‘แรนซัมแวร์’ ป่วนข้อมูลธุรกิจ พร้อม ‘จ่าย’ หรือ พร้อม ‘รับมือ’

Loading

    การโจรกรรมข้อมูลโดยกลุ่มแฮ็กเกอร์ที่กระทำการอย่างซับซ้อนกำลังเพิ่มมากขึ้น ทั้งในแง่จำนวนครั้งและขอบเขตการโจมตี   เพียร์ แซมซัน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายดูแลรายได้ บริษัท Hackuity เล่าว่า เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ช่วงปลายปี 2565 มีรายงานว่าเกิดการโจมตีทางไซเบอร์ครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ออสเตรเลียซึ่งกระทบต่อลูกค้าของ Optus บริษัทด้านโทรคมนาคมรวมแล้วกว่า 10 ล้านคน   สำหรับประเทศไทยเองก็พบปัญหาการละเมิดข้อมูลของโรงพยาบาลหลายแห่งรวมถึงกระทรวงสาธารณสุขในช่วงสองปีที่ผ่านมา ทำให้ข้อมูลส่วนตัวของผู้ป่วยรั่วไหลและถูกเรียกค่าไถ่เพื่อนำฐานข้อมูลกลับมาเหมือนเดิม   วันนี้อาชญากรไซเบอร์ เช่น Desorden Group คัดเลือกเหยื่ออย่างพิถีพิถัน โดยมุ่งเป้าไปที่กลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ในเอเชียที่มีช่องโหว่ชัดเจนซึ่งสามารถเจาะระบบได้ง่าย โดยจะลอบดึงข้อมูลจากบริษัทหรือองค์กรให้ตกเป็นเหยื่อ และข่มขู่ว่าจะเผยแพร่ข้อมูลเหล่านั้นหากไม่ยอมจ่ายค่าไถ่   หากไม่ได้รับการตอบกลับ อาชญากรกลุ่มนี้ก็จะทำให้เหยื่อได้รับความอับอายไปทั่ว ปล่อยข้อมูลให้รั่วไหล และยกระดับการกดดันให้เข้มข้นยิ่งขึ้น   “วายร้ายทุกวันนี้ไม่ได้อยากเก็บตัวแบบในอดีต หากแต่พร้อมที่จะป่าวประกาศและเปิดเผยรายละเอียดกับสื่อมวลชนว่าตนเองเจาะเข้าระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ของเหยื่ออย่างไร”   เตรียมพร้อม สกัดภัยไซเบอร์   ปัจจุบัน มีเพียงปัจจัยเดียวเท่านั้นที่ผู้ตกเป็นเป้าหมายสามารถควบคุมได้โดยสมบูรณ์ นั่นก็คือ ความพร้อม (หรือการขาดความพร้อม) ของตนเอง   ช่วงที่โควิดระบาด บริษัทหลายแห่งได้ควบรวมและจัดแจงรายจ่ายทางเทคโนโลยีใหม่ ทั้งได้มีการลงทุนเพื่อปรับธุรกิจให้เป็นระบบดิจิทัล ด้านฝ่ายไอทีก็เน้นไปที่การเปิดใช้ระบบการทำงานจากทางไกล เพื่อให้พนักงานและระบบภายในองค์กรมีความปลอดภัย…

