นายกฯอิสราเอล เตือนภัยก่อการร้าย ประณามมือปืนกราดยิงดับ 5 ราย

Loading

  วันที่ 30 มี.ค. เอเอฟพี รายงานว่า นายนาฟตาลี เบ็นเน็ตต์ นายกรัฐมนตรีอิสราเอล เตือนถึงแนวโน้มการก่อการร้ายระลอกใหม่จากชาวอาหรับ หลังคนร้ายที่เป็นชาวปาเลสไตน์ใช้อาวุธปืนอัตโนมัติเปิดฉากกราดยิงคนอย่างไม่เลือกหน้าในเขตเบเนเบรัก ชุมชนชายฝั่งทะเลนอกกรุงเทลอาวีฟ มีผู้เสียชีวิต 2 ราย บาดเจ็บ 3 คน ก่อนคนร้ายจะถูกตำรวจกระทำวิสามัญฆาตกรรม   AFP   สื่อท้องถิ่นของอิสราเอลระบุว่า ผู้เสียชีวิตทั้ง 5 ราย ในจำนวนนี้มีสัญชาติยูเครนด้วย 2 ราย และเจ้าหน้าที่ตำรวจ 1 นาย ส่วนคนร้ายเป็นชาวปาเลสไตน์ที่อาศัยอยู่ในเขตเวสต์แบงก์ ซึ่งตกอยู่ภายใต้การยึดครองของอิสราเอล มีประวัติเคยต้องคำพิพากษาและรับโทษจำคุกนาน 4 ปี ทราบชื่อภายหลัง นายดีอา ฮามาร์ชาห์   AFP   รายงานระบุว่า นายเบ็นเน็ตมีคำสั่งเรียกประชุมหน่วยงานความมั่นคงทุกฝ่ายเพื่อประเมินสถานการณ์ หลังเจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับคำสั่งให้ใช้ความระมัดระวังและการตรวจตราเข้มข้นขั้นสูงสุด ขณะที่กองทัพอิสราเอลเตรียมส่งกำลังทหารไปเสริมที่เขตเวสต์แบงค์   AFP   ประธานาธิบดีมาห์มูด อับบาส ผู้นำรัฐปาเลสไตน์ ออกแถลงการณ์ประณามการกระทำของคนร้าย ว่าการใช้ความรุนแรงและเข่นฆ่าพลเรือนทั้งปาเลสไตน์และชาวยิวจะยิ่งทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงไปอีก…

อิสราเอลสร้าง ‘คอมพิวเตอร์ควอนตัม’ เครื่องแรกของประเทศ

Loading

  สถาบันวิทยาศาสตร์ไวซ์มันน์ (WIS) ของอิสราเอล เปิดเผยเมื่อวันอังคาร (22 มี.ค.) ว่าคณะนักวิทยาศาสตร์อิสราเอลได้พัฒนาคอมพิวเตอร์ควอนตัมเครื่องแรกของประเทศ หน่วยของคอมพิวเตอร์ควอนตัมที่มีชื่อว่า ควอนตัมบิต (Quantum Bits) หรือคิวบิต (Qubits) แตกต่างจากหน่วยคอมพิวเตอร์ดั้งเดิม คือสามารถแสดงค่าได้มากกว่าหนึ่งตำแหน่งหรือสถานะในเวลาเดียวกัน ทำให้สามารถคำนวณหลายรายการพร้อม ๆ กันได้ และนำไปสู่พลังการประมวลผลที่มหาศาล     ทั้งนี้ คอมพิวเตอร์ดังกล่าว ซึ่งพึ่งพาเทคโนโลยีขั้นสูงที่เรียกว่า การดักจับไอออน (Ion Traps) เป็นคอมพิวเตอร์ขนาด 5 คิวบิต ทีมนักวิทยาศาสตร์อิสราเอลจัดการความท้าทายของคอมพิวเตอร์ที่มีความไวต่อสัญญาณรบกวนจากสิ่งแวดล้อมสูง โดยใช้นวัตกรรม 2 ชนิด ซึ่งล้วนประสบความสำเร็จในการใช้งานกับคอมพิวเตอร์ควอนตัมข้างต้น สถาบันฯ คาดว่าคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่กว่า ซึ่งอยู่ระหว่างก่อสร้างในห้องปฏิบัติการจะมีขนาด 64 คิวบิต และแสดงจุดเด่นของควอนตัม โดยปัจจุบันมีเพียงมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศจีน (USTC) และกูเกิล (Google) ของสหรัฐฯ เท่านั้น ที่สร้างคอมพิวเตอร์รุ่นนี้สำเร็จ ก่อนหน้านี้ เมื่อช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2565 องค์การนวัตกรรมอิสราเอล (IIA) ประกาศโครงการคอมพิวเตอร์ควอนตัมระดับชาติ…

