาติจึงมีโครงการ “ฝากบ้านไว้กับตำรวจ” เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกันการเกิดเหตุ และสร้างความมั่นใจให้กับประชาชน   ในช่วงวันหยุดยาวแบบนี้ก็เป็นเวลาทองของ “แฮ็กเกอร์” เช่นเดียวกัน จากข้อมูลของ Cybersecurity and Infrastructure Security Agency (CISA) และ Federal Bureau of Investigation (FBI) ระบุตรงกันว่า ในอดีตแฮ็กเกอร์มักจะโจมตีในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ คือ วันศุกร์และวันเสาร์ แต่ในปัจจุบันแฮกเกอร์จะเลือกโจมตีในช่วงวันหยุดยาวของเหยื่อในแต่ละประเทศ เช่น โจมตีเหยื่อในประเทศจีน ช่วงเทศกาลตรุษจีน โจมตีเหยื่อในประเทศญี่ปุ่น ช่วงเทศกาลโอบง เป็นต้น ส่วนในประเทศไทยอาจได้รับผลกระทบเช่นกัน…

‘ยูจีน แคสเปอร์สกี้’ ปลุกโลกให้มี ‘Cyber Immunity’ สกัดภัยไซเบอร์

Loading

    แคสเปอร์สกี้ เผย จำนวนอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ยังคงเพิ่มขึ้นทวีคูณ เช่นเดียวกับความสนใจของ “อาชญากรไซเบอร์” ภัยคุกคามทางไซเบอร์ก่อให้เกิดความเสียหายทางกายภาพได้ เช่น ความเสียหายต่อโรงงานอุตสาหกรรม สิ่งอำนวยความสะดวกด้านพลังงาน ระบบเมืองอัจฉริยะ   Key Points :   – “ยูจีน แคสเปอร์สกี้” ผู้ก่อตั้ง และซีอีโอ แคสเปอร์สกี้ ยักษ์ใหญ่ด้านความปลอดภัยไซเบอร์สัญชาติรัสเซีย เยือนไทย หนุน “Cyber Immunity” หรือ ภูมิคุ้มกันทางไซเบอร์ สกัดภัยคุกคามออนไลน์   -ภัยคุกคาม เป้าโจมตี ภาคไอที โทรคมนาคม สุขภาพ บริการทางการเงิน โรงงานอุตสาหกรรม โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ   -ปี 2022 พบไฟล์ที่เป็นอันตรายใหม่โดยเฉลี่ย 400,000 ไฟล์ต่อวัน เพิ่มขึ้น 5% โดยรวมแล้วตรวจพบไฟล์ที่เป็นอันตรายประมาณ 122 ล้านไฟล์   อุตสาหกรรมการรักษาความปลอดภัยข้อมูล กำลังสร้างเทคโนโลยีการรักษาความปลอดภัยมากขึ้น…

อาชญากรไซเบอร์ ‘ผู้หญิง’ มีอยู่ไม่น้อยกว่า 30%

Loading

    หลายคนมักจะคิดว่าเหล่าบรรดาแฮ็กเกอร์โดยส่วนใหญ่นั้นจะต้องเป็นผู้ชาย แต่ในความเป็นจริงแล้วพบว่า อาชญากรทางไซเบอร์เป็นผู้หญิงถึง 30% เป็นอย่างต่ำเลยทีเดียว   ทุกวันนี้ เราจะเห็นข่าวคดีการคุกคามทางไซเบอร์ซิเคียวริตี้มีจำนวนเพิ่มขึ้นและรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ในทั่วทุกมุมโลก   หากพิจารณาเกี่ยวกับการก่ออาชญากรรมในทุก ๆ ประเภทของผู้หญิงแล้ว จะพบจุดที่น่าสนใจก็คือ การก่ออาชญากรรมทางไซเบอร์นั้นสูงกว่าประเภทอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัด   โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้ “เทรนด์ ไมโคร (Trend Micro)” ได้ส่งทีมงานเข้าสอดแนมโดยใช้นามแฝงเพื่อเข้าใช้งานเว็บเซอร์วิสอย่าง Gender Analyzer V5 เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลโดยสุ่มผู้ใช้งานจำนวน 50 คนของ XSS forum ในภาษารัสเซีย และผู้ใช้งานจำนวน 50 คนของ Hackforums site ในภาษาอังกฤษ   พบว่าผู้ใช้งานเป็นผู้หญิงถึง 30% ของผู้ใช้ XSS forum และ 36% ของผู้ใช้งาน Hackforums และจากรายงานยังพบอีกว่า…

