เอกสารลับรัฐบาลอิหร่านรั่วไหล ปรากฏ ‘บทลงโทษผู้หญิงที่ไม่สวมฮิญาบ’ ท่ามกลางกระแสต่อต้านรุนแรงในสังคม

Loading

สำนักข่าว BBC Persian เปิดเผยเอกสารลับของรัฐบาลอิหร่านถึงความพยายามจัดการต่อ ‘กลุ่มผู้หญิงที่ไม่สวมฮิญาบ’ โดยรายละเอียดส่วนหนึ่งระบุเรื่อง ‘ศาลเคลื่อนที่’ เพื่อลงโทษผู้ที่แต่งกายไม่เหมาะสม และบทบาทของกระทรวงศึกษาธิการในการลงโทษนักเรียนหญิงที่ฝ่าฝืน

บานปลายหนัก! ประท้วงอิหร่านลุกลาม หลังหญิงสาวไม่สวม ‘ฮิญาบ’ ตายหลังถูกจับ

Loading

  กรุงเตหะราน และอีกหลายเมืองของอิหร่านเผชิญกับการประท้วงซึ่งทวีความรุนแรงตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว หลังหญิงสาวคนหนึ่งเสียชีวิตภายในเวลาไม่กี่วัน หลังถูก “ตำรวจศีลธรรม” จับกุมฐานไม่สวมฮิญาบ   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 23 ก.ย. ว่า กระทรวงการคลังของสหรัฐออกแถลงการณ์ ขึ้นบัญชีดำสำนักงานตำรวจศีลธรรมอิหร่าน เนื่องจากเป็นหน่วยงานที่ “ต้องรับผิดชอบโดยตรง” ต่อการเสียชีวิตของ น.ส.มาห์ซา อมินี หญิงสาวชาวอิหร่าน วัย 22 ปี ซึ่งถูกตำรวจศีลธรรมจับกุม ในกรุงเตหะราน เมื่อวันที่ 13 ก.ย. ที่ผ่านมา ฐานไม่สวมฮิญาบคุลมศีรษะ และแต่งกาย “ไม่สุภาพ”   ?? Protesters in #Tehran and other Iranian cities torched police stations and vehicles on Thursday as unrest intensified for the…

ที่มาก่อนการแบนผ้าคลุมหน้าในฝรั่งเศส

Loading

ประเด็นการห้ามสวมผ้าคลุมหน้าของสตรีมุสลิมในฝรั่งเศสที่บังคับใช้มา 11 ปี กลับมาร้อนอีก เมื่อมารีน เลอ เพน ชูนโยบายห้ามสวม “ฮิญาบ” ที่เป็นเพียงผ้าคลุมศีรษะแต่เปิดหน้าของสตรีมมุสลิม และอาจเป็นตัวชี้ขาดก็ได้ว่าใครที่จะเป็นผู้ชนะในศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งนี้ ฝรั่งเศสได้ชื่อว่าเป็นประเทศแรกในยุโรปที่กล้าหาญชาญชัยเสี่ยงต่อความขัดแย้งในสังคม ด้วยการบังคับใช้กฎหมายห้ามสวมผ้าคลุมหน้าไม่ว่าจะเป็น บุรกอ หรือ นิกอบ เมื่อวันที่ 11 เมษายน ปี 2554 ในสมัยของประธานาธิบดีนิโกลาส์ ซาร์โคซี โดยเรียกว่า “รัฐบัญญัติห้ามปกปิดใบหน้าในสาธารณสถาน” เช่น ท้องถนน ร้านค้า พิพิธภัณฑ์ ระบบขนส่งมวลชนและสวนสาธารณะ ยกเว้นกรณีเดินทางในรถส่วนบุคคลแม้ไม่ได้เป็นผู้ขับหรืออยู่ในมัสยิด     กฎหมายฉบับนี้อ้างอิงตัวเลขประมาณการณ์ในขณะนั้นว่า ในจำนวนประชากรมุสลิม 4-6 ล้านคน มีสตรีที่สวมผ้าคลุมหน้าตามประเพณีอาหรับและเอเชียใต้แค่ 2,000 คนเท่านั้น แต่ซาร์โกซีถูกวิจารณ์หนักว่าต้องการเสียงสนับสนุนจากกลุ่มขวาจัด และเมินเฉยต่อเสียงร้องเรียนชาวมุสลิมและนักสิทธิมนุษยชนที่ว่า เป็นการกดดันฝ่ายที่เปราะบางที่สุดในสังคมเพื่อเอาใจฝ่ายที่รังเกียจผู้อพยพ ที่กลัวว่าอิสลามจะเป็นอันตรายต่อวัฒนธรรมของฝรั่งเศส กฎหมายกำหนดว่าผู้ที่ไม่ยอมเปิดหน้าให้เจ้าหน้าที่ตรวจเอกลักษณ์จะถูกนำไปสถานีตำรวจ และเจ้าหน้าที่อาจใช้วิธีเกลี้ยกล่อมให้ยินยอม แต่ถ้ายืนกรานว่าจะไม่ยอมเปิดหน้าก็อาจถูกปรับเงิน 150 ยูโร ก่อนถูกส่งไปอบรมความประพฤติ บทลงโทษยังลามไปถึงผู้เป็นพ่อ สามี หรือผู้นำศาสนา ที่บังคับให้สตรีสวมผ้าคลุมหน้า ที่จะถูกปรับเงิน…