สมาคมฟุตบอลอินโดฯ เผยประตูสนามถูกล็อกไว้ก่อนเกิดเหตุจลาจล 131 ศพ

Loading

Kondisi di salah satu sudut Stadion Kanjuruhan pasca kerusuhan 1 Oktober 2022. (Foto: VOA/Petrus Riski)   โฆษกสมาคมฟุตบอลอินโดนีเซียเปิดเผยว่า ประตูบางแห่งของสนามกีฬาที่เกิดเหตุจลาจลเมื่อวันเสาร์ ถูกล็อกไว้หลังจากจบการแข่งขันซึ่งนำไปสู่เหตุการณ์เหยียบกันจนมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 131 คน   เออร์วิน โทบิง หัวหน้าคณะกรรมการตรวจสอบวินัยของสมาคมฟุตบอลอินโดนีเซีย กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า ประตูบางด้านของสนามกีฬากันจูรูฮาน ในอำเภอมาลัง จังหวัดชวาตะวันออก ควรถูกเปิดออกก่อนการแข่งขันจบลง 10 นาที แต่ประตูดังกล่าวกลับถูกปิดเอาไว้จนถึงช่วงเกิดเหตุการณ์วุ่นวายเพราะเจ้าหน้าที่ไม่สามารถเข้าถึงประตูเหล่านั้นได้   ตำรวจระบุว่า ภาพจากกล้องวงจรปิดแสดงให้เห็นประตูบางด้านถูกแง้มออกเล็กน้อย แต่ไม่เพียงพอให้แฟนฟุตบอลหลายร้อยคนที่กรูกันออกไปหลังจากที่มีการยิงแก๊สน้ำตาในสนามฟุตบอล   เหตุเหยียบกันตายเมื่อวันเสาร์ เกิดขึ้นหลังจากที่ทีมเจ้าบ้าน อเรมา เอฟซี (Arema FC) พ่ายแพ้ต่อทีมคู่อริ เปอร์เซบายา เอฟซี (Persebaya FC) 3-2 ทำให้แฟนฟุตบอลของทีมเจ้าบ้านต่างไม่พอใจและขว้างปาขวดและสิ่งของต่าง ๆ ใส่นักฟุตบอลและเจ้าหน้าที่ในสนาม หลายคนวิ่งลงไปในสนามฟุตบอลจนเกิดจลาจลครั้งใหญ่  …

อินโดฯ สั่งทบทวนมาตรการความปลอดภัย หลังจลาจลแฟนบอลเหยียบกันตาย 174 คน

Loading

  เอเอฟพี – ผู้นำอินโดนีเซียสั่งทบทวนมาตรการรักษาความปลอดภัยการแข่งขันฟุตบอล หลังมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 174 คน จากเหตุเหยียบกันตายภายหลังการปะทะกันระหว่างแฟนบอลกับตำรวจ และถือเป็นหนึ่งในโศกนาฏกรรมร้ายแรงที่สุดที่เกิดขึ้นในสนามกีฬาทั่วโลก   ตอนแรกนั้นมีการเปิดเผยจำนวนผู้เสียชีวิตเพียง 129 คน แต่ในช่วงบ่ายวันอาทิตย์ (2 ต.ค.) รองผู้ว่าการชวาตะวันออกแถลงตัวเลขใหม่ที่อย่างน้อย 174 คน และผู้บาดเจ็บ 180 คน   ระหว่างการแถลงที่ถ่ายทอดทางทีวีในวันอาทิตย์ ประธานาธิบดีโจโค วิโดโด ระบุว่า รัฐมนตรีกีฬาและเยาวชน ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และประธานสมาคมฟุตบอลอินโดนีเซีย ได้รับคำสั่งให้ประเมินการจัดการแข่งฟันฟุตบอลและกระบวนการรักษาความปลอดภัย   ทางด้านโคฟิฟาห์ อินดาร์ ปาราวันซา ผู้ว่าการชวาตะวันออกประกาศว่า ครอบครัวเหยื่อจะได้รับเงินชดเชย 15 ล้านรูเปียะห์ (980 ดอลลาร์) โดยเป็นเงินจากจังหวัดและคณะผู้สำเร็จราชการท้องถิ่น 10 ล้านรูเปียห์ และ 5 ล้านรูเปียะห์ตามลำดับ   เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในสนามฟุตบอลเมืองมาลัง ทางตะวันออกเมื่อคืนวันเสาร์ (1 ต.ค.) ที่แฟนบอลของสโมสรอาเรมา 3,000 คนกรูกันลงไปในสนามกีฬากันจูรูฮัน…

