‘แคสเปอร์สกี้’ แนะยุทธวิธี รับมือหลังถูก ‘ละเมิดข้อมูล’

Loading

    การรั่วไหลของ “ข้อมูลส่วนบุคคล” กลายเป็นปัญหาใหญ่ของทั้งธุรกิจองค์กรและบุคคลทั่วไป ทั้งมีแนวโน้มว่าเหตุการณ์จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในปีนี้และต่อๆ ไปในอนาคต   เซียง เทียง โยว ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ เปิดมุมมองว่า แม้ว่าการละเมิดข้อมูลจะส่งผลต่อความเป็นส่วนตัวของบุคคลโดยตรง แต่ความปลอดภัยทางไซเบอร์ขององค์กรก็ตกอยู่ในความเสี่ยงเช่นกัน   ที่ผ่านมา ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมักจะใช้อีเมลแอดเดรสของบริษัทเพื่อลงทะเบียนกับเว็บไซต์ของบุคคลที่สาม ซึ่งอาจทำให้ข้อมูลรั่วไหลได้เมื่อข้อมูลที่ละเอียดอ่อน เช่น อีเมลแอดเดรส สามารถเข้าถึงได้โดยสาธารณะ     ข้อมูลดังกล่าวอาจเรียกความสนใจจากอาชญากรไซเบอร์ และจุดชนวนให้เกิดการสนทนาบนเว็บไซต์ดาร์กเน็ตเกี่ยวกับการโจมตีที่อาจเกิดขึ้นกับองค์กร มากกว่านั้นข้อมูลดังกล่าวยังสามารถใช้ทำฟิชชิงและวิศวกรรมสังคมได้อีกด้วย   ไม่ควรไล่ใครออก เมื่อเกิดเหตุ   ปัจจุบัน องค์กรต่างๆ ล้วนต้องมีความเสี่ยง ตั้งแต่บริษัทขนาดเล็กที่สุดที่เก็บสำรองข้อมูลแบบออฟไลน์ไว้ห่างจากสำนักงาน ไปจนถึงองค์กรขนาดใหญ่ที่สุดที่ต้องการใช้ชุดโซลูชันการป้องกันขั้นสูง   เนื่องจากค่าเสียหายของการละเมิดข้อมูล ไม่ได้มีเพียงค่าใช้จ่ายในการจัดการกับการกู้คืนหลังการโจมตีเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความเสียหายต่อชื่อเสียงและการสูญเสียความต่อเนื่องทางธุรกิจ   ผู้เชี่ยวชาญของแคสเปอร์สกี้แนะนำรายการตรวจสอบเพื่อให้ธุรกิจสามารถกลับมาดำเนินการได้เร็วยิ่งขึ้น และเพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับการดำเนินงานด้านความปลอดภัยด้านไอทีหลังจากเกิดการละเมิดข้อมูล ดังนี้   1. ประเมินสถานการณ์ : ประเมินความเสี่ยงของการละเมิดข้อมูลที่มีต่อลูกค้า การประเมินความเสี่ยงช่วยให้ตัดสินใจขั้นตอนต่อไปและการรายงานการละเมิด หากมีความเสี่ยงสูงจะต้องแจ้งให้ลูกค้าทราบโดยไม่รีรอ   2. ไม่ไล่…

