สังคมโลก : มุดจีมา

Loading

  มือมีดที่บุกแทงคนในรถไฟใต้ดินที่แน่นขนัด หรือคนร้ายที่ไล่แทงผู้อื่นอย่างดุเดือดกลางถนน ฝันร้ายเหล่านี้ปรากฏขึ้นในจิตใจของชาวเกาหลีใต้จำนวนมาก หลังเกิดเหตุแทงประชาชนหลายคนอย่างน้อย 2 เหตุการณ์ ภายในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา   ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 21 ก.ค. ชายคนหนึ่งใช้มีดไล่แทงประชาชนที่สัญจรไปมาในเมืองหลวง ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 1 ราย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีก 3 คน โดยในภายหลัง ผู้ก่อเหตุบอกกับตำรวจว่า เขาใช้ชีวิตอย่างทนทุกข์ และอยากทำให้คนอื่นเป็นทุกข์เหมือนกัน   หลังจากนั้นในวันที่ 3 ส.ค. ชายคนหนึ่งในเมืองซองนัม ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของกรุงโซล ขับรถพุ่งชนคนเดินถนน บริเวณใกล้กับสถานีรถไฟใต้ดินแห่งหนึ่ง มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 4 คน ก่อนลงจากรถแล้ววิ่งเข้าไปในห้างสรรพสินค้า และก่อเหตุไล่แทงประชาชน 9 คน หนึ่งในนั้นเสียชีวิตในเวลาต่อมาซึ่งหลักฐานเผยให้เห็นว่า เหตุอุกอาจครั้งนี้อาจเป็นการเลียนแบบชายคนก่อนหน้า   KOREA NOW   ในเกาหลีใต้ “มุดจีมา” ซึ่งมีความหมายว่า “อย่าถาม” สื่อถึงการกระทำความรุนแรงที่ไม่สามารถอธิบายได้ต่อคนแปลกหน้า โดยผู้ก่อเหตุไม่มีความเชื่อมโยงส่วนตัวกับเหยื่อ หรือแรงจูงใจที่ชัดเจน   ชาวเกาหลีใต้เรียกอาชญากรรมเหล่านี้ว่า มุดจีมา (Mudjima)…

เกาหลีใต้สงสัยแฮ็กเกอร์ฝ่ายเหนือ พยายามโจมตีระบบก่อนการซ้อมรบ

Loading

  รัฐบาลโซลกล่าวว่า แฮ็กเกอร์ในสังกัดของรัฐบาลเปียงยาง พยายามโจมตีทางไซเบอร์ ก่อนการซ้อมรบครั้งใหม่ระหว่างเกาหลีใต้กับสหรัฐฯ จะเปิดฉาก   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 20 ส.ค. ว่าสำนักงานตำรวจจังหวัดคย็องกี ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาหลีใต้ ใกล้กับกรุงโซล รายงานว่า กลุ่มแฮ็กเกอร์ซึ่งใช้ชื่อว่า “Kimsuky” และรัฐบาลโซลมีความเชื่อมั่นว่า มีความเกี่ยวโยงกับเกาหลีเหนือ พยายามโจมตีทางไซเบอร์ “อย่างต่อเนื่อง” ต่อระบบอีเมลของบริษัทสัญญาจ้างแห่งหนึ่ง ที่มีส่วนร่วมกับการซ้อมรบร่วมระหว่างสหรัฐฯ กับเกาหลีใต้   #North Korean #hackers targeted S. Korea-US #military drills: #policehttps://t.co/Fc3ilBSY4p — The Korea Times (@koreatimescokr) August 20, 2023   อย่างไรก็ดี ตำรวจเกาหลีใต้ยืนยันว่า ไม่มีข้อมูลทางทหารหลุดรอดออกไป ทั้งนี้ ข้อมูลเบื้องต้นโดยสหรัฐและเกาหลีใต้ระบุว่า แฮ็กเกอร์กลุ่มนี้ปฏิบัติการตั้งแต่ปี 2555 มีเป้าหมายคือการโจมตีทางไซเบอร์ ต่อหน่วยงานรัฐด้านนโยบายต่างประเทศและความมั่นคง ของเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น…

ตร.เกาหลีใต้จะไม่ลังเลในการใช้ปืน หลังเกิดเหตุไล่แทงคน 3 คดีติด

Loading

  ตำรวจเกาหลีใต้ประกาศ จะไม่ลังเลที่จะใช้ปืนอีกต่อไปแล้ว หากเผชิญกับการก่ออาชญากรรมโดยใช้อาวุธมีดอีก หลังเกิดขึ้น 3 คดีติด   “เกาหลีใต้” ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่ปลอดภัย ในปี 2021 มีอัตราการเกิดคดีฆาตกรรมต่ำมาก ที่ 1.3 ต่อประชากร 100,000 คนเท่านั้น น้อยกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกถึงเกือบ 5 เท่า   แต่ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ในเกาหลีใต้กลับเกิดคดีฆาตกรรมและไล่แทงอุกอาจกลางเมืองต่อเนื่องกัน จนประชาชนพากันหวาดกลัว และไม่มั่นใจในความปลอดภัยของตัวเอง ว่าวันคืนดี หากเดิน ๆ อยู่จะถูกใครมาไล่แทงหรือไม่     เหตุไล่แทงครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม เกิดเหตุชายวันประมาณ 30 ปี ใช้อาวุธมีดไล่แทงคนในย่านซิลลิมดงของกรุงโซล บริเวณใกล้กับสถานีรถไฟใต้ดินซิลลิมดง เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บอีก 3 คน ขณะตำรวจเข้าควบคุมตัวผู้ก่อเหตุได้ตะโกนว่า “ผมไม่ต้องการมีชีวิตอยู่อีกต่อไปแล้ว”   ผ่านไปราว 2 สัปดาห์ ในวันที่ 3 สิงหาคม…

