สภารัฐฟลอริดาผ่านกฎหมาย ห้ามผู้มีอายุต่ำกว่า 16 ปีใช้โซเชียลมีเดีย
รัฐฟลอริดาของสหรัฐ เตรียมบังคับใช้กฎหมาย ห้ามบุคคลมีอายุยังไม่ถึง 16 ปี ใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ แต่มีความเป็นไปได้สูงเช่นกัน ที่จะมีการต่อสู้เรื่องนี้ถึงในชั้นศาล
รัฐฟลอริดาของสหรัฐ เตรียมบังคับใช้กฎหมาย ห้ามบุคคลมีอายุยังไม่ถึง 16 ปี ใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ แต่มีความเป็นไปได้สูงเช่นกัน ที่จะมีการต่อสู้เรื่องนี้ถึงในชั้นศาล
กระทรวงการสื่อสารของเซเนกัลออกแถลงการณ์ ระงับสัญญาณอินเทอร์เน็ตเคลื่อนที่ทั่วประเทศ “เพื่อป้องกันการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่บิดเบือนและสร้างความเกลียดชัง บนแพลตฟอร์มเครือข่ายสังคมออนไลน์ ซึ่งส่งผลให้การประท้วงที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้เต็มไปด้วยความรุนแรง
ญี่ปุ่นเลิกข้อบังคับ – เอ็นเอชเค และซินหัว รายงานว่ากระทรวงคมนาคมของญี่ปุ่นยกเลิกข้อบังคับให้ คนขับรถแท็กซี่ แสดงชื่อและรูปถ่ายบนรถยนต์ อย่างไรก็ตาม ผู้โดยสารยังสามารถระบุยานยนต์จากหมายเลขคนขับหรือใบเสร็จรับเงินหากหลงลืมสิ่งของไว้บนรถและจำเป็นต้องติดต่อผู้ให้บริการ รายงานระบุว่าการยกเลิกข้อบังคับดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการโพสต์ข้อมูลส่วนบุคคลของคนขับรถแท็กซี่ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ Japan’s transport ministry has abolished the requirement for taxi drivers to display their name and photograph in their vehicles. The change that came into effect this month is aimed at preventing the posting of their personal information online. /NHK/ และเพื่อรับประกันสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยสำหรับผู้ประกอบอาชีพขับแท็กซี่ รวมถึงบรรเทาปัญหาขาดแคลนแรงงานในอุตสาหกรรมการขนส่ง…
รัฐบาลเวียดนามเสนอการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับโซเชียลมีเดีย ให้การลบเนื้อหาอันเป็นเท็จต้องเกิดขึ้นภายใน 24 ชั่วโมง จากเดิมคือสองวัน สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม เมื่อวันที่ 4 พ.ย. ว่า กระทรวงข่าวสารของเวียดนามออกแถลงการณ์ เกี่ยวกับการยกระดับความเข้มงวดของกฎหมายป้องกันและปราบปรามข่าวปลอม หรือเนื้อหาอันเป็นเท็จที่มีการเผยแพร่บนเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยจะมีการเสนอปรับแก้กฏหมาย ให้ผู้ดูแลระบบต้องลบเนื้อหาที่มีลักษณะดังกล่าวออกจากระบบภายใน 24 ชั่วโมงหลังได้รับคำสั่ง จากเดิมคือ 48 ชั่วโมง ทั้งนี้ รายงานของรัฐบาลเวียดนาม ระบุด้วยว่า บทลงโทษเกี่ยวกับการละเมิดกฎหมายด้านเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่กำลังใช้งานอยู่ในประเทศ ณ เวลานี้ มีความรุนแรงน้อยกว่าประเทศร่วมภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถึง 10 เท่า และทางการเวียดนามกำหนดเป้าหมายให้กฎหมายซึ่งได้รับการปรับแก้แล้ว มีผลบังคับใช้ภายในปี 2566 Vietnam to require 24-hour take-down for "false" social media content https://t.co/NowInryEpJ pic.twitter.com/pH9xxI69l4 — Reuters (@Reuters) November 4, 2022…
ผู้นำฟิลิปปินส์ยังไม่ลงนามรับรอง ร่างกฎหมายเกี่ยวกับ การที่ประชาชน “ต้องยืนยันตัวตน” บนเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยแสดงความกังวลเกี่ยวกับ การละเมิดความเป็นส่วนตัว สำนักข่าวต่างประเทศรายนงานจากกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อวันที่ 15 เม.ย. ว่าประธานาธิบดีโรดริโก ดูเตร์เต ใช้อำนาจวีโต้ ร่างกฎหมายซึ่งสภาคองเกรสของฟิลิปปินส์ มีมติเห็นชอบเมื่อเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา ว่าด้วยการที่ประชาชนต้อง “ยืนยันตัวตนทางกฎหมาย” ไม่ว่าจะเป็นชื่อ นามสกุลและหมายเลขโทรศัพท์ เมื่อสมัครใช้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ พร้อมทั้งอนุญาตให้เจ้าหน้าที่ใช้ข้อมูลดังกล่าวในด้านความมั่นคง ทั้งนี้ ทำเนียบมาลากันยังออกแถลงการณ์ เกี่ยวกับเหตุผลที่ผู้นำฟิลิปปินส์คัดค้านร่างกฎหมายนี้ ที่ในฟิลิปปินส์เรียกว่า “กฎหมายซิมการ์ด” ว่ายังขาดแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนสำหรับอีกหลายประเด็นปลีกย่อย ซึ่งเรื่องนี้อาจกลายเป็น “ช่องว่างอันตราย” ให้เจ้าหน้าที่รัฐเป็นฝ่ายก่อการล่วงละเมิด และการสอดแนมของเจ้าหน้าที่อาจสุ่มเสี่ยง เข้าข่ายเป็นการละเมิดรัฐธรรมนูญเสียเองด้วย Senate President @sotto_tito took to Twitter on Friday to express his displeasure of President Rodrigo…
รัฐสภาฟิลิปปินส์ ผ่านกฎหมายฉบับใหม่ ส่งผลให้ประชาชนต้องยืนยันตัวตนตามความเป็นจริง ในการสมัครใช้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ หวังลดปัญหาข่าวปลอม และการฉ้อโกง รัฐสภาฟิลิปปินส์ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาของฟิลิปปินส์ ผ่านกฎหมายฉบับใหม่ ว่าด้วยการให้ประชาชนทุกคนต้องยืนยันตัวตนทางกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นชื่อ นามสกุลและหมายเลขโทรศัพท์ เมื่อสมัครใช้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ พร้อมทั้งอนุญาตให้เจ้าหน้าที่ใช้ข้อมูลดังกล่าว เพื่อการสอบสวนแกะรอยได้ หลังพบปัญหาการก่อกวนทางออนไลน์ การให้ข่าวเท็จ และมีการใช้ตัวตนปลอมในการสร้างแอ็กเคาต์ในโลกโซเชียลจำนวนมาก แฟรงคลิน ดริลอน หนึ่งในวุฒิสมาชิกที่ผลักดันกฎหมายฉบับนี้ระบุว่า เป็นหน้าที่ของพวกเขาที่จะต้องแก้ปัญหาการไม่เปิดเผยตัวตนในโลกออนไลน์ ที่จะนำไปสู่การโจมตี มุ่งร้ายผู้บริสุทธิ์ในโลกโซเชียลมีเดีย โดยกฎหมายฉบับนี้ยังคงต้องรอให้ประธานาธิบดี โรดริโก ดูเตร์แต ลงนาม ก่อนที่จะมีผลบังคับใช้ต่อไป ทั้งนี้ แม้กฎหมายฉบับนี้จะมีการระบุบทลงโทษสถานหนัก ทั้งการจำคุกและการปรับเงินจากการให้ข้อมูลเท็จ แต่ยังไม่มีรายละเอียดที่แน่ชัดว่า บรรดาผู้ให้บริการสื่อโซเชียลมีเดียจะมีวิธีตรวจสอบได้อย่างไร ว่าข้อมูลที่มีการลงทะเบียนเป็นความจริง รวมถึงจะตรวจสอบข้อมูลของบัญชีที่ลงทะเบียนไปก่อนหน้านี้แล้วอย่างไร ขณะที่เฟซบุ๊ก และทวิตเตอร์ ยังปฏิเสธที่จะให้ความเห็นอย่างเป็นทางการต่อประเด็นนี้ นอกจากนี้กฎหมายฉบับดังกล่าวยังรวมครอบคลุมไปถึงการลงทะเบียนใช้งานซิมโทรศัพท์มือถือกับผู้ให้บริการตามความเป็นจริงอีกด้วย ฟิลิปปินส์เป็นหนึ่งในประเทศในทวีปเอเชีย ที่มีผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนมากที่สุดที่ 79 ล้านคน จากจำนวนประชากรประมาณ 110 ล้านคน และยังถูกจัดอยู่ในประเทศอันดับต้นๆ ที่ประชากรใช้เวลาในโลกโซเชียลมีเดียต่อวันสูงสุดด้วย…
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว