ตร.ไซเบอร์ลุยตัดวงจรแก๊งคอลเซ็นเตอร์ พบจุดพาดสายข้ามไปฝั่งเขมร

Loading

  “รองต่อ” รองผบ.ตร นำตำรวจไซเบอร์ เปิดปฏิบัติการตัดวงจร “ซิม-สาย-เสา” เข้าค้น 6 ผู้ให้บริการเครือข่ายรายหนึ่ง ใน อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว พบจุดพาดสายสื่อสารด้านหลังสถานีรถไฟคลองลึกข้ามไปฝั่งเขมร เชื่อเป็นช่องทางให้แก๊งคอลเซ็นเตอร์ใช้อินเทอร์เน็ตจากฝั่งไทยมาหลอกลวงคนไทย   เวลา 10.00 น. วันที่ 14 ธ.ค. 65 พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รองผบ.ตร., พล.ต.ท.ภาณุรัตน์ หลักบุญ ผู้ช่วยผบ.ตร., พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท., พล.ต.ต.วิวัฒน์ คำชำนาญ รอง ผบช.สอท., พล.ต.ต.วริศร์สิริภ์ ลีละสิริ ผบก.สอท.2, พล.ต.ต.ชรินทร์ โกพัฒน์ตา ผบก.สอท.5, พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษกบช.สอท. นำกำลังลงพื้นที่ อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว เปิดปฏิบัติการซิม-สาย-เสา ตัดวงจรขบวนการแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกลวงคนไทย โดยปูพรมตรวจค้น 6 จุด ใน อ.อรัญประเทศ  …

Smart Device หรือ Cyber Spy? นักล้วงข้อมูลเรียลไทม์ที่ต้องระวัง

Loading

  8 ปีที่แล้ว Gartner เคยพยากรณ์ว่าบ้านแต่ละหลังจะมีอุปกรณ์ Smart Device มากถึง 500 ชิ้น ซึ่งฟังดูแล้วทีมวิจัยคงอ่านนิยายวิทยาศาสตร์มากไปสักหน่อย แต่มาถึงวันนี้แล้วเราอาจไม่คาดคิดว่าตัวอุปกรณ์ดิจิทัลรอบตัวเราถ้านับแล้วมันเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อย่างน่าตกใจ   ถ้าไม่นับคอมพิวเตอร์ มือถือ แท็บเล็ต ที่ใช้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเป็นประจำ เราจะพบว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าธรรมดา ๆ ในบ้านอย่างทีวี เครื่องซักผ้า เครื่องปรับอากาศ เครื่องดูดฝุ่น เครื่องฟอกอากาศ พัดลม หม้อหุงข้าว กล้องวงจรปิด หลอดไฟ ฯลฯ ล้วนแปลงร่างเป็นอัจฉริยะหรือ Smart Device กันหมดแล้ว     นั่นหมายความว่าอุปกรณ์เหล่านี้ล้วนต้องการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเพื่อส่งข้อมูลแบบเรียลไทม์ได้ตลอดเวลา อยากรู้ว่าอากาศที่บ้านเป็นยังไง อยากรู้ว่าลืมปิดพัดลมหรือเปล่าก็รู้ได้ทันที จะสั่งเปิดปิด ตั้งเวลาทำงานล่วงหน้า ก็ใช้มือถือสั่งการได้ตลอดเวลา   อุปกรณ์หลาย ๆ อย่างที่เราไม่เคยคิดจินตนาการว่ามันจะมีความจำเป็นต้องเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต เช่น หวี ไม้แคะหู (ส่องเห็นทุกอณูของรูหู ราคาอันละไม่ถึงพัน ซื้อได้ทางเว็บออนไลน์) ต่างก็พาเหรดมาเป็น Smart…

เทคโนโลยีที่อาจ “สอดแนม” คุณ!!!

