ผู้เชี่ยวชาญเตือน! อเมริกาต้องเตรียมรับมือการโจมตีทางไซเบอร์จากจีน

Loading

    เจ้าหน้าที่ด้านไซเบอร์ของสหรัฐฯ เตือนว่า อเมริกาอาจยังไม่แข็งแกร่งพอที่จะป้องกันและรอดจากการโจมตีทางไซเบอร์จากจีนที่มุ่งเป้าไปที่โครงสร้างพื้นฐานของสหรัฐฯ หากว่าการแข่งขันขยายอำนาจของสองประเทศนี้ยกระดับไปเป็นความขัดแย้งจริง ๆ   นับตั้งแต่รัสเซียเริ่มบุกรุกยูเครนเมื่อปีที่แล้ว สหรัฐฯ ได้พยายามเพิ่มการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์เพื่อปกป้องระบบโครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภค เช่น เครือข่ายไฟฟ้าและน้ำประปา ซึ่งส่วนใหญ่บริหารจัดการโดยบริษัทเอกชน   แต่ เจน อีสเตอร์ลีย์ ผู้อำนวยการสำนักงานความปลอดภัยทางไซเบอร์และความมั่นคงของโครงสร้างพื้นฐาน หรือ CISA (Cybersecurity and Infrastructure Security Agency) เตือนในวันจันทร์ว่า จำเป็นต้องเพิ่มการระแวดระวังมากขึ้นในกรณีที่จีนตัดสินใจโจมตีจริง ๆ   “ในกรณีที่เกิดความขัดแย้ง ค่อนข้างแน่นอนว่า จีนจะใช้ปฏิบัติการทางไซเบอร์อย่างรุนแรงโดยมุ่งเป้าไปที่โครงสร้างพื้นฐานสำคัญต่าง ๆ รวมถึงท่อส่งน้ำมันและรางรถไฟเพื่อชะลอการระดมกำลังทหารของสหรัฐฯ และเพื่อก่อให้เกิดความตื่นตระหนกในหมู่ประชาชน” ผอ.CISA กล่าวที่สถาบันแอสเพน (Aspen Institute) ในกรุงวอชิงตัน     ผู้เชี่ยวชาญผู้นี้ชี้ด้วยว่า “เมื่อพิจารณาจากรูปแบบของภัยคุกคามจากรัฐบาลจีน ศักยภาพและทรัพยากร ตลอดจนความพยายามที่จีนจะนำมาใช้ จะทำให้เป็นเรื่องยากอย่างยิ่งที่เราจะสามารถป้องกันไม่ให้เกิดการชะงักงันขึ้นได้” นอกจากนี้ เธอยังแสดงความกังวลต่อความสามารถของอเมริกาในการซ่อมแซมความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น   ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐฯ ออกมาเตือนถึงภัยคุกคามทางไซเบอร์จากจีน โดยคำเตือนส่วนใหญ่มุ่งเป้าไปยังกรณีที่จีนพยายามใช้กำลังทหารยึดครองไต้หวัน  …

รัฐสภายุโรปผ่านร่างกฎหมายปัญญาประดิษฐ์ของยุโรป (EU AI Act)

Loading

    เว็บไซต์ The New York Times รายงานเมื่อ 14 มิ.ย.66 ว่า รัฐสภายุโรปได้ผ่านร่างกฎหมายปัญญาประดิษฐ์เมื่อ 14 มิ.ย.66 เพื่อเข้าสู่การพิจารณาในวาระสุดท้ายก่อนมีผลบังคับใช้ เพื่อปกป้องผู้บริโภคของสหภาพยุโรปจากการใช้ปัญญาประดิษฐ์ที่อาจเป็นอันตราย ทั้งนี้ กฎหมาย AI ของสหภาพยุโรปจะใช้วิธีการอิงตามความเสี่ยง (Risk-Based Approach) จากศักยภาพสูงสุดที่จะสามารถทำอันตรายต่อมนุษย์ และให้ความสำคัญกับระบบ AI ที่นำมาใช้ในโครงสร้างพื้นฐานสำคัญด้านน้ำและพลังงาน และในระบบกฎหมาย นอกจากนี้ยังกำหนดข้อบังคับต่าง ๆ เช่น ห้ามใช้ระบบการจดจำใบหน้า (facial recognition) ตามเวลาจริง และห้ามใช้ชุดข้อมูลชีวมาตรจากสื่อสังคมออนไลน์เพื่อสร้างฐานข้อมูล รวมถึงการใช้ข้อมูลที่มีลิขสิทธิ์ซึ่งมิใช่ของตนในการฝึกระบบ AI นอกจากนี้ ผู้สร้างระบบ AI จะต้องทำการประเมินความเสี่ยงก่อนการให้บริการ ซึ่งคล้ายกับกระบวนการอนุมัติยา และต้องวางมาตรการเพื่อป้องกันไม่ให้ AI สร้างเนื้อหาที่ผิดกฎหมาย เป็นต้น อย่างไรก็ดี ปัจจุบัน สหรัฐฯ ได้ออกนโยบายและมาตรการทดสอบระบบ AI ก่อนเผยแพร่สู่สาธารณะเพื่อปกป้องสิทธิความเป็นส่วนตัวของชาวอเมริกัน ขณะที่จีนกำลังร่างกฎหมายควบคุมผู้ผลิต AI ในจีนให้ประเมินความปลอดภัยผลิตภัณฑ์ก่อนนำออกสู่สาธารณะ…