ควบคุม ‘NGO ต่างชาติ’ อินโดฯ ออกกฎหมายจัดระเบียบ เหตุหวั่นถูกแทรกแซงกิจการภายใน

Loading

  รัฐบาลอินโดนีเซียกำลังถูกบีบให้ยกระดับกฎหมายจัดระเบียบองค์กร NGO ต่างชาติที่ดำเนินงานในประเทศให้มีความเข้มงวดมากขึ้น   มีเสียงเรียกร้องให้รัฐบาลอินโดนีเซีย เริ่มตรวจสอบกิจกรรมขององค์กร NGO ต่างชาติเพื่อให้แน่ใจว่าปฏิบัติตามกฎหมาย จากความกังวลที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมขององค์กรเหล่านั้น และการแทรกแซงเรื่องความขัดแย้งในปาปัว กรณีการสร้างเขตปกครองตนเองใหม่ โดยการให้เงินทุนและการสนับสนุนด้านลอจิสติกส์   กลุ่มผู้เรียกร้องให้เหตุผลว่า กฎหมายจัดระเบียบองค์กร NGO ต่างชาติผิดกฎหมายของภาครัฐนั้นอ่อนเกินไป เนื่องจากไม่สามารถจัดการกับการแทรกแซงกิจการภายใน รวมถึงโฆษณาชวนเชื่อเชิงลบต่ออุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มในประเทศ   ครั้งนี้รัฐบาลจะต้องเข้มงวดและมีความเป็นอิสระมากขึ้นในการกำหนดกฎหมายจัดระเบียบ NGO โดยอย่าได้ถูกยั่วยุ จนหลงกลติดกับดักที่ NGO ต่างชาติผิดกฎหมายได้วางไว้” Sofjan Wanandi ประธานของ คณะกรรมการที่ปรึกษาสมาคมนายจ้างชาวอินโดนีเซีย (Apindo) กล่าว   ทั้งนี้ ส.ส. Firman Subagyo ได้เรียกร้องให้สำนักข่าวกรองแห่งชาติอินโดนีเซีย (BIN) และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สอบสวนกิจกรรมขององค์กร NGO ต่างชาติที่ผิดกฎหมาย ซึ่งหลังจากนี้ หากมีกิจกรรม NGO ใด ๆ ที่เป็นภัยต่อเสถียรภาพทางการเมืองของชาติ เจ้าหน้าที่จะดำเนินการทางกฎหมายทันที     อ้างอิง :…

สภาอินโดนีเซียผ่านกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

Loading

  สภาของอินโดนีเซียเห็นชอบกฎหมาย ว่าด้วยการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต โดยผู้ประกอบการจะต้องเป็นฝ่ายรับโทษหนักตามกฎหมาย หากข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้ารั่วไหล   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 20 ก.ย. ว่า สภาผู้แทนราษฎรของอินโดนีเซียมีมติเสียงข้างมากท่วมท้น ในการประชุมเมื่อวันอังคาร ผ่านกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฉบับใหม่   ทั้งนี้ บริษัทแห่งใดก็ตามที่เผยแพร่ข้อมูล หรือนำข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งานไปเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาต ผู้ประกอบการอาจต้องรับโทษจำคุกเป็นเวลานานถึง 6 ปี และปรับเป็นเงินสูงสุดคิดเป็นอัตรา 2% ของรายได้ตลอดทั้งปีของบริษัทแห่งนั้น และอาจมีการอายัดทรัพย์สินบางส่วนเพื่อนำมาขายทอดตลาดด้วย   Indonesia's parliament passed into law on Tuesday a personal data protection bill that includes corporate fines and up to six years imprisonment for those found to have mishandled…

ทำไม “อินโดนีเซีย” สั่งแบน “Steam – Epic Games – Paypal”