ส่องนโยบายใช้ ‘ChatGPT’ ช่วยทำงานในองค์กร

Loading

    ผมมีโอกาสได้เห็นเอกสารนโยบายการใช้ Generative AI อย่าง ChatGPT ของบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ในต่างประเทศรายหนึ่งระบุว่า ห้ามพนักงานใช้โดยเด็ดขาด   โดยเฉพาะในการทำเอกสารหรือจดหมายเพื่อติดต่อกับลูกค้า หรือแม้แต่จะช่วยเขียนโค้ดในการพัฒนาโปรแกรม ทั้งนี้บริษัทอนุญาตให้ใช้เฉพาะเพื่อการทดลองหรือการศึกษา และการใช้งานส่วนตัวเท่านั้น   จริงๆ ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่อะไร เพราะในปัจจุบันหลายๆ บริษัทในต่างประเทศเริ่มที่จะออกนโยบายการใช้ Generative AI ในการช่วยทำงานของพนักงานหรือที่เรียกว่านโยบาย Generative AI Assistance (GAIA) และก็มีหลายบริษัทที่ประกาศห้ามการใช้งาน   ดังเช่น สถาบันการเงินต่างๆ อย่าง JPMorgan Chase,Bank of America, Goldman Sachs, Citigroup, Deutsche Bank และ Wells Fargo โดยเหตุผลหลักเป็นเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลอ่อนไหวของลูกค้า   ซึ่งนอกจากนี้ก็ยังมีอีกหลายบริษัทในอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น Amazon, Verizon, และ Accenture ที่ออกนโยบายจำกัดการใช้งาน Generative AI ของพนักงานและให้ระมัดระวังการนำข้อมูลอ่อนไหวของบริษัทเข้าไปสู่ระบบ…

จากจุดเปลี่ยนเอไอ สู่จุดเปลี่ยนอนาคตโลก

Loading

    ในช่วงเวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา หลังจากที่คนทั่วโลกได้ทดลองใช้เอไอ โดยเฉพาะการเปิดตัวของ GPT4 รวมถึงการพัฒนานวัตกรรมต่อยอดไปในวงกว้าง ผู้คนทั่วโลกต่างก็ได้พบกับศักยภาพใหม่ที่น่าตื่นตาตื่นใจกันอย่างกว้างขวาง   ไม่ว่าจะนำมาใช้ในการทำงาน การเรียนหรือชีวิตประจำวันได้ที่เอไอทำได้อย่างน่าทึ่ง   บิล เกตส์ ผู้นำด้านเทคโนโลยีผู้ก่อตั้งบริษัทไมโครซอฟท์ ถึงกับนำเสนอมุมมองในเชิงบวกต่ออนาคตของเอไอผ่านจดหมายที่เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ส่วนตัว โดยบอกว่าเป็นครั้งที่ 2 ในชีวิตที่ได้เห็นการสาธิตเทคโนโลยีที่รู้สึกว่าเป็นการปฏิวัติวงการ   ครั้งแรกคือ การเห็นระบบอินเทอร์เฟซแบบกราฟิก (GUI) ในช่วงปี 1980 จนนำมาซึ่งระบบปฏิบัติการ Windows และเป็นพื้นฐานหลักของบริษัทไมโครซอฟท์ต่อมาอีกนับสิบปี การได้เห็นพัฒนาของเอไอ โดยทีม OpenAI เมื่อปีที่ผ่านมา เป็นครั้งที่ 2 ที่บิล เกตส์รู้สึกตื่นเต้นประหลาดใจ จากการได้เห็นเอไอสามารถผ่านการสอบวิชาชีววิทยาขั้นสูงได้อย่างรวดเร็ว     ในจดหมาย บิล เกตส์ได้กล่าวถึงศักยภาพของเอไอในยุคต่อไปที่จะนำมาใช้พัฒนาทางธุรกิจ ตลอดจนงานด้านสาธารณสุขและการศึกษาให้ก้าวหน้า สามารถลดความเหลื่อมล้ำในสังคมได้ โดยสิ่งที่เอไอยังบกพร่องในปัจจุบันจะได้รับการแก้ไขอย่างรวดเร็ว โดย ณ จุดนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของอนาคตรูปแบบใหม่ที่กำลังจะมา   เพียงไม่กี่วันหลังจากนั้น ได้มีกลุ่มผู้นำด้านเอไอออกมาเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ ผ่านการออกจดหมายเปิดผนึกนำโดยอีลอน มัสก์ ร่วมกับผู้นำธุรกิจและนักวิชาการชื่อดังกว่า 1,000…

