โฆษณา ‘Search Engine Ad’ เครื่องมือใหม่ อาชญากรไซเบอร์

Loading

  หลายปีที่ผ่านมา การโจมตีทางไซเบอร์เพิ่มขึ้นมากมายและหลากหลายรูปแบบ ล่าสุดเอฟบีไอออกประกาศแจ้งเตือนว่า ขณะนี้อาชญากรไซเบอร์ได้ใช้บริการโฆษณา “Search Engine Ad” โดยปลอมตัวเป็นแบรนด์เพื่อฉ้อโกงและหลอกล่อผู้ใช้งานให้เข้าระบบไปยังเว็บไซต์ปลอมที่อันตราย   เว็บไซต์เหล่านี้ดูภายนอกก็เหมือนกับหน้าเว็บอย่างเป็นทางการของธุรกิจต่างๆ ที่ถูกแอบอ้าง โดยเหล่าบรรดาแฮกเกอร์จะหลอกล่อเหยื่อให้ดาวน์โหลดมัลแวร์หรือให้ป้อนข้อมูลเพื่อเข้าสู่ระบบรวมถึงข้อมูลทางการเงิน   ตัวอย่างเช่น ในกรณีที่ผู้ใช้งานค้นหาโปรแกรมเพื่อดาวน์โหลด ที่หน้าเว็บไซต์ปลอมจะมีลิงก์สำหรับดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ที่เป็นมัลแวร์ซ่อนอยู่ ซึ่งเหล่าแฮกเกอร์เลือกซื้อโฆษณา Search Engine Ad เพื่อให้แน่ใจว่าโฆษณาของพวกเขาจะปรากฏที่ด้านบนสุดของผลการค้นหาและเพื่อโปรโมทเว็บไซต์และทำการขโมยข้อมูลหรือแรนซัมแวร์   โดย Search Engine Ad จะมีความแตกต่างอยู่ระหว่างโฆษณาและผลการค้นหาทางอินเทอร์เน็ตจริง อย่างไรก็ตาม การแจ้งเตือนดังกล่าวยังระบุอีกว่าอาชญากรไซเบอร์กำลังซื้อบริการเหล่านี้โดยใช้โดเมน (domain) ที่มีความคล้ายคลึงกับธุรกิจหรือบริการจริงเพื่อจุดประสงค์ไม่ดีที่แอบแฝงอยู่   เอฟบีไอ ได้ตั้งข้อสังเกตว่า โฆษณาเหล่านี้ยังถูกใช้เพื่อแอบอ้างเป็นเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแพลตฟอร์มการซื้อขายคริปโต (cryptocurrency) โดยเว็บไซต์ปลอมจะมีการขอให้ผู้ใช้งานกรอกข้อมูลและจากนั้นจะทำการขโมยทั้งข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลบัญชีธนาคารของผู้ใช้งานออกไปทั้งหมด   หน่วยงานด้านการบังคับใช้กฏหมายเน้นย้ำว่า แม้ว่าโฆษณา search engine บนเครื่องมือจะมีรูปแบบที่ไม่เป็นอันตราย แต่ผู้ใช้งานก็ควรเลือกใช้ด้วยความระมัดระวังเมื่อเข้าถึงหน้าเว็บผ่านลิงก์ที่โฆษณา และได้เสนอข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ใช้งานเมื่อค้นหาธุรกิจหรือบริการออนไลน์ เหล่านี้คือ   ตรวจสอบ URL เพื่อหาข้อผิดพลาดก่อนที่จะคลิกโฆษณาเพื่อให้แน่ใจว่าเว็บไซต์นั้นถูกต้องตามกฎหมาย   ควรพิมพ์ URL…

เปิดแผนปฏิบัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัย “ไซเบอร์” ปี 2565-2570

Loading

ปัจจุบันเรื่องภัยคุกคามทางไซเบอร์ ได้เป็นประเด็นที่ทั่วโลกให้ความสนใจ เนื่องจาก “อาชญากรไซเบอร์” ได้มุ่งโจมตีผู้ใช้งานทั้งในส่วนของคนทั่วไป และองค์กรธุรกิจต่างๆ

การมีแผนป้องกันและแก้ไขปัญหาที่ดีจะช่วยลดความเสี่ยงและลดผลกระทบต่อความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งประเทศไทย ก็ถือเป็นหนึ่งในเป้าหมายของ “อาชญากรไซเบอร์” จึงต้องมีแผนเตรียมการรับมือ

