มาเลเซียใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้าจับอาชญากร

Loading

รัฐปีนังของมาเลเซียนำเทคโนโลยีจดจำใบหน้าและ AI ที่พัฒนาโดยบริษัท IBM มาใส่ในกล้องวงจรปิด 767 ตัวทั่วเกาะ เพื่อใช้ตรวจจับอาชญากรรม หลายคนอาจจะกังวลเรื่องความเป็นส่วนตัวแต่ทางสภาของรัฐยืนยันว่าเทคโนโลยีนี้จะใช้เพื่อตรวจจับใบหน้าของอาชญากรเท่านั้น เพื่อลดการก่อเหตุบนท้องถนน Chow Kon Yeow ผู้ว่าการรับปีนังให้สัมภาษณ์ว่า “เทคโนโลยีนี้จะช่วยจับภาพใบหน้าของอาชญากรหรือคนที่ตำรวจต้องการตัว ด้วยการควบคุมจากห้องควบคุมของ MBPP ที่สภาของเมือง และสำนักงานตำรวจของรัฐปีนัง การตรวจจับจะทำผ่านกล้องวงจรปิดที่ติดตั้งทั่วเกาะ เป้าหมายเบื้องต้นคือลดอาชญากรรมบนท้องถนน เพื่อสร้างความปลอดภัยและคุณภาพชีวิตที่ดีกับประชาชน เค้าตั้งเป้าจะเพิ่มกล้องพร้อมเทคโนโลยีจดจำใบหน้าให้เป็น 3,000 ตัวทั่วรัฐ เพื่อป้องกันการเกิดอาชญากรรมได้ดีขึ้น รวมถึงขยายพื้นที่ไปยังพื้นที่ใกล้เคียงที่อยู่ใต้การปกครองของรัฐ Seberang Perai Municipal Council (MPSP)” ส่วนทาง A. Thaiveegan ผู้บัญชาการตำรวจแห่งรัฐปีนังบอกว่า ได้ทำการอัพโหลดรูปของผู้ร้ายและคนที่ตำรวจต้องการตัวขึ้นไปในระบบเรียบร้อยแล้ว ถ้ามีการตรวจเจอใบหน้าเมื่อไหร่ AI ก็จะแจ้งเตือนทันที ซึ่งทางปีนังได้แรงบันดาลใจมาจากประเทศจีนที่เริ่มใช้เทคโนโลยีนี้มาตั้งแต่ปี 2005 แม้ว่าเทคโนโลยีจดจำใบหน้านั้นอาจจะไม่ได้ไว้วางใจได้ 100% เพราะอย่างในจีนนั้นก็มีปัญหากล้องที่เอาไว้ตรวจจับคนข้ามถนนผิดที่ ตรวจจับโฆษณาข้างรถเมล์ ส่งใบสั่งไปให้คนที่อยู่ในรูปแทนทั้งที่ไม่ได้ทำความผิดซึ่งอันนี้ก็ต้องมารอดูการปรับปรุงระบบให้ฉลาดขึ้น แต่เทคโนโลยีนี้ช่วยให้ทางการของจีน ช่วยระบุตัวคนที่น่าสงสัยได้ถึง 2,000 คน จับกุมอาชญากรได้ถึง 200 คดี ————————————————————— ที่มา…

