ใครคือ ‘ซีซาร์ ซายอค’? แล้วอะไรจูงใจให้ส่งพัสดุระเบิด 14 ชิ้น ถึงศัตรูทางการเมืองของ โดนัลด์ ทรัมป์
ภายในรั้วมหาวิทยาลัยทั่วสหรัฐฯ คงไม่มีใครคาดคิดว่าจะเป็นสถานที่เเรกที่นักสอดแนมจะแฝงตัวเข้าไปปนเปกับนักศึกษา เเต่ แดน โกลด์เดน (Dan Golden) ผู้สื่อข่าวสายสอบสวน กล่าวว่าคุณจะแปลกใจ เพราะมหาวิทยาลัยในสหรัฐฯ เต็มไปด้วยนักสอดแนมหรือสายลับ โกลด์เดน กล่าวว่า ในมหาวิทยาลัยของสหรัฐฯ มีนักศึกษาเเละศาสตราจารย์ชาวต่างชาติจำนวนมากมาย บางคนมาหาข้อมูลให้แก่ประเทศของตน ไม่ว่าจะเป็นความลับทางวิทยาศาสตร์หรือมาสร้างเเหล่งข่าว โกลด์เดน พูดถึงตัวอย่างการสอดแนมในรั้วมหาวิทยาลัยในหนังสือที่เขาเขียน เรื่อง“สปาย สคูลส์” (“Spy Schools”) เขากล่าวว่ามหาวิทยาลัยในสหรัฐฯ เป็นแหล่งดึงดูดนักสอดแนม เพราะมีการเเลกเปลี่ยนทางความคิดและวัฒนธรรมกันอย่างอิสระ ชาร์ลี แม็คกอลนิกัล (Charlie Mcgonigal) เจ้าหน้าที่พิเศษที่ดูแลฝ่ายต่อต้านข่าวกรองของสำนักงานข่าวกรองแห่งชาติสหรัฐฯ หรือ เอฟบีไอ กล่าวว่า นี่เป็นปัญหาใหญ่มากเ พราะในสหรัฐฯ สถาบันการศึกษาเปิดกว้าง มีการศึกษาวิจัยและการพัฒนามากมายที่บรรดารัฐบาลต่างชาติต้องการได้ข้อมูลเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ และจะส่งนักศึกษาของตนเข้าไปเรียนในมหาวิทยาลัยอเมริกันเพื่อจุดประสงค์นี้โดยเฉพาะ ส่วนชาวอเมริกันที่ไปเรียนในต่างประเทศก็มักตกเป็นเหยื่อของรัฐบาลต่างชาติที่ต้องการใช้เป็นนักสอดแนม ในปี พ.ศ. 2557 เอฟบีไอได้สนับสนุนเงินในการสร้างภาพยนตร์เรื่องหนึ่งที่อิงเนื้อหาจากเรื่องจริง เกี่ยวกับนาย เกลน ชริฟเฟอร์ (Glenn Shriver) นักศึกษาชาวอเมริกันที่รัฐบาลจีนว่าจ้างให้เป็นนักสอดแนมแก่จีน เเม็คกานิกัลกล่าวว่า นักศึกษาถูกใช้โดยรัฐบาลต่างชาติให้เป็นสายลับ เเละสั่งให้ไปสมัครทำงานในรัฐบาลสหรัฐฯ หรือในภาคเอกชนที่ต้องการได้ข้อมูลไปใช้ประโยชน์ อเล็กซ์ แวน…
ศาลสูงสุดแห่งสหรัฐฯ กำลังทบทวนอำนาจของตำรวจในการดูข้อมูลในโทรศัพท์มือถือโดยไม่มีหมายค้น ศาลสูงสุดแห่งสหรัฐฯ เเสดงท่าทีเมื่อเร็วๆ นี้ว่าอาจจะออกกฏระเบียบใหม่เพื่อควบคุมอำนาจของหน่วยงานบังคับใช้กฏหมายของสหรัฐฯ ในการติดตามการเคลื่อนไหวของปัจเจกบุคคลด้วยการเข้าไปดูข้อมูลในโทรศัพท์มือถือของคนที่ตกเป็นเป้าสงสัย การไต่สวนคำร้องในศาลสูงสุดของสหรัฐฯ ครั้งนี้ อาจนำไปสู่การตัดสินใจที่สำคัญในประเด็นที่ถกเถียงกันมาตลอด เกี่ยวกับการปกป้องเสรีภาพประชาชนในยุคที่เทคโนโลยีกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ประเด็นที่ถกกันคือ ควรหรือไม่ที่ตำรวจมีอำนาจจะเข้าถึงข้อมูลในโทรศัพท์มือถือ ที่ช่วยระบุว่าผู้ใช้อยู่ที่ไหนได้โดยไม่ต้องขอหมายค้นจากศาล การทบทวนเรื่องนี้สืบเนื่องมาจากการตัดสินให้ชายอเมริกัน นายทิโมธี คาร์เพนเตอร์ (Timothy Carpenter) มีความผิดในข้อหาการปล้นหลายครั้ง ย้อนไปในปี 2010 กับ 2011 เพราะคณะอัยการได้ข้อมูลในโทรศัพท์มือถือของนายคาร์เพนเตอร์ที่ระบุว่าเขาอยู่ที่ใดในช่วงระยะเวลาหลายเดือนที่เกิดเหตุ ข้อมูลนี้มีส่วนสำคัญที่นำไปสู่การตัดสินว่าเขามีความผิดตามข้อกล่าวหา เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ทีมทนายความของ American Civil Liberties Union หรือ ACLU ได้เเสดงข้อโต้เเย้งต่อศาลสูงสุดของสหรัฐฯ ว่าควรมีข้อกำหนดว่าตำรวจจะต้องได้รับหมายค้นจากศาลเสียก่อนที่จะสามารถเข้าไปดูข้อมูลบันทึกการใช้โทรศัพท์มือถือของผู้ต้องหา ทีมทนายความดังกล่าวยังโต้เเย้งด้วยว่า การอนุญาตให้ตำรวจเข้าไปดูข้อมูลการใช้โทรศัพท์มือถือของผู้ต้องสงสัยโดยไม่มีหมายค้น ถือว่าละเมิดสิทธิส่วนบุคคลตามที่ระบุไว้ในกฏหมายรัฐธรรมนูญ ในบทบัญญัติฉบับเเก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 4 ที่ห้ามตำรวจทำการค้นตัวเเละยึดของใช้ส่วนตัวของผู้ต้องหาอย่างไม่มีเหตุผล เนธาน ฟรีด วีสสเล่อร์ (Nathan Freed Wessler) ทนายความของเอซีเอลยู (ACLU) กล่าวกับบรรดาผู้สื่อข่าวด้านนอกศาลสูงสุดของสหรัฐฯ ในกรุงวอชิงตัน หลังการไต่สวนของศาลว่า เป็นไปไม่ได้ที่ประชาชนจะใช้ชีวิตประจำวันโดยไม่ทิ้งร่องรอยของการใช้โทรศัพท์มือถือที่ชี้ว่า ณ…
สำนักงานสอบสวนกลางสหรัฐฯ หรือ เอฟบีไอ ออกมาเตือนว่า ของเล่นที่เด็กๆได้รับในวันคริสต์มาสหรือวันปีใหม่นั้น อาจกลายเป็นฝันร้ายสำหรับคุณได้ เพราะนี่อาจเป็นอุปกรณ์ให้เหล่าแฮกเกอร์เข้ามาล้วงข้อมูลส่วนตัวกันถึงในบ้านได้ เอฟบีไอ ไม่ได้ระบุว่า ของเล่นประเภทใดหรือจากบริษัทใดที่มีความเสี่ยง แต่ให้คำจำกัดความรวมๆว่า ของเล่นที่มีไมโครโฟน กล้อง และระบบติดตามหรือระบุพิกัด เป็นคุณสมบัติของเล่นที่เสี่ยงต่อการถูกเจาะข้อมูลและระบบความปลอดภัยของเด็กๆและครอบครัวคุณได้ ของเล่นที่มีความเสี่ยงอาจจะเป็นตุ๊กตาพูดโต้ตอบกับเด็ก หรือแท็ปเล็ตเพื่อการเรียนรู้ที่ดูไร้พิษสง เนื่องจากของเล่นเหล่านี้อาจหลุดรอดสายตาจากแผนกตรวจสอบความปลอดภัย เพื่อให้วางขายให้ทันช่วงคริสต์มาสและปีใหม่ อย่างไรก็ตาม ใครที่ซื้อของเล่นสำหรับลูกหลานไปแล้ว แต่ไม่แน่ใจว่าของเล่นนั้นมีความเสี่ยงหรือไม่ ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยของเทคโนโลยี แนะนำวิธีง่ายๆให้ห่างไกลจากการถูกโจรกรรมข้อมูล จากของเล่นหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใกล้ตัว 1. ค้นหาข้อมูลของขวัญหรือของเล่นต้องสงสัย – คำแนะนำจาก เบห์นัม ดายานิม (Behnam Dayanim) ผู้เชี่ยวชาญด้านความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ของ Paul Hasting Law ก่อนแกะกล่องของเล่นหรือแก็ตเจ็ตที่ได้มาในวันคริสต์มาส สละเวลาอันมีค่า ค้นหาเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของสินค้านั้นๆ เข้าไปที่ Privacy Policy หรือ นโยบายด้านความเป็นส่วนตัว ถ้าไม่มีให้โทรศัพท์ไปสอบถามโดยตรง อีกวิธีง่ายๆ คือ อ่านรีวิวหรือคำวิจารณ์ถึงสินค้าเหล่านั้นบนอินเตอร์เน็ตก่อนแกะกล่อง ถ้าพบว่ามีความเห็นที่สุ่มเสี่ยงเรื่องความปลอดภัยในการใช้สินค้าเหล่านั้น จะช่วยในการตัดสินใจได้ว่าจะเก็บไว้หรือเอาไปคืนดีหรือไม่ 2. เพิ่มความปลอดภัยให้ Wi-Fi ที่บ้าน –หากของเล่นนั้นต้องเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต ควรยกระดับความปลอดภัยของอินเตอร์เน็ต Wi-Fi…
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว