เสริมสร้างความสามารถองค์กรรับมือ BANI โลกยุคใหม่ที่ท้าทายยิ่ง

Loading

VUCA เป็นคำย่อของ Volatility, Uncertainty, Complexity, และ Ambiguity อันหมายถึงความผันผวน ความไม่แน่นอน ความซับซ้อน ความคลุมเคลือ ส่วน BANI ก็มาจาก Brittle, Anxious, Nonlinear, และ Incomprehensible ซึ่งหมายถึง ความเปราะบาง ความวิตกกังวล ความไม่เป็นเส้นตรง ความกำกวมเข้าใจยาก โดยหลาย ๆ คนก็บอกว่าโลกได้เปลี่ยนจากยุค VUCA เข้าสู่ BANI แล้ว

ความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย สิ่งสำคัญของการใช้เทคโนโลยี

Loading

    ตอนนี้เทคโนโลยี อย่าง AI, Blockchain และ Cloud เข้ามามีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจ ดังนั้น ความเป็นส่วนตัวและการป้องกันความปลอดภัย จึงเป็นสิ่งที่ตามมา ซึ่งเทคโนโลยีถ้าไม่มีการให้ความรู้กับผู้ใช้งาน ก็จะไร้ประโยชน์   ดร.ภาสกร ประถมบุตร รองผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) กล่าวในงาน Digital Life Forum 2023 : นวัตกรรม เปลี่ยนชีวิต เปลี่ยนโลก จัดขึ้นโดย สปริงนิวส์ ว่า บทบาทของเราทำหน้าที่ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ผมอยากให้สิ่งที่ Drive คือความต้องการของคน เพราะเทคโนโลยีดียังไงแต่ไม่มีคนใช้ มันก็ไปไม่รอด เราพยายามผลักดัน SME ให้เทคโนโลยี ซึ่งจะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีใช้เวลาน้อยลงในการเปลี่ยนวัฎจักร ซึ่งโควิดมาความต้องการเปลี่ยนก็ทำให้เทคโนโลยีเปลี่ยน ยกตัวอย่าง เวลาเราขึ้นตึกแล้วต้องแลกบัตรประชาชน เราก็กลัวข้อมูลรั่วไหล ก็ต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อตอบโจทย์ความต้องการ     ปัจจุบันเรื่องของ Data มีความสำคัญและมี Value มาก ดังนั้นจึงมีเทคโนโลยีเกี่ยวกับ…

