ปะทะรอบใหม่! ทหารอินเดีย-จีน เผชิญหน้าที่พรมแดนอรุณาจัลประเทศ

Loading

FILE – A signboard is seen from the Indian side of the Indo-China border at Bumla, in the northeastern Indian state of Arunachal Pradesh, Nov. 11, 2009.   ทางการอินเดียเปิดเผยว่า ทหารของตนได้พยายามสกัดกั้นทหารจีนกลุ่มหนึ่งไม่ให้รุกล้ำเข้ามาในเขตแดนของอินเดียเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว จนนำไปสู่การปะทะกันรอบใหม่บริเวณพรมแดนในเขตรัฐอรุณาจัลประเทศของอินเดีย   การปะทะกันครั้งล่าสุดนี้ถือเป็นการเผชิญหน้ากันอีกครั้งของสองประเทศมหาอำนาจในเอเชีย นับตั้งแต่เกิดการต่อสู้ระหว่างทหารทั้งสองฝ่ายในอีกด้านหนึ่งของพรมแดนเทือกเขาหิมาลัยเมื่อปี ค.ศ. 2020 ซึ่งทำให้มีทหารอินเดียเสียชีวิต 20 คน และทหารจีนเสียชีวิต 4 คน   รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอินเดีย ราชนาธ ซิงห์ กล่าวต่อรัฐสภาอินเดียในวันอังคารว่า “เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ทหารจีนได้พยายามเปลี่ยนสถานะด้วยการรุกล้ำเข้ามาในเส้นแบ่งพรมแดนในเขตตาวัง พื้นที่แยงซี” และว่า “ทหารอินเดียได้เข้าสกัดกั้นอย่างกล้าหาญต่อการรุกล้ำของกองทัพจีนเข้ามาในพรมแดนอินเดีย และขับไล่ทหารเหล่านั้นจนถอนกำลังกลับไป”…

ผู้นำอินเดียชี้ “เงินคริปโต” เป็นแหล่งทุนหนุน “กิจกรรมก่อการร้าย”

Loading

  นายกรัฐมนตรีอินเดียกล่าวว่า กลุ่มก่อการร้ายบนโลก กำลังอาศัยการทำธุรกรรมด้วยเงินดิจิทัล เป็นช่องทางสร้างผลประโยชน์   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย เมื่อวันที่ 19 พ.ย. ว่า นายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี ผู้นำอินเดีย กล่าวเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาว่า “สกุลเงินดิจิทัลเอกชน” ถือเป็น “ความเสี่ยงร้ายแรงต่อความมั่นคง” โดยเป็นเทคโนโลยีใหม่ซึ่งใช้สนับสนุนการจัดหาและการดำเนินการของกลุ่มก่อการร้าย ตอนนี้โลกกำลังเผชิญกับ “ความท้าทายจากเครือข่ายสีดำ” ในระดับซึ่งมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง   ผู้นำอินเดียกล่าวต่อไปว่า จากสถานการณ์ที่กำลังดำเนินอยู่ ทุกภาคส่วนควรจัดตั้งกลไกซึ่งมีประสิทธิภาพร่วมกัน เพื่อศึกษาเรียนรู้ ตรวจสอบ และรักษาสมดุลให้กับโครงสร้างของเงินดิจิทัล   “New kinds of technology are being used for terror funding and recruitment. Challenges from the dark net, private currencies and more are emerging,” says…