Kaspersky พบอาชญากรไซเบอร์ประกาศรับสมัครงานใต้ดินจำนวนมาก

Loading

    Kaspersky Lab เผยผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากกระดานสนทนาบนดาร์กเว็บ 155 แห่ง พบว่าประชาคมอาชญากรไซเบอร์มีความต้องการจ้างบุคลากรด้านไอทีจำนวนมาก   จากการศึกษาโฆษณารับสมัครงานกว่า 200,000 ชิ้น ตั้งแต่ปี 2020 จนถึงเดือนมิถุนายน 2022 พบว่าตำแหน่งงานที่โลกไซเบอร์ด้านมืดต้องการมากที่สุด คือ นักพัฒนาเว็บ ถึงร้อยละ 61 ตามมาด้วยวิศวกรย้อนรอย (Reverse Engineer) นักวิเคราะห์ และนักทดสอบแฮก   งานที่ผู้ว่าจ้างเหล่านี้ระบุในรายละเอียดของการจ้างมีทั้งการสร้างมัลแวร์ การสร้างหน้าฟิชชิง โจมตีโครงสร้างพื้นฐานองค์กร และแฮกเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน โดยมีค่าจ้างตั้งแต่ 1,300 – 4,000 เหรียญต่อเดือน (ราว 43,400 – 133,500 บาท) ค่าจ้างสูงสุดเป็นของตำแหน่งวิศวกรย้อนรอย   โปลินา บอชคาเรวา (Polina Bochkareva) เชื่อว่าการเฟ้นหาบุคลากรเพิ่มเติมมักจะนำมาซึ่งการสร้างกลุ่มใหม่หรือขยายกลุ่มที่มีอยู่แล้ว   กลุ่มเหล่านี้มักมีแนวทางการรับสมัครบุคลากรโดยใช้เกณฑ์เดียวกับผู้ว่าจ้างบนดินที่ถูกกฎหมาย อย่างการหยิบยื่นสิทธิประโยชน์ที่พนักงานทั่วไปพึงได้รับ อาทิ สิทธิการลา การเลื่อนตำแหน่ง และแผนจูงใจพนักงานอื่น…

Trend Micro พบอาชญากรใช้กลวิธีทำให้เว็บไซต์แฝงมัลแวร์ขึ้นผลค้นหาบน ๆ ของ Google เพื่อโจมตีเป้าหมายในออสเตรเลีย

Loading

  ผู้เชี่ยวชาญจาก Trend Micro พบว่าอาชญากรไซเบอร์ใช้โปรแกรมเล่นสื่อ VLC ในการปล่อยมัลแวร์ Cobalt Strike เพื่อโจมตีเป้าหมายในออสเตรเลีย   อาชญากรเหล่านี้สร้างเว็บไซต์ปลอมที่ได้รับการออกแบบให้ดูเหมือนกระดานสนทนาที่เผยแพร่เอกสารข้อตกลงเกี่ยวกับบริการสุขภาพในลักษณะไฟล์ ZIP   นอกจากนี้ ยังได้มีการใช้วิธีการที่เรียกว่า SEO (search engine optimization) poisoning หรือการทำให้เว็บไซต์ปลอมที่สร้างขึ้นไปอยู่ในผลการค้นหาของเสิร์ชเอนจิน โดยเฉพาะ Google ในลำดับบน ๆ ด้วยการใส่ลิงก์เว็บไซต์ปลอมที่ว่านี้ในหน้าเว็บไซต์อื่น ๆ และโพสต์ในโซเชียลมีเดียให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้   อาชญากรกลุ่มนี้ยังได้พยายามทำให้เว็บไซต์ของตัวเองเชื่อมโยงกับคีย์เวิร์ดอย่าง ‘โรงพยาบาล’ ‘สุขภาพ’ และ ‘ข้อตกลง’ จับคู่กับชื่อเมืองต่าง ๆ ในออสเตรเลีย   หากมีเหยื่อหลงไปดาวน์โหลดไฟล์ ZIP บนเว็บไซต์ปลอมดังกล่าวก็จะทำให้ตัว Gootkit Loader เข้าไปทำงานในเครื่องโดยจะปล่อยสคริปต์ PowerShell ที่จะดาวน์โหลดมัลแวร์เพิ่มเติมลงในอุปกรณ์ของเหยื่อ หนึ่งในไฟล์ที่ Gootkit ดาวน์โหลดเข้าไปในเครื่องเป็นไฟล์ VLC media player ซึ่งเมื่อเหยื่อเปิดไฟล์ตัวนี้ขึ้นมา มันจะมองหาไฟล์…