มือถือนายกรัฐมนตรีสเปน ตกเป็นเป้าหมายของสปายแวร์ Pegasus

Loading

  รัฐบาลของประเทศสเปน เปิดเผยว่า โทรศัพท์มือถือของเปโดร ซานเชซ นายกรัฐมนตรีของประเทศ เป็นเป้าหมายของสปายแวร์เพกาซัส (Pegasus spyware) ของบริษัท เอ็นเอสโอ กรุ๊ป (NSO Group) ที่เคยอ้างว่า ซอฟต์แวร์นี้ใช้เฉพาะหน่วยงานรัฐในการติดตามการก่อการร้ายเท่านั้น   ในการแถลงข่าวในช่วงเช้าวันจันทร์ตามเวลาท้องถิ่นของประเทศสเปน มีการเปิดเผยว่า เปโดร ซานเชซ นายกรัฐมนตรีของสเปน ตกเป็นเป้าของสปายแวร์ โดยถูกดูดข้อมูลในช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคม จนถึงเดือนมิถุนายน ปี 2021 ในรายงานยังบอกอีกด้วยว่า มาการิตา โรเบิลส์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ก็ได้รับผลกระทบจากการสอดแนมของสปายแวร์เพกาซัส เช่นกัน   ในเวลานี้ ทางการของสเปน กำลังทำการตรวจสอบเพิ่มเติมว่า คณะรัฐมนตรีของรัฐบาลสเปน ตกเป็นเป้าหมายของสปายแวร์ด้วยหรือไม่   ประเด็นดังกล่าวถูกเปิดเผยขึ้น ท่ามกลางการตั้งคำถามไปที่รัฐบาลสเปนว่า ได้มีการใช้สปายแวร์เพกาซัส เพื่อทำการติดตามโทรศัพท์มือถือของนักเคลื่อนไหวเพื่อเอกราชของแคว้นกาตาลันจำนวนหลายสิบคนหรือไม่   ในช่วงที่ผ่านมา เอ็นเอสโอ กรุ๊ป ซึ่งเป็นผู้พัฒนาสปายแวร์เพกาซัสที่ว่านี้ ยืนยันมาตลอดว่า ซอฟต์แวร์ชุดนี้ถูกพัฒนามาเพื่อจุดประสงค์ด้านการตรวจสอบเหตุการณ์ก่อการร้าย และด้านการป้องกันอาชญากรรม   สำหรับในประเด็นล่าสุดของสปายแวร์เพกาซัส ทางเอ็นเอสโอ…

ศาลผู้ดีเผย เจ้าผู้ครองดูไบใช้สปายแวร์ดักฟังมือถืออดีตชายา

Loading

  ศาลผู้ดีเผย เจ้าผู้ครองดูไบใช้สปายแวร์ดักฟังมือถืออดีตชายา ศาลสูงของอังกฤษพบข้อมูลว่า ชีคมูฮัมหมัด บิน รอชิด อัล มักตูม เจ้าผู้ครองนครดูไบ ซึ่งดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีสหรัฐอาหรับเอ็มเรตส์ (ยูเออี) คนปัจจุบัน ได้แทรกแซงกระบวนการยุติธรรมของอังกฤษ ด้วยการแฮกข้อมูลจากโทรศัพท์ของเจ้าหญิงฮายาแห่งจอร์แดน ซึ่งเป็นอดีตพระชายาของพระองค์ รวมถึงทนายความและทีมงานของเจ้าหญิง ศาลระบุว่าการสั่งให้มีการแฮกข้อมูลดังกล่าวทำขึ้นโดยใช้ซอฟต์แวร์ “เพกาซัส” ซึ่งเป็นของบริษัทอิสราเอลที่ยูเออีมีอยู่ในความครอบครอง โดยซอฟต์แวร์ดังกล่าวมีความสามารถทั้งในการติดตามตัวเป้าหมาย ดักฟังการพูดคุยทางโทรศัพท์ เข้าถึงรายชื่อที่มีการติดต่อ พาสเวิร์ดต่างๆ ตารางนัดหมาย รูปภาพ รวมถึงการอ่านข้อความที่มีการส่งผ่านทางแอพ อีเมล หรือเอสเอ็มเอส ผู้พิพากษาแอนดรู แมคฟาร์เลน ที่มีอาวุโสสูงสุดในศาลครอบครัวของอังกฤษระบุว่า การค้นพบข้อเท็จจริงดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงการละเมิดความเชื่อถือและเป็นการละเมิดอำนาจ ซึ่งถือเป็นการล่วงละเมิดอย่างต่อเนื่องที่ผิดกฎหมายอาญาของอังกฤษ และไม่มีเวลาใดเลยที่แสดงให้เห็นว่าผู้ที่เป็นบิดามีความวิตกกังวลเกี่ยวกับมารดาซึ่งเป็นผู้ดูแลบุตรทั้งสองของพวกเขา แต่การแทรกซึมระบบรักษาความปลอดภัยและการแฮกข้อมูลที่เกิดขึ้นเป็นเพียงความพยายามที่จะหาข้อมูลมาแย้งกับการต่อสู้คดีในศาลจากมุมของผู้เป็นมารดาเท่านั้น เจ้าหญิงฮายาเผยว่า การค้นพบดังกล่าวทำให้พระองค์รู้สึกเหมือนถูกตามล่าและตามหลอกหลอน ขณะที่ทีมทนายของเจ้าหญิงระบุว่า การแฮกข้อมูลมีขึ้นในช่วงเวลาที่เขาติดต่อกับหน่วยราชการอังกฤษ ด้านชีคมูฮัมหมัดออกแถลงการณ์โต้แย้งคำพิพากษาว่าตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์ โดยพระองค์ปฏิเสธข้อกล่าวหาใดๆ ที่มีต่อตัวพระองค์เช่นที่ทำมาตลอด พร้อมกับปฏิเสธว่าพระองค์ไม่ได้สั่งการให้ใครใช้ซอฟต์แวร์ใดๆ ในแนวทางดังกล่าว และทีมกฎหมายของพระองค์ไม่ได้เตรียมพร้อมที่จะมาโต้แย้งในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับประเด็นด้านความมั่นคงของประเทศยูเออี และว่าพระองค์ไม่เคยได้รับทราบในรายละเอียดของสิ่งที่นำมาอ้างเป็นหลักฐาน ดังนั้นวิธีในการพิจารณาคดีจึงอยู่บนพื้นฐานที่ปราศจากความยุติธรรม ทั้งนี้ชีคมูฮัมหมัดและเจ้าหญิงฮายา ได้ต่อสู้กันในศาลเกี่ยวกับสิทธิในการดูแลบุตร 2 คนของทั้งคู่ หลังเจ้าหญิงฮายาหอบลูกหนีอดีตพระสวามีจากยูเออีมายังอังกฤษเมื่อหลายปีก่อน   —————————————————————————————————————————————————-…