“ไนซ์ ซีเคียวริตี้” ระบบจัดการด้านความปลอดภัย

Loading

สถานการณ์ด้านความปลอดภัยและความมั่นคงที่เกิดขึ้นจริงในประเทศไทยเราเมื่อไม่นานมานี้คงให้เห็นชัดเจนว่าการมี “กล้องวงจรปิด” ติดทั่วบ้านทั่วเมืองเพียงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอ เหตุการณ์อย่างเช่นเหตุลอบวางระเบิดสนั่นโลกในใจกลางกรุงเทพฯ เมื่อเร็วๆ นี้ บ่งบอกให้เห็นถึงความสำคัญของ “การนำมาใช้” ว่าสำคัญไม่น้อยกว่า “การมี” ภาพจากกล้องวงจรปิด แน่นอนว่า “การมี” ย่อมดีกว่า “ไม่มี” แต่ถ้ามีโดยไม่คำนึงถึงการนำมาใช้งานก็มักจะ “ยุ่ง” ทีหลังเสมอ ตัวอย่างเช่นเหตุระเบิดพระพรหมที่ว่านั้น สมมุติว่ากล้องวงจรปิดในบริเวณดังกล่าวมีอยู่ 500 ตัว เราต้องการตรวจสอบก่อนหน้าและหลังเวลาเกิดเหตุไปราว 30 นาที รวมแล้วเป็น 1 ชั่วโมง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบต้องนั่งตรวจสอบหาตัวและพฤติกรรม “ผู้ต้องสงสัย” ในเทปบันทึกภาพที่รวมความยาวเข้าด้วยกันถึง 500 ชั่วโมง เพ่งกันตาเเฉะ 10 วัน ยังไม่ครบถ้วน ทารุณกรรมผู้รับผิดชอบกันชัดๆ! ผมถึงรู้สึกโล่งใจแทนเจ้าหน้าที่อยู่ไม่น้อยที่ได้รับทราบจาก คุณสมหมาย ดำเนินเกียรติ กรรมการผู้จัดการบริษัท วิชั่นแอนด์ซีเคียวริตี้ ซิสเต็ม ในเครือสามารถเทเลคอม ว่าทางบริษัทได้นำเอาระบบซอฟต์แวร์อำนวยการด้านความมั่นคงปลอดภัยในระดับโลกเข้ามาให้บริการในไทยแล้ว “ไนซ์ ซีเคียวริตี้” คือระบบดังกล่าว ซึ่งเป็นของบริษัท ไนซ์ ซิสเต็ม แห่งอิสราเอล ประเทศที่การอำนวยการด้านความมั่นคงปลอดภัยถูกให้ความสำคัญประหนึ่งเป็นลมหายใจเข้าออก และถูกนำไปติดตั้งใช้กันอยู่ทั่วโลก…

เปิดประสิทธิภาพ ‘CCTV เทคโนโลยีใหม่’ ลดภาระตำรวจ-อาชญากรรมบนถนน

Loading

ผมเห็นด้วยที่จะใช้ระบบ TLEC เพื่อลดปัญหาการจราจรและภาระของเจ้าหน้าที่ตำรวจ หลายคนคิดว่า เอากล้องมาจับ เพราะอยากได้ค่าปรับเยอะๆ แต่เรากำลังหาวิธีที่จะควบคุมผู้ขับขี่ให้มีวินัยได้ตลอด 24 ชม. เพื่อลดปัญหาการจราจรลง… ผ่านมากว่า 2 เดือนแล้ว นับจากช่วงค่ำของวันที่ 17 ส.ค.ที่ผ่านมา เสียงระเบิดดังสนั่นขึ้นที่ศาลพระพรหม บริเวณแยกราชประสงค์ ซึ่งเป็นย่านเศรษฐกิจที่สำคัญของกรุงเทพฯ เคยมีการชุมนุมนับครั้งไม่ถ้วน จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 20 ราย และบาดเจ็บอีกนับร้อยคน ซึ่งหลักฐานสำคัญในการช่วยคลี่คลายประเด็นสำคัญในคดีดังกล่าว คือ กล้องวงจรปิด หรือ CCTV ที่สามารถบันทึกเหตุการณ์ ภาพเส้นทางการหลบหนีของชายเสื้อเหลือง นับว่าเป็นประโยชน์ในการแกะรอยคนร้าย แต่การจับกุมตัวคนร้ายยังใช้เวลานาน เนื่องจากกล้อง CCTV ที่ติดอยู่บริเวณท้องถนน จับภาพไม่ได้มาตรฐานเท่าที่ควร ไม่สามารถระบุข้อมูลรวมไปถึงลักษณะรูปพรรณสัณฐานที่ชัดเจน ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงมีแนวคิดที่จะเสริมสร้างประสิทธิภาพการทำงานของกล้องวงจรปิดให้ทันสมัย เพิ่มยิ่งขึ้น ทางทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์ ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ พล.ต.อ.ประวุฒิ ถาวรศิริ ที่ปรึกษา สบ10 ในฐานะ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ถึง ประสิทธิภาพของระบบ “Traffic Laws Enforcement Camera”…

ชาวเน็ตควรต้องรู้ ตำรวจปอท.เผย 10 พฤติกรรม”ไลค์ เม้นท์ แชร์ โพสต์ เสี่ยงคุก”

