ข้อมูลเท็จที่สร้างโดย AI กลายเป็นปัญหาระดับโลก

Loading

“การเผยแพร่ข้อมูลผิดๆ และเฟคนิวส์ โดย AI กำลังกลายเป็นเรื่องธรรมดามากขึ้น” นี่คือคำให้สัมภาษณ์ของ “บิล เกตส์” ผู้ก่อตั้ง “ไมโครซอฟท์” ในรายการ CNBC Make

ดีอี เตือนอย่าแชร์ข่าวปลอมแอปฯ ทางรัฐ ย้ำมีหน้าที่เชื่อมโยงข้อมูลเท่านั้น

Loading

ดีอี เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบข่าวปลอมรายสัปดาห์ พบว่า เรื่องที่ประชาชนให้ความสนใจสูงสุด จะเกี่ยวกับแอปฯ ทางรัฐ

รัฐบาลสกัดข่าวเท็จ ปตท.ปลอมแปลงผลิตภัณฑ์น้ำมันเครื่อง

Loading

รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ออกมาย้ำเตือน ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลที่ผิดพลาด ประเด็นเรื่อง “ปตท. ปลอมแปลงผลิตภัณฑ์น้ำมันเครื่อง” โดยการตรวจสอบข้อเท็จจริงจาก บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) กระทรวงพลังงาน พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น “เป็นข้อมูลเท็จ”

จีนสั่งปิดบัญชีออนไลน์ 34,000 บัญชี ฐานเผยแพร่ ‘ข่าวลือ’

Loading

ตำรวจจีนได้ปิดบัญชีออนไลน์ 34,000 บัญชี และลงโทษผู้คนมากกว่า 6,300 คน ฐานเผยแพร่ข่าวลือ ความเคลื่อนไหวครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของกฏหมายปราบปรามอาชญากรรมไซเบอร์ที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐที่ประกาศใช้ตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา

คิวบาโต้สื่อสหรัฐ ให้จีนเข้ามาตั้ง “ฐานปฏิบัติการสายลับ”

Loading

    รัฐบาลฮาวานากล่าวว่า การที่สื่อหลักของสหรัฐรายงานว่า จีนเตรียมเข้ามาตั้ง “ฐานปฏิบัติการสายลับ” ในประเทศนั้น “เป็นเฟคนิวส์”   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงฮาวานา ประเทศคิวบา เมื่อวันที่ 9 มิ.ย. ว่าจากกรณีเดอะ วอลล์ สตรีท เจอร์นัล และซีเอ็นเอ็น รายงานว่า คิวบาบรรลุข้อตกลงกับจีน ในการให้รัฐบาลปักกิ่งจัดตั้ง “ฐานปฏิบัติการสายลับ” ในประเทศ โดยจะมีการติดตั้งอุปกรณ์สอดแนมอิเล็กทรอนิกส์ “เพื่อสังเกตการณ์” การติดต่อสื่อสาร ทั่วภูมิภาคทางตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐ โดยรัฐบาลปักกิ่งมอบเงิน “หลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐ” เพื่อให้รัฐบาลฮาวานาเป็นผู้ก่อสร้างสถานที่แห่งนั้น   กระทรวงการต่างประเทศคิวบาออกแถลงการณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้ ว่า “ไม่เป็นความจริงอย่างสิ้นเชิง” และสหรัฐ “มักสร้างเรื่องแบบนี้เป็นประจำ” ขณะเดียวกัน คิวบาคัดค้าน “ฐานทัพต่างประเทศ” ในภูมิภาคลาตินอเมริกา รวมถึง “ฐานทัพสหรัฐ”   China will pay Cuba to host a secret spy base, where…

“ชัวร์ หรือ มั่วนิ่ม?” แนะ 10 จุดสังเกต ไม่ตกเป็นเหยื่อ “ข่าวปลอม”

Loading

    ในช่วง 2-3 ปี ที่ผ่านมา “เฟคนิวส์” หรือ “ข่าวปลอม” ได้โผล่ว่อนโซเซียล โดยเฉพาะในช่วงโควิด-19 ระบาด ข่าวปลอมเกี่ยวกับสุขภาพ และเรื่องโควิด   ทำให้ภาครัฐต้องถึงกับมีนโยบายให้แต่ละหน่วยงานภาครัฐตั้งทีมขึ้นมารับผิดชอบเพื่อตรวจสอบข่าวต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ กรม หรือกระทรวง และให้รีบแจ้งประชาสัมพันธ์ถึงข้อเท็จจริงต่อสังคม เพื่อไม่ให้เกิดความตื่นตระหนกและเข้าใจผิด!?!   อย่างไรก็ตาม แม้ว่ารัฐบาล จะมีการประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนอยู่ตลอดเวลา แต่มิจฉาชีพได้ปรับเปลี่ยน รูปแบบกลโกง ให้มีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น ทำให้ยังมีประชาชนตกเป็นเหยื่อสูญเสียเงินให้กับมิจฉาชีพ ซึ่งจากรายงานของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) พบว่า 70% ของข่าวสารที่แพร่กระจายบนโซเชียลมีเดีย คือ ข่าวปลอม!!   ทั้งนี้เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน ให้ตนเองได้รู้ทันข่าวปลอมผ่านสื่อออนไลน์ โดยเฉพาะบนเฟซบุ๊ก ทางกระทรวงดีอีเอส จึงแนะนำให้สังเกตจุดสำคัญ 10 ข้อ ที่มีลักษณะเป็น “ข่าวปลอม”  ดังนี้   1. สงสัยข้อความพาดหัว : ข่าวปลอมมักมีข้อความพาดหัวที่ดึงดูดความสนใจโดยใช้ตัวหนังสือเด่น ๆ และเครื่องหมายอัศเจรีย์…