‘โรโบคอป K5’ ตำรวจใหม่ลาดตระเวนสวนสาธารณะในแคลิฟอร์เนีย

Loading

ที่เมือง Huntington Park มีการจ้างตำรวจหน้าใหม่ดูแลความปลอดภัยให้สวนสาธารณะ ทำหน้าที่อย่างต่อเนื่องไม่ต้องพักเที่ยง ไม่มีพักร้อน ไม่ขอขึ้นเงินเดือนและไม่มีประกันสุขภาพ และนี่คือโรโบคอปที่นำมาใช้งานแล้วจริงๆ เมือง Huntington Park รัฐแคลิฟอร์เนีย เริ่มใช้โรโบคอปหรือตำรวจหุ่นยนต์ดูแลความปลอดภัยให้สวนสาธารณะที่ใหญ่ที่สุดของเมือง ตลอด 24 ชั่วโมงแบบไม่มีวันหยุด โดยหน้าที่หลักคือการสอดส่องและบันทึกภาพเคลื่อนไหวเพื่อสร้างความปลอดภัย โรโบคอปรุ่น K5 นี้ถูกออกแบบมาเพื่อดูแลความปลอดภัยในพื้นที่สาธารณะ อย่างเช่น โรงพยาบาล ที่จอดรถ สนามบิน รวมไปถึงสวนสาธารณะ นายคอสเม โลซาโน (Cosme Lozano) หัวหน้าตำรวจเมือง Huntington Park กล่าวว่า “ตำรวจหุ่นยนต์นี้มีกล้อง 360 องศาและสามารถบันทึกภาพได้แม้จะมีแสงน้อยอย่างในเวลากลางคืน รวมถึงมีปุ่มขอความช่วยเหลือฉุกเฉินที่เชื่อมต่อกับศูนย์ที่มีทีมงานคอยดูแลตลอดเวลา โดยตำรวจสามารถเห็นภาพสถานการณ์ในพื้นที่ได้ผ่านกล้องของหุ่นยนต์ สำหรับเส้นทางการตรวจนั้นจะถูกโปรแกรมไว้ล่วงหน้าซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนทั้งเส้นทางและกิจกรรมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ได้” ตัวอย่างความสามารถที่น่าสนใจของโรโบคอปก็คือ สามารถบันทึกเลขทะเบียนรถที่ผ่านไปมาเพื่อเทียบกับระเบียนประวัติของรถที่ถูกขโมยผ่านระบบออนไลน์ รวมถึงสามารถระบุตำแหน่งของโทรศัพท์ไอโฟนที่สูญหายโดยตรวจสอบจากเลขเฉพาะของมือถือแต่ละเครื่องได้ อีกคุณสมบัติที่น่าสนใจคือ Self-charging หรือการที่หุ่นยนต์สามารถเพิ่มพลังงานให้ตัวเองเมื่อระดับแบตเตอรี่ต่ำลง ทางด้านนางคาริน่า มาซิเอส (Karina Macias) นายกเทศมนตรีเมือง Huntington Park อธิบายเหตุผลที่สนับสนุนการใช้งานตำรวจหุ่นยนต์นี้ว่า “สวนสาธารณะแห่งนี้มีขนาดใหญ่ที่สุดของเมือง และเรายังมีความกังวลในเรื่องของความปลอดภัย ดังนั้นจึงต้องการหาวิธีที่ช่วยตำรวจในการสอดส่องตลอด…

ตรวจสอบด่วน! พบ Google Calendar จำนวนมากเปิดแชร์แบบสาธารณะ ข้อมูลความลับอาจรั่วไหลได้