Loading

ตำรวจปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ ปอท. จัดกิจกรรม “โพสต์ต้องคิด คลิกเสี่ยงคุก” ภายใต้โครงการออนไลน์ ใสสะอาด เรารักในหลวง ที่ลานเซ็นทรัลเวิลด์ เพื่อรณรงค์ ให้ประชาชน เข้าใจกฎหมายในการใช้สื่อออนไลน์อย่างปลอดภัย และให้ความรู้เพื่อรู้ทัน และป้องกันกลอุบายต่างๆ ไม่ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ต.อ.สมพร แดงดี รองผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ ปอท. กล่าวว่า การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ต้องการประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชน ตระหนักรู้เกี่ยวกับการโพส แชร์ ข้อความเท็จที่สร้างความเสียหายให้ผู้อื่น และสร้างความวุ่นวายในสังคม ว่ามีความผิดตามกฎหมาย ซึ่งที่ผ่านมา มีประชาชน เข้ามาร้องเรียนจำนวนมาก และเมื่อจับผู้โพสต์ หรือ แชร์ ข้อความได้ ก็มักอ้างว่ารู้เท่าไม่ถึงการณ์ จึวฝากเตือนประชาชน ว่าการโพสข้อความ หรือ สิ่งต่างๆ ในสังคมออนไลน์ สามารถตรวจสอบได้ เพราะมีหลักฐานปรากฎชัดเจน แม้จะมีการปลอมชื่อเพื่ออำพรางตัวตน รวมถึงผู้ที่กดไลค์ หรือ คอมเม้นท์ ก็อาจเข้าข่ายผิดกฎหมายได้ เนื่องจากเป็นการสนับสนุน การกระทำความผิด นอกจากนี้ตำรวจปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือ ปอท. ได้รวบรวม…

สโนว์เดนเผย รัฐบาลอังกฤษสอดแนมข้อมูลผ่านสมาร์ทโฟน

Loading

นายเอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน อดีตเจ้าหน้าที่สัญญาจ้างของซีไอเอซึ่งกำลังลี้ภัยอยู่ในรัสเซีย ให้สัมภาษณ์กับรายการพานอรามาของบีบีซีถึงเรื่องการสอดแนมข้อมูลว่า หน่วยงานด้านความมั่นคงของอังกฤษสามารถดักฟังข้อความจากโทรศัพท์มือถือ โดยที่ผู้ใช้เองไม่รู้ตัวและไม่สามารถทำอะไรได้ ในการสัมภาษณ์ครั้งนี้ ทีมงานของรายการต้องใช้เวลาร่วม 3 เดือนในการนัดหมาย โดยสื่อสารกันผ่านแอปพลิเคชันเข้ารหัส จากนั้นทีมงานได้รับข้อความให้ไปเปิดห้องที่โรงแรมแห่งหนึ่งในกรุงมอสโกและติดต่อนายสโนว์เดนเพื่อบอกเบอร์ห้องให้เขามาพบ นายสโนว์เดนบอกว่า ทุกวันนี้มีการสอดแนมข้อมูลของคนทั่วไปผ่านการสื่อสารในรูปแบบต่างๆ ทั้งที่ผู้ถูกสอดแนมไม่ได้ทำอะไรผิด และไม่มีทางรู้ตัวเลยว่ากำลังถูกสอดแนมอยู่ ประเด็นหนึ่งที่เขารู้สึกกังวลคือ การที่ศูนย์บัญชาการการสื่อสารของรัฐบาลอังกฤษ (GCHQ) ซึ่งเป็นหูเป็นตาของทางการ สามารถเจาะระบบเพื่อล้วงข้อมูลบนสมาร์ทโฟนได้ โดยใช้ระบบที่เรียกว่า CNE (Computer Network Exploitation) เขาบอกความลับเรื่องโครงการฝึกอบรมการล้วงข้อมูลโดยรัฐบาล ภายใต้ชื่อรหัสโครงการว่า “สเมิร์ฟ”ซึ่งเป็นตัวการ์ตูนชื่อดังของนักเขียนชาวเบลเยียม     เทคนิคที่ใช้ในโครงการสเมิร์ฟนี้ทำได้หลายอย่าง เช่น “สเมิร์ฟช่างฝัน” (Dreamy Smurf) สามารถสั่งเปิดปิดโทรศัพท์มือถือของเราได้แม้แต่ตอนที่เครื่องปิดอยู่ “สเมิร์ฟจอมจุ้น” (Nosy Smurf) จะสั่งเปิดไมโครโฟนและบันทึกเสียงทุกอย่างรอบ ๆ ตัวได้โดยที่เจ้าของไม่รู้ตัว ส่วน “สเมิร์ฟนักแกะรอย” (Tracker Smurf) สามารถระบุตำแหน่งผู้ใช้และแอบติดตามตำแหน่งที่อยู่ได้ นอกจากนี้ นายสโนว์เดนยังระบุถึงการที่ GCHQ แอบล้วงข้อมูลจำนวนมากจากการสื่อสารภายในปากีสถาน ซึ่งคาดว่าเพื่อแกะรอยผู้ก่อการร้าย โดยใช้วิธีเจาะเข้ากล่องชุมทางสัญญาณข้อมูลดิจิตอลของบริษัทซิสโกของสหรัฐฯ ซึ่งปฏิบัติการนี้มีขึ้นโดยที่บริษัทซิสโกเองก็ไม่รู้ตัว เรื่องนี้รัฐบาลอังกฤษได้ส่งสัญญาณอนุญาตให้ดำเนินการในทางลับ…