Loading

กระทรวงการสื่อสารและสารสนเทศของอินโดนีเซีย สั่งแบนผู้ประกอบการธุรกิจอินเทอร์เน็ต อาทิ Steam , Epic Games , PayPal และอีกมากมาย ที่ต้องรักษาความเป็นส่วนตัวของข้อมูลลูกค้า จนกว่าจะผ่านกฎหมายใหม่ของประเทศที่ควบคุมด้านเนื้อหา รัฐบาลอินโดนีเซีย บล็อกการเข้าถึงบริการออนไลน์ต่าง ๆ เช่น Steam , Epic Games , PayPal และ Yahoo หลังจากที่บริษัทต่าง ๆ ล้มเหลวในการปฏิบัติตามข้อกำหนดใหม่ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายควบคุมเนื้อหาที่จำกัดของประเทศ เพื่อให้เป็นไปตามกฎ บริษัทที่ถือว่าเป็น “ผู้ให้บริการระบบอิเล็กทรอนิกส์ส่วนตัว” ต้องลงทะเบียนกับฐานข้อมูลของรัฐบาลเพื่อดำเนินการในประเทศ มิฉะนั้นจะถูกแบนทั่วประเทศ อินโดนีเซียให้เวลาบริษัทต่าง ๆ จนถึงวันที่ 27 ก.ค. เพื่อปฏิบัติตามและตั้งแต่นั้นมาก็สั่งห้ามบริษัทที่ยังไม่ได้ดำเนินการ ข้อกำหนดนี้เป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายที่ครอบคลุมซึ่งเรียกว่า MR5 ซึ่งเปิดตัวครั้งแรกในปี 2563 ตามที่ระบุไว้โดยสำนักข่าวรอยเตอร์ กฎหมายดังกล่าวทำให้รัฐบาลชาวอินโดนีเซียสามารถรับข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้เฉพาะราย รวมทั้งบริษัทบังคับให้ลบเนื้อหาที่ “รบกวน” ความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือถือว่าผิดกฎหมาย แพลตฟอร์มมีเวลาสี่ชั่วโมงในการดำเนินการกับคำขอลบ “อย่างเร่งด่วน” หรือ 24 ชั่วโมงในกรณีของเนื้อหาอื่น ๆ รายงานปี…

แบงก์ชาติอินโดนีเซียยอมรับถูกแฮกเกอร์โจมตีระบบ

Loading

  ธนาคารกลางอินโดนีเซียออกแถลงการณ์ในวันพฤหัสบดี (20 ม.ค.) ระบุว่า ธนาคารได้ถูกแฮกเกอร์โจมตีด้วยวิธี ransomware แต่ความเสี่ยงจากการโจมตีดังกล่าวมีไม่มากนัก และไม่กระทบต่อระบบการให้บริการของทางธนาคาร “เราถูกโจมตี แต่ไม่ได้มีผลกระทบมากนัก เนื่องจากเรามีการใช้มาตรการป้องกันล่วงหน้า และที่สำคัญที่สุดคือการให้บริการสาธารณะของธนาคารกลางอินโดนีเซียไม่ได้ถูกกระทบแต่อย่างใด” นายเออร์วิน ฮาร์โยโน โฆษกธนาคารกลางอินโดนีเซีย กล่าว นายเออร์วินกล่าวเสริมว่า การโจมตีดังกล่าวเกิดขึ้นในเดือน ธ.ค.2564 และธนาคารกลางได้ทำการกู้ระบบเรียบร้อยแล้ว DarkTracer ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มตรวจจับความเคลื่อนไหวที่ผิดปกติในระบบออนไลน์ เปิดเผยว่า ธนาคารกลางอินโดนีเซียอยู่ในรายชื่อเป้าหมายของกลุ่มอาชญากรไซเบอร์ที่ใช้ซอฟท์แวร์ที่เรียกว่า Conti ในการโจมตีระบบ DarkTracer ระบุว่า แฮกเกอร์ดังกล่าวจะใช้ซอฟท์แวร์ Conti เข้าโจมตีระบบของเหยื่อ ทำให้ระบบถูกเข้ารหัส และเพื่อแลกกับการถอดรหัส เหยื่อจะต้องจ่ายค่าไถ่เป็นเงินสกุลคริปโทมูลค่าหลายล้านดอลลาร์ ซึ่งหากขัดขืน แฮกเกอร์ก็จะขู่เปิดเผยข้อมูลลับในระบบเพื่อกดดันให้เหยื่อจ่ายเงินค่าไถ่ ก่อนหน้านี้ ธนาคารกลางอินโดนีเซียเคยถูกแฮกเกอร์โจมตีด้วยวิธี DDoS (Distributed Denial of Service) ในปี 2559 แต่เจ้าหน้าที่ระบุว่า ไม่มีการสูญเสียเงินจากการโจมตีดังกล่าว _____________________________________________________________ ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ    /   …