สังคมโลก : การทูตกลาโหม

Loading

พล.อ.ลอยด์ ออสติน รมว.กลาโหมสหรัฐ เยือนภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บ่อยครั้ง เพื่อกระชับความสัมพันธ์ของสหรัฐกับประเทศพันธมิตร และหุ้นส่วนที่พึ่งพาความมั่นคงร่วมกัน กองทัพสหรัฐมี “ค่าความนิยมสำรอง” ที่น่าประหลาดใจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แม้จะมีประวัติศาสตร์ต่อกันในสมัยสงครามเวียดนามก็ตาม

กองทัพอินโด-สหรัฐ นำพันธมิตรหลายชาติ ซ้อมรบร่วม ‘ซูเปอร์ การูด้า ชิลด์’

Loading

Photo: Sgt. Andrew King/US Marine Corps   กองทัพอินโด-สหรัฐ นำพันธมิตรหลายชาติ ซ้อมรบร่วม ‘ซูเปอร์ การูด้า ชิลด์’   เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า กองทัพอินโดนีเซียและสหรัฐอเมริกา สมทบด้วยกองกำลังพันธมิตรอีก 5 ชาติ ได้เริ่มภารกิจซ้อมรบร่วมภายใต้ปฏิบัติการที่เรียกว่า “ซูเปอร์ การูด้า ชิลด์ 2023” ที่เมืองบาลูรัน จังหวัดชวาตะวันออกของอินโดนีเซีย ที่จะมีขึ้นเป็นเวลา 2 สัปดาห์แล้ว ภายใต้ความมุ่งมั่นที่จะเป็นหลักประกันเสถียรภาพความมั่งคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก   กองทัพอินโดนีเซียแถลงว่า กองทัพได้ส่งกำลังพลจำนวน 2,800 นาย เข้าร่วมในปฏิบัติการซ้อมรบครั้งนี้ ที่เปิดฉากขึ้นแล้วโดยมี พล.อ.ยูโด มาร์โกโน ผู้บัญชาการกองทัพอินโดนีเซีย เป็นประธานในพิธีเปิด   ขณะที่พล.อ.ชาร์ลส์ ฟลินน์ ผู้บัญชาการกองทัพประจำภูมิภาคแปซิฟิกของสหรัฐ ที่ส่งทหารอเมริกันเข้าร่วมในการซ้อมรบครั้งนี้กว่า 2,000 นาย กล่าวว่า ซูเปอร์ การูด้า ชิลด์…

สหรัฐฯ เล็งดัดแปลงขีปนาวุธให้แรงขึ้น-ไกลขึ้น รับมืออิทธิพลจีนในแปซิฟิก

Loading

เรือรบยูเอสเอส เคอร์ทิซ ในการซ้อมยิงขีปนาวุธรุ่นฮาร์ปูน ถ่ายเมื่อ 26 พฤษภาคม 2019 (ที่มา: แฟ้มภาพ/รอยเตอร์)   รอยเตอร์รายงานว่า สภาคองเกรสเตรียมศึกษาและพัฒนาสารเคมีในเชื้อเพลิงของขีปนาวุธเพื่อเพิ่มระยะทำการในพื้นที่อินโด-แปซิฟิกให้ห่างจากจีนมากขึ้น   แหล่งข่าวระดับผู้ช่วยในสภาคองเกรส 2 รายและแหล่งข่าวที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ 2 ราย กล่าวกับรอยเตอร์โดยไม่ออกนามว่า กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ หรือเพนตากอน และสภาคองเกรส มีแผนที่จะดัดแปลงเชื้อเพลิงและน้ำหนักของขีปนาวุธเพื่อเพิ่มระยะการยิงอีกราวร้อยละ 20   เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว วุฒิสภาสหรัฐฯ เผยแพร่เนื้อหาของร่างกฎหมายที่จะใช้งบประมาณ 13 ล้านดอลลาร์ (ราว 448.2 ล้านบาท) ในการวางแผนและผลิตสารเคมีดังกล่าว โดยรอยเตอร์รายงานว่า ร่างกฎหมายดังกล่าวอาจเป็นจุดเริ่มต้นของการอนุมัติงบประมาณเกี่ยวกับยุทธภัณฑ์ที่มีมูลค่าถึง 8.8 แสนล้านดอลลาร์ (ราว 30 ล้านล้านบาท)   แม้จะยังมีการหารือทางรายละเอียดงบประมาณอยู่ รอยเตอร์รายงานว่า การป้องปรามจีนเป็นสิ่งที่ทั้งพรรคเดโมแครตและรีพับลิกันเห็นชอบร่วมกันในทางหลักการแล้ว   ไมค์ แกลลาเกอร์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) กล่าวกับรอยเตอร์ว่า สหรัฐฯ จำเป็นที่จะต้องมีขีปนาวุธทำลายเรือที่อยู่ในระยะห่างไกลในจำนวนที่มากขึ้น เนื่องจากความกว้างใหญ่ของภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกและขนาดของกองทัพเรือของจีน  …

