กรณีศึกษา ข้อควรพิจารณาก่อนโพสต์ภาพการประชุม video conference ออกสู่อินเทอร์เน็ต

Loading

จากกรณีไวรัสโคโรน่าหรือ COVID-19 แพร่ระบาด ทำให้หลายองค์กรได้มีมาตรการ work from home เพื่อให้พนักงานทำงานจากที่บ้านได้ โดยอาจมีการประชุมออนไลน์แบบ video conference เป็นระยะๆ อย่างไรก็ตาม การนำภาพในขณะที่มีการประชุมออนไลน์มาเผยแพร่ออกสู่อินเทอร์เน็ตนั้นอาจมีความเสี่ยงทั้งด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และความเป็นส่วนตัวได้ โดยตัวอย่างนี้จะเป็นการยกกรณีศึกษาการประชุมรัฐสภาของประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2563 นายกรัฐมนตรีของประเทศอังกฤษได้โพสต์ภาพในบัญชี Twitter (https://twitter.com/BorisJohnson/status/1244985949534199808) ซึ่งเป็นภาพที่ใช้กล้องถ่ายหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่เปิดโปรแกรม Zoom เพื่อใช้ในการทำ video conference เหตุการณ์ดังกล่าวผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์หลายรายได้แสดงความเห็นว่าในหน้าจอนั้นมีข้อมูลหลายอย่างที่ผู้ไม่หวังดีอาจนำไปใช้เพื่อการโจมตีได้ ตัวอย่างเช่น ใน title bar ของโปรแกรม Zoom ได้มีการระบุหมายเลข ID ของห้องประชุม ซึ่งผู้ประสงค์ร้ายอาจเชื่อมต่อเข้าไปยังห้องประชุมนี้ได้หากไม่ได้มีการตั้งรหัสผ่านที่ปลอดภัยเพียงพอ ในหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่ใช้ประชุม แสดงให้เห็นว่าระบบปฏิบัติการที่ใช้งานคือ Windows 10 ที่ติดตั้ง Google Chrome, Microsoft Powerpoint, และ Microsoft Outlook ซึ่งผู้ประสงค์ร้ายอาจโจมตีผ่านช่องโหว่ของโปรแกรมเหล่านั้นได้ (หากมี) หรืออาจใช้วิธีโจมตีแบบ social engineering…

อิสราเอลเตรียมใช้เทคโนโลยีติดตามเพื่อป้องกันการก่อการร้ายในการสู้กับการแพร่กระจายไวรัสโคโรนา

Loading

ความพยายามของอิสราเอลในการควบคุมการแพร่กระจายของไวรัสโคโรนานั้นอาจจะกลายเป็นเรื่องที่เสี่ยงต่อความเป็นส่วนตัวถัดไป โดยนายกรัฐมนตรีคุณ Benjamin Netanyahu ได้กำหนดแผนที่จะใช้เทคโนโลยีติดตามเพื่อป้องกันการก่อการร้ายในการระบุตัวคนที่มีการปฏิสัมพันธ์กับผู้ที่มีไวรัส COVID-19 ซึ่งแม้ว่าเขาไม่ได้ระบุชัดเจนว่าจะเป็นเทคโนโลยีนี้เพียงแค่บอกว่าเป็น “วิธีทางดิจิทัล” ที่คล้ายกับไต้หวัน แต่คุณ Shin Bet หน่วยดูแลรักษาความปลอดภัยในประเทศได้ยืนยันกับ Reuters ว่ากำลังดูวิธีการดังกล่าวอยู่ การประกาศนั้นได้ทำให้เกิดความวิตกกังวลเกิดขึ้น โดยผู้เชี่ยวชาญด้านความเป็นส่วนตัวคุณ Avner Pinchuk ได้เตือนว่าสิ่งนี้อาจจะรวมถึงการติดตามผ่านทางโทรศัพท์แบบ real-time ที่สามารถไปเตือนถึงเจ้าหน้าที่กักกันได้เลย หรือว่าติดตามข้อมูล metadata เพื่อค้นหาเส้นทางการท่องเที่ยวหรือรายชื่อผู้ติดต่อกับผู้ป่วย COVID-19 ได้ ซึ่งคุณ Shin Bet ได้ตอบโต้โดยกล่าวว่าคงจะไม่ได้มีการใช้เทคโนโลยี”ในบริบทที่จะทำให้เกิดการแตกแยก” หากแต่มันอาจไม่เกิดความมั่นใจถ้าหากว่าว่าปฏิเสธที่จะให้ติดตามอย่างต่อเนื่องตั้งแต่แรก มีอีกหลายประเทศที่เริ่มมีการปิดทำการในหลายๆ ส่วนของโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ รวมถึงอิสราเอลด้วย โดยเพิ่งได้มีคำสั่งให้ปิดทำการโรงแรม ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร และโรงภาพยนตร์แล้ว ซึ่งการใช้เทคโนโลยีตรวจตรานั้นเป็นวิธีการที่ทันสมัย และสิ่งนี้อาจจะทำให้เกิดการใช้งานในที่อื่นๆ ได้เช่นกันถ้าหากว่ากฎหมายไม่ติดขัด ซึ่งถ้าเกิดขึ้นจริง เทคโนโลยีติดตามดังกล่าวอาจจะกลายเป็นเรื่องทั่วไปก็เป็นไป (อย่างน้อยก็ในช่วงที่การแพร่ระบาดยังคงเกิดขึ้นอยู่ทั่วโลก) ————————————- ที่มา : ADPT / 17 มีนาคม 2563 Link : https://www.adpt.news/2020/03/17/israel-will-use-anti-terrorist-tracking-tech-to-fight-coronavirus-outbreak/…