สร้างสมดุลให้โลกดิจิทัล

Loading

    ความไม่สมดุลระหว่างการใช้ชีวิตในทั้ง 2 โลกก่อให้เกิดปัญหาตามมามากมาย   วิถีชีวิตของคนยุคปัจจุบันเคยชินกับการใช้ชีวิตคู่ขนานระหว่างโลกแห่งความเป็นจริง และชีวิตในโลกดิจิทัลสลับกันไปมาอย่างคุ้นเคย ไม่ว่าจะใช้ชีวิตส่วนตัวหรือชีวิตการทำงานในโลกจริงมาทั้งวันแต่เมื่อถึงเวลาเปลี่ยนไปใช้ชีวิตในโลกดิจิทัลก็ทำได้อย่างไร้รอยต่อ   เพราะเราคุ้นเคยกับเทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้นเรื่อยๆ นับตั้งแต่อินเทอร์เน็ตได้รับความนิยมอย่างก้าวกระโดดเมื่อเกือบ 30 ปีที่แล้ว จากจุดเริ่มต้นในการใช้งานในด้านธุรกิจและสถาบันการศึกษา เมื่อมาถึงยุคโซเชียลมีเดีย อินเทอร์เน็ตก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตคนในยุคปัจจุบันไปแล้ว   แต่ความไม่สมดุลระหว่างการใช้ชีวิตในทั้ง 2 โลกยังมีให้เราเห็นและก่อให้เกิดปัญหาตามมามากมาย โดยเฉพาะเรื่องความเสี่ยงในการใช้งานโดยเฉพาะด้านการดูแลสินทรัพย์ส่วนบุคคลที่ในโลกแห่งความเป็นจริงเรามักจะเข้มงวดมาก   ไม่ว่าจะเป็นเงินฝากที่ต้องคิดให้ดีว่าจะไว้วางใจธนาคารหรือสถาบันการเงินแห่งใด เพราะปัจจุบันมีการคุ้มครองเงินฝากเหลือเพียง 1 ล้านบาทเท่านั้น การคำนึงถึงความน่าเชื่อถือและความมั่นคงของสถาบันการเงินที่เราจะเอาเงินไปฝากไว้จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก   นอกเหนือจากนั้นก็ยังต้องรู้จักกระจายความเสี่ยงด้วยการถือครองสินทรัพย์ประเภทอื่นเพิ่มเติม รวมไปถึงของมีค่าอื่นๆ ที่ต้องคิดถึงเรื่องความปลอดภัยเป็นหลัก การเก็บรักษาจึงมักกระจายทั้งเก็บไว้ที่บ้าน ที่ทำงาน รวมไปถึงบ้านพ่อแม่ ฯลฯ   หรือไม่ก็เก็บไว้ในตู้เซฟที่สถาบันการเงินต่างๆ มีไว้ให้บริการซึ่งก็จำเป็นต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนเช่นกันว่าจะไว้วางใจธนาคารหรือบริษัทอื่นใด จะเลือกใช้บริการที่สาขาไหนระหว่างสำนักงานใหญ่หรือสาขาย่อยที่ใกล้บ้าน   เราจะเห็นความเข้มงวดในการใช้ชีวิตในโลกแห่งความเป็นจริงที่สวนทางกับโลกดิจิทัลโดยสิ้นเชิง เพราะสำหรับคนทั่วไปแล้วมักจะมีความตระหนักในการรักษาความปลอดภัยในโลกดิจิทัลที่ต่ำกว่าโลกแห่งความเป็นจริงมาก   อาจเป็นเพราะเราเห็นแก่ความสะดวกรวดเร็วในการใช้งานจนมองข้ามความปลอดภัยจนทำให้เราขาดสมดุลในการใช้งานระหว่างโลกทั้งสองโดยไม่รู้ตัว ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วระบบการจัดการสินทรัพย์ในโลกดิจิทัลนั้นมีความซับซ้อนสูงมาก แต่เรากลับมองข้ามไปและสนใจแต่ความสะดวกที่ตัวเองจะได้รับเท่านั้น   ที่สุดแล้วเราจึงมักจะให้ข้อมูลและสิทธิในการเข้าถึงความเป็นส่วนตัวของเรากับระบบดิจิทัลมากเกินความจำเป็น จนหลายแพลตฟอร์มที่ให้บริการออนไลน์แก่เราอยู่ในทุกวันนี้เข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้จำนวนมหาศาล และเมื่อบริหารจัดการไม่เหมาะสมก็อาจมีข้อมูลหลุดรั่วออกมาตามที่เป็นข่าวอยู่บ่อยๆ   ซึ่งข้อมูลที่ถูกจัดเก็บเหล่านี้มีทั้งข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว ไปจนถึงข้อมูลเชิงพฤติกรรมซึ่งก็คือรอยเท้าดิจิทัลที่เก็บบันทึกไว้อย่างละเอียดว่าเราเข้าไปที่เว็บใด สนใจเนื้อหาแบบไหน…

