รายงานวุฒิสภาสหรัฐฯ เผยถึงความล้มเหลวด้านข่าวกรองและการบังคับใช้กฎหมายของสหรัฐฯ

Loading

  วุฒิสภาสหรัฐฯ ได้เผยแพร่รายงานเมื่อ 27 มิ.ย.66 ระบุว่า สำนักงานสอบสวนกลาง (FBI) กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ และหน่วยงานรัฐบาลกลางอื่น ๆ เพิกเฉยหรือมองข้ามคำเตือนและการเรียกร้องให้ดำเนินการขั้นเด็ดขาดเพื่อระงับเหตุรุนแรงที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งยังล้มเหลวในการแบ่งปันข้อมูลข่าวกรองกับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย จนนำไปสู่เหตุจลาจลและการโจมตีอาคารรัฐสภาสหรัฐฯ เมื่อ 6 ม.ค.65 นอกจากนี้ก่อนการโจมตีเพียงไม่กี่วัน การเฝ้าระวังและติดตามภัยคุกคามบนสื่อสังคมออนไลน์ของ FBI ได้ลดลงอย่างมาก เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงสัญญาที่เกี่ยวกับบุคคลที่สามในสื่อสังคมออนไลน์ ภายในรายงานยังเน้นคำพูดของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของ FBI สองคนที่ได้ให้สัมภาษณ์ว่า “พวกเขาไม่ทราบว่ารัฐสภาอาจจะถูกปิดล้อม” อย่างไรก็ดี ผู้แทนของ FBI กล่าวแย้งว่า FBI มีการทำงานร่วมกับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายในช่วงก่อนและในวันที่ 6 ม.ค.65 อาทิ การตั้งกองบัญชาการร่วม และหลังเหตุการณ์ก็ได้แบ่งปันข้อมูลอย่างรวดเร็ว           —————————————————————————————————————————————— ที่มา :                     …

หลักฐานมัด! สื่อสหรัฐฯเปิดคลิปเสียง อดีตปธน.ทรัมป์ รับเก็บเอกสารลับ ไว้กับตัวเอง แม้จะพ้นตำแหน่ง

Loading

  บีบีซีรายงานว่า สื่อสหรัฐฯ เช่น สถานีโทรทัศน์ ซีเอ็นเอ็น และซีบีเอส แพร่คลิปเสียง 2 นาที ซึ่งอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ของสหรัฐฯ ยอมรับว่าเขาเก็บเอกสารลับไว้จำนวนมาก หลังพ้นจากตำแหน่งเมื่อต้นปี 2564 โดยไม่ได้คืนให้กับหอจดหมายเหตุแห่งชาติสหรัฐฯ   ในคลิปชุดนี้ บันทึกในสนามกอล์ฟ เมืองเบดมินสเตอร์ รัฐนิวเจอร์ซี เดือนกรกฎาคม 2564 ซึ่งนายทรัมป์พูดกับคนใกล้ชิดหลายคนขณะหารือเรื่องหนังสือบันทึกความทรงจำของนายมาร์ค มีโดว์ส อดีตหัวหน้าคณะทำงานของทำเนียบขาว ซึ่ง นายทรัมป์พูดว่า เป็นเอกสารลับสุดยอด   นับว่า ขัดแย้งกับคำให้การของนายทรัมป์ต่อศาลของเมืองไมอามี รัฐฟลอริดา เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน ซึ่งนายทรัมป์ไปยังศาลเพื่อรับทราบข้อหารวม 37 กระทงในเรื่องการเก็บเอกสารลับโดยไม่ถูกต้อง โดยนายทรัมป์และนายวอลต์ นอตา ผู้ช่วยของเขาให้การปฏิเสธทุกข้อหา   ในตอนแรก ศาลนัดไต่สวนนายทรัมป์ในวันที่ 14 สิงหาคมนี้ แต่ศาลอาจจะเลื่อนไปอีก หลังอัยการเสนอขอให้เลื่อนการไต่สวนเป็นวันที่ 11 ธันวาคมนี้        …

