“โดรนไฮเทค” ของสหรัฐทำภารกิจส่งดาวเทียม

Loading

ยาน “เอ็กซ์-37บี” ของกองทัพอากาศสหรัฐ ปฏิบัติภารกิจครั้งที่ 6 ในรอบ 10 ปี เป็นการส่งดาวเทียมขนาดเล็กเพื่อการวิจัย สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 17 พ.ค. ว่าจรวดแอตลาส ไฟฟ์ (Atlas V) ของบริษัทยูไนเต็ด ลอนช์ อัลไลแอนซ์ ทะยานขึ้นจากฐานปล่อยจรวดภายในศูนย์อวกาศเคนเนดี บนแหลมคานาเวอรัล ริมชายฝั่งรัฐฟลอริดา เมื่อเวลา 09.14 น. ตามเวลาท้องถิ่นของวันอาทิตย์ที่ผ่าน (20.14 น. ตามเวลาในประเทศไทย) ภายในอีกไม่กี่นาทีหลังจากนั้น ยาน “เอ็กซ์-37บี” ( X-37B ) ของกองทัพอากาศสหรัฐ ซึ่งเป็นพาหนะทดสอบวงโคจรและไร้คนขับ ผลิตโดยบริษัทโบอิ้ง ทำหน้าที่ปล่อย “ฟอลคอนแซต-เอต” ( FalconSat-8 ) ดาวเทียมขนาดเล็กเพื่อการวิจัย เข้าสู่วงโคจรโลกเพื่อปฏิบัติภารกิจ “ที่ละเอียดมากขึ้นกว่าภารกิจในอดีต” โดยในเบื้องต้นมีการเปิดเผยเพียงว่า ภารกิจของดาวเทียมฟอลคอนแซต-เอต “มีหลายอย่าง” รวมถึงการวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบของกัมมันตรังสีที่มีต่อเมล็ดพันธุ์ และการเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นคลื่นไมโครเวฟ อนึ่ง ภารกิจครั้งนี้ของยานฟอลคอนแซต-เอต…

เตรียมตัวเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรมสอดส่อง (surveillance industrial complex)

Loading

ที่มาภาพ: https://yourstory.com/2019/01/top-6-trends-surveillance-industry-2019 Written by Kim หลายประเทศทั่วโลกใช้เทคโนโลยีแบบใหม่ที่สามารถเฝ้าดูและสอดส่อง (surveillance) ความเคลื่อนไหวของประชาชน เพื่อที่จะควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19) แม้ประชาชนจำนวนหนึ่งเต็มใจแลกความเป็นส่วนตัวกับความมั่นคงปลอดภัย แต่เทคโนโลยีที่รัฐบาลนำมาใช้เป็นการชั่วคราวอาจมีบทบาทอย่างถาวรต่อการใช้ชีวิตประจำวันในอนาคตอันใกล้ ขณะนี้มีความกังวลเกี่ยวกับวิธีการที่รัฐบาลรวบรวม จัดเก็บและใช้ประโยชน์จากข้อมูลส่วนบุคคลที่สะสมไว้ คาดกันว่าโลกในยุคหลัง COVID-19 บริษัทเทคโนโลยีเอกชนและประเทศต่าง ๆ จะให้ความสำคัญเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนน้อยลงและหันไปมุ่งเน้นเทคโนโลยีที่จำเป็นสำหรับการรวบรวมข้อมูล เพื่อสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งและฝ่ายตรงข้ามตามลำดับ[1]           ปัจจุบัน เกาหลีใต้ อิสราเอลและสิงคโปร์ใช้ข้อมูลตำแหน่งที่อยู่ คลิปวิดีโอกล้องวงจรปิดและข้อมูลบัตรเครติตในการเฝ้าดูความเคลื่อนไหวของประชาชน โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการติดตามร่องรอยของไวรัสโคโรนา แม้ประชาชนส่วนหนึ่งเต็มใจแลกความเป็นส่วนตัวกับความมั่นคงปลอดภัย แต่เทคโนโลยีที่รัฐเสนอใช้ชั่วคราวจะมีบทบาทสำคัญต่อชีวิตประจำวันต่อไปและทำให้เกิดปมอุตสาหกรรมสอดส่อง (surveillance industrial complex) ที่เกี่ยวดองกับปมอุตสาหกรรมทหาร (military–industrial complex)[2] โดยบริษัทเทคโนโลยีเอกชนออกแบบและจัดหาเครื่องมือและอุปกรณ์สอดแนมที่ทันสมัยที่สุดแก่รัฐบาล องค์การและบุคคล (เอกชน) ซึ่งมีผลประโยชน์ร่วมกันจนแยกไม่ออก           จุดสิ้นสุดของความสัมพันธ์แบบนี้อาจเป็นการสืบทอดตัวเองไปเรื่อย ๆ ซึ่งเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก หลายคนอาจโต้แย้งว่าฉากทัศน์แบบนี้เกี่ยวข้องกับอนาคตค่อนข้างน้อยและเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตประจำวันในหลายภาคส่วนของโลก เพียงแค่พกพาโทรศัพท์อัจฉริยะ (smartphone) ผู้คนก็แพร่กระจายข้อมูลส่วนบุคคลที่สามารถระบุตัวตนได้ (personally identifiable information) โดยสมัครใจ เช่นเดียวกับข้อมูลที่รวบรวมจากสมาร์ทโฟนและอุปกรณ์อื่น ๆ ก็เข้าถึงได้อย่างง่ายดาย โดยการบุกรุกด้วยเครื่องมือเจาะระบบและมัลแวร์ อนึ่ง แนวคิดเรื่องอินเตอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง (Internet of Things – IoT) และพัฒนาการของ…

