มาเลเซียสั่ง “เมตา-ติ๊กต็อก” จัดทำแผนจัดการ “เนื้อหาอันตราย”

Loading

ทางการมาเลเซียสั่งให้บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีอย่าง เมตา และติ๊กต็อก นำเสนอแผนการต่อสู้กับเนื้อหาที่เป็นอันตรายทางออนไลน์ หลังมีรายงานพบเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมเพิ่มขึ้น บนแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ในประเทศ

แคนาดาเสนอร่างกม.บังคับบ.โซเชียลลบเนื้อหาอันตรายภายใน 24 ชม.

Loading

แคนาดาได้ออกร่างกฎหมายเมื่อวานนี้ (26 ก.พ.) โดยบังคับให้บริษัทโซเชียลมีเดียต้องลบเนื้อหาที่เป็นอันตรายภายใน 24 ชั่วโมง พร้อมเพิ่มบทลงโทษสำหรับการยุยงให้เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ โดยมีโทษสูงสุดถึงจำคุกตลอดชีวิต

กฎหมายเอไอจีน

Loading

  เมื่อเร็ว ๆ นี้ จีนบังคับใช้กฎระเบียบใหม่ล่าสุดเกี่ยวกับเนื้อหาที่สร้างโดยปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) โดยเป็นเวอร์ชันที่อ่อนลงของร่างกฎหมายที่เข้มงวดกว่า ซึ่งพยายามทำให้ประเทศอยู่ในการแข่งขันด้านเอไอ ควบคู่ไปกับการคงไว้ซึ่งการเซนเซอร์เนื้อหาออนไลน์อย่างเด็ดขาด   ความก้าวหน้าที่รวดเร็วของเอไอสำหรับการสร้างคอนเทนต์ ทำให้เกิดความตื่นตระหนกไปทั่วโลก เกี่ยวกับศักยภาพของเทคโนโลยีในการบิดเบือนข้อมูล และการใช้งานในทางที่ผิด ดังเช่นเทคโนโลยี “ดีพเฟค” ที่ทำให้เห็นภาพเสมือนของผู้คนซึ่งพูดในสิ่งที่พวกเขาไม่เคยพูด   บรรดาผู้สันทัดกรณีกล่าวว่า กฎระเบียบใหม่ 24 ข้อของจีน ดูเหมือนจะเป็นมาตรการที่ผ่อนคลายจากร่างข้อบังคับที่เข้มงวด ซึ่งเผยแพร่เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา เนื่องจากรัฐบาลปักกิ่งพยายามสนับสนุนให้คนในประเทศ เข้ามามีส่วนร่วมในอุตสาหกรรมที่สหรัฐมีอิทธิพล   สำหรับกฎระเบียบใหม่ของรัฐบาลปักกิ่ง ซึ่งมีเป้าหมายให้บริการแก่ประชาชนทั่วไป มีข้อกำหนดกับแนวทางสำคัญที่ควรทราบและปฏิบัติตามหลายประการ ไม่ว่าจะเป็น เอไอสำหรับการสร้างคอนเทนต์ ต้องยึดมั่นใน “ค่านิยมหลักของระบบสังคมนิยม” ตลอดจนละเว้นจากการคุกคามความมั่นคงของชาติ และการส่งเสริมการก่อการร้าย ความรุนแรง หรือความเกลียดชังทางชาติพันธุ์   ประการถัดมา ผู้ให้บริการต้องกำกับเนื้อหาที่สร้างโดยเอไอให้ชัดเจน และใช้มาตรการต่าง ๆ เพื่อป้องกันการเลือกปฏิบัติทางเพศ อายุ และเชื้อชาติ เมื่อดำเนินการออกแบบอัลกอริธึม อีกทั้งซอฟต์แวร์ของพวกเขาไม่ควรสร้างเนื้อหาที่มี “ข้อมูลอันเป็นเท็จ และเป็นอันตราย”   นอกจากนี้ โปรแกรมเอไอต้องได้รับการฝึกให้รับแหล่งข้อมูลอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งไม่เป็นการละเมิดสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น และบุคคลต้องให้ความยินยอม…

รัฐบาลมาเลเซียขู่ดำเนินคดีกับเมตา (Meta)