สงบศึกครบ 70 ปี คาบสมุทรเกาหลียังคุกรุ่น

Loading

  การลงนามในข้อตกลงหยุดยิงสงครามเกาหลี เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 27 ก.ค. 2496 เพื่อระงับการสู้รบระหว่างเกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้ ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อ 3 ปีก่อนหน้านั้น คือเดือนมิ.ย. 2493 อย่างไรก็ตาม ข้อตกลงหยุดยิงสงครามเกาหลี ไม่ได้มีผลผูกพันตามกฎหมายระหว่างประเทศ ในการยุติสงคราม “เป็นการถาวร” เท่ากับว่า เกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ จึงยังคงมีสถานะเป็นประเทศคู่สงคราม จนถึงปัจจุบัน   ผ่านมาแล้ว 70 ปี คาบสมุทรเกาหลียังคงแบ่งแยก รัฐบาลของสองเกาหลียังคงมองอีกฝ่าย “เป็นภัยคุกคามภายนอก” ขณะเดียวกัน ความตึงเตรียดดังกล่าว สร้างแรงกระเพื่อมมาถึงความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับจีน สองประเทศมหาอำนาจของโลกในปัจจุบัน   สงครามเกาหลีปะทุอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. 2490 ท่ามกลางการแข่งขัน ระหว่างประเทศมหาอำนาจสองขั้วในเวลานั้น คือสหรัฐและสหภาพโซเวียต โดยความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศตึงเครียดตั้งแต่ปี 2488 สหรัฐและสหภาพโซเวียตต่างยึดครองคาบสมุทรเกาหลีคนละครึ่ง หลังญี่ปุ่นซึ่งเคยมีอิทธิพลเหนือพื้นที่แห่งนี้มาก่อน ตั้งแต่ปี 2453 ยอมปราชัยในสงครามโลกครั้งที่สอง   การแบ่งแยกคาบสมุทรเกาหลีด้วยเส้นขนานที่ 38 มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น เมื่อเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้จัดตั้งรัฐบาล เมื่อปี 2491…

ประกาศสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโซล แนะนำคนไทยในสาธารณรัฐเกาหลี ขอให้ระมัดระวังการก่ออาชญากรรมเลียนแบบ

Loading

  วันที่ 8 สิงหาคม 2566 เฟซบุ๊ก “สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโซล / Royal Thai Embassy, Seoul” โพสต์ระบุว่า ประกาศสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโซล เรื่อง ขอให้ระมัดระวังการก่ออาชญากรรมเลียนแบบในสาธารณรัฐเกาหลี   ตามที่ในระยะนี้มีเหตุการณ์มีผู้ร้ายโจมตีบุคคลอื่นโดยใช้มีด โดยเหตุการณ์แรกเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2566 ที่บริเวณใกล้สถานีรถไฟ Silim กรุงโซล เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 1 ราย และบาดเจ็บอีก 3 ราย และต่อมาเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2566 มีผู้ก่อเหตุโจมตีบุคคลอื่นโดยขับรถพุ่งชน และใช้มีดแทงที่บริเวณห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งที่เมือง Songnam จังหวัดคยองกี เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บ 13 ราย และล่าสุดทางการตำรวจของสาธารณรัฐเกาหลี ได้เปิดเผยเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2566 เพิ่มเติมว่า…

รู้จัก มหาอำนาจ กองทัพเรือโลก กองทัพเรือไทย อยู่ตรงไหน

Loading

  มหาอำนาจกองทัพเรือโลก รายนามเรือรบทันสมัยของโลก (WDMMW) จัดอันดับกองทัพเรือแข็งแกร่งสุดของโลก สำรวจ 36 ชาติ พบว่าในกลุ่มท็อป 7 เป็นเอเชีย 5 ชาติ ไต้หวัน ไทย เกาหลีเหนือ ออสเตรเลียไม่ติดท็อปเท็น   เว็บไซต์เซาท์ไชนามอร์นิงโพสต์รายงาน WDMMW จัดอันดับ มหาอำนาจ กองทัพเรือโลก วัดจากจำนวนเรือรบและเรือดำน้ำโดยรวม, อายุกองเรือ, การสนับสนุนด้านโลจิสติกส์, ขีดความสามารถในการโจมตีและป้องกัน, ความหลากหลายของอาวุธยุทโธปกรณ์ที่มี, การกระจุกตัวของอาวุธยุทโธปกรณ์ในพื้นที่หนึ่ง   การจัดสมดุลของเรือแต่ละประเภท จำนวนรวมเรือส่วนใหญ่แต่ไม่รวมเรือขนาดเล็ก, เรือสำรวจ และเรือพิธีการประวัติศาสตร์ การจัดอันดับแยกระหว่างเรือรบคลาสต่าง ๆ ตั้งแต่เรือคอร์เวตขนาดเล็ก เรือฟริเกต เรือพิฆาตขนาดใหญ่ และเรือลาดตระเวน แล้วประเมินออกมาเป็น “คะแนนมูลค่าที่แท้จริง” (True Value Rating)   5 อันดับ มหาอำนาจ กองทัพเรือโลก   1. กองทัพเรือสหรัฐ กองทัพเรือสหรัฐ ถูกมองว่าทรงพลังที่สุดในโลก…