โคลอมเบีย-เนเธอร์เเลนด์ตรวจสอบ TikTok เรื่อง ‘ความเป็นส่วนตัว’ ของผู้เยาว์

Loading

FILE – The logo of the TikTok application seen on a mobile phone, Feb. 21, 2019. ทางการประเทศโคลอมเบียและเนเธอร์เเลนด์ กำลังตรวจสอบว่าแอพ TikTok ทำตามกฎหมายเรื่องการปกป้องข้อมูลและความเป็นส่วนตัวของผู้เยาว์หรือไม่ เจ้าหน้าที่โคลอมเบียแถลงถึงการตรวจสอบในวันอังคาร ขณะที่เนเธอร์เเลนด์เดินหน้าลักษณะเดียวกัน 4 วันก่อนหน้านั้น TikTok ซึ่งเป็นธุรกิจจีนในเครือบริษัท ByteDance ประสบความสำเร็จอย่างมหาศาล ช่วงการระบาดของโควิด-19 เนื่องจากคนนับล้านใช้เเพลตฟอร์มดังกล่าวเพื่อชมและแชร์เนื้อหาบันเทิงในช่วงวิกฤติ คาดว่ามีผู้ใช้ TikTok ประมาณ 500 ล้านถึง 1,000 ล้านคนทั่วโลก หน่วยงานตรวจสอบธุรกิจอุตสาหกรรมและการพาณิชย์ของโคลอมเบียกล่าวว่า ทางการจะพยายามพิจารณาว่า TikTok ดำเนินกิจการด้วยหลักแห่งการมีความรับผิดชอบหรือไม่ ส่วน DPA ซึ่งเป็นองค์กรรักษากฎหมายของเนเธอร์แลนด์ แสดงความกังวลเรื่องแนวทางการปกป้องข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้และยำ้ถึงความเสี่ยงต่อกลุ่มเยาวชนด้วย ———————————————————- ที่มา : VOA Thai / 15 พฤษภาคม 2563 Link…

Boeing นำเสนอต้นแบบโดรนต่อสู้ Loyal Wingman ลำแรกต่อกองทัพอากาศออสเตรเลีย

Loading

5 พฤษภาคม ทีมพัฒนาอุตสาหกรรมของ Boeing ในออสเตรเลียได้นำเสนอโดรนต่อสู้ที่เป็นเครื่องบินไอพ่นไร้คนขับ Loyal Wingman ลำแรกให้กับกองทัพอากาศออสเตรเลีย ซึ่งเป็นหนึ่งในสามของต้นแบบที่ได้รับการพัฒนาเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมการพัฒนาขั้นสูงของ Loyal Wingman หรือที่รู้จักกันในชื่อ Boeing Airpower Teaming System (ATS) ที่พัฒนาขึ้นเพื่อตลาดการป้องกันประเทศในทั่วโลก โดยได้ร่วมมือกับกองทัพอากาศออสเตรเลีย (RAAF) และเงินลงทุนในการพัฒนาจากรัฐบาลออสเตรเลีย 25.71 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดรน Loyal Wingman ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการขยายขีดความสามารถของแพลตฟอร์มที่ใช้คนควบคุมและไร้คนควบคุม ซึ่งเป็นโดรนลำแรกที่ได้ออกแบบและผลิตในออสเตรเลียมานานกว่า 50 ปี และเป็นการลงทุนในโดรนที่มากที่สุดนอกสหรัฐอเมริกาของ Boeing โดรน Loyal Wingman จัดว่าเป็นนวัตกรรมและหัวใจสำคัญในการป้องกันประเทศออสเตรเลียในอนาคต ซึ่งจะติดตั้งอาวุธเพื่อใช้ในการต่อสู้และการปกป้องทรัพย์สิน อย่างเช่น E-7A Wedgetail เครื่องบินเตือนภัยและควบคุมอากาศยานแบบแฝด รวมทั้งใช้ในการป้องกันเครื่องบินรบไอพ่น เช่น F-35A และ F/A-18E/F Super Hornet โดรนได้รับการออกแบบทางวิศวกรรมโดยใช้เทคโนโลยี Digital Twins ในการจำลองโครงสร้าง ระบบ…