ส่อง“สมาร์ทซิตี้”ในไทย…ลงทุนยกระดับชีวิตคนท้องถิ่น

Loading

    การขับเคลื่อนพัฒนา “เมืองอัจฉริยะ” หรือ “สมาร์ทซิตี้” ถือเป็นหนึ่งนโยบายที่รัฐบาลให้ความสำคัญ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 หมุดหมายที่ 8 เพื่อให้ประเทศไทย   การขับเคลื่อนพัฒนา “เมืองอัจฉริยะ” หรือ “สมาร์ทซิตี้” ถือเป็นหนึ่งนโยบายที่รัฐบาลให้ความสำคัญ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 หมุดหมายที่ 8 เพื่อให้ประเทศไทยมีพื้นที่และเมืองอัจฉริยะ ที่น่าอยู่ ปลอดภัย เติบโตได้อย่างยั่งยืน!?!   ซึ่งทางกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) โดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) ได้ดำเนินการส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะในระดับท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง โดยระหว่างปี 2564-2565 ประเทศไทยมีเมืองที่ได้รับตราสัญลักษณ์เมืองอัจฉริยะประเทศไทยแล้ว 30 เมือง!?!   ทิศทาง การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ของไทยต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร? หาคำตอบได้ด้านล่างนี้?!?   ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส)” บอกว่า รัฐบาลมีนโยบายนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนาเมืองในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ให้ยกระดับสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ ช่วยลดความเหลื่อมล้ำ ทำให้เมืองเจริญทันสมัย และน่าอยู่ ช่วยพัฒนาความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิต ของประชาชนอย่างทั่วถึง   “ภายในสิ้นปี 66 นี้มีเป้าหมายจะส่งเสริมเเมืองอัจฉริยะ เพิ่มขึ้นอีกไม่น้อยกว่า 15 เมืองรวมเป็น 45 เมือง และประเมินว่าการพัฒนา เมืองอัจฉริยะจะช่วยให้เกิดโอกาสการลงทุนจากหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนรวม มูลค่ากว่า 60,000 ล้านบาท และจะมีการสร้างมูลค่าการลงทุนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต”     อย่างไรก็ตาม…

ความเสี่ยง ‘ภูมิศาสตร์การเมืองดิจิทัล’ สร้างโอกาส ‘ซีไอโอ’ บริบทใหม่

Loading

  การ์ทเนอร์ เผย ผลกระทบของการกำกับดูแลทางเทคโนโลยีที่เกิดจากการเมืองระหว่างประเทศ นำไปสู่ยุคภูมิศาสตร์การเมืองทางดิจิทัล (Digital Geopolitics) อย่างรวดเร็ว และกลายเป็นประเด็นสำคัญที่ผู้บริหารไอที (ซีไอโอ) ในบริษัทข้ามชาติต้องแสดงบทบาทผู้นำ   จากการสำรวจของ “การ์ทเนอร์” ระบุว่าคณะกรรมการบริหารขององค์กรต่างๆ 41% มองประเด็นการเปลี่ยนแปลงอำนาจและความวุ่นวายทางภูมิศาสตร์การเมืองเป็นหนึ่งในความเสี่ยงใหญ่ที่สุดต่อการดำเนินธุรกิจ   โดยการ์ทเนอร์ยังคาดด้วยว่าภายในปี 2569 องค์กรข้ามชาติถึง 70% จะปรับทิศทางการดำเนินงานในประเทศต่างๆ โดยมุ่งเน้นการป้องกันความเสี่ยงเพื่อลดการเปิดเผยข้อมูลทางภูมิศาสตร์การเมือง     ปกป้องอธิปไตยดิจิทัล   ไบรอัน เพลนติส รองประธานฝ่ายวิจัย การ์ทเนอร์ กล่าวว่า ภูมิศาสตร์การเมืองดิจิทัล (Digital Geopolitics) เป็นหนึ่งในแนวโน้มที่สร้างความปั่นป่วนที่สุดที่ผู้บริหารไอทีต้องรับมือ   โดยเวลานี้มีผู้บริหารจำนวนมากกำลังจัดการกับข้อพิพาททางการค้า หรือกฎหมายของประเทศใดประเทศหนึ่งที่กระทบต่อการดำเนินงานไปทั่วโลก รวมถึงข้อจำกัดในการจัดหาและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่รัฐบาลเป็นผู้กำหนด ซึ่งผู้บริหารไอทีจำเป็นต้องทำความเข้าใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นนี้และเตรียมพร้อมรับมือกับผลกระทบ   “เนื่องจากความสำคัญของเทคโนโลยีดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นในแต่ละพื้นที่ ภูมิศาสตร์การเมืองดิจิทัล จึงเกิดขึ้นและมีผลกระทบอย่างโดดเด่นชัดเจน”   ผู้บริหารไอทีต้องแสดงบทบาทสำคัญเพื่อประเมินความเสี่ยงต่อองค์กร พร้อมจัดระบบโครงสร้างสถาปัตยกรรมดิจิทัลขึ้นใหม่ถ้าจำเป็น โดยพวกเขาจะต้องจัดการหรือใช้ประโยชน์จากภูมิศาสตร์การเมืองดิจิทัล 4 ด้านเด่น ดังนี้   ปกป้องอธิปไตยดิจิทัล…