โป๊ปจับมือ Microsoft, IBM ปั้นจริยธรรม AI และเทคโนโลยีจดจำใบหน้า

Loading

วาติกันประกาศความร่วมมือกับ 2 ยักษ์ใหญ่ไมโครซอฟท์ (Microsoft) และไอบีเอ็ม (IBM) เพื่อหนุนการสร้างจริยธรรมระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) และระบบจดจำใบหน้าให้ไม่ถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด โดยวาติกันเปิดเอกสารเรียกร้องให้มีการควบคุมการใช้ปัญญาประดิษฐ์อย่างเข้มข้น ย้ำว่าเครื่องมือเอไอควรทำงานอย่างยุติธรรม โปร่งใส เชื่อถือได้ และเคารพชีวิตมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ผลจากความร่วมมือนี้ทำให้ไมโครซอฟท์และไอบีเอ็มมีภาพชัดเจนว่าได้เข้าร่วมขานรับแนวคิดของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส โดยทั้งคู่สนับสนุนเอกสารดังกล่าว ซึ่งการเปิดเผยเอกสารนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่สมเด็จพระสันตะปาปาทรงคำนึงถึงประเด็นทางศีลธรรมและจริยธรรมที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีใหม่เอกสารนี้มีชื่อว่าเดอะโรมคอลล์ฟอร์เอไออีธิกส์ (The Rome Call for AI Ethics) จากเนื้อความในเอกสาร ชัดเจนว่าสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสทรงหวังที่จะกำจัดปัญญาประดิษฐ์ที่มีจุดประสงค์ชั่วร้าย และเทคโนโลยีที่อาจเป็นอันตรายเช่นการจดจำใบหน้า ทำให้วาติกันร่วมมือกับไมโครซอฟท์และไอบีเอ็มเพื่อรวบรวมหลักการที่เรียกได้ว่าเป็นหลักการใช้เอไออย่างมีจริยธรรมและศีลธรรมจุดเด่นของเอกสารนี้คือรายละเอียดว่าเอไอควรโฟกัสในประเด็นที่ไม่ใช่เทคโนโลยี แต่ควรเน้นที่ความดีของมนุษยชาติและสิ่งแวดล้อม เอกสารนี้ยังกระตุ้นให้ผู้เชี่ยวชาญเอไอพยายามตอบโจทย์ความจำเป็นของผู้ด้อยโอกาสบนโลกด้วยแทนที่จะเป็นอัลกอลิธึม แต่เอกสารนี้ใช้คำว่า “อัลกออีธิกส์” (algor-ethics) โดยอธิบายว่า algor-ethics คือการรวมองค์ประกอบพื้นฐานของนวัตกรรมที่ดี จุดประสงค์คือการเรียกร้องให้เทคโนโลยีต่างๆถูกพัฒนาบนความโปร่งใสตรวจสอบได้ ขณะเดียวกันก็ควรเปิดกว้างและทั่วถึงเพื่อให้บุคคลทุกคนสามารถรับประโยชน์จากการพัฒนาได้ ที่ขาดไม่ได้คือความรับผิดชอบ เพราะผู้ที่ออกแบบและปรับใช้ AI ควรต้องดำเนินการด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและโปร่งใสนอกจากนี้คือความเป็นกลาง เนื่องจากผู้พัฒนาไม่ควรสร้างหรือพัฒนาเทคโนโลยีด้วยความลำเอียง เช่นเดียวกับความน่าเชื่อถือ ความปลอดภัย และความเป็นส่วนตัวซึ่งขาดไม่ได้ เพื่อให้ระบบทำงานอย่างปลอดภัยและเคารพความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้เอกสารของวาติกันยังให้คำแนะนำสำหรับเทคโนโลยีที่อาจเป็นอันตรายเช่นระบบวิเคราะห์และจดจำใบหน้า ซึ่งเน้นให้ผู้พัฒนาพยายามปฏิบัติตามหลักจริยธรรมเช่นกันแม้ระบบล้ำสมัยอย่างเอไอมักชูจุดขายเรื่องการนำไปใช้งานเพื่อยกระดับความปลอดภัย แต่การวิจัยพบว่าเอไอบางประเภทได้รับการฝึกให้มีอคติทางเชื้อชาติและเพศ ซึ่งอาจเป็นอันตรายมากกว่าการช่วยเหลือมนุษยชาติ โดยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา กลุ่มทุนมากมายพยายามควบคุมเทคโนโลยีเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ ทั้งทางการค้าและทางการเมือง ยังมีปัญหาเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมซึ่งสร้างความเสียหายให้สังคมแบบประเมินค่าไม่ได้หลักปฏิบัติแบบเต็มซึ่งได้รับการรับรองจากไอบีเอ็มและไมโครซอฟท์แล้ว สามารถอ่านได้จากลิงก์นี้ —————————————— ที่มา…