ระบาดหนัก อินเดียเจอโทรจันตัวใหม่ Android Drinik ปลอมเป็นแอปภาษี

Loading

  ตอนนี้มีมัลแวร์ชื่อว่า Android Drinik กำลังระบาดหนักในอินเดีย โดยปลอมแปลงเป็นแอปจัดการภาษีอย่างเป็นทางการของประเทศเพื่อขโมยข้อมูลส่วนบุคคลของเหยื่อและข้อมูลประจำตัวทางธนาคาร   ความจริงแล้ว Drinik แพร่ระบาดในอินเดียมาตั้งแต่ปี 2559 มีเป้าหมายในการขโมย SMS จากโทรศัพท์ของเหยื่อ แต่ในเดือนกันยายน 2564 ได้อัปเกรดตัวเองกลายโทรจันที่แสร้งทำตัวให้ตัวเองปลอดภัย แต่มีการชี้นำเหยื่อไปยังฟิชชิ่งเพื่อขโมยข้อมูลธนาคาร   มัลแวร์เวอร์ชันล่าสุดมีชื่อว่า ‘iAssist’ ผู้ใช้ต้องดาวน์โหลดผ่าน APK แอปจะแสร้งทำตัวเป็นเครื่องมือการจัดการภาษีอย่างเป็นทางการของกรมสรรพากรของอินเดีย เมื่อติดตั้งแล้ว แอปจะจะขอสิทธิ์ในการรับ อ่าน ส่ง SMS อ่านบันทึกการโทรของผู้ใช้รวมทั้งขอสิทธิ์ในการเข้าถึงอุปกรณ์เก็บข้อมูลนอกนอกเครื่อง (Micro SD)   หลังจากนั้น จะขอร้องให้ผู้ใช้กดยืนยันเพื่อเข้าถึง Accessibility Service หาผู้ใช้กด แอปจะทำการปิดการใช้ Google Play Protect เพื่อให้สามารถใช้ฟังก์ชันบันทึกหน้าจอ และจับภาพการกดรหัสในแอปต่าง ๆ   เมื่อกดยืนยันหมดทุกขั้นตอน แอปจะโหลดไซต์ภาษีเงินได้ของอินเดียจริงผ่าน WebView แทนหน้าฟิชชิ่ง เพื่อให้ดูน่าเชื่อถือ และให้เหยื่อได้ดำเนินการขั้นตอนทางภาษีจริง ๆ แอปจะมีการตรวจสอบด้วยว่าเหยื่อนั้นเข้าสู่ระบบสำเร็จจริง ๆ…

วิศวกรคอมพิวเตอร์ชาวอินเดียวัย 32 ปีต้องโทษจำคุกตลอดชีวิต จากข้อหาก่อการร้ายไซเบอร์

Loading

  ศาลเมืองมุมไบ ประเทศอินเดีย พิพากษาให้ อานีส อันซารี (Anees Ansari) วิศวกรคอมพิวเตอร์วัย 32 ปี จำคุกตลอดชีวิต ในความผิดฐานก่อการร้ายไซเบอร์ จากกรณีที่อันซารีวางแผนสังหารหมู่ชาวต่างชาติในโรงเรียนนานาชาติแห่งหนึ่งในเมืองมุมไบ   ถือเป็นการตัดสินคดีก่อการร้ายไซเบอร์คดีแรกในประวัติศาสตร์ของรัฐมหาราษฎระของอินเดีย   อันซารีใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของบริษัทที่เขาทำงานอยู่ในการสร้างบัญชี Facebook ปลอมที่ใช้ชื่อปลอมว่า อุซายริม โลแกน (Usayrim Logan) เพื่ออัปโหลดเนื้อหาที่ส่งเสริมความรุนแรงในช่วงระหว่างปี 2011 – 2014   หน่วยงานของรัฐพบว่าอันซารีเผยแพร่และส่งข้อความสนับสนุนการปฏิบัติการของกลุ่มก่อการร้ายไอเอส (Islamic State – IS) และร่วมวางแผนกับชายชื่อ โอมาร์ เอลฮัจจ์ (Omar Elhajj) ในการมุ่งสังหารชาวต่างชาติ ในโรงเรียนอเมริกันที่ตั้งอยู่ในย่าน บันดรา เคอร์ลา คอมเพล็กซ์ ใจกลางเมืองมุมไบ โดยอันซารียังได้รับข้อมูลวิธีการประกอบระเบิดเทอร์ไมต์ด้วย   อย่างไรก็ดี อันซารีถูกจับกุมในเดือนตุลาคม 2014 จากกรณีที่เขาส่งข้อความที่มีเนื้อหาสนับสนุนแนวคิดรุนแรงของกลุ่มไอเอสไปยังโอมาร์ ซึ่งศาลวินิจฉัยว่าเป็นเนื้อหาที่คุกคามเอกภาพ อธิปไตย และความมั่นคงของอินเดีย  …

อินเดียทำสำเร็จ! ทดสอบยิงขีปนาวุธนำวิถี จากเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ผลิตเอง