Loading

Google Calendar เป็นบริการจดบันทึกตารางกิจกรรมในปฏิทิน ซึ่งสามารถใช้งานแบบออนไลน์ได้ หนึ่งในความสามารถเด่นของบริการนี้คือผู้ใช้สามารถตั้งค่าอนุญาตสิทธิ์การเข้าถึงหรือแก้ไขข้อมูลในปฏิทินให้กับบุคคลอื่นหรือเปิดให้เข้าถึงแบบสาธารณะได้ อย่างไรก็ตาม มีรายงานว่าปฏิทินจำนวนมากที่ควรเป็นข้อมูลส่วนตัวกลับถูกเปิดให้บุคคลภายนอกเข้าถึงหรือแก้ไขข้อมูลได้ เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2562 นักวิจัยด้านความมั่นคงปลอดภัยชื่อ Avinash Jain ได้รายงานว่าพบ Google Calendar หลายพันรายการถูกตั้งค่าสิทธิ์ให้บุคคลภายนอกสามารถเข้าไปดูข้อมูลได้ รวมถึงปรากฎข้อมูลในปฏิทินดังกล่าวในผลการค้นหาจาก search engine ด้วย ในรายงาน นักวิจัยพบว่ามีปฏิทินกว่า 7,000 รายการที่ถูกเปิดเป็นสาธารณะโดยไม่ตั้งใจ ซึ่งในปฏิทินดังกล่าวมีข้อมูลสำคัญ เช่น นัดหมายการประชุม นัดหมายสัมภาษณ์งาน ข้อมูลภายในองค์กร กิจกรรมในครอบครัว หรือกิจกรรมสำคัญอื่น ๆ เจ้าของปฏิทินอาจมีความเสี่ยงถูกนำข้อมูลส่วนตัวไปใช้ประโยชน์ในทางมิชอบ เพื่อป้องกันไม่ให้บุคคลภายนอกสามารถเข้าถึงข้อมูลในปฏิทินได้ ผู้ใช้ควรตรวจสอบการตั้งค่าสิทธิ์ของปฏิทิน โดยไม่ควรตั้งเป็นสาธารณะ หากจำเป็นต้องแชร์ควรกำหนดสิทธิ์ให้อนุญาตเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ผู้ใช้สามารถตรวจสอบการตั้งค่าสิทธิ์ของปฏิทินได้ตามวิธีดังต่อไปนี้ 1. เข้าไปยังเว็บไซต์ https://calendar.google.com/ 2. ไปที่เมนู “การตั้งค่า” (Settings Menu) โดยจะเป็นสัญลักษณ์รูปฟันเฟืองด้านขวาบน 3. เลือก “การตั้งค่า” (Settings) 4.…

‘แบงก์-ตำรวจ-ธปท.’ ประเดิมเทรนด์เอไอตรวจจับใบหน้า

Loading

เนคเทคเปิดเวทีวิชาการตั้งโจทย์สงสัยหัวข้อ “เทคโนโลยีรู้จำใบหน้า ประเทศไทยพร้อมใช้แล้วจริงหรือ” ดึงนักการธนาคาร ธปท. นักกฎหมายและนักเทคโนโลยี ขึ้นเวทีแชร์ประสบการณ์ที่ได้ใช้เทคโนโลยีนี้ในการทำงาน เนคเทคเปิดเวทีวิชาการขับเคลื่อนเทคโนโลยีเอไอ “ระบบรับรู้จำใบหน้า” มุ่งเพิ่มประสิทธิภาพการยืนยันตัวตน เพิ่มมูลค่าให้กับธุรกิจและสร้างมาตรฐานในการรักษาความปลอดภัย ธปท.เปิดแซนด์บอกซ์การใช้ไบโอเมตทริกซ์ตรวจสิทธิหรือแสดงตน ด้านนักกฎหมายแนะเพิ่มความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล สร้างการยอมรับจากผู้ใช้งาน ระบบรับรู้จำใบหน้า (Face Recognition) เป็นเทคโนโลยีไบโอเมตริกซ์สำหรับตรวจสอบและระบุตัวตนของบุคคล โดยเปรียบเทียบลักษณะใบหน้าจากฐานข้อมูลภาพใบหน้า ผ่านการวิเคราะห์และประมวลผลด้วยปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) ที่ประยุกต์ใช้งานกันอย่างแพร่หลายในทุกแวดวง เนื่องจากช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการยืนยันตัวตน ทำให้ผู้ใช้งานได้รับความสะดวกมากขึ้น สายการเงินใช้ยืนยันตัวตน การใช้งานของ “ระบบรับรู้จำใบหน้า” ในมุมมองของภาคธนาคารอย่าง ทัดพงศ์ พงศ์ถาวรกมล Principal Visionary Architech บริษัท กสิกร แล็บส์ จำกัด ในเครือของธนาคารกสิกรไทย ที่ถูกสะท้อนออกมาในการสัมมนาภายใต้หัวข้อ “เทคโนโลยีรู้จำใบหน้า ประเทศไทยพร้อมใช้แล้วจริงหรือ” ในงานประชุมวิชาการประจำปี 2562 เนคเทค กล่าวว่า เป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญต่อการให้บริการลูกค้าในวงการธนาคาร ซึ่งก่อนหน้านี้ได้เริ่มวิจัยนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับเดโม่ในบริษัทผ่าน Face Pay ในการจ่ายเงินโดยใช้ใบหน้าของผู้มาใช้บริการแทนกระเป๋าสตางค์ ระบบจะรู้ได้ทันทีว่าบุคคลนั้นมีชื่อว่าอะไร และลิงค์กับบัญชีโดยอัตโนมัติ ถือเป็นกระบวนการที่ง่ายต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่โดยใช้เทคนิค ‘ดีพ เลินนิ่ง’ (Deep Learning)…

