แฮกเกอร์เกาหลีเหนือ’ สุดยอด ‘หน่วยโจมตีไซเบอร์’ ยุคใหม่

Loading

ก่อนอื่นเรามาดูข้อมูลจากรายงานของบริษัทด้านความปลอดภัยไซเบอร์ CrowdStrike  ซึ่งเป็นเอกสาร 77 หน้าในชื่อ Global Threat Report โดยจัดอันดับประเทศถิ่นที่อยู่ของแฮกเกอร์ที่สามารถเจาะระบบความปลอดภัยของคอมพิวเตอร์ได้เร็วที่สุดในโลกในปี 2018 ซึ่งเป็นข้อมูลการถูกโจมตีทางไซเบอร์ทุกครั้งของลูกค้าบริษัทนี้ทั้งองค์กรของรัฐและเอกชนใน 176 ประเทศ ซึ่งระยะเวลาเฉลี่ยที่สามารถโดนแฮ็กได้นั้นมีความสำคัญต่อคนที่ทำงานด้านความปลอดภัยไซเบอร์ที่จะตอบสนองและป้องกันความเสียหายต่อระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งพบว่าแฮ็กเกอร์ในประเทศรัสเซียสามารถเจาะระบบความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ได้เร็วที่สุดในโลก โดยมีค่าเฉลี่ยเวลาที่ใช้เจาะระบบเพียง 18 นาที 47 วินาทีเท่านั้น ที่น่าสนใจคือ อันดับ 2 ได้แก่ แฮ็กเกอร์ในประเทศเกาหลีเหนือ ซึ่งพวกเขาสามารถทำได้ด้วยเวลาเฉลี่ยเพียง 2 ชั่วโมง 20 นาที ส่วนอันดับ 3 คือแฮ็กเกอร์ในประเทศจีนโดยใช้เวลาเฉลี่ย 4 ชม. 37 นาที ทั้งนี้เป็นเวลาที่เพิ่มขึ้นจาก 1 ชม. 58 นาทีที่ทำได้ในปี 2017 จากหลากหลายปัจจัย โดยพบจำนวนที่เพิ่มขึ้นอย่างน่าสนใจของแฮ็กเกอร์เมืองจีนที่พยายามเจาะระบบความปลอดภัยไซเบอร์ในสหรัฐฯ สำหรับเกาหลีเหนือมีกลุ่มแฮ็กเกอร์ที่เรียกว่า APT ย่อมาจาก Advanced Persistent Threat โดย FireEye ซึ่งเป็นบริษัทความปลอดภัยไซเบอร์ชั้นนำในสหรัฐฯระบุว่า APT…

รัฐบาลสิงคโปร์สั่งขึ้นทะเบียนโดรนทุกลำ หลังเหตุป่วนสนามบินนานาชาติชางงี

Loading

รัฐบาลสิงคโปร์เตรียมออกกฎหมายให้โดรนทุกลำในประเทศต้องขึ้นทะเบียนก่อนนำไปใช้งาน พร้อมเล็งเพิ่มบทลงโทษสำหรับผู้ที่ละเมิดกฎหมาย โดยรัฐบาลให้เหตุผลว่าจำเป็นต้องมีมาตรการควบคุมอย่างเข้มงวดหลังจากเกิดเหตุโดรนบินป่วนท่าอากาศยานนานาชาติสิงคโปร์ชางงี ส่งผลให้เที่ยวบินหลายลำเกิดการล่าช้าจนถึงขั้นต้องปิดรันเวย์เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ด้านนาย Lam Pin Min in รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมสิงคโปร์ เผยถึงเหตุผลการขึ้นทะเบียนโดรนว่าจะสร้างความมั่นใจให้กับสารการบินและผู้ใช้งานสนามบินได้ เพราะจะทำให้นักบินโดรนจะทำการบินอย่างมีความรับผิดชอบ แต่ทางกระทรวงยังไม่สามารถระบุวันเวลาที่จะเริ่มบังคับใช้กฎหมายได้แน่ชัด แต่จะพยายามให้ทันภายในเดือนหน้า อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันกฎหมายสิงคโปร์ห้ามการนำโดรนบินภายในรัศมี 5 กิโลเมตร หรือที่ระดับความสูง 61 เมตร ของสนามบินและฐานทัพทหาร โดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งผู้กระทำผิดมีระวางโทษจำคุกสูงสุด 1 ปี และปรับไม่เกิน 20,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ และท่าอากาศยานนานาชาติสิงคโปร์ชางงี นับเป็นหนึ่งในท่าอากาศยานที่มีผู้โดยสารมากที่สุดในโลก ให้บริการผู้โดยสารจำนวนถึง 65.6 ล้านคนในปีที่แล้ว ที่มาข่าวและภาพประกอบ: Channel News Asia, 8/07/2019 Link : https://www.tcijthai.com/news/2019/7/asean/9202

จีนแอบใส่แอปฯ ลับในมือถือนักท่องเที่ยว เก็บข้อมูลส่วนบุคคล-ข้อความ-ประวัติการโทร เฝ้าระวังข้อมูลที่อาจเป็นปัญหา

Loading

การท่องเที่ยวในจีนอาจไม่ปลอดภัยอีกต่อไป เมื่อทางการจีนแอบติดตั้งซอฟต์แวร์บางตัวลงในโทรศัพท์มือถือของนักท่องเที่ยว กระบวนการแทรกแซงทางข้อมูลของตำรวจตรวจคนเข้าเมืองของประเทศจีนนี้ถูกเปิดเผยออกมา เมื่อนักท่องเที่ยวเปิดเผยร่องรอยของซอฟต์แวร์ที่หลงเหลือในโทรศัพท์ของเขากับสื่อ ก่อนทีมสืบสวนของสำนักข่าวเดอะการ์เดียนและพันธมิตรระหว่างประเทศจะร่วมกันติดตามกรณีล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชนครั้งนี้และพบว่าตำรวจตรวจคนเข้าเมืองของจีนจะแอบติดตั้งแอปพลิเคชันบางอย่างในโทรศัพท์ของนักเดินทางที่เดินทางเข้าสู่เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ผ่านทางประเทศคีร์กีซสถาน นอกจากนั้น นักท่องเที่ยวหลายรายยังเปิดเผยว่าเจ้าหน้าที่ของทางการจีนจะขอให้นักท่องเที่ยวส่งมือถือพร้อมรหัสสำหรับเข้าใช้งานให้กับเจ้าหน้าที่ ก่อนจะนำโทรศัพท์หายเข้าไปในห้องราว 1-2 ชั่วโมงและนำกลับออกมาให้ในภายหลัง ซึ่งจากการติดตามดูโทรศัพท์ส่วนมากจะถูกถอนการติดตั้งของแอปฯ ออกไปก่อนส่งคืน แต่ในบางครั้งนักท่องเที่ยวก็พบว่าแอปฯ ยังอยู่ในเครื่องของพวกเขา โดยแอปฯ ดังกล่าวจะทำหน้าที่ดาวน์โหลดข้อมูลส่วนบุคคลหลายอย่าง ทั้งข้อความ ข้อมูลติดต่อ และประวัติการใช้งานบางอย่างส่งกลับไปที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองที่หน้าด่าน โดยเฉพาะผู้ที่เข้าเมืองผ่านทางเขตพรมแดน Irkeshtam ซึ่งอยู่สุดเขตตะวันตกของจีนที่มีการหลงเหลือของร่องรอยการติดตามในโทรศัพท์ของนักท่องเที่ยวเป็นประจำ ขณะเดียวกัน ยังไม่สามารถทราบได้ว่าข้อมูลดังกล่าวถูกดูดออกไปเพื่ออะไรและทางการจีนจะเก็บข้อมูลเหล่านั้นไว้นานแค่ไหน และแม้ว่าจะไม่พบหลักฐานการติดตามข้อมูลภายหลังจากการเดินทางผ่านข้ามแดน แต่ข้อมูลภายในเครื่องก็ยังสามารถใช้ในการติดตามค้นหาตัวตนของเจ้าของเครื่องได้ ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์โดยสำนักข่าวเดอะการ์เดียน นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยไซเบอร์ ระบุว่า แอปฯ ดังกล่าวที่ถูกออกแบบโดยบริษัทในจีนจะค้นหาข้อมูลที่ทางการจีนคิดว่าเป็น “ปัญหา”  ซึ่งหมายรวมถึงคำศัพท์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับลัทธิหัวรุนแรง Islamist และคู่มือปฏิบัติการอาวุธ รวมถึงข้อมูลอื่นๆ อย่างการถือศีลอดในช่วงรอมฎอนจนถึงวรรณกรรมของดาไลลามะ และวงดนตรีเมทัลจากญี่ปุ่นชื่อ Unholy Grave โดยกระบวนการล่วงละเมิดนี้เป็นส่วนหนึ่งของความเข้มงวดที่จีนมีต่อเขตปกครองตนเองซินเจียง ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลจีนได้ควบคุมเสรีภาพในพื้นที่ดังกล่าวโดยการติดตั้งกล้องสำหรับจดจำใบหน้าประชากรมุสลิมทั่วท้องถนนและมัสยิด รวมถึงมีรายงานว่ามีการบังคับให้ประชาชนในพื้นที่ดาวน์โหลดซอฟต์แวร์เพื่อติดตามโทรศัพท์ของพวกเขา ด้าน Edin Omanović หนึ่งในกลุ่มรณรงค์ด้านความเป็นส่วนตัวระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า “มันน่าตกใจมากที่เพียงแค่การดาวน์โหลดแอปฯ หรือบทความข่าวอาจทำให้ผู้คนต้องเข้าค่ายกักกัน” เช่นเดียวกับ Maya…