ผู้เชี่ยวชาญเตือน! อเมริกาต้องเตรียมรับมือการโจมตีทางไซเบอร์จากจีน

Loading

    เจ้าหน้าที่ด้านไซเบอร์ของสหรัฐฯ เตือนว่า อเมริกาอาจยังไม่แข็งแกร่งพอที่จะป้องกันและรอดจากการโจมตีทางไซเบอร์จากจีนที่มุ่งเป้าไปที่โครงสร้างพื้นฐานของสหรัฐฯ หากว่าการแข่งขันขยายอำนาจของสองประเทศนี้ยกระดับไปเป็นความขัดแย้งจริง ๆ   นับตั้งแต่รัสเซียเริ่มบุกรุกยูเครนเมื่อปีที่แล้ว สหรัฐฯ ได้พยายามเพิ่มการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์เพื่อปกป้องระบบโครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภค เช่น เครือข่ายไฟฟ้าและน้ำประปา ซึ่งส่วนใหญ่บริหารจัดการโดยบริษัทเอกชน   แต่ เจน อีสเตอร์ลีย์ ผู้อำนวยการสำนักงานความปลอดภัยทางไซเบอร์และความมั่นคงของโครงสร้างพื้นฐาน หรือ CISA (Cybersecurity and Infrastructure Security Agency) เตือนในวันจันทร์ว่า จำเป็นต้องเพิ่มการระแวดระวังมากขึ้นในกรณีที่จีนตัดสินใจโจมตีจริง ๆ   “ในกรณีที่เกิดความขัดแย้ง ค่อนข้างแน่นอนว่า จีนจะใช้ปฏิบัติการทางไซเบอร์อย่างรุนแรงโดยมุ่งเป้าไปที่โครงสร้างพื้นฐานสำคัญต่าง ๆ รวมถึงท่อส่งน้ำมันและรางรถไฟเพื่อชะลอการระดมกำลังทหารของสหรัฐฯ และเพื่อก่อให้เกิดความตื่นตระหนกในหมู่ประชาชน” ผอ.CISA กล่าวที่สถาบันแอสเพน (Aspen Institute) ในกรุงวอชิงตัน     ผู้เชี่ยวชาญผู้นี้ชี้ด้วยว่า “เมื่อพิจารณาจากรูปแบบของภัยคุกคามจากรัฐบาลจีน ศักยภาพและทรัพยากร ตลอดจนความพยายามที่จีนจะนำมาใช้ จะทำให้เป็นเรื่องยากอย่างยิ่งที่เราจะสามารถป้องกันไม่ให้เกิดการชะงักงันขึ้นได้” นอกจากนี้ เธอยังแสดงความกังวลต่อความสามารถของอเมริกาในการซ่อมแซมความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น   ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐฯ ออกมาเตือนถึงภัยคุกคามทางไซเบอร์จากจีน โดยคำเตือนส่วนใหญ่มุ่งเป้าไปยังกรณีที่จีนพยายามใช้กำลังทหารยึดครองไต้หวัน  …

รัฐสภายุโรปผ่านร่างกฎหมายปัญญาประดิษฐ์ของยุโรป (EU AI Act)

Loading

    เว็บไซต์ The New York Times รายงานเมื่อ 14 มิ.ย.66 ว่า รัฐสภายุโรปได้ผ่านร่างกฎหมายปัญญาประดิษฐ์เมื่อ 14 มิ.ย.66 เพื่อเข้าสู่การพิจารณาในวาระสุดท้ายก่อนมีผลบังคับใช้ เพื่อปกป้องผู้บริโภคของสหภาพยุโรปจากการใช้ปัญญาประดิษฐ์ที่อาจเป็นอันตราย ทั้งนี้ กฎหมาย AI ของสหภาพยุโรปจะใช้วิธีการอิงตามความเสี่ยง (Risk-Based Approach) จากศักยภาพสูงสุดที่จะสามารถทำอันตรายต่อมนุษย์ และให้ความสำคัญกับระบบ AI ที่นำมาใช้ในโครงสร้างพื้นฐานสำคัญด้านน้ำและพลังงาน และในระบบกฎหมาย นอกจากนี้ยังกำหนดข้อบังคับต่าง ๆ เช่น ห้ามใช้ระบบการจดจำใบหน้า (facial recognition) ตามเวลาจริง และห้ามใช้ชุดข้อมูลชีวมาตรจากสื่อสังคมออนไลน์เพื่อสร้างฐานข้อมูล รวมถึงการใช้ข้อมูลที่มีลิขสิทธิ์ซึ่งมิใช่ของตนในการฝึกระบบ AI นอกจากนี้ ผู้สร้างระบบ AI จะต้องทำการประเมินความเสี่ยงก่อนการให้บริการ ซึ่งคล้ายกับกระบวนการอนุมัติยา และต้องวางมาตรการเพื่อป้องกันไม่ให้ AI สร้างเนื้อหาที่ผิดกฎหมาย เป็นต้น อย่างไรก็ดี ปัจจุบัน สหรัฐฯ ได้ออกนโยบายและมาตรการทดสอบระบบ AI ก่อนเผยแพร่สู่สาธารณะเพื่อปกป้องสิทธิความเป็นส่วนตัวของชาวอเมริกัน ขณะที่จีนกำลังร่างกฎหมายควบคุมผู้ผลิต AI ในจีนให้ประเมินความปลอดภัยผลิตภัณฑ์ก่อนนำออกสู่สาธารณะ…