สุดยอด!…ระบบป้องกันภัยซาอุฯ ถูกทำลายด้วยโดรนราคาถูก

Loading

การโจมตีโรงกลั่นน้ำมัน 2 แห่ง ในซาอุดิอาระเบีย แสดงให้เห็นว่าระบบป้องกันภัยทางอากาศถูกทำลายอย่างง่ายดายโดยเทคโนโลยีราคาถูก และไม่สามารถป้องกันได้ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูง ไม่ว่าจะเป็นขีปนาวุธหรือเครื่องบินขับไล่อย่าง F-15 ซาอุดิอาระเบีย ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในผู้ซื้ออาวุธรายใหญ่ที่สุดของโลก เมื่อปีที่แล้วเพิ่งซื้ออาวุธไป 65,000 ล้านดอลลาร์ โดยมีสหรัฐฯ เป็นคู่ค้ารายใหญ่ มีระบบป้องกันภัยทางอากาศ ที่รวมถึงเรดาร์ เครื่องบินขับไล่หลายรุ่น เช่น F-15 และขีปนาวุธที่สามารถสกัดขีปนาวุธที่ถูกยิงมาจากดินแดนของศัตรูได้อย่างแม่นยำ แต่เมื่อวันเสาร์ โรงกลั่นน้ำมันของบริษัทอารัมโก 2 แห่ง กลับถูกโจมตีด้วยฝูงโดรนของกลุ่มกบฎฮูตี ที่เป็นกองกำลังกลุ่มเล็กๆ ทำให้ต้องระงับการผลิตน้ำมัน 5.7 ล้านบาร์เรล/วัน ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า กลุ่มฮูตีเจาะช่องโหว่ระบบป้องกันภัยทางอากาศ และยังใช้เทคโนโลยีราคาถูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยโดรนเพียง 10 ลำ นี่ไม่ใช่ครั้งแรก เพราะฮูตีเคยใช้โดรนแทรกซึมน่านฟ้าซาอุฯและถ่ายรูปโรงงานผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเล และโจมตีท่อส่งน้ำมันไปยังทะเลแดงด้วย ส่วนโดรนที่ใช้น่าจะเป็น “แซมแม้ด ทรี” ที่สามารถบรรทุกระเบิดและเล่นงานเป้าหมายที่อยู่ไกลถึง 1,500 ก.ม. ———————————————————————- ที่มา : Nation TV / 17 กันยายน 2562 Link…

