เมื่อเบอร์มือถือ=ตัวตนของเรา

Loading

สำนักงาน กสทช. ตระหนักถึงความสำคัญของการเชื่อมโยงเบอร์มือถือกับชื่อผู้ใช้งานเบอร์มือถือให้มีความถูกต้องตรงกัน จึงได้กำกับดูแลให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือต้องจัดเก็บข้อมูลผู้ใช้บริการ (หรือการลงทะเบียนซิมการ์ด) เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีที่อาจได้รับบริการไม่เป็นไปตามสัญญาที่ตกลงกันไว้     ในวันที่โทรศัพท์มือถือไม่ใช่เพียงแค่อุปกรณ์สื่อสารที่ไว้แค่ใช้โทรติดต่อหากันอย่างเดิม หากแต่ยังเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเชื่อมต่อไปยังโลกทั้งใบ ผ่านแอปพลิเคชันและช่องทางโซเชียลมีเดีย ขณะเดียวกันเบอร์โทรศัพท์ที่ใช้อยู่นั้น ยังเป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งสำหรับการยืนยันตัวตนเพื่อเข้าถึงบริการด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะการทำธุรกรรมด้านการเงินผ่านแอปพลิเคชันของธนาคาร หรือสถาบันการเงินอื่น ๆ ด้วยการกรอกรหัส OTP (One Time Password) ที่จะได้รับผ่านทาง SMS โทรศัพท์และเบอร์มือถือจึงเป็นเสมือนเครื่องมือยืนยันตัวตนในยุคดิจิทัล   เมื่อย้อนเวลาไปในปี 2557 สำนักงาน กสทช. ตระหนักถึงความสำคัญของการเชื่อมโยงเบอร์มือถือกับชื่อผู้ใช้งานเบอร์มือถือให้มีความถูกต้องตรงกัน จึงได้กำกับดูแลให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือต้องจัดเก็บข้อมูลผู้ใช้บริการ (หรือการลงทะเบียนซิมการ์ด) เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้ใช้บริการในกรณีที่อาจได้รับบริการไม่เป็นไปตามสัญญาที่ตกลงกันไว้ หรือแม้แต่การขอคืนเงินค่าใช้บริการ และยังมีประโยชน์ในมิติเชิงสังคมและความมั่นคงของประเทศในกรณีที่หน่วยงานของรัฐต้องนำข้อมูลไปปราบปรามหรือจับกุมผู้กระทำความผิดได้   และต่อมาเมื่อปี 2562 สำนักงาน กสทช. ได้ยกระดับการลงทะเบียนซิมการ์ดโดยให้มีการพิสูจน์ยืนยันตัวตนด้วยอัตลักษณ์ (Biometric) เพื่อป้องกันปัญหาการแอบอ้างหรือสวมสิทธิ์ในการลงทะเบียนซิมการ์ดอันอาจก่อให้เกิดปัญหาต่อผู้ใช้บริการตลอดจนปัญหาสังคมในรูปแบบต่าง ๆ   อย่างไรก็ตาม การเติบโตของการใช้บริการโทรศัพท์มือถือ และความสะดวกสบายที่เพิ่มมากขึ้นจากช่องทางการสื่อสารที่ทันสมัย ก็มาพร้อมกับภัยที่มิจฉาชีพปรับเปลี่ยนวิธีการหลอกลวงให้ทันสมัยเช่นกัน กสทช. จึงได้กำหนดนโยบายจัดระเบียบการลงทะเบียนซิมการ์ดเพิ่มเติม โดยหากกรณีที่ประชาชนต้องการใช้ซิมการ์ดมากกว่า 5 เบอร์ต่อ…