Loading

  เมื่อเราก้าวเข้าสู่พรมแดนใหม่ ๆ ด้วยเทรนด์เทคโนโลยีล่าสุด และเพลิดเพลิน ผสมปนเปได้ด้วยความสะดวกสบาย ไปกับประโยชน์เชิงบวกมากมายที่จะเกิดขึ้นกับวิธีการทำงาน การเล่น การบันเทิง พักผ่อน และการใช้ชีวิต   แต่เหรียญนั่นมีสองด้าน ดาบนั่นมีสองคม เราต้องมีสติอยู่เสมอและเตรียมพร้อมสำหรับผลกระทบด้านลบที่อาจเกิดขึ้นจากการนำเทคโนโลยีเหล่านี้ไปใช้ในทางที่ผิดทั้งทางตรงและทางอ้อม ผมอยากบอกเล่าถึงเทรนด์เทคโนโลยีที่อันตรายที่สุด อีกประเภทที่มีผลทั้งในแง่บวกและลบ อีกทั้งยังอยู่ใกล้ตัวกว่าที่เราคิด     เทคโนโลยีการสอดแนมอุปกรณ์สมาร์ทโฮม (Spying Smart Home Devices)     เพื่อให้อุปกรณ์สมาร์ทโฮมตอบคำถาม รับคำสั่ง และมีประโยชน์มากที่สุด อุปกรณ์เหล่านี้จำเป็นต้องฟัง และติดตามข้อมูลเกี่ยวกับตัวเรา และนิสัยประจำของเราตลอดเวลา ปัจจุบันแกนหลักของเทคโนโลยีนี้ คือ ลำโพงอัจฉริยะ ที่จะเชื่อมต่อและส่งคำสั่งไปยังอุปกรณ์สมาร์ทโฮมชิ้นอื่นๆภายในบ้าน ซึ่งเป็นอุปกรณ์อัจฉริยะ ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต ในรูปแบบแนวคิด I.O.T หรือชื่อเต็มๆว่า Internet Of Thing คือการเชื่อมต่อถึงได้อย่างครอบคลุมจากอุปกรณ์ที่หลากหลายผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยสั่งเปิด-ปิด ผ่านระบบผ่านลำโพงอัจฉริยะ เพื่อเชื่อมต่อ ทีวี ตู้เย็น เครื่องซักผ้า หลอดไฟ เครื่องปรับอากาศ กล้องวงจรปิด และอีกมากมาย…

แนวคิดทางอาชญากรรมไซเบอร์กับเงินในบัญชีที่หายไป

Loading

  ในยุคที่ทุกอย่างสามารถเชื่อมต่อการทำงานกับอินเทอร์เน็ตได้ (Internet of things) ปฏิเสธไม่ได้ว่าความมั่นคงปลอดภัยทางคอมพิวเตอร์หรือทางไซเบอร์เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง   กฎหมายนอกจากจะต้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนในทางกายภาพแล้ว ในทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (ไซเบอร์) ก็ควรขยายขอบเขตให้ได้รับความคุ้มครองด้วยเช่นเดียวกัน   “อาชญากรรมไซเบอร์” ยังไม่มีนิยามที่เป็นที่ยอมรับสากล หากแต่อาจแยกลักษณะร่วมกันได้ เช่น เหตุเกิดในพื้นที่ไซเบอร์หรือเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ลักษณะการกระทำ ผลของการกระทำ ผู้กระทำ เป้าหมาย วัตถุประสงค์ อุปกรณ์เครื่องมือหรือวิธีการ เป็นต้น และอาจจะกล่าวได้ว่าอาชญากรรมไซเบอร์เป็นส่วนหนึ่งของอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ โดยมีองค์ประกอบสำคัญคือเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนั่นเอง   จากเหตุการณ์ที่มีผู้ได้รับความเสียหายจำนวนมากเนื่องจากเงินในบัญชี หรือบัตรเครดิต/เดบิต หายไป ได้สร้างความตื่นตระหนกให้กับประชาชนอย่างยิ่ง บางท่านอาจต้องเปิดดูเงินในบัญชีออนไลน์ซ้ำแล้วซ้ำเล่าเพื่อตรวจสอบให้แน่ใจว่าเงินในบัญชีไม่หายไปใช่หรือไม่   ข้อสันนิษฐานหนึ่งที่เป็นสาเหตุดังกล่าวคือ “เกิดจากมิจฉาชีพสุ่มยิงบอท” ซึ่งกรณีดังกล่าวอาจจัดได้ว่าเป็นอาชญากรรมไซเบอร์ในกลุ่มความผิดต่อความมั่นคงปลอดภัยของระบบหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์   ตามอนุสัญญาอาชญากรรมไซเบอร์และกฎหมายของประเทศไทยยังไม่ได้มีการกำหนดความผิดสำหรับบอทเน็ต (Botnet) ไว้โดยเฉพาะ แต่ฐานความผิดที่มีอยู่อาจนำมาปรับใช้ได้ตามลักษณะพฤติกรรมและข้อเท็จจริงเป็นกรณี ๆ ไป และอาจเกี่ยวข้องกับความผิดหลายฐานได้ เช่น   ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 มาตรา 14 (2)…