อิสราเอลประกาศสภาวะฉุกเฉิน หลังการโจมตีไซเบอร์ทำเว็บไซต์รัฐบาลล่ม

Loading

  เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา หน่วยงานปกป้องภัยด้านไซเบอร์ประกาศสภาวะฉุกเฉิน หลังจากที่เว็บไซต์ของรัฐบาลล่มจากการโจมตีทางไซเบอร์   แหล่งข่าวในกองทัพอิสราเอลระบุว่าการโจมตีทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นถือว่าใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยเกิดขึ้นต่ออิสราเอล ซึ่งทำให้เว็บไซต์ของกระทรวงกิจการภายใน กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงยุติธรรม กระทรวงสวัสดิการสังคม และสำนักนายกรัฐมนตรีล่มไปตาม ๆ กัน   อย่างไรก็ดี ทุกเว็บไซต์ที่กล่าวมาในข้างต้นสามารถเข้าใช้งานได้ตามปกติแล้ว และการโจมตีดังกล่าวไม่กระทบต่อการทำงานของระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานอย่างประปาหรือไฟฟ้าแต่อย่างใด   เจ้าหน้าที่เชื่อว่าการโจมตีที่เกิดขึ้นอาจเป็นฝีมือของประเทศอื่น แต่ยังไม่ได้ระบุเป็นการชัดเจนว่าเป็นฝีมือของประเทศใด     ที่มา NYPost     ————————————————————————————————————————————- ที่มา :  Beartai             / วันที่เผยแพร่    15 มี.ค.65 Link : https://www.beartai.com/news/itnews/983751

อิสราเอลเปิดตัว “ระบบเตือนภัยดินไหว” เซ็นเซอร์ 120 จุด-ใช้เวลาไม่กี่วิฯ แจ้งเหตุ

Loading

  อิสราเอลเปิดตัว “ระบบเตือนภัยดินไหว” เซ็นเซอร์ 120 จุด-ใช้เวลาไม่กี่วิฯ แจ้งเหตุ อิสราเอลเปิดตัว – วันที่ 12 ก.พ. ซินหัว รายงานว่า อิสราเอล เปิดตัวระบบเตือนภัยแผ่นดินไหวล่วงหน้าระดับชาติอย่างเป็นทางการ ซึ่งสามารถแจ้งเตือนกองบัญชาการส่วนหน้า (เอชเอฟซี) ของอิสราเอลภายในไม่กี่วินาทีหลังตรวจจับสัญญาณแผ่นดินไหวได้   สำนักสำรวจทางธรณีวิทยาของอิสราเอลระบุว่าระบบทีอาร์ยูเอเอ (TRUAA) ประกอบด้วยเซนเซอร์ตรวจจับแผ่นดินไหว 120 จุดทั่วประเทศ มีค่าใช้จ่ายสำหรับการก่อสร้างราว 14 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 457 ล้านบาท) และมีการทดสอบระบบโดยสำนักสำรวจตั้งแต่ปี 2557 ระบบข้างต้นจะแจ้งกองบัญชาการส่วนหน้าให้ส่งสัญญาณเตือนแผ่นดินไหวผ่านสมาร์ตโฟน หากตรวจจับแผ่นดินไหวขนาดมากกว่า 4.4 ตามมาตราแมกนิจูด   An Israeli seismologist explains a new earthquake early warning system during a demonstration at the Geological Survey…