รัฐสภาสหรัฐฯ อาจไม่ต่ออายุ กม.สอดแนมต่างชาติ ที่กำลังจะสิ้นสุดลงในปี 2566

Loading

    เว็บไซต์ Washington post รายงานเมื่อ 13 มิ.ย.66 ว่า รัฐสภาของสหรัฐฯ กำลังพิจารณาการต่ออายุมาตรา 702 ของกฎหมายการเฝ้าระวังข่าวกรองต่างประเทศ (the Foreign Intelligence Surveillance Act – FISA) ที่ให้อำนาจหน่วยงานความมั่นคงสอดแนมเป้าหมายชาวต่างชาติที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของสหรัฐฯ ซึ่งจะสิ้นสุดลงในปี 2566 ทั้งนี้ ฝ่ายนิติบัญญัติไม่สนับสนุนการต่ออายุมาตรา 702 โดยให้ความเห็นว่าเพื่อปกป้องชาวอเมริกันจากการดักฟัง เนื่องจากพบว่าบางครั้งมีการรวบรวมข้อมูลการสื่อสารของชาวอเมริกันด้วย ทั้งยังไม่อาจรับประกันได้ว่าการสอดแนมจะทำให้งานข่าวกรองประสบความสำเร็จ และเสนอว่าควรปฏิรูปกฎหมายมาตรา 702 โดยเฉพาะในประเด็นการเข้าถึงข้อมูลชาวอเมริกันว่าควรต้องมีหมายค้นก่อนปฏิบัติการเพื่อป้องกันการละเมิดข้อมูลโดยมิชอบ รวมถึงมีการกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพโดยรัฐสภาและศาล ซึ่งก่อนหน้านี้เอกสารของศาลได้เปิดเผยว่า สำนักงานสอบสวนกลางของสหรัฐฯ (FBI) ใช้ฐานข้อมูลในทางที่ผิดมากกว่า 278,000 ครั้งในปี 2563 ถึงต้นปี 2564 อย่างไรก็ตาม ฝ่ายบริหารเสนอให้มีการต่ออายุมาตราดังกล่าว โดยแย้งว่า มาตรา 702 ทำให้สามารถต่อสู้กับภัยคุกคาม เช่น การแพร่ระบาดของยาเฟนทานิล ซึ่งคร่าชีวิตชาวอเมริกันเกือบ 100,000 คนต่อปี และระบุตัวแฮ็กเกอร์ที่อยู่เบื้องหลังการโจมตีด้วยแรนซัมแวร์ในเหตุการณ์ Colonial…

ทรัมป์ขึ้นศาลไมอามี ‘ไม่ยอมรับผิด’ กรณีเก็บเอกสารลับทางการ

Loading

    อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ ขึ้นปรากฎตัวต่อผู้พิพากษาศาลแขวงของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ ที่นครไมอามี รัฐฟลอริดา ในช่วงบ่ายวันอังคาร และกล่าว “ไม่ยอมรับผิด” ต่อข้อกล่าวหาที่ว่า เขาเก็บเอกสารชั้นความลับของทางการสหรัฐฯ หลายร้อยฉบับเอาไว้หลังจากพ้นจากตำแหน่งไปแล้ว และขัดขวางความพยายามของเจ้าหน้าที่ที่ต้องการนำเอกสารเหล่านั้นกลับมา   เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ทรัมป์กลายเป็นประธานาธิบดีอเมริกันคนแรกในประวัติศาสตร์ที่ถูกคณะลูกขุนใหญ่สั่งฟ้อง 37 กระทง สืบเนื่องจากการเก็บเอกสารลับด้านความมั่นคงแห่งชาติเอาไว้ “อย่างจงใจ” ที่บ้านพักมาร์-อะ-ลาโก   ในวันอังคาร ทรัมป์เดินทางไปขึ้นศาลที่ไมอามีท่ามกลางการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวด และมีผู้สนับสนุนทรัมป์หลายร้อยคนรอให้กำลังใจด้านหน้าศาล   ก่อนหน้านี้ ทรัมป์เรียกร้องให้ผู้สนับสนุนตนเดินขบวนที่ไมอามี ก่อให้เกิดความกังวลว่าอาจลุกลามไปเป็นความรุนแรง แต่การพิจารณาคดีดำเนินไปอย่างสงบโดยไม่มีเหตุรุนแรงใด ๆ     ทรัมป์ปรากฎตัวต่อผู้พิพากษาศาลแขวง โจนาธาน กู้ดแมน และทนายความของเขากล่าวไม่ยอมรับผิดต่อทุกข้อหาทั้ง 37 กระทง   ในสำนวนการฟ้องร้อง 49 หน้า ทรัมป์ถูกกล่าวหาว่าจงใจยึดครองเอกสารด้านความมั่นคงแห่งชาติ รวมทั้งขัดขวางกระบวนการยุติธรรม ซุกซ่อนเอกสารของรัฐบาล และให้การบิดเบือนต่อเจ้าหน้าที่สืบสวนของรัฐบาลกลาง   สำนวนคำฟ้องชี้ว่า เอกสารที่ทรัมป์นำออกไปจากทำเนียบขาวตอนพ้นจากตำแหน่งถือเป็นส่วนหนึ่งของเอกสารที่มีความลับสำคัญที่สุดของรัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งรวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับโครงการนิวเคลียร์ของสหรัฐฯ ความเปราะบางของสหรัฐฯ และชาติพันธมิตรต่อการถูกโจมตี…