‘ภัยคุกคามไซเบอร์’ โจมตี ‘เซิร์ฟเวอร์ไทย’ พุ่ง 89.48%

Loading

  “แคสเปอร์สกี้” ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยไซเบอร์โลก เปิดรายงานความปลอดภัยไซเบอร์ล่าสุด พบไทยเจอเหตุการณ์โจมตีที่เป็นอันตรายจำนวน 364,219 เหตุการณ์ เกิดจากเซิร์ฟเวอร์ที่โฮสต์ในประเทศไทย สูงกว่าปีที่แล้ว 89.48% หรือ 192,217 เหตุการณ์   นายเซียง เทียง โยว ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า ประเทศไทย มีสถิติที่โดดเด่นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยปี 2562 มีการบันทึกเหตุการณ์โจมตีมากที่สุดกว่า 1.08 ล้านเหตุการณ์ ตัวเลขดังกล่าวลดลงในช่วงที่เกิดโรคระบาดในปี 2563-2564 อย่างไรก็ตาม ตัวเลขที่พุ่งสูงขึ้นได้บันทึกไว้อีกครั้งล่าสุดในปี 2565   ช่วง 3 ปีที่ผ่านมากลายเป็นบททดสอบที่ยิ่งใหญ่สำหรับภาคธุรกิจ องค์กรทุกขนาดถูกบังคับให้เปลี่ยนลำดับความสำคัญ โดยมุ่งเน้นที่การปลดล็อกเพื่อเปลี่ยนไปสู่การทำงานจากระยะไกล ในขณะที่ยังต้องต่อสู้กับปัญหาเงินเฟ้อ ปัญหาซัพพลายเชน และการลงทุนในแหล่งรายได้ใหม่   อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจหลังแพร่ระบาดดูเหมือนจะได้รับการเตรียมพร้อมอย่างดี สำหรับอนาคตที่สดใสของประเทศไทย โดยปีนี้ รัฐบาลไทยมีเป้าหมายเร่งรัดการลงทุนของรัฐ เพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ กระทรวงการคลังยังคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะขยายตัว 3-4% ในปี 2566 โดยการเติบโตได้แรงหนุนจากแผนรัฐบาลในการเร่งการลงทุนของรัฐในโครงการโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ ขณะที่ ภาพรวมของภัยคุกคามทางไซเบอร์นั้นเกินกว่าที่คาดการณ์ไว้…

‘จีน’ นำหน้า ‘สหรัฐฯ’ ใน ‘เทคโนโลยีสำคัญ’ ถึง 37 จากทั้งหมด 44 แขนง รายงานวิจัยจากออสเตรเลียระบุ

Loading

    หน่วยงานคลังสมองในเครือของรัฐบาลออสเตรเลียระบุในรายงานการวิจัยว่า จีนเป็นผู้นำหน้าใครๆ ในโลกเทคโนโลยีแขนงปัญญาประดิษฐ์ ขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิก โดรน และแบตเตอรี่รถไฟฟ้า ขณะที่สหรัฐฯ ยังครองแชมป์ในแขนงการทำชิป และการประมวลผลของระบบคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง   ประเทศจีนเวลานี้เป็นผู้นำหน้าใครๆ ทั่วโลกในเทคโนโลยีสำคัญๆ ถึง 37 แขนง จากทั้งสิ้น 44 แขนง รวมทั้งทางด้านขีปนาวุธไฮเปอร์โซนิก ปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) โดรน และแบตเตอรี่รถไฟฟ้า ทั้งนี้ ตามรายงานวิจัยของออสเตรเลียที่นำออกเผยแพร่เมื่อเร็วๆ นี้   จีนยังเป็นอันดับ 1 ของโลกในพวกเทคโนโลยีกลาโหม และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับอวกาศ เมื่อพิจารณาจากแง่ของการทำวิจัยซึ่งมีผลกระทบอย่างสูง สถาบันนโยบายทางยุทธศาสตร์ของออสเตรเลีย (Australian Strategic Policy Institute หรือ ASPI) ระบุในรายงานฉบับดังกล่าว   ทั้งนี้ ASPI เป็นหน่วยงานคลังสมองด้านกลาโหมและนโยบายทางยุทธศาสตร์ ซึ่งตั้งฐานอยู่ในกรุงแคนเบอร์รา ก่อตั้งขึ้นโดยรัฐบาลออสเตรเลีย และได้รับเงินทุนจากพวกรัฐบาลต่างประเทศ ตลอดจนพวกบริษัทด้านกลาโหมและเทคโนโลยีด้วย   รายงานฉบับนี้ของ ASPI ระบุอีกว่า จีนยังมีความยอดเยี่ยมในแขนงอื่นๆ…