Loading

โลโก้ของเมตา (Meta) ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของเฟซบุ๊ก (Facebook), อินสตาแกรม (Instagram) และวอทแอปส์ (WhatsApp) (Photo by Chris DELMAS / AFP)   มาเลเซียขู่ว่าจะดำเนินการทางกฎหมายกับเมตา (Meta) โดยกล่าวหาว่ายักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีไม่สามารถลบเนื้อหาที่ “ไม่พึงปรารถนา” ออกจากเฟซบุ๊กได้   เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันศุกร์ที่ 23 มิถุนายน 2566 กล่าวว่า หน่วยงานกำกับดูแลด้านการสื่อสารของมาเลเซียเตรียมดำเนินคดีทางกฎหมายกับเมตา (Meta) ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของเฟซบุ๊ก (Facebook)   หน่วยงานภายใต้การกำกับของรัฐบาลกล่าวว่า แพลตฟอร์มเฟซบุ๊กถูกรบกวนด้วยปริมาณที่มากมายของโพสต์ที่เป็นอันตรายในประเด็นต่าง ๆ เช่น เชื้อชาติ, ราชวงศ์, ศาสนา และการพนันออนไลน์ และเมตาล้มเหลวในการคัดกรองเนื้อหาดังกล่าวแม้ว่าจะมีการร้องขอซ้ำแล้วซ้ำเล่า จึงเตรียมดำเนินคดีทางกฎหมายกับบริษัทสหรัฐฯ   “เนื่องจากเมตาไม่ได้ให้ความร่วมมืออย่างเพียงพอ คณะกรรมาธิการจึงไม่มีทางเลือกนอกจากต้องดำเนินการขั้นเด็ดขาดทางกฎหมาย” คณะกรรมาธิการการสื่อสารและมัลติมีเดียของมาเลเซียกล่าวในแถลงการณ์   อย่างไรก็ดี มูลฟ้องยังไม่ได้รับการเปิดเผยว่าเมตาจะถูกดำเนินคดีข้อหาอะไร   ฟาห์มี ฟาดซิล รัฐมนตรีกระทรวงสื่อสารของมาเลเซีย แสดงความคิดเห็นต่อคำแถลงของหน่วยงานกำกับดูแล…

รัฐเท็กซัสออกกฎหมายให้ผู้บริการดิจิทัลขอความยินยอมจากผู้ปกครองก่อนอนุญาตให้ผู้เยาว์สร้างบัญชี

Loading

ภาพประกอบจาก Shutterstock   เมื่อวันพุธ Greg Abbott ผู้ว่าการรัฐเท็กซัสได้ลงนามในร่างกฎหมาย HB 18 ซึ่งกำหนดให้ “ผู้ให้บริการดิจิทัล” (ทั้งโซเชียลมีเดียและบริการออนไลน์อื่น ๆ) จะต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองก่อนอนุญาตให้ผู้ใช้ที่อายุต่ำกว่า 18 ปีสร้างบัญชีผู้ใช้ได้ โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 กันยายน   กฎหมาย HB18 ยังกำหนดให้แพลตฟอร์มออนไลน์จัดการระบบกรองเนื้อหาเพื่อป้องกันไม่ให้เด็กเข้าถึงเนื้อหาที่เป็นอันตราย เช่น การฆ่าตัวตาย ทำร้ายตัวเอง พฤติกรรมการกินอาหารที่ผิดปกติ การใช้สารเสพติด การกลั่นแกล้ง การล่วงละเมิดทางเพศ และภายใต้กฎหมายนี้ผู้ปกครองจะมีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลของผู้เยาว์ในโซเชียลเน็ตเวิร์คเพื่อตรวจสอบและควบคุมพฤติกรรมบนแพลตฟอร์มออนไลน์ของเด็กได้ง่ายมากขึ้น เช่น ป้องกันไม่ให้ซื้อสินค้าทางออนไลน์   อย่างไรก็ตามผู้คนบางส่วนมองว่ากฎหมายดังกล่าวให้สิทธิ์ผู้ปกครองเข้าถึงข้อมูลมากเกินไปจนอาจริดรอนความเป็นส่วนตัวของเด็ก รวมถึงแพลตฟอร์มต่างๆ อาจกลั่นกรองเนื้อหาที่ไม่เป็นอันตรายมากเกินความจำเป็นเพื่อจะหลีกเลี่ยงการละเมิดกฎหมาย   นอกจากรัฐเท็กซัสแล้วตอนนี้รัฐอื่น ๆ ในสหรัฐฯ เช่น รัฐยูทาห์ รัฐลุยเซียน่า ก็กำลังผ่านร่างกฎหมายที่คล้ายกัน และล่าสุดรัฐบาลกลางได้ปรับปรุงกฎหมาย Kids Online Safety Act (KOSA) เพื่อจำกัดกิจกรรมบนโลกออนไลน์ของผู้เยาว์ทั่วประเทศ     ที่มา…