ผู้เชี่ยวชาญพบอาชญากรหันมานิยมใช้ ChatGPT สร้างมัลแวร์

Loading

  ผู้เชี่ยวชาญจาก Check Point Research ผู้ให้บริการด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศเผยว่า ChatGPT ปัญญาประดิษฐ์สร้างข้อความกำลังได้รับความนิยมจากเหล่าอาชญากรไซเบอร์   โดยระบุว่าอาชญากรบางรายไม่มีความสามารถด้านการเขียนโค้ดด้วยซ้ำ แต่สามารถใช้ ChatGPT ในการสร้างมัลแวร์หรือใช้ในการก่ออาชญากรรมไซเบอร์ประเภทอื่นได้   Check Point พบว่าในเดือนธันวาคม มีผู้ใช้ ChatGPT สร้างกระบวนการแฮกตั้งแต่การส่งอีเมลฟิชชิ่งไปจนถึงการเชื่อมมัลแวร์ที่ฝังไว้ในเครื่องเหยื่อกลับมายังแฮกเกอร์ บางรายก็ใช้สร้างมัลแวร์สำหรับสร้าง Backdoor ที่รันสคริปต์ได้เอง   นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 29 ธันวาคมปีที่แล้ว ยังมีการพบกระทู้ในกระดานสนทนาแฮกเกอร์ที่เจ้าของกระทู้ระบุว่ากำลังทดลอง ChatGPT ในการสร้างวิธีการโจมตีและกลยุทธ์มัลแวร์ในรูปแบบต่าง ๆ อยู่   ตัวอย่างหนึ่งคือการใช้ ChatGPT สร้างมัลแวร์ขโมยข้อมูล (infostealer) ที่เขียนขึ้นมาด้วยภาษา Python ซึ่งมีความสามารถในการค้นหาและคัดลองประเภทไฟล์และอัปโหลดไว้บนเซิร์ฟเวอร์ FTP ได้ แต่ในกรณีนี้ Check Point ชี้ว่ามัลแวร์ที่สร้างขึ้นมาเป็นเพียงมัลแวร์ขโมยข้อมูลระดับพื้นฐานเท่านั้น   ขณะที่อีกกระทู้หนึ่งในช่วงเวลาไล่เลี่ยกัน มีการพูดถึงความง่ายในการใช้ ChatGPT ในการสร้างตลาดซื้อขายสิ่งผิดกฎหมายบนดาร์กเว็บ   สำหรับ ChatGPT…

‘พฤติกรรมดิจิทัล’เป้าโจมตี อาชญากรไซเบอร์ – จับตา ‘ฟิชชิ่ง’ ระบาดหนักในไทย!

Loading

  พฤติกรรมดิจิทัลแบบใหม่ คือ “เป้าหมายโจรไซเบอร์” แคสเปอร์สกี้ เผยตัวเลขการตรวจพบ “ฟิชชิ่งการเงิน” มากกว่า 1.6 ล้านรายการในอาเซียน และ “1.2 แสนรายการ” ในไทย   การระบาดครั้งใหญ่ได้เร่งการใช้งานดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และสร้างพฤติกรรมทางดิจิทัลใหม่ ๆ ให้ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต ทั้งที่เกี่ยวข้องกับเหตุฉุกเฉินด้านสุขภาพและอื่น ๆ อาชญากรไซเบอร์ก็ใช้ประโยชน์จากกระแสนี้และกำหนดเป้าหมายโจมตีผู้ใช้เพื่อประโยชน์ของตนโดยเฉพาะ   ผู้ใช้งานระบบการชำระเงิน ร้านค้าออนไลน์ และธนาคารออนไลน์เป็นเป้าหมายด้านการเงินที่สำคัญสำหรับฟิชเชอร์ ในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 ข้อมูลของแคสเปอร์สกี้ แสดงให้เห็นว่ามีการตรวจพบและบล็อกการโจมตีฟิชชิ่งที่เกี่ยวข้องกับการเงินมากถึง 1,604,248 รายการในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   สัดส่วนการตรวจจับสูงสุดแบ่งเป็นการโจมตีที่เกี่ยวข้องกับระบบการชำระเงิน 840,254 รายการ รองลงมาคือร้านค้าอีคอมเมิร์ซ 621,640 รายการ และธนาคารออนไลน์ 142,354 รายการ   ข้อมูลข้างต้นมาจากข้อมูลที่ไม่ระบุชื่อผู้ใช้โดยอิงจากการทริกเกอร์องค์ประกอบที่กำหนดในระบบ Anti-Phishing ของแคสเปอร์สกี้บนคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ คอมโพเนนต์จะตรวจจับเพจทั้งหมดที่มีเนื้อหาฟิชชิ่งที่ผู้ใช้พยายามเปิดโดยคลิกลิงก์ในข้อความอีเมลหรือบนเว็บที่ลิงก์ไปยังเพจที่มีอยู่ในฐานข้อมูลแคสเปอร์สกี้   ฟิชชิ่ง คือ การหลอกลวงทางอินเทอร์เน็ต เพื่อขอข้อมูลที่สำคัญเช่น รหัสผ่าน หรือหมายเลขบัตรเครดิต โดยการส่งข้อความผ่านทางอีเมลหรือเมสเซนเจอร์…