กฎหมายสหรัฐฯ ระบุให้บริษัทจำหน่ายซอฟต์แวร์ต้องรับรองความปลอดภัยซอฟต์แวร์ของตน

Loading

    เว็บไซต์ Security Week รายงานเมื่อ 12 มิ.ย.66 ว่า สำนักการจัดการและการงบประมาณของสหรัฐฯ (The Office of Management and Budget – OMB) ได้ออกคำแนะนำเกี่ยวกับมาตรการที่ให้บริษัทจำหน่ายซอฟต์แวร์ในสหรัฐฯ ต้องรับรองความปลอดภัยซอฟต์แวร์ของตน ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่พัฒนาตั้งแต่ 14 ก.ย.65 เป็นต้นไป รวมถึงซอฟต์แวร์ที่เผยแพร่ก่อนวันดังกล่าวด้วย หากมีการอัปเดตครั้งใหญ่หรือยังมีการใช้บริการและได้รับการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งส่งแบบฟอร์มรับรองดังกล่าวให้กับหน่วยงานของรัฐบาลกลางเป็นผู้รวบรวม เพื่อรับประกันว่าซอฟต์แวร์นั้นปลอดภัย ทั้งนี้ การรับรองจะต้องระบุรายการส่วนประกอบที่สำคัญ (Software Bill of Materials – SBOM) และสิ่งประดิษฐ์อื่น ๆ หรือผู้ขายอาจได้รับการร้องขอให้ใช้โปรแกรมตรวจสอบและเปิดเผยช่องโหว่ของซอฟต์แวร์ โดยระยะเวลาการยื่นแบบฟอร์มรับรองกำหนดให้ซอฟต์แวร์ที่สำคัญควรยื่นภายใน 3 เดือนและซอฟต์แวร์อื่นภายใน 6 เดือนหลังจากแบบฟอร์มการรับรองทั่วไปของสำนักความมั่นคงโครงสร้างพื้นฐานและการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Cybersecurity and Infrastructure Security Agency – CISA) ได้รับการอนุมัติโดย OMB ทั้งนี้ ร่างแบบฟอร์มรับรองตนเองยังอยู่ในขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะเป็นระยะเวลา…

บลิงเคนยันจีนมี “ฐานสายลับ” ในคิวบา ลั่นสหรัฐพยายามจัดการ

Loading

  รัฐมนตรีการต่างประเทศของสหรัฐ ซึ่งจะเยือนกรุงปักกิ่งในอีกไม่กี่วันข้างหน้า ยืนยันว่า คิวบาเป็นสถานที่ตั้ง “ฐานปฏิบัติการสอดแนม” ของจีน และยืนยันว่า ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง “กำลังจัดการ”   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 13 มิ.ย. ว่านายแอนโทนี บลิงเคน รมว.กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ กล่าวถึงรายงานที่ว่า จีนมีฐานปฏิบัติการสายลับในคิวบา “มานานหลายปี” และมีการปรับปรุงเพิ่มความทันสมัย เมื่อปี 2562 เพื่อยกระดับภารกิจดังกล่าว สะท้อน “หนึ่งในความพยายามของรัฐบาลปักกิ่ง ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเก็บข้อมูลข่าวกรอง”   ขณะเดียวกัน บลิงเคนยืนยันว่า ประธานาธิบดีโจ ไบเดน สั่งให้ “จัดการ” นับตั้งแต่รับตำแหน่งผู้นำสหรัฐ เมื่อเดือน ม.ค. 2564 หลังรัฐบาลชุดก่อนหน้าของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ “ไม่ได้ดำเนินการอย่างจริงจัง” และกล่าวอีกว่า วัตถุประสงค์ของจีนในเรื่องนี้ คือการ “สร้างและประคับประคองอำนาจทางทหารจากระยะไกล”   Secretary of State Blinken says former President…