กลุ่มแฮกเกอร์แอบขโมยข้อมูลผู้ใช้กว่า 73 ล้านรายการออกขายบนเว็บมืด

Loading

การใช้บริการอินเทอร์เน็ตไม่ว่าจะผ่านเว็บไซต์หรือแอป เมื่อเริ่มต้นสมัครการใช้งานทางผู้ให้บริการจะมีแบบฟอร์มให้ผู้ใช้กรอกข้อมูลส่วนตัวจัดเก็บไว้ในฐานข้อมูล บางครั้งข้อมูลเหล่านี้ได้รั่วไหลออกไปหรือถูกล้วงข้อมูลเพื่อนำไปใช้ประโยชน์โดยมิชอบ เลวร้ายถึงขนาดนำไปทำธุรกรรมออนไลน์ที่มีข่าวออกมาอย่างต่อเนื่อง ปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาแหล่งข่าว ZDNet เปิดเผยว่ามีกลุ่มแฮกเกอร์ ShinyHunters อ้างว่ากำลังขายฐานข้อมูลผู้ใช้งานประมาณ 73.2 ล้านรายการในตลาดเว็บมืด ซึ่งทำเงินได้ประมาณ 18,000 USD (579,060 บาท) โดยได้แอบขโมยฐานข้อมูลมาจากกว่า 10 บริษัทด้วยกัน ประมาณ 30 ล้านรายการมาจากแอปหาคู่ที่ชื่อว่า Zoosk, อีก 15 ล้านรายการมาจาก Chatbooks บริการพรินต์ภาพจาก Instagram, Facebook และแกลเลอรีในโทรศัพท์ในเวลาเพียง 5 นาที ส่วนที่เหลือมาจากเว็บไซต์ที่หลากหลาย ได้แก่ 1 ล้านรายการจากหนังสือพิมพ์ Star Tribune, รวม 8 ล้านรายการจากเว็บไซต์แฟชั่นและเฟอร์นิเจอร์ของเกาหลีใต้, 3 ล้านรายการจากเว็บไซต์ Chronicle of Higher Education นำเสนอข่าวสารข้อมูลและงานสำหรับนักศึกษาในวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย, 8 ล้านรายการจาก Home Chef บริการส่งมอบอาหาร, 5…