สกมช.ผนึกหัวเว่ยระดมสมองร่วมหาแนวทางการป้องกันภัยไซเบอร์

Loading

    เวิร์กช้อป “ผู้นำองค์กร-สมาคมระดับประเทศ” ร่วมหาแนวทางการป้องกันหลังแฮ็กเกอร์ระบาดหนัก ด้าน กสทช.เล็งวางแนวปฏิบัติโอเปอร์เรเตอร์ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ขณะที่ “หัวเว่ย” เดินหน้าพัฒนา 5G สร้างระบบล็อครหัสเข้าแบบ 2 ชั้น ป้องกันการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล   สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ หรือ สกมช. จัดเสวนากลุ่มย่อย ภายใต้หัวข้อ “การรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ด้านการเงินธนาคาร ให้โครงข่ายสัญญาณโทรคมนาคมทั่วไทย กับความสำคัญต่อภาคประชาชนและธุรกิจ” ในงานนิทรรศการสัปดาห์วิชาการด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ปี 2566 (Thailand National Cyber Week 2023) โดยมี พล.อ.ต. อมร ชมเชย เลขาธิการ สกมช. น.ส.กนกอร ฉวาง ผู้อำนวยการส่วนการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) นายสุรชัย ฉัตรเฉลิมพันธุ์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายความปลอดภัยทางไซเบอร์และความเป็นส่วนตัวของบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด และนายกิตติพงษ์ ธีระเรืองไชยศรี Cyber Expert/Information Security…

ข้อเสีย 6 ประการของ ‘ระบบเอไอ’ ที่ต้องตระหนักถึง

Loading

  ต้นปี 2022 วงการไอทีต่างจับตามองเทคโนโลยีหลาย ๆ ดังเช่น บล็อกเชน คริปโทเคอเรนซี่ เอไอ เมตาเวิร์ส และไอโอที ว่าในช่วงปี 2022 จะมีความก้าวหน้ามากแค่ไหน แต่ก็ปรากฏว่าบางอย่างกลับไม่เป็นไปตามคาด โดยเฉพาะด้านคริปโทเคอเรนซี่ ที่เกิดผลกระทบทางลบอย่างรุนแรง   ต้นปี 2022 วงการไอทีต่างจับตามองเทคโนโลยีหลาย ๆ ดังเช่น บล็อกเชน คริปโทเคอเรนซี่ เอไอ เมตาเวิร์ส และไอโอที ว่าในช่วงปี 2022 จะมีความก้าวหน้ามากแค่ไหน แต่ก็ปรากฏว่าบางอย่างกลับไม่เป็นไปตามคาด โดยเฉพาะด้านคริปโทเคอเรนซี่ ที่เกิดผลกระทบทางลบอย่างรุนแรง ทำให้เทคโนโลยีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น บล็อกเชน หรือแม้แต่ เมตาเวิร์ส ไม่สามารถเติบโตได้อย่างที่คาดการณ์ไว้   แต่ก็ยังมีเทคโนโลยีบางตัวที่โดดเด่นไปอย่างมากโดยเฉพาะด้านเอไอ ที่ทำให้เทคโนโลยีไอทีอื่น ๆ ต้องนำมาใช้งานร่วมกัน โดยเราเห็นได้ว่าผู้คนให้ความสนใจทั้งในแง่ของการลงทุนและการทำวิจัยด้านนี้มากขึ้น ประสิทธิภาพของเอไอก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้เอไอสามารถทำงานหลายๆ อย่างได้ดีกว่ามนุษย์   นอกจากนี้ยังมีบริการและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ออกมาใหม่อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี…

9 แนวโน้มนวัตกรรมยุคใหม่แห่งปี 2023(3)