อินเทอร์เน็ตไวไฟ (Wi-Fi) ในที่ทำงานสะดวก… แต่มาพร้อมความเสี่ยง!! จริงหรือ?

Loading

วันนี้โลกของการทำงานที่ต้องการความสะดวกรวดเร็วในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต จากทุกที่ ทำให้มีความนิยมใช้ Wi-Fi มากขึ้น แต่ในความสะดวกนั้นกับมาพร้อมเสี่ยงด้วยเช่นกัน… highlight เหล่าแฮกเกอร์จะสามารถใช้ช่องทางการเชื่อมต่อแบบไร้สายที่ขาดการป้องกันที่ดีมากเพียงพอทำอะไรได้บ้าง? คงต้องบอกว่าทำได้หลายรูปแบบ จนนับแทบไม่ไหว แต่พฤติกรรมที่เห็นบ่อย ๆ ที่ได้มีการเปิดเผยจาก จากผู้ให้บริการทางด้านโซลูชั่นปกป้องคุ้มครองโครงข่าย ระบุ ได้ 3 แบบด้วยกัน ได้แก่ ใช้ขุดรหัสผ่าน, ใช้ช่องโหว่ของเฟิร์มแวร์ และช่องทางแฝงจากเครือข่ายของบุคคลทั่วไป Wi-Fi ในที่ทำงาน สะดวกแต่มีความเสี่ยง ทุกวันนี้ที่ทำงานแทบจะทุกที่มีการบริการอินเตอร์เน็ตไร้สาย หรือ ไว-ไฟ ทั่วทั้งออฟฟิศ และในบางออฟฟิศก็มากกว่า 1 จุด ซึ่งการเติบโตขึ้นของความนิยมใช้งานระบบอินเทอร์เน็ตแบบไร้สายนี้เกิดขึ้นจากความต้องการความสะดวกสบาย ไม่ต่อสายสายแลน (Local Area Network หรือ LAN) เข้าโน้ตบุ้ค หรือคอมพิวเตอร์พีซี ให้น่ารำคาญ อีกทั้งจากการเติบโตของการใช้อุปกรณ์อื่น ๆ อาทิ สมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต ในการทำงานก็เพิ่มขึ้นอย่างมาก ทำให้แนวโน้มในการใช้อินเทอร์เน็ตผ่านสายลดน้อย ซึงแม้ว่าการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านสายจะสามารถความเสถียรของสัญญาณได้มากกว่าก็ตาม แต่หลายองค์กรก็เลือกที่จะใช้งานแบบไร้สายมากกว่า และแม้ว่าการใช้งานอินเทอร์เน็ตแบบไร้สาย จะสะดวกสบายแค่ไหน แต่ก็มาพร้อมด้วยความเสี่ยงด้วยเช่นกัน และสามารถสร้างความเสียหายได้อย่างมหาศาลเกินกว่าจะคาดคิด เพราะที่มีการปล่อยสัญญาณอยู่ตลอดเวลา จากจุดนี้เหล่าแฮกเกอร์สามารถใช้เป็นช่องทางในการโจมตีได้อย่างไม่อยากเย็น…