อิสราเอลขึ้นแท่นประเทศแรกของโลกอนุญาตให้โดรนขึ้นบินในน่านฟ้า

Loading

  กระทรวงคมนาคมและความปลอดภัยบนท้องถนนของอิสราเอลได้อนุญาตให้นำโดรน หรืออากาศยานไร้คนขับ (UAV) ขึ้นบินในน่านฟ้าเมื่อวานนี้ (9 ก.พ.) ซึ่งทำให้อิสราเอลกลายเป็นประเทศแรกของโลกที่ให้การอนุญาตดังกล่าว   สำนักงานการบินพลเรือนแห่งอิสราเอลได้มอบใบอนุญาตให้กับโดรนไร้คนขับ “เฮอร์มีส สตาร์ไลน์เนอร์” ซึ่งพัฒนาและผลิตโดยเอลบิต ซิสเต็มส์ บริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทางทหาร โดยใบอนุญาตนี้จะเปิดทางให้โดรนดังกล่าวสามารถบินในน่านฟ้าได้เหมือนกับเครื่องบินพลเรือน   ทั้งนี้ โดรนเฮอร์มีส สตาร์ไลน์เนอร์มีความกว้างปีก 17 เมตร บินต่อเนื่องได้ 36 ชั่วโมงที่ความสูง 7,600 เมตร และบรรทุกน้ำหนักได้ 450 กิโลกรัม   ด้วยใบอนุญาตดังกล่าว โดรนเฮอร์มีส สตาร์ไลน์เนอร์จะสามารถเข้าร่วมในปฏิบัติการรักษาความปลอดภัยและปราบปรามการก่อการร้ายตามแนวชายแดน , การรักษาความปลอดภัยในงานอีเวนต์ขนาดใหญ่ , ปฏิบัติการค้นหาและช่วยเหลือในภาคพื้นสมุทร , ภารกิจบินเชิงพาณิชย์และการตรวจสอบสภาพอากาศ ตลอดจนงานด้านเกษตรกรรมที่ต้องใช้ความแม่นยำสูง   นายเมราฟ มิคาเอลี รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมอิสราเอลกล่าวว่า “ผมภูมิใจอย่างยิ่งที่อิสราเอลได้เป็นประเทศแรกที่เปิดทางให้มีการใช้ UAV สำหรับเกษตรกรรม, สิ่งแวดล้อม, การปราบปรามอาชญากรรม, ประโยชน์สาธารณะ และเศรษฐกิจ”      …

อิสราเอล ผู้นำสตาร์ตอัพ การพัฒนา…ดาบสองคม?

Loading

  ชื่อเสียงของอิสราเอลในฐานะ “ประเทศแห่งสตาร์ตอัพ” กำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายครั้งใหญ่ ในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา อิสราเอลผงาดขึ้นเป็นหนึ่งในศูนย์กลางเทคโนโลยีที่สำคัญของโลกจากการมีระบบการศึกษาที่ล้ำหน้า อีกทั้งมีการบรรจุหลักสูตร cybersecurity และ cyberwarfare ชั้นสูง เพื่อฝึกทหารเกณฑ์ให้เป็นผู้เชี่ยวชาญการใช้เทคโนโลยีแขนงนี้อย่างเข้มข้น ทำให้อิสราเอลมีคนรุ่นใหม่ที่มีทักษะด้านเทคโนโลยีมากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก และเป็นสาเหตุให้เทคโนโลยีส่วนใหญ่ของอิสราเอลมุ่งเน้นส่งเสริมประสิทธิภาพงานด้านทหารและภารกิจราชการลับเป็นหลัก หนึ่งในซอฟต์แวร์ “เมดอินอิสราเอล” ที่โด่งดัง ได้แก่ “Pegasus” ที่เคยช่วยรัฐบาลเม็กซิโกจับ El Chapo เจ้าพ่อค้ายาที่ใหญ่ที่สุดในโลกมาแล้ว Pegasus คือ ซอฟต์แวร์ที่ใช้ติดตั้งบนโทรศัพท์มือถือเพื่อสอดแนมบทสนทนา อีเมล์ ข้อความ และธุรกรรมทางการเงินต่าง ๆ อีกทั้งยังแปลงโทรศัพท์เครื่องนั้นให้กลายเป็น “เครื่องดักฟัง” ที่ถ่ายทอดเสียงและทุกความเคลื่อนไหวแบบเรียลไทม์ได้ตลอดเวลา ปฏิบัติการไล่ล่า El Chapo ประสบความสำเร็จได้เพราะมีการแอบติดตั้งซอฟต์แวร์ Pegasus บนมือถือของ El Chapo จนนำไปสู่การจับกุมในปี 2014 นับจากนั้น NSO เจ้าของ Pegasus ก็ขยับขึ้นเป็นผู้ให้บริการระดับโลกโดยมีลูกค้าเป็นหน่วยสืบราชการลับและบริษัทเอกชนชั้นนำมากมาย ส่งผลให้อิสราเอลพลอยได้หน้าในฐานะดินแดนแห่งสตาร์ตอัพที่เฟื่องฟูด้วยนวัตกรรมแห่งโลกสมัยใหม่ไปด้วย แต่ชื่อเสียงของอิสราเอลและ NSO กำลังสั่นคลอนหลังจากการสืบสวนภายใต้ความร่วมมือขององค์กรสื่อกับเอ็นจีโอด้านสิทธิมนุษยชนอย่าง Amnesty…