สหรัฐฯ-ปาปัวนิวกินี ลงนามความร่วมมือกลาโหม หวังคานอำนาจจีนในแถบอินโด-แปซิฟิก

Loading

    วานนี้ (22 พฤษภาคม) แอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา เข้าพบ เจมส์ มาเรบ นายกรัฐมนตรีปาปัวนิวกินี ก่อนที่ผู้แทนระดับสูงของทั้งสองประเทศจะร่วมลงนามในความร่วมมือด้านกลาโหม โดยสหรัฐฯ หวังคานอำนาจกับจีนในพื้นที่แถบอินโด-แปซิฟิก   โดยสหรัฐฯ จะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนกิจการด้านความมั่นคงของปาปัวนิวกินี โดยเฉพาะการฝึกเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับกองทัพของปาปัวนิวกินี พร้อมท้ังจะขยายความร่วมมือไปยังมิติอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจ การรับมือกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติทางธรรมชาติ รวมถึงการส่งมอบความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม   ก่อนที่ นเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรีอินเดีย และบลิงเคน จะเดินทางเข้าหารือกับบรรดาผู้นำประเทศในแถบมหาสมุทรแปซิฟิกจำนวน 14 คน ที่กรุงพอร์ตมอร์สบี เมืองหลวงของปาปัวนิวกินี นับเป็นงานการประชุมครั้งใหญ่ที่สุดของประเทศแห่งนี้ ตั้งแต่การเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนเมื่อปี 2018   โดยโมดีได้แสดงจุดยืนว่า “เราต่างเชื่อมั่นในความร่วมมือพหุภาคี เราสนับสนุนอินโด-แปซิฟิกที่เสรี เปิดกว้าง และโอบรับความหลากหลาย เราเคารพอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของทุก ๆ ประเทศ”   แม้ทางการจีนจะไม่ได้มีข้อขัดข้องกับความร่วมมือที่เกิดขึ้นระหว่างสหรัฐฯ และปาปัวนิวกินี แต่ก็แสดงความกังวลใจไม่น้อยถึงกรณีการเพิ่มจำนวนกองกำลังสหรัฐฯ เข้ามายังภูมิภาคดังกล่าวนี้ ซึ่งอาจทำให้เกิดเกมภูมิรัฐศาสตร์ที่ดุเดือดยิ่งขึ้นระหว่างสองมหาอำนาจอย่างจีนและสหรัฐฯ ภายในภูมิภาค…

แคนาดาเปิดยุทธศาสตร์อินโดแปซิฟิก คานอำนาจจีน

Loading

FILE PHOTO: Canadian Prime Minister Justin Trudeau visits members of the Canadian troops in the Adazi military base   แคนาดาเผยยุทธศาสตร์อินโดแปซิฟิก เมื่อวันอาทิตย์ ทุ่ม 2,300 ล้านดอลลาร์แคนาดา หรือราว 6 หมื่นล้านบาท ในการเสริมทัพด้านกลาโหมและความมั่นคงไซเบอร์ในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก พร้อมประกาศแผนรับมือกับจีนที่แผ่ขยายอิทธิพลในภูมิภาค ควบคู่ไปกับการทำงานร่วมกับจีนในด้านการแก้ปัญหาโลกร้อนและประเด็นพิพาททางการค้าระหว่างกัน   แผนยุทธศาสตร์ความยาว 26 หน้ากระดาษ ระบุว่า แคนาดาจะเพิ่มกฎระเบียบด้านการลงทุนจากต่างชาติที่เข้มงวด ในการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาและป้องกันไม่ให้รัฐวิสาหกิจของจีนเข้ากักตุนสินแร่สำคัญ   ที่ผ่านมา แคนาดามองหาแผนการสร้างสัมพันธ์ที่แนบแน่นกับ 40 ประเทศในภูมิภาคอินโดแปซิฟิก ซึ่งมีบทบาททางเศรษฐกิจกับแคนาดาอย่างมาก แต่ในแผนยุทธศาสตร์ของแคนาดาในภูมิภาคที่เปิดเผยออกมาเมื่อวันอาทิตย์นี้ กล่าวถึงจีนมากกว่า 50 ครั้ง สะท้อนถึงช่วงเวลาที่ความสัมพันธ์ระหว่างแคนาดาและจีนที่เย็นชาต่อกันอย่างมาก   ในส่วนหนึ่งของแผนยุทธศาสตร์ ระบุว่า “จีนเป็นมหาอำนาจโลกที่สร้างการก่อกวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ” และว่า…

เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ดีกว่าเรือดำน้ำธรรมดาอย่างไร และใครมีเรือดำน้ำนิวเคลียร์บ้าง

Loading

  เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดมีกลุ่มพันธมิตรที่สำคัญเรียกว่า AUKUS ซึ่งเป็นสนธิสัญญาความมั่นคงอินโด-แปซิฟิกฉบับใหม่ เพื่อจัดตั้ง “พันธมิตรไตรภาคีด้านความมั่นคง” ระหว่างสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และออสเตรเลีย   พูดกันง่ายๆ คือการรวมกลุ่มกัน 3 ประเทศ เพื่อต่อต้านสาธารณรัฐประชาชนจีนที่อ้างสิทธิเอาทะเลจีนใต้แทบทั้งทะเลเป็นของจีนนั่นเอง เพราะอังกฤษและสหรัฐอเมริกาสัญญาจะช่วยออสเตรเลียสร้างเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ที่ทางออสเตรเลียแสดงความตั้งใจที่จะสร้างเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ถึง 8 ลำ โดยจะสร้างที่เมืองแอดิเลดของออสเตรเลียนั่นเอง   จากการที่มีข้อตกลงที่อังกฤษและสหรัฐอเมริกาสัญญาว่าช่วยออสเตรเลียสร้างเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์นี่เอง ทำให้ออสเตรเลียแจ้งไปยังทางฝรั่งเศสเพื่อยกเลิกสัญญาที่ออสเตรเลียจ้างให้ฝรั่งเศสสร้างเรือดำน้ำธรรมดาจำนวน 12 ลำ เป็นเงินกว่า 56,000 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย   ทั้งๆ ที่ออสเตรเลียว่าจ้างฝรั่งเศสให้สร้างเรือดำน้ำดีเซล 12 ลำ ให้กองทัพเรือออสเตรเลียเพื่อทดแทนเรือดำน้ำฝูงปัจจุบันที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลที่จะถึงกำหนดปลดระวางใน พ.ศ.2569 โดยที่ฝรั่งเศสชนะการประมูลเหนือเยอรมนีและญี่ปุ่นสำหรับโครงการสร้างเรือดำน้ำดีเซล 12 ลำ ใน พ.ศ.2559   แต่ออสเตรเลียก็เบี้ยวเอาดื้อๆ แต่ในที่สุดก็คงถูกปรับหลายเงินอยู่ แต่ผู้เสียหายหนักก็คือฝรั่งเศสนั่นเอง เพราะถูกออสเตรเลียเทเสียกลางคันหากหยุดสร้างก็เสียดายเงินทุนที่ลงไปแล้ว หากสร้างต่อไปก็ไม่เป็นประโยชน์นอกจากจะเกลี้ยกล่อมขายต่อให้ประเทศไทยได้บ้างเท่านั้น   เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์นั้นไม่ต้องเติมเชื้อเพลิงเลยตลอดอายุการทำงาน 25 ปี ของเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์สามารถดำน้ำอยู่ที่ระดับความลึกได้ยาวนานเป็นเดือนโดยไม่ต้องขึ้นสู่ผิวน้ำ ภายในเรือยังมีอุปกรณ์การสร้างออกซิเจนจากน้ำทะเล และมีพื้นที่กว้างขวางสำหรับการเก็บเสบียงอาหาร และน้ำจืด  …