แอพช่วยติดตามผู้เข้าใกล้เชื้อโควิด 19 กับประเด็นความเป็นส่วนตัวของสหภาพยุโรป

Loading

สหภาพยุโรปได้ชื่อว่าเป็นผู้นำของโลกเรื่องการปกป้องคุ้มครองข้อมูลและความเป็นส่วนตัวของบุคคลโดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลในระบบดิจิตอล แต่ปัญหาการระบาดของโรคโควิด-19 รวมทั้งความจำเป็นเพื่อติดตามและเก็บข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อกำลังทำให้เกิดคำถามและข้อโต้แย้งเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพราะโดยปกติแล้วการสืบสวนโรคและติดตามผู้ได้ติดต่อสัมผัสกับผู้ที่มีเชื้อ หรือที่เรียกว่า contact tracing เพื่อการแจ้งเตือนและแยกตัวเองนั้นต้องใช้ทั้งเวลาและกำลังคนเป็นจำนวนมาก ดังนั้นขณะนี้หลายประเทศในยุโรปจึงหันมาพิจารณาใช้เทคโนโลยีในสมาร์ทโฟนเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว โดยวิธีที่ได้รับความสนใจมากที่สุดในปัจจุบันคือการใช้ระบบส่งสัญญาณบลูทูธจากโทรศัพท์มือถือเพื่อติดตามและเก็บข้อมูลเกี่ยวกับเจ้าของโทรศัพท์ผู้อาจเคยสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่มีเชื้อ และขณะนี้ก็มีระบบซึ่งเป็นทางเลือกใหญ่ๆ อยู่สองระบบด้วยกันในยุโรป โดยระบบหนึ่งซึ่งสนับสนุนโดยเยอรมนีมีชื่อเรียกย่อว่า PEPP-PT อาศัยการเก็บข้อมูลแบบรวมศูนย์เข้าไว้ที่เซิฟเวอร์ส่วนกลาง ในขณะที่อีกระบบหนึ่งซึ่งมีสวิตเซอร์แลนด์เป็นผู้นำและมีชื่อว่า DP3T นั้นไม่ใช้วิธีเก็บข้อมูลแบบรวมไว้ที่ศูนย์กลางแต่อย่างใด ผู้ที่สนับสนุนเรื่องการปกป้องความเป็นส่วนตัวเห็นด้วยกับระบบของสวิตเซอร์แลนด์ที่ไม่เก็บข้อมูลแบบรวมศูนย์เข้าส่วนกลางเพราะข้อมูลซึ่งไม่มีการระบุตัวตนผู้ใช้นี้จะถูกเก็บไว้เฉพาะในเครื่องโทรศัพท์เท่านั้น แต่ก็มีรัฐบาลของบางประเทศในยุโรปที่สนับสนุนระบบการเก็บข้อมูลแบบรวมเข้าที่เซิร์พเวอร์ส่วนกลางเพราะเห็นว่าฐานข้อมูลดังกล่าวจะเป็นประโยชน์สำหรับการตัดสินใจเชิงนโยบาย ดูเหมือนว่าขณะนี้ประเทศต่างๆ ในยุโรปกำลังแบ่งเป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ ในแง่การใช้ระบบเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อช่วยติดตามการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย กล่าวคือสวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย ไอร์แลนด์ และเอสโตเนียเป็นตัวอย่างของประเทศที่สนับสนุนการเก็บข้อมูลแบบไม่รวมศูนย์เข้าส่วนกลาง และมีอิตาลีกับเยอรมนีที่เริ่มเห็นด้วยในช่วงหลังนี้ขณะที่ฝรั่งเศสต้องการใช้ระบบเก็บข้อมูลแบบรวมศูนย์ของตนเอง แต่ก็มีบางประเทศอย่างเช่นนอรเวย์ซึ่งพัฒนาแอพของตนที่ไปไกลกว่านั้นคืออาศัยข้อมูลทั้งจากระบบ GPS และบลูทูธเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ใช้โทรศัพท์และอัพโหลดเข้าไปที่เซิร์ฟเวอร์ส่วนกลางทุกๆชั่วโมงเป็นต้น แต่สเปนนั้นกำลังพิจารณาจะผ่อนคลายมาตรการล็อคดาวน์และอาจไม่นำเทคโนโลยีเพื่อช่วยติดตามผู้สัมผัสใกล้ชิดดังกล่าวนี้มาใช้เลย การมีมาตรฐานที่แตกต่างกันระหว่างประเทศต่างๆ ในยุโรปในขณะนี้ทำให้ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีเตือนว่าปัญหาหนึ่งที่จะเกิดขึ้นคือแอพที่ใช้กับโทรศัพท์มือถืออาจจะไม่สื่อสารหรือส่งผ่านข้อมูลระหว่างกันเมื่อพลเมืองของประเทศหนึ่งเดินทางข้ามพรมแดนเข้าไปในอีกประเทศหนึ่ง และเห็นได้ชัดว่าความกังวลของกลุ่มที่สนับสนุนเรื่องการปกป้องความเป็นส่วนตัวก็คือถ้ารัฐบาลนำเทคโนโลยีช่วยด้าน contact tracing มาใช้เกินความจำเป็น เรื่องนี้ก็อาจนำไปสู่การติดตามสอดส่องความเคลื่อนไหวของประชาชนในวงกว้างโดยรัฐบาลที่นิยมใช้อำนาจเผด็จการได้ และถึงแม้ว่าโอกาสของการใช้แอพในโทรศัพท์มือถืออย่างเช่นที่เคยใช้ในเกาหลีใต้หรือฮ่องกงเพื่อติดตามเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จะเกิดขึ้นได้ยากในยุโรปนั้น นักวิเคราะห์ก็หวังว่าระบบที่สามารถตกลงกันได้ในกลุ่มสหภาพยุโรปจะช่วยสร้างมาตรฐานเรื่องการคุ้มครองความเป็นส่วนตัว ซึ่งประเทศอื่นๆในทวีปอื่นๆ จะสามารถนำมาใช้ได้เช่นกัน ————————————————————————– ที่มา : VOA Thai / 5 พฤษภาคม 2563 Link :…