Big Data Is A Big Problem : เปลี่ยนดีเอ็นเอให้เป็นฮาร์ดไดร์ฟเก็บข้อมูล

Loading

By : sopon supamangmee | Feb 18, 2020 เคยมีคำถามกันบ้างไหมครับเวลาอัพโหลดรูปภาพบนเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม หรือลงวิดีโอไว้บนยูทูบแล้วรูปไปอยู่ที่ไหน? เราใช้บริการเหล่านี้ในชีวิตประจำวันจนแทบไม่เคยตั้งคำถามหรือคิดถึงมันเลยด้วยซ้ำ หลายคนก็อาจจะตอบว่าก็คงไปอยู่บนคลาวน์ “ที่ไหนสักแห่งหนึ่ง” ที่มีพื้นที่มากมาย ซึ่งก็ไม่ผิด แต่ก็ไม่ถูกซะทีเดียว เพราะในความเป็นจริงแล้ว ไฟล์หรือข้อมูลเหล่านี้แม้ว่าจะอยู่ในรูปแบบดิจิทัล ไม่ใช่ปึกกองกระดาษเหมือนหนังสือเล่ม หรือม้วนวิดีโอ แต่ว่าไฟล์ดิจิทัลเหล่านี้ก็ยังต้องการพื้นที่สำหรับจัดเก็บที่เรียกว่า ‘data center’ หรือ ศูนย์ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นพื้นที่ตึกที่เต็มไปด้วยเซิร์ฟเวอร์หลายพันหลายหมื่นตัว (มีการประมาณการจาก Gartner ว่าในปี 2016 กูเกิลมีเซิร์ฟเวอร์กว่า 2.5 ล้านตัวใน data center ของตัวเองทั่วโลก) ไฟล์ดิจิทัล แต่พื้นที่จัดเก็บนั้นไม่สามารถเป็นดิจิทัลได้ ไม่ใช่แค่ยักษ์ใหญ่อย่างกูเกิลเท่านั้นที่มี data center ขนาดเท่าสนามฟุตบอลกระจายอยู่ทั่วโลก บริษัทอื่นๆ อย่างเน็ตฟลิกซ์, ไลน์, วอทส์แอป, ทวิตเตอร์, แอมะซอน ฯลฯ หรือเรียกได้ว่าผู้ให้บริการออนไลน์ทุกเจ้าจะต้องมีพื้นที่จัดเก็บข้อมูลเหล่านี้ด้วยกันทั้งนั้น ทุกครั้งที่มีการส่งอีเมล แชร์รูปบนเฟซบุ๊ก สตรีมเน็ตฟลิกซ์ ค้นหาบนกูเกิล ​เซิร์ฟเวอร์เหล่านี้แหละที่ทำงานอยู่เบื้องหลังตลอดเวลา มีการคาดการณ์ว่าข้อมูลออนไลน์จะเติบโตจาก 33 ZB…

เทคโนโลยีจดจำใบหน้า ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลหรือไม่