ฝ่ายต้านรัฐบาลทหารพม่าเปลี่ยนยุทธวิธีโจมตีพุ่งเป้าทรัพย์สินกองทัพ เสาสื่อสารหลายสิบโดนระเบิดพังยับ

Loading

  รอยเตอร์ – คาดว่าประชาชนในพม่าราว 700,000 คน ไม่สามารถเข้าถึงการใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ หลังเกิดเหตุโจมตีอุปกรณ์โทรคมนาคมที่ดำเนินการโดย Mytel บริษัทที่ควบคุมโดยกองทัพบางส่วนระบุ ท่ามกลางรายงานที่ว่าเสาสัญญาณมือถือของบริษัทได้รับความเสียหายหลายสิบต้น เหตุระเบิดเกิดขึ้นหลายครั้งนับตั้งแต่รัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ (NUG) ที่ตั้งขึ้นเพื่อต่อต้านการรัฐประหารของกองทัพเมื่อวันที่ 1 ก.พ. ได้ประกาศทำสงครามป้องกันประชาชนกับรัฐบาลทหารเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา พม่าตกอยู่ในความโกลาหลวุ่นวายนับตั้งแต่รัฐบาลของอองซานซูจีถูกโค่นล้ม ที่นำไปสู่การชุมนุมประท้วงและการผละงานทั่วประเทศ และการเกิดขึ้นของกองกำลังติดอาวุธต่อต้านรัฐบาลทหาร นอกจากนี้ ยังมีเหตุนองเลือดเกิดขึ้นในบางพื้นที่ หลังรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติประกาศการลุกฮือและเรียกร้องให้กองกำลังติดอาวุธที่รู้จักในชื่อ ‘กองกำลังป้องกันประชาชน’ มุ่งโจมตีรัฐบาลทหารและทรัพย์สินของพวกเขา “การทำลายโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารโทรคมนาคมกำลังขัดขวางวิธีการที่จะเข้าถึงข้อมูล การศึกษา และบริการสำคัญต่างๆ บนอินเทอร์เน็ตของประชาชนหลายแสนคน” โฆษกของบริษัท Mytel ที่เป็นกิจการร่วมทุนระหว่างกองทัพพม่า และบริษัท Viettel ของกระทรวงกลาโหมเวียดนาม ระบุ การโจมตีส่วนใหญ่เกิดขึ้นในพื้นที่ชนบทและเสาสัญญาณมากกว่า 80 ต้นของบริษัท Mytel ถูกทำลายเสียหาย โดยกองกำลังป้องกันประชาชนได้อ้างความรับผิดชอบในบางพื้นที่ ตามการรายงานของหนังสือพิมพ์อิรวดีสัปดาห์นี้ โฆษกของกองทัพไม่ได้ตอบสนองคำร้องขอความคิดเห็นของรอยเตอร์ แต่ในจดหมายข่าวของกองทัพที่ตีพิมพ์เมื่อวันที่ 12 ก.ย. ระบุว่า มีเหตุระเบิดเกิดขึ้นกับเสาโทรคมนาคมสาธารณะ ทั้งนี้ กองทัพไม่ได้ระบุเจาะจงว่าผู้ก่อเหตุเป็นใคร แต่ได้กล่าวหาองค์กรก่อการร้าย NUG ว่าส่งเสริมความรุนแรง และคลิปวิดีโอบนสื่อสังคมออนไลน์ได้แสดงให้เห็นสิ่งที่ดูเหมือนเป็นการระเบิดเสาสื่อสาร…