ชุมนุมยุค 2019 ชาวฮ่องกงป้องกันการสอดแนมออนไลน์ และไม่ทิ้งรอยเท้าดิจิทัลอย่างไร

Loading

แม้จะใช้เครื่องมือดิจิทัลต่างๆ มากมายในการชุมนุมเพื่อต่อต้านร่างกฎหมายส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนไปยังจีนแผ่นดินใหญ่ของชาวฮ่องกงครั้งนี้ แต่ประสบการณ์จาก Occupy Central เมื่อปี 2014 ก็ทำให้ผู้ชุมนุมปรับเปลี่ยนกลวิธีเพื่อปกป้องตัวเองเพิ่มขึ้น ให้ความสำคัญกับการรักษาข้อมูลส่วนตัวในการใช้เครื่องมือดิจิทัลมากขึ้น เพราะเกรงว่าอาจถูกนำมาใช้ดำเนินคดีทางกฎหมายได้ในภายหลัง เมื่อปี 2014 แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียกำลังได้รับความนิยม มีการใช้เฟซบุ๊กและทวิตเตอร์อย่างกว้างขวาง ครั้งนั้นตำรวจจับกุมชายคนหนึ่ง โดยอ้างว่าเขาโพสต์ข้อความชวนคนมาชุมนุมผ่านเว็บบอร์ด  และมีการส่งข้อความที่เป็นมัลแวร์แพร่กระจายไปทั่ววอทซแอป (WhatsApp) ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นการติดตั้งซอฟต์แวร์แอบดักฟังโดยเจ้าของเครื่องไม่รู้ตัว นักวิจัยกล่าวว่าส่วนใหญ่มาจากรัฐบาลจีน ผู้ชุมนุมส่วนใหญ่เติบโตมาในโลกดิจิทัล และตระหนักดีถึงอันตรายจากการสอดแนมและการทิ้งรอยเท้าดิจิทัล ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีจดจำใบหน้าจากจีนแผ่นดินใหญ่และการเก็บข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ทำให้ผู้ชุมนุมเตรียมหาทางหลบหลีกเทคโนโลยีการสอดส่องประชาชนหลายรูปแบบ ครั้งนี้ ในวันแรกๆ ของการชุมนุมมีการเผยแพร่คู่มือ คีย์บอร์ด ฟรอนท์ไลน์ องค์กรรณรงค์เสรีภาพเน็ต เผยแพร่แผ่นพับว่าด้วยการปกป้องตัวตนสำหรับผู้ชุมนุม ตั้งแต่แนะนำไม่ให้ใช้ไวไฟสาธารณะ ทิ้งโทรศัพท์ไว้ที่บ้าน หรือแม้แต่ห่อบัตรประชาชน หนังสือเดินทาง บัตรของธนาคารด้วยแผ่นอะลูมิเนียม เพื่อไม่ให้ข้อมูลส่วนตัวรั่วไหลได้ จากการใช้สแกนเนอร์จากคลื่นความถี่ RFID ปกติแล้ว คนฮ่องกงใช้วอทซแอปเป็นช่องทางในการสื่อสารหลัก แต่สำหรับการชุมนุม พวกเขาเปลี่ยนมาใช้แอปที่เข้ารหัสอย่าง เทเลแกรม (Telegram) แทน เพราะเชื่อว่าคุ้มครองความเป็นส่วนตัวและปลอดภัยกว่า และเพราะว่าสามารถสร้างกลุ่มสนทนาได้ใหญ่กว่าด้วย เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน เทเลแกรมประกาศว่า แอปเทเลแกรมเป็นเป้าหมายของการจู่โจมทางไซเบอร์ด้วยวิธี DDoS ต้นทางมาจากจีนแผ่นดินใหญ่…

