รู้จัก ‘แฮกเกอร์สายขาว’ ของไทย ผู้ปกป้องเงินในบัญชีของคุณ
ปัจจุบันธนาคารพาณิชย์ในไทยผลักดันให้ลูกค้าหันมาทำธุรกรรมการเงินออนไลน์ ซึ่งนอกจากจะช่วยประหยัดเวลา ลดต้นทุนของธนาคาร ธนาคารมักยืนยันว่ามีความปลอดภัย แต่ลูกค้ามั่นใจได้จริงแค่ไหน พิชญะ โมริโมโต พยายามแฮกเข้าระบบของธนาคารเป็นประจำและมักประสบผลสำเร็จ แต่ต่างจากอาชญากรไซเบอร์ เพราะเขาเป็น “แฮกเกอร์สายขาว” ซึ่งหน้าที่ก็คือช่วยให้เงินฝากในบัญชีของธนาคารปลอดภัยมากยิ่งขึ้น สิ่งที่เขาพบก็คือระบบการรักษาความปลอดภัยของธนาคารโดยรวมยังมีจุดอ่อน “ยังไม่ค่อยปลอดภัยเท่าที่ควร ยังมีหลาย ๆ ครั้ง ที่พบช่องโหว่ที่มีความรุนแรงสูงมาก แต่ไม่มีการซ่อมแซม” พิชญะ ผู้มีตำแหน่งผู้ให้คำปรึกษาด้านความปลอดภัย ของบริษัท SEC Consult กล่าว ส่องเทคโนโลยีปี 2560 : ธนาคารใหญ่จะพ่ายโจรไซเบอร์ ขุดบิทคอยน์: อาชีพเสริมใหม่ หรือ กระแสชั่วคราว? บริการยิ่งหลากหลายยิ่งเสี่ยงมากขึ้น ตามระเบียบของธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งในประเทศจะต้องทดสอบความปลอดภัยของระบบอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งโดยผู้ตรวจสอบจากนอกองค์กร นั่นหมายถึงธนาคารต้องจ้างมืออาชีพตรวจสอบด้านความปลอดภัยระบบอย่าง พิชญะ เข้ามาทำงาน สิ่งที่เขาทำคือจำลองสถานการณ์เหมือนเป็นแฮกเกอร์ที่พยายามเจาะระบบ เพื่อวิเคราะห์ว่าสามารถโจมตีทางใดได้บ้างและรายงานต่อธนาคารเพื่อแก้ไข พิชญะ อธิบายว่าความเสี่ยงของระบบนั้นขึ้นอยู่กับสิ่งที่เรียกว่า attack surface นั่นคือช่องทางหรือพื้นที่แฮกเกอร์สามารถทำงานได้ กล่าวคือ ยิ่งมีบริการออนไลน์หลายรูปแบบ ยิ่งมีโอกาสเกิดช่องโหว่ได้มากขึ้น “เขาอาจจะมองว่าถึงมีช่องโหว่จริง แต่เขาก็มีทีมมอร์นิเตอร์และมั่นใจว่าจะระงับเหตุได้ทันท่วงที” พิชญะกล่าว แต่ในมุมมองของเขา…