Loading

  เปรียบเทียบกับตอนอื่นนี่น่าจะเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่หลายคนเพิ่งตระหนักความน่ากลัว ความก้าวล้ำของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ควอนตัมคอมพิวเตอร์ และปัญญาประดิษฐ์ สู่นวัตกรรมที่อาจพลิกโฉมมนุษยชาติไปตลอดกาล   เข้าสู่ช่วงสุดท้ายของแนวโน้มนวัตกรรมแห่งปี 2023 ที่ขาดไปไม่ได้ย่อมต้องเป็นเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งหลาย โดยเฉพาะในส่วนของปัญญาประดิษฐ์ที่นำไปสู่ข้อถกเถียงขนานใหญ่ในสังคม     7. พัฒนาการจากความขัดแย้งของเซมิคอนดักเตอร์ ท่ามกลางวิกฤติโควิดหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลกระทบต่อโลกที่สุดคือ เซมิคอนดักเตอร์ ชิปขนาดจิ๋วที่สร้างผลกระทบแก่อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ทุกรูปแบบ และกลายเป็นตัวแปรสำคัญในความขัดแย้งภายใต้เขตปกครองพิเศษไต้หวัน   ช่วงที่ผ่านมาการพัฒนาของชิปและสินค้าอิเล็กทรอนิกส์มากมายหยุดชะงัก จากการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์จากบริษัท TSMC เมื่อรวมกับสงครามเทคโนโลยีระหว่าง สหรัฐฯ และ จีน แล้วจึงกลายเป็นความขัดแย้งครั้งใหญ่ ที่นำไปสู่การแตกหักของสองมหาอำนาจ   ล่าสุดจีนเริ่มทุ่มเม็ดเงินกว่า 5 ล้านล้านบาท เพื่อสนับสนุนโรงงานผลิตเซมิคอนดักเตอร์ในประเทศ เช่นเดียวกับสหรัฐฯที่ออกกฎหมาย CHIPS Act ดึงดูดบริษัทผลิตเซมิคอนดักเตอร์จากทั่วโลกเข้ามาตั้งโรงงานในประเทศด้วยงบสนับสนุนกว่า 1.8 ล้านล้านบาท โดยมีเงื่อนไขห้ามตั้งโรงงานผลิตในจีน 10 ปี   แม้ความขัดแย้งจะทำให้การพัฒนาหยุดชะงักไปขั่วคราว แต่เมื่อเม็ดเงินมหาศาลไหลเวียนเซมิคอนดักเตอร์จะได้รับการพัฒนายิ่งขึ้น การแข่งขันจะผลักดันการพัฒนาให้ถีบตัว เมื่อรวมกับความตื่นตัวในการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลก ในปี 2023 เราอาจมีชิปที่พัฒนาก้าวกระโดดขึ้นมาได้เช่นกัน     8.…

9 แนวโน้มนวัตกรรมยุคใหม่แห่งปี 2023(1)

Loading

  ความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีก้าวหน้าและรวดเร็วขึ้นทุกปี เป็นส่วนสำคัญช่วยในการขับเคลื่อนมนุษยชาติให้ก้าวไปข้างหน้า วันนี้เรามาดูกันเสียหน่อยว่าแนวโน้มวิทยาการที่กำลังจะมาถึงมีส่วนไหนที่น่าสนใจจนอาจเป็นนวัตกรรมแห่งปี 2023 บ้าง   ปี 2022 กำลังจะผ่านพ้นเชื่อว่าหลายท่านย่อมผ่านเรื่องราวมาร้อยพัน ภายหลังการแพร่ระบาดของสถานการณ์โควิดกับความพยายามในการฟื้นตัวอันยากเย็น ไหนจะสงครามยูเครน-รัสเซียที่หวิดเป็นชนวนให้เกิดสงครามโลกชวนเสียวไส้อยู่ทุกวัน ไปจนการร่วมแสดงความยินดีกับอาร์เจนติน่าและเมสซี่ที่ได้แชมป์ฟุตบอลโลก   ในด้านเทคโนโลยีก็เกิดเสียงฮือฮาขึ้นมากมาย ตั้งแต่การเปิดตัวโทรศัพท์สมาร์ทโฟนพับได้ของ Samsung, ความตื่นตัวทางเทคโนโลยีอวกาศของทั่วทุกมุมโลก, การล่มสลายของบริษัทคริปโตเคอเรนซี่, การส่งเสริมผลักดันงานพลังงานสะอาด, การกลับมาของพลังงานนิวเคลียร์ และที่ขาดไปไม่คือความก้าวหน้าของปัญญาประดิษฐ์อาจเข้ามาแทนที่มนุษย์   ความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีตลอดปี 2022 นั้นน่าทึ่ง วันนี้เราจึงมาคาดการณ์แนวโน้มเทคโนโลยีแห่งปี 2023 กันเสียหน่อยว่า เทคโนโลยีใดน่าจะเข้ามามีส่วนร่วมและเปลี่ยนแปลงชีวิตประจำวันของเราบ้าง     1. ความปลอดภัยทางไซเบอร์และข้อมูลส่วนตัว ช่วงปีที่ผ่านมาทั่วโลกตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลส่วนตัวมากยิ่งขึ้น เมื่อปัจจุบันข้อมูลของเราถูกนำไปใช้กับโลกออนไลน์เป็นจำนวนมากและตกอยู่ในความเสี่ยง โดยเฉพาะเมื่อเกิดการรั่วไหลของข้อมูลส่วนตัวของเราจากบริษัทต่างๆ ทำให้หลายท่านพากันตั้งคำถามด้านความปลอดภัยอีกครั้ง   สำหรับคนไทยย่อมเข้าใจในส่วนนี้เป็นอย่างดีจากการอาละวาดของ เครือข่ายคอลเซ็นเตอร์ ที่หยิบยกสารพัดเรื่องมากล่าวอ้าง ตั้งแต่เป็นหน่วยงานราชการ เป็นบริษัทพัสดุ หรือแม้แต่การหลอกเป็นเพื่อนหรือญาติของเป้าหมาย นำไปสู่การฉ้อโกงเม็ดเงินมูลค่ามหาศาล   จริงอยู่ว่าแนวโน้มการป้องกันแก้ไขดูไร้หนทาง เมื่อนี่ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นแค่เพียงในประเทศไทยแต่กระจายตัวไปทั่วทุกมุมโลก กระทั่งประเทศเจริญแล้วที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างสหรัฐฯ, ญี่ปุ่น หรือเกาหลีใต้เองยังหนีไม่พ้น แต่นั่นก็เป็นสิ่งยืนยันว่าทั่วโลกอาจต้องคิดหาทางแก้ปัญหาร่วมกัน   ทำให้ในปี…