‘แรนซัมแวร์’ ป่วนข้อมูลธุรกิจ พร้อม ‘จ่าย’ หรือ พร้อม ‘รับมือ’

Loading

    การโจรกรรมข้อมูลโดยกลุ่มแฮ็กเกอร์ที่กระทำการอย่างซับซ้อนกำลังเพิ่มมากขึ้น ทั้งในแง่จำนวนครั้งและขอบเขตการโจมตี   เพียร์ แซมซัน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายดูแลรายได้ บริษัท Hackuity เล่าว่า เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ช่วงปลายปี 2565 มีรายงานว่าเกิดการโจมตีทางไซเบอร์ครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ออสเตรเลียซึ่งกระทบต่อลูกค้าของ Optus บริษัทด้านโทรคมนาคมรวมแล้วกว่า 10 ล้านคน   สำหรับประเทศไทยเองก็พบปัญหาการละเมิดข้อมูลของโรงพยาบาลหลายแห่งรวมถึงกระทรวงสาธารณสุขในช่วงสองปีที่ผ่านมา ทำให้ข้อมูลส่วนตัวของผู้ป่วยรั่วไหลและถูกเรียกค่าไถ่เพื่อนำฐานข้อมูลกลับมาเหมือนเดิม   วันนี้อาชญากรไซเบอร์ เช่น Desorden Group คัดเลือกเหยื่ออย่างพิถีพิถัน โดยมุ่งเป้าไปที่กลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ในเอเชียที่มีช่องโหว่ชัดเจนซึ่งสามารถเจาะระบบได้ง่าย โดยจะลอบดึงข้อมูลจากบริษัทหรือองค์กรให้ตกเป็นเหยื่อ และข่มขู่ว่าจะเผยแพร่ข้อมูลเหล่านั้นหากไม่ยอมจ่ายค่าไถ่   หากไม่ได้รับการตอบกลับ อาชญากรกลุ่มนี้ก็จะทำให้เหยื่อได้รับความอับอายไปทั่ว ปล่อยข้อมูลให้รั่วไหล และยกระดับการกดดันให้เข้มข้นยิ่งขึ้น   “วายร้ายทุกวันนี้ไม่ได้อยากเก็บตัวแบบในอดีต หากแต่พร้อมที่จะป่าวประกาศและเปิดเผยรายละเอียดกับสื่อมวลชนว่าตนเองเจาะเข้าระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ของเหยื่ออย่างไร”   เตรียมพร้อม สกัดภัยไซเบอร์   ปัจจุบัน มีเพียงปัจจัยเดียวเท่านั้นที่ผู้ตกเป็นเป้าหมายสามารถควบคุมได้โดยสมบูรณ์ นั่นก็คือ ความพร้อม (หรือการขาดความพร้อม) ของตนเอง   ช่วงที่โควิดระบาด บริษัทหลายแห่งได้ควบรวมและจัดแจงรายจ่ายทางเทคโนโลยีใหม่ ทั้งได้มีการลงทุนเพื่อปรับธุรกิจให้เป็นระบบดิจิทัล ด้านฝ่ายไอทีก็เน้นไปที่การเปิดใช้ระบบการทำงานจากทางไกล เพื่อให้พนักงานและระบบภายในองค์กรมีความปลอดภัย…