Great Firewall จากจีนสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยุคมืดของเสรีภาพในโลกอินเทอร์เน็ต

Loading

Great Firewall คือกำแพงกรองข้อมูลจากโลกอินเทอร์เน็ตภายนอกของจีน มีความเป็นไปได้ว่าโมเดลที่ทำให้รัฐสามารถควบคุม คัดกรอง การสื่อสารทางอินเทอร์เน็ตของประชาชนกำลังถูกนำมาใช้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หากมีระบบสอดส่องของรัฐเกิดในประเทศที่ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตยังมีระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องมือดิจิทัลจำกัด อาจนำไปสู่การเซนเซอร์ตัวเองของสื่อและผู้ใช้งาน ด้วยเหตุผลความกังวลว่าจะถูกจับตามอง เทคโนโลยี firewall ไม่ได้ติดตั้งยากเหมือนที่คิด เพียงแค่ปรับแต่งเล็กน้อย เช่น ภาษาและคำสำคัญของแต่ละประเทศ รวมถึงการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นให้สามารถปรับแต่งค่าบางอย่างได้ตามสถานการณ์ได้   ถ้าพูดคำว่า ‘โลกาภิวัตน์’ ในยุคนี้ก็คงโดนหรี่ตามองว่า “ไปอยู่ที่ไหนมา” เพราะมันกลายเป็นความปกติสามัญเหมือนแอปเปิลตกจากต้นตามแรงโน้มถ่วง สำหรับบางประเทศ โลกาภิวัตน์ไม่ใช่สัจธรรม แต่เป็นทางเลือกที่พวกเขาอยากเปิดรับเฉพาะบางแง่มุม การเชื่อมโยงอย่างไร้รอยต่อของโลกอาจเป็นโอกาส แต่ของแถมคือภัยคุกคาม ‘ความมั่นคง’ ของรัฐ ชนชั้นนำ วัฒนธรรม เศรษฐกิจ ฯลฯ ทำให้รัฐต้องสรรหานวัตกรรมต่างๆ มารับมือในแบบของตัวเอง โดยไม่ถึงขั้นสุดโต่งปิดตายการไหลเวียนของข้อมูลเสียสนิท จนปิดกั้นโอกาสการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ นวัตกรรม ‘Great Firewall’ คือกำแพงกรองข้อมูลจากโลกอินเทอร์เน็ตภายนอกของจีน แม้จะเชื่อมต่อได้จริง แต่ก็ไม่เปิดเสรีจนผู้นำรัฐกังวล จะเป็นอย่างไร หากโครงสร้างอินเทอร์เน็ตรูปแบบนี้เป็นที่แพร่หลาย เพราะลงล็อกตอบโจทย์กับความกังวลของผู้วางนโยบายอินเทอร์เน็ตของรัฐต่างๆ หลังจากจีนพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า ทำได้ จนเป็นแรงบันดาลใจให้หลายประเทศ โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บ้านใกล้เรือนเคียงของเราเอง อย่างเมียนมาและกัมพูชา ต้องทำตาม เพื่อร่วมสำรวจสถานการณ์เสรีภาพในอินเทอร์เน็ตร่วมกัน DigitalReach…