กระทรวงดิจิทัลตั้งงบ 40 ล้านบาทจัดซื้อระบบตรวจสอบเทียบใบหน้าบนสื่อออนไลน์

Loading

กระทรวงเศรษฐกิจดิจิทัลประกาศจัดซื้อจัดจ้างระบบตรวจสอบเปรียบเทียบใบหน้าบุคคลบนสื่อสังคมออนไลน์ด้วยงบประมาณกลางราว 40 ล้านบาท เอกสาร TOR ได้ให้เหตุผลไว้ว่าเพื่อตรวจสอบกลุ่มคนไม่หวังดีที่ใช้อินเทอร์เน็ตในการหลอกลวงและทำผิดกฎหมาย ที่ทำให้เกิดความวุ่นวายและส่งผลกระทบต่อความมั่นคงและความสงบ ขณะที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) จะเป็นผู้ใช้เทคโนโลยีนี้ เพื่อตรวจสอบใบหน้าจากสื่อสังคมออนไลน์ ไปจนถึงวิเคราะห์ข้อมูลและร่องรอยต่างๆ เพื่อระบุตัวตน ไม่ว่าจะบนเฟซบุ๊ก, อินสตาแกรม, ทวิตเตอร์หรือยูทูป ทั้งที่ตั้งค่าเป็นสาธารณะและส่วนตัว ไปจนถึงกลุ่มต่างๆ ด้วย ในส่วนของการดึงข้อมูลเฟสบุ๊ก เอกสาร TOR ระบุว่านอกจากใบหน้า จะต้องดึงข้อมูลรายละเอียดอื่นๆ อย่างเลขโทรศัพท์, อีเมล, จำนวนผู้ติดตาม, จำนวน engagement, การแชร์, การกดแสดงความรู้สึก ฯลฯ เรียกได้ว่าเอาทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับโพสต์หรือโปรไฟล์หนึ่งๆ ให้ได้มากที่สุด ทั้งนี้ คาดว่าการจัดซื้อจัดจ้างครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานภายใต้ศูนย์ข้อมูล Big Data และวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยี เพื่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน สังคม และความมั่นคงของชาติ โดยมี ปอท. ดูแล ซึ่งมีหน้าที่ยืนยันบุคคลด้วยการใช้ใบหน้า, ค้นหาประเด็นในโซเชียลมีเดียจากคีย์เวิร์ด, วิเคราะห์เนื้อหาคอมเมนท์และสเตตัสต่าง ๆ บนเฟซบุ๊ก, ติดตามเนื้อหาบนทวิตเตอร์ รวมถึงหาความสัมพันธ์ระหว่างผู้ติดตามและเจ้าของบัญชี รวมถึงการรีทวีต สุดท้ายคือเฝ้าระวังการโจมตีทางไซเบอร์ต่อหน่วยงานรัฐ…

ออสเตรเลียเผยโฉม “เทคโนโลยีใหม่” ไว้จัดการโดรนผิดกฎหมาย

Loading

เอเอฟพี – ออสเตรเลียจะนำเทคโนโลยีตรวจตราแบบใหม่มาเพื่อใช้กวาดล้างโดรนในปีหน้า หน่วยงานการบิน ระบุในวันนี้ (24) ในขณะที่ความกังวลเพิ่มสูงขึ้นจากการใช้โดรนที่แพร่หลายมากขึ้นในพื้นที่สาธารณะ สำนักงานความปลอดภัยการบินพลเรือนของออสเตรเลีย (Civil Aviation Safety Authority : CASA) มีแผนที่เผยโฉมอุปกรณ์ตรวจตราแบบใหม่ตามสนามบินใหญ่ๆ ทั่วประเทศในเดือนหน้า เทคโนโลยีนี้มีความสามารถในการตรวจจับโดรน ซีเรียลนัมเบอร์ของมัน และตำแหน่งของผู้ควบคุมระหว่างการบิน ปีเตอร์ กิบสัน ผู้จัดการสื่อสารของ CASA บอกกับเอเอฟพี “ดังนั้นเราจะสามารถตรวจสอบได้ว่าใครเป็นคนบังคับอยู่” เขากล่าว เทคโนโลยีนี้ที่มีมาพร้อมกับข้อกำหนดการจดทะเบียนแบบใหม่จะเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับโดรนอย่างหน้ามือเป็นหลังมือ “ปี 2019 จะเป็นปีแห่งการกวาดล้างเพื่อความปลอดภัยในการใช้โดรน” เขากล่าว ในขณะที่อุปกรณ์ใหม่นี้กำลังอยู่ในขั้นเตรียมการ เมื่อสัปดาห์ที่แล้วเหตุการณ์ที่สนามบินแกตวิคในลอนดอนซึ่งมีผู้โดยสารเกือบ 140,000 คนได้รับผลกระทบนานสามวันหลังจากมีรายงานการพบเห็นโดรน เน้นย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของการมีเทคโนโลยีนี้ไว้ใช้งาน” กิบสัน กล่าว เจ้าหน้าที่จะเผยโฉมโครงการจดทะเบียนโดรนในช่วงกลางปี 2019 เพื่อให้ทางการสามารถติดตามตัวผู้ที่บังคับโดรนและแจ้งข้อระมัดระวังด้านความปลอดภัยที่เหมาะสม เทคโนโลยีติดตามเคลื่อนที่แบบใหม่นี้จะถูกใช้ตาม “พื้นที่ที่มีการใช้โดรนอย่างแพร่หลาย” อย่างสะพานซิดนีย์ฮาร์เบอร์ ซึ่งมีความกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับการใช้งานโดรนในพื้นที่ต้องห้าม กิบสัน กล่าว ทางการจะมีอำนาจมากขึ้นในการดำเนินการตรวจสอบความปลอดภัย เขากล่าว และเพิ่มความสามารถในการสั่งปรับเงินสูงสุด 10,000 ดอลลาร์ออสเตรเลียกับผู้ที่ละเมิดกฎหมาย “ในปี 2019…