Loading

แฟ้มภาพรอยเตอร์   อินเดียทำสำเร็จ! ทดสอบยิงขีปนาวุธนำวิถี จากเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ผลิตเอง   สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า อินเดียทำการทดสอบยิงขีปนาวุธนำวิถีที่ยิงจากเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ที่ผลิตเองลำแรกเป็นผลสำเร็จ ในการทดสอบที่มีขึ้นในวันศุกร์ (14 ต.ค.) ที่ผ่านมา ในความพยายามเพิ่มขีดความสามารถในการโจมตีของกองทัพอินเดีย   การทดสอบความสามารถในการยับยั้งป้องปรามอาวุธนิวเคลียร์ของอินเดียดังกล่าว ทำให้ประเทศในเอเชียใต้แห่งนี้ เป็นหนึ่งใน 6 ประเทศนอกเหนือจากสหรัฐอเมริกา อังกฤษ รัสเซีย ฝรั่งเศส และจีน ที่มีความสามารถในการโจมตีและต่อต้านการโจมตีด้วยนิวเคลียร์ทางบก ทางทะเลและทางอากาศ   “การยิงทดสอบครั้งนี้มีความสำคัญในการพิสูจน์ความสามารถและความสมบูรณ์ของเรือดำน้ำติดขีปนาวุธนำวิถี ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของความสามารถในการป้องปรามด้านนิวเคลียร์ของอินเดีย” กระทรวงกลาโหมอินเดียระบุ และว่า ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดค่าปฏิบัติการและเทคโนโลยีทั้งหมดของระบบอาวุธที่ยิงจาก INS Arihant ในอ่าวเบงกอลได้ผ่านแล้ว   ทั้งนี้อินเดียได้ต่อสู้ในสงครามมาหลายครั้งและมีปัญหาพิพาทเรื่องพรมแดนกับปากีสถานและจีน ซึ่งเป็นชาติเพื่อนบ้านคู่ปรับมาอย่างยาวนาน เมื่อเร็วๆ นี้ รัฐบาลนายนเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรีอินเดีย ยังได้เปิดตัวฝูงเฮลิคอปเตอร์โจมตีที่อินเดียผลิตเองเป็นชุดแรก ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานในพื้นที่สูง เช่น เทือกเขาหิมาลัย ซึ่งเป็นพื้นที่ทหารอินเดียเกิดการปะทะกับจีนในปี 2020       ———————————————————————————————————– ที่มา :   …

อินเดียยกระดับการป้องกันทางไซเบอร์ต่อระบบไฟฟ้าของประเทศ หลังประสบเหตุโจมตีหลายครั้ง

Loading

  ราช คูมาร์ สิงห์ (Raj Kumar Singh) รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานของอินเดียเผยว่ารัฐบาลจะเพิ่มให้แก่ระบบโครงข่ายไฟฟ้าของประเทศ โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายไฟฟ้าฉบับแก้ไขเพิ่มเติมปี 2022 (Electricity Amendment Bill)   กฎหมายฯ ฉบับดังกล่าวให้อำนาจในการตรวจสอบและรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ต่อระบบโครงข่ายที่ควบคุมการผลิตและจ่ายกระแสไฟฟ้า   “เรากำลังเผชิญการโจมตีทางไซเบอร์ต่อระบบการส่งกระแสไฟฟ้า เรารู้ว่าผู้โจมตีมาจากที่ไหน เราจึงต้องปฏิบัติตามหลักความปลอดภัยทางไซเบอร์” สิงห์ระบุ   ทั้งนี้ เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา สิงห์เคยออกมายอมรับว่าเคยมีเหตุโจมตีทางไซเบอร์ต่อโครงข่ายไฟฟ้าของประเทศ โดยเกิดขึ้นในหลายช่วง ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2021 – กุมภาพันธ์ 2022 แต่ไม่มีครั้งไหนที่ทำสำเร็จ และเคยมีรายงานในช่วงต้นปีว่ามีการโจมตีศูนย์บริหารราชการใน 7 รัฐของอินเดีย รวมถึงจุดจ่ายกระแสไฟฟ้าบริเวณชายแดนด้วย   สำหรับกฎหมายไฟฟ้าฉบับแก้ไขเพิ่มเติมนั้น ได้เพิ่มอำนาจให้แก่การไฟฟ้าแห่งชาติ (National Load Dispatch Center) ของอินเดียในการรักษาความปลอดภัยของศูนย์จ่ายกระแสไฟฟ้า เพื่อรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจและระบบพลังงานของประเทศ   มีการอำนาจศูนย์จ่ายไฟการตรวจสอบความผิดปกติได้ตลอดเวลาและให้สามารถมอบคำสั่งได้หากจำเป็น โดยย้ำว่าระบบการจ่ายกระแสไฟฟ้าของประเทศมีความเปราะบางมาก หากมีจุดใดจุดหนึ่งที่ล่ม ก็อาจส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อทั้งประเทศได้   สิงห์ย้ำว่าแม้ที่ผ่านมาการโจมตีทางไซเบอร์จะไม่สำเร็จ แต่ประเทศก็ต้องมีความเข้มแข็งพอเพื่อจะพร้อมรับมือเหตุการณ์ในอนาคตอยู่เสมอ    …