รัฐสภาสหรัฐฯ อาจไม่ต่ออายุ กม.สอดแนมต่างชาติ ที่กำลังจะสิ้นสุดลงในปี 2566

Loading

    เว็บไซต์ Washington post รายงานเมื่อ 13 มิ.ย.66 ว่า รัฐสภาของสหรัฐฯ กำลังพิจารณาการต่ออายุมาตรา 702 ของกฎหมายการเฝ้าระวังข่าวกรองต่างประเทศ (the Foreign Intelligence Surveillance Act – FISA) ที่ให้อำนาจหน่วยงานความมั่นคงสอดแนมเป้าหมายชาวต่างชาติที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของสหรัฐฯ ซึ่งจะสิ้นสุดลงในปี 2566 ทั้งนี้ ฝ่ายนิติบัญญัติไม่สนับสนุนการต่ออายุมาตรา 702 โดยให้ความเห็นว่าเพื่อปกป้องชาวอเมริกันจากการดักฟัง เนื่องจากพบว่าบางครั้งมีการรวบรวมข้อมูลการสื่อสารของชาวอเมริกันด้วย ทั้งยังไม่อาจรับประกันได้ว่าการสอดแนมจะทำให้งานข่าวกรองประสบความสำเร็จ และเสนอว่าควรปฏิรูปกฎหมายมาตรา 702 โดยเฉพาะในประเด็นการเข้าถึงข้อมูลชาวอเมริกันว่าควรต้องมีหมายค้นก่อนปฏิบัติการเพื่อป้องกันการละเมิดข้อมูลโดยมิชอบ รวมถึงมีการกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพโดยรัฐสภาและศาล ซึ่งก่อนหน้านี้เอกสารของศาลได้เปิดเผยว่า สำนักงานสอบสวนกลางของสหรัฐฯ (FBI) ใช้ฐานข้อมูลในทางที่ผิดมากกว่า 278,000 ครั้งในปี 2563 ถึงต้นปี 2564 อย่างไรก็ตาม ฝ่ายบริหารเสนอให้มีการต่ออายุมาตราดังกล่าว โดยแย้งว่า มาตรา 702 ทำให้สามารถต่อสู้กับภัยคุกคาม เช่น การแพร่ระบาดของยาเฟนทานิล ซึ่งคร่าชีวิตชาวอเมริกันเกือบ 100,000 คนต่อปี และระบุตัวแฮ็กเกอร์ที่อยู่เบื้องหลังการโจมตีด้วยแรนซัมแวร์ในเหตุการณ์ Colonial…

ทรัมป์ขึ้นศาลไมอามี ‘ไม่ยอมรับผิด’ กรณีเก็บเอกสารลับทางการ

Loading

    อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ ขึ้นปรากฎตัวต่อผู้พิพากษาศาลแขวงของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ ที่นครไมอามี รัฐฟลอริดา ในช่วงบ่ายวันอังคาร และกล่าว “ไม่ยอมรับผิด” ต่อข้อกล่าวหาที่ว่า เขาเก็บเอกสารชั้นความลับของทางการสหรัฐฯ หลายร้อยฉบับเอาไว้หลังจากพ้นจากตำแหน่งไปแล้ว และขัดขวางความพยายามของเจ้าหน้าที่ที่ต้องการนำเอกสารเหล่านั้นกลับมา   เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ทรัมป์กลายเป็นประธานาธิบดีอเมริกันคนแรกในประวัติศาสตร์ที่ถูกคณะลูกขุนใหญ่สั่งฟ้อง 37 กระทง สืบเนื่องจากการเก็บเอกสารลับด้านความมั่นคงแห่งชาติเอาไว้ “อย่างจงใจ” ที่บ้านพักมาร์-อะ-ลาโก   ในวันอังคาร ทรัมป์เดินทางไปขึ้นศาลที่ไมอามีท่ามกลางการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด และมีผู้สนับสนุนทรัมป์หลายร้อยคนรอให้กำลังใจด้านหน้าศาล   ก่อนหน้านี้ ทรัมป์เรียกร้องให้ผู้สนับสนุนตนเดินขบวนที่ไมอามี ก่อให้เกิดความกังวลว่าอาจลุกลามไปเป็นความรุนแรง แต่การพิจารณาคดีดำเนินไปอย่างสงบโดยไม่มีเหตุรุนแรงใด ๆ     ทรัมป์ปรากฎตัวต่อผู้พิพากษาศาลแขวง โจนาธาน กู้ดแมน และทนายความของเขากล่าวไม่ยอมรับผิดต่อทุกข้อหาทั้ง 37 กระทง   ในสำนวนการฟ้องร้อง 49 หน้า ทรัมป์ถูกกล่าวหาว่าจงใจยึดครองเอกสารด้านความมั่นคงแห่งชาติ รวมทั้งขัดขวางกระบวนการยุติธรรม ซุกซ่อนเอกสารของรัฐบาล และให้การบิดเบือนต่อเจ้าหน้าที่สืบสวนของรัฐบาลกลาง   สำนวนคำฟ้องชี้ว่า เอกสารที่ทรัมป์นำออกไปจากทำเนียบขาวตอนพ้นจากตำแหน่งถือเป็นส่วนหนึ่งของเอกสารที่มีความลับสำคัญที่สุดของรัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งรวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับโครงการนิวเคลียร์ของสหรัฐฯ ความเปราะบางของสหรัฐฯ และชาติพันธมิตรต่อการถูกโจมตี…