อังกฤษห้ามผู้เข้าสอบใส่นาฬิกาทุกชนิดเพื่อป้องกันการทุจริต

Loading

เป็นเรื่องยากสำหรับผู้คุมสอบที่จะแยกระหว่างนาฬิกาธรรมดาทั่วไปกับนาฬิกาอัจฉริยะหรือสมาร์ทวอทช์ (Smart Watch) หรือแม้แต่ให้ผู้คุมสอบตรวจนาฬิกาผู้เข้าสอบทุกคน สหราชอาณาจักรจึงพิจารณาห้ามใส่นาฬิกาทุกชนิดเข้าห้องสอบเพื่อป้องกันการทุจริต คณะกรรมการอิสระด้านการทุจริตการสอบ (The Independent Commission on Examination Malpractice) รายงานว่า มีการทุจริตการสอบอยู่ในระดับต่ำมาก แต่ถึงกระนั้นการห้ามใส่นาฬิกาทุกประเภท รวมถึงอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้นั้น จะช่วยลดความเป็นไปได้ที่ผู้สอบจะเข้าถึงการใช้งานอินเทอร์เน็ตในช่วงสอบได้ แนวคิดนี้ไม่ใช่แนวคิดใหม่แต่อย่างใด โรงเรียนบางแห่งในสหรัฐอเมริกาก็ได้สั่งห้ามนำนาฬิกาข้อมือเข้าห้องสอบมาแล้ว แต่นี่เป็นคำแนะนำจากหน่วยงานควบคุมการวัดคุณสมบัติและการสอบ (The Office of Qualifications and Examinations Regulation หรือ Ofqual) ที่กำกับดูแลทุกโรงเรียนในสหราชอาณาจักร ซึ่งคาดว่าจะบังคับใช้กฎเรื่องการห้ามใส่นาฬิกาเข้าสอบในทุกการจัดสอบภายในฤดูร้อนปีหน้า ปัญหาส่วนหนึ่งก็เนื่องมาจากความสามารถในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของอุปกรณ์ หลายปีก่อนเคยมีนักเรียนแอบใส่นาฬิกาที่เป็นเครื่องคิดเลขเข้าสอบ แต่หน้าตาอุปกรณ์นั้นดูแยกแยะได้ชัดเจนจากนาฬิกาทั่วไป ซึ่งต่างจากสมาร์ทวอทช์ในปัจจุบันนี้ แน่นอนว่านาฬิกาไม่ใช่วิธีเดียวที่ใช้ในการทุจริต ทางคณะกรรมาธิการยังเสนอให้คอยตรวจสอบเว็บเถื่อนที่อาจจำหน่ายข้อสอบและคอยตรวจตราห้องน้ำในช่วงสอบเพื่อให้แน่ใจว่านักเรียนไม่ได้ซ่อนโน้ตหรือโทรศัพท์ไว้ ——————————————– ที่มา : ADPT News / 13 กันยายน 2562 Link : https://www.adpt.news/2019/09/13/uk-may-ban-all-watches-during-exams-to-prevent-cheating/

เตือนสาวผู้ใช้แอปติดตามรอบเดือน เสี่ยงข้อมูลถูกแชร์ให้ Facebook

Loading

Privacy International กลุ่มผู้สนับสนุนการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจากสหราชอาณาจักร ออกมาแจ้งเตือนหญิงสาวผู้ใช้แอปพลิเคชันสำหรับติดตามรอบเดือนหลายล้านราย เสี่ยงข้อมูลสุขภาพไม่ว่าจะเป็น รอบเดือน ชีวิตบนเตียง การใช้ยาคุม อาการป่วย และอื่นๆ ถูกเปิดเผยให้ Facebook โดยไม่รู้ตัว แม้ว่าคุณจะไม่ได้เล่น Facebook ก็ตาม แอปพลิเคชันติดตามรอบเดือน เป็นหนึ่งในแอปพลิเคชันยอดนิยมที่เหล่าหญิงสาวดาวน์โหลดมาใช้งานเพื่อติดตามรอบเดือนของตนเอง รวมไปถึงผู้ที่ต้องการมีบุตร เนื่องจากแอปพลิเคชันดังกล่าวสามารถติดตามช่วงที่ไข่ตกเพื่อเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้ และเพื่อให้การคำนวณมีความแม่นยำ ผู้ใช้จำเป็นต้องบันทึกข้อมูลสุขภาพและข้อมูลส่วนบุคคลเชิงลึก เช่น วันที่มีเพศสัมพันธ์ วันที่มีประจำเดือน อาการป่วย สุขภาพจิต และอื่นๆ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ถือเป็นข้อมูลลับที่ส่วนใหญ่ไม่ต้องการเปิดเผยให้ผู้อื่นทราบ อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบของ Privacy International พบว่า แอปพลิเคชันติดตามรอบเดือนหลายรายที่มียอดดาวน์โหลดนับล้าน ได้แชร์ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้ไปยัง Facebook และบริการภายนอกอื่นๆ แม้ว่าคุณจะไม่ได้ล็อกอินผ่านทางบัญชี Facebook หรือมีบัญชี Facebook ก็ตาม โดยข้อมูลเหล่านี้จะถูกแชร์ผ่านทาง SDK ของ Facebook ที่ติดมากับแอป เพื่อให้ Facebook นำข้อมูลไปใช้ทำแคมเปญโฆษณาต่อ ในขณะที่เจ้าของแอปก็จะได้ค่าตอบแทนกลับคืนมาเช่นกัน แอปพลิเคชันที่ส่งข้อมูลให้ Facebook ได้แก่…