สื่อนอกรายงาน “ไทย” ก้าวหน้าใช้เทคโนโลยีตรวจจับใบหน้าสู้ก่อการร้ายภาคใต้ แต่กลุ่มสิทธิฯออกมาค้าน “เลือกปฎิบัติ”

Loading

เอเอฟพี/เอเจนซีส์/MGRออนไลน์ – กลายเป็นที่ฮือฮาบวกกับความไม่พอใจเกิดขึ้นเมื่อพบว่า ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือในภาคใต้ซึ่งมีประชากรมุสลิมส่วนมากถูกรัฐบาลไทยออกคำสั่งให้ทำการส่งภาพถ่ายไปให้ทางการเพื่อใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้า ( facial recognition software) ในการขุดรากถอนโคนกลุ่มผู้ก่อการไม่สงบ หากผู้ใช้รายใดไม่ทำตามจะถูกสั่งตัดสัญญาณมือถือ หมดเขตลงทะเบียน 31 ต.ค นี้ แต่กลุ่มสิทธิมนุษยชนมุสลิม สถาบันข้ามวัฒนธรรม( Cross Cultural Foundation) ออกมาโต้วานนี้(25 มิ.ย) ถือเป็นการเลือกปฎิบัติ และเทคโนโลยีนี้ยังมีปัญหาเป็นต้นว่า ในสหรัฐฯ เทคโนโลยีตรวจจับใบหน้าของแอมะซอนที่เสนอให้ทางตำรวจสหรัฐฯใช้ทำงานผิดพลาด ระบุใบหน้าของสมาชิกสภาคองเกรสสหรัฐฯ 28 คนเป็นผู้ต้องหากระทำความผิด  เอเอฟพีรายงานวันนี้(26 มิ.ย)ว่า ทางรัฐบาลไทยใช้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีจดจำใบหน้า (facial recognition software )ในการแก้ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ที่มีกลุ่มแบ่งแยกดินแดนมุสลิมเชื้อสายมาเลย์เป็นตัวการลอบวางระเบิดทำให้ผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บนับครั้งไม่ถ้วน แต่ทว่าคำสั่งให้ประชาชนที่อาศัยในภาคใต้และมีโทรศัพท์มือถือต้องลงทะเบียนกับทางการด้วยการส่งรูปถ่ายไปให้นั้นสร้างความไม่พอใจ ซึ่งทางโฆษกกองทัพได้ออกมากล่าวปกป้องในวันพุธ(26) ชี้ว่า นโยบายการใช้ระบบจดจำใบหน้าเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อต้องการถอนรากถอนโคนกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบที่ใช้โทรศัพท์มือถือเป็นอุปกรณ์จุดระเบิด ทั้งนี้พบว่า 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้แก่ ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส นับตั้งแต่ปี 2004 เป็นต้นมาอยูในความไม่สงบจากฝีมือของกลุ่มแบ่งแยกดินแดนเชื้อสายมาเลย์ ซึ่งความรุนแรงในภูมิภาคได้คร่าชีวิตคนไปแล้วกว่า 7,000 คน ส่วนใหญ่เป็นพลเรือนชาวมุสลิมและชามพุทธในพื้นที่ โดยเจ้าหน้าที่ความมั่นคงได้ทำการจับกุมผู้ต้องสงสัยว่าอาจเป็นกลุ่มกบฎโดยที่ไม่ใช้หมายมาแล้วเมื่อครั้งอดีต แต่ในเวลานี้บริษัทผู้ให้บริการโทรคมนาคมได้รับคำสั่งจากกองทัพให้ผู้ใช้จำนวนร่วม 1.5…