Loading

จากความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีในโลกปัจจุบัน ทำให้เกิดเทคโนโลยีหนึ่ง ก็คือ การจดจำใบหน้า แม้ภาครัฐอ้างว่าจะใช้เพื่อป้องกันภัยจากการก่อการร้ายหรืออาชญากรรม แต่ประชาชนกลับมองว่านี้อาจลิดรอนสิทธิขั้นพื้นฐานของตัวเอง เพระาไม่สามารถตรวจสอบการเข้าถึงได้ รัฐนำความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในโลกปัจจุบันมาใช้ โดยอ้างว่าเพื่อปกป้องและป้องกันภัยจากการก่อการร้ายและอาชญากรที่พัฒนาขึ้นทุกวัน แต่ประชาชนทั่วไปรู้สึกว่า สิทธิขั้นพื้นฐานของพวกเขากำลังถูกลิดรอน เพราะไม่สามารถตรวจสอบหน่วยงานรัฐได้ว่าเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวมากน้อยเพียงใด โปรแกรมหนึ่งที่กำลังถูกพูดถึงคือ โปรแกรมจดจำใบหน้า หรือ face-recognition technology ซึ่งหน่วยงานความมั่นคงนำมาใช้เพื่อช่วยให้สืบหาตัวคนร้ายได้รวดเร็วฉับไวมากยิ่งขึ้น ทางการของเกาะฮ่องกง นำเทคโนโลยีนี้มาใช้กับกลุ่มผู้ประท้วง เพื่อหาทางจัดการทางกฎหมายกับผู้ประท้วงที่ฮ่องกง เริ่มมาตั้งแต่ประมาณเดือนมีนาคม 2562 ในช่วงแรกการชุมนุมเป็นไปอย่างสงบ ก่อนที่เหตุการณ์จะเริ่มรุนแรงในเวลาต่อมา หลายต่อหลายครั้งทำให้เกิดการปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมและตำรวจ ต้นตอเริ่มแรกของการประท้วงมาจากความไม่พอใจร่างกฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดน ซึ่งผู้ชุมนุมมองว่า รัฐบาลจีน กำลังแทรกแซงสิทธิเสรีภาพของชาวฮ่องกง การประท้วงยืดเยื้อข้ามปี เพราะผู้ประท้วงต้องการเรียกร้องสิทธิในการออกเสียงเลือกตั้งทั่วไป โดยระบุว่ารัฐบาลฮ่องกงไม่ได้ทำตามคำมั่นสัญญาเกี่ยวกับสิทธิดังกล่าว นับตั้งแต่จีนได้เข้าปกครองฮ่องกงในปี 2540 ว่ากันว่า ตอนนี้ทั้งสองฝ่ายพยายามยั่วยุกัน โดยทางการฮ่องกงเชื่อว่า หากปล่อยให้มีการประท้วงต่อไปเรื่อยๆ ผู้ประท้วงเองจะเลิกราไปเอง ส่วนผู้ประท้วงก็พยายามยั่วยุ เพื่อให้ทางการหมดความอดทน ครั้งหนึ่งมีการเผยแพร่ภาพหนึ่งในโลกออนไลน์ที่เข้าใจว่า เป็นภาพของผู้ประท้วงชาวฮ่องกงคาดศีรษะด้วยอุปกรณ์ดิจิทัล ประกอบด้วยจอโปรเจ็คเตอร์ ซึ่งจะฉายเป็นภาพบุคคลอื่นบนใบหน้าของคนๆ นั้น เพื่อพรางตัวไม่ให้โปรแกรมจดจำใบหน้าจำได้ แต่ต่อมามีการเปิดเผยว่า ภาพดังกล่าวนั้นเป็นส่วนหนึ่งของโครงการที่คิดค้นโดย จิง ไซ หลิว นักศึกษาของ Utrecht School of the Arts…

ญี่ปุ่นจัดตั้ง “หน่วยอวกาศ” รับมือภัยคุกคามจากเทคโนโลยีอวกาศ

Loading

An H-2A rocket carrying an intelligence-gathering satellite successfully takes off from the Tanegashima Space Center in Kagoshima Prefecture, Japan in this photo taken by Kyodo February 27, 2018. นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ชินโซ อาเบะ ประกาศในวันจันทร์ว่า ญี่ปุ่นจะจัดตั้งหน่วยป้องกันทางอวกาศเพื่อปกป้องประเทศจากภัยคุกคามต่าง ๆ ในช่วงเวลาที่ประเทศที่เป็นศัตรูกับญี่ปุ่นกำลังพัฒนาขีปนาวุธและเทคโนโลยีด้านอวกาศสมัยใหม่กันอย่างคึกคัก “หน่วยปฏิบัติการด้านอวกาศของญี่ปุ่น” หรือ Space Domain Mission Unit จะอยู่ในสังกัดของกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศ และจะเริ่มภารกิจตั้งแต่เดือนเมษายนนี้เป็นต้นไป โดยจะทำงานใกล้ชิดกับกองบัญชาการอวกาศของสหรัฐฯ ที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เพิ่งเปิดตัวเมื่อเร็ว ๆ นี้ และสำนักงานสำรวจอวกาศของญี่ปุ่น หรือ JAXA ด้วย รัฐบาลกรุงโตเกียวจะจัดสรรงบประมาณราว 51,000…