ยุคทอง ’Machine Learning’ จุดเปลี่ยนไอทียุคใหม่

Loading

  รายงาน “Technology Radar” ฉบับล่าสุดโดย “Thoughtworks” บริษัทที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีชั้นนำคาดการณ์ว่า แมชีนเลิร์นนิงจะมีส่วนสำคัญต่อการขับเคลื่อนเทคโนโลยีไอโอทีและระบบการบริหารจัดการภายในต่าง ๆ   รีเบคกา พาร์สันส์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายเทคโนโลยี Thoughtworks ได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับ Machine Learning (แมชีนเลิร์นนิง) ว่าจากที่เคยต้องใช้ชุดข้อมูลขนาดใหญ่และการเข้าถึงพลังประมวลผลมหาศาลเพื่อจัดการกับปัญหาทางธุรกิจที่ซับซ้อนนั้น   ขณะนี้ องค์กรด้านไอทีสามารถใช้ประโยชน์จาก Machine Learning ได้เพิ่มขึ้น ทั้งยังสามารถนำไปปรับใช้ในหลายภาคส่วนมากขึ้น สืบเนื่องมาจากการพัฒนาของเครื่องมือ แอปพลิเคชัน และเทคนิคต่าง ๆ ที่ก้าวหน้าไปอย่างมาก     ท้าทาย การบริหารข้อมูล   ด้วยประสิทธิภาพในการคำนวณที่ดีขึ้นบนอุปกรณ์ทุกขนาดและทุกประเภท รวมทั้งการใช้เครื่องมือแบบ open-source ที่แพร่หลายและใช้งานได้ง่ายขึ้น ได้ส่งผลให้ Machine Learning สามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น แม้กระทั่งองค์กรที่มีขนาดเล็กมาก   นอกจากนี้ ข้อกำหนด และข้อควรระวังของข้อมูลส่วนบุคคลที่เข้มงวดมากขึ้น ได้ผลักดันให้องค์กรต่างๆ พยายามค้นหาเทคนิค เช่น federated machine learning…