OPERA1ER อาชญากรไซเบอร์ฝรั่งเศสขโมยเงินจากมากกว่า 15 ประเทศ

Loading

  ทีมข่าวกรองภัยคุกคามของ Group-IB เผยรายงานที่จัดทำร่วมกับทีมเผชิญเหตุทางไซเบอร์ของ Orange ที่ระบุว่ากลุ่มอาชญากรไซเบอร์ที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาหลักซึ่งมีรหัสเรียกขานว่า OPERA1ER ก่อเหตุโจรกรรมทางไซเบอร์ต่อธนาคารและองค์กรด้านโทรคมนาคมในแอฟริกา เอเชีย และละตินอเมริกา กว่า 15 ประเทศ ไปแล้วมากกว่า 30 ครั้ง   ปฏิบัติการของ OPERA1ER ขโมยเงินอยากเหยื่อรวมกันไปแล้วมากกว่า 30 ล้านเหรียญ (ราว 1,127 ล้านบาท) ในเวลากว่า 4 ปีที่ผ่านมา   รูปแบบปฏิบัติการของทางกลุ่มเน้นการส่งอีเมลหลอกให้พนักงานของบริษัทต่าง ๆ ในการดาวน์โหลดมัลแวร์หลายประเภท อาทิ Backdoor (ช่องโหว่ทางลัดเข้าเซิร์ฟเวอร์หรืออุปกรณ์ของเหยื่อ) Keylogger (ตัวติดตามการพิมพ์ของเหยื่อ) และ Password Stealer (ตัวขโมยรหัสผ่าน)   OPERA1ER ใช้ข้อมูลส่วนบุคคลที่ขโมยมาได้จากมัลแวร์เหล่านี้เข้าไปล็อกอินและควบคุมหลังบ้านขององค์กรต่าง ๆ เมื่อเจาะเข้าไปแล้ว อาชญากรกลุ่มก็จะใช้เครื่องมืออย่าง Cobalt Strike และ Metasploit ในการฝังตัวอยู่เป็นเวลาตั้งแต่ 3 – 12…

อาเซียนสะพรึง!! ‘เวิร์คฟรอมโฮม’ เป้าหมายอาชญากรไซเบอร์

Loading

  แคสเปอร์สกี้เผย อาชญากรไซเบอร์ยังเล็งโจมตีพนักงานเวิร์คฟรอมโฮมในอาเซียน ระบุตัวเลขบล็อกการโจมตี RDP มากกว่า 2.6 แสนครั้งต่อวันในครึ่งปีแรก   การทำงานแบบไฮบริด และระยะไกล กลายเป็นรูปแบบการทำงานที่ปกติในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน ในช่วงเดือนมกราคมถึงมิถุนายนของปี 2022 โซลูชันของแคสเปอร์สกี้ได้บล็อกการโจมตี Remote Desktop Protocol (RDP) จาก Bruteforce.Generic.RDP ที่กำหนดเป้าหมายโจมตีพนักงานที่ทำงานระยะไกลในภูมิภาคทั้งหมด 47,802,037 รายการ เฉลี่ยแล้วในทุกๆ วัน แคสเปอร์สกี้บล็อกโจมตีแบบ “Brute force attack” จำนวน 265,567 ครั้ง   ในช่วงครึ่งปีแรกนี้ แคสเปอร์สกี้ปกป้องผู้ใช้ในภูมิภาคส่วนใหญ่จากประเทศเวียดนาม อินโดนีเซีย และไทยจากภัยคุกคามประเภทนี้     จับตา RDP ขยายวงกว้าง   แคสเปอร์สกี้ อธิบายว่า Remote Desktop Protocol (RDP) เป็นโปรโตคอลที่เป็นกรรมสิทธิ์ของ ไมโครซอฟท์ ซึ่งเป็นกราฟิกอินเทอร์เฟซให้ผู้ใช้เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นผ่านเครือข่าย RDP ใช้กันอย่างแพร่หลาย…