Facebook ทำเงินจากคุณได้อย่างไร และล้วงข้อมูลอะไรไปบ้าง !?

Loading

  Facebook ทำเงินจากคุณได้อย่างไร และล้วงข้อมูลอะไรไปบ้าง !? ในทุก ๆ วัน มีคนเกือบ 2,000 ล้านคนทั่วโลกที่กำลังไถฟีด Facebook (เฟซบุ๊ก) และในทุก ๆ วันมีกว่า 300 ล้านภาพ ที่ถูกอัปโหลดเก็บไว้บนเฟซบุ๊ก เอาหน่วยย่อยลงมาหน่อย ในทุก 1 นาที มี 590,000 คอมเมนต์ และ 290,000 สเตตัสเกิดขึ้นบนเฟซบุ๊ก เราอาจคิดว่าเราทุกคนกำลังใช้เฟซบุ๊ก แต่แท้จริงแล้วเฟซบุ๊กกำลังใช้เรา 2,895 ล้านคนคือจำนวนของบัญชีผู้ใช้เฟซบุ๊กล่าสุด ณ ปัจจุบัน ถ้าถามถึงสัดส่วนประชากรโลกก็เพียง 36 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นเอง อ้าว! ยังไม่ถึงครึ่งอีกหรอเนี่ย แต่นั่นก็ทำให้เฟซบุ๊กกลายเป็นโซเซียลมีเดียที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดในโลก และคงไม่เกินเลยที่จะกล่าวว่า เฟซบุ๊กเป็นแพลตฟอร์มที่ทรงพลังที่สุด และมีอิทธิพลต่อผู้คนทั่วโลกมากที่สุด รวมทั้งเป็นตัวชี้วัดเศรษฐกิจ สังคม จนไปถึงการเมืองได้เลย   รายได้ล่าสุด เมื่อครองโลกได้ขนาดนี้จึงไม่แปลกใจนัก ที่บริษัทเฟซบุ๊กจะทำเงินมหาศาล โดยตัวเลขล่าสุดในไตรมาสที่ 2 ของปี 2021…

วิธีเปิด Facebook Protect ยืนยันตัวตน เพื่อความปลอดภัย หากไม่ยืนยันจะถูกล็อกบัญชี

Loading

    วิธีเปิด Facebook Protect ยืนยันตัวตน ภายใน 15 วันก่อนถูกล็อกบัญชี เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน facebook ของคุณ ซึ่งเป็นการตั้งค่าให้บัญชี facebook มีความปลอดภัยขึ้นระดับสูงสุด หากคุณไม่ยอมตั้งค่าเปิดใช้งาน Facebook Protect ภายในเวลาที่กำหนด บัญชีของคุณจะถูกล็อก ไม่สามารถเข้าสู่ระบบของ facebook ได้ทันที จะบังคับให้ไปตั้งค่าเปิด Facebook Protect ให้เรียบร้อย   วิธีเปิด Facebook Protect บนแอป Facebook   แตะที่ไอคอน เมนู >> เลือก การตั้งค่าและความเป็นส่วนตัว >> เลือก การตั้งค่า แล้วเลือกที่ รหัสผ่านและการรักษาความปลอดภัย เลือกที่ Facebook Protect (สังเกตระบุว่า ยังปิดอยู่)   จะขึ้นข้อความแนะนำบริการ Facebook Protect ให้แตะที่ ถัดไป…

ไขข้อสงสัย!! Facebook Protect คืออะไร?? ต้องเปิดใช้งาน ไม่นั้นจะใช้งานเฟซบุ๊กไม่ได้

Loading

  เมื่อวานนี้หลาย ๆ คนคงจะได้รับการแจ้งเตือนจาก Facebook ให้เปิดใช้งาน Facebook Protect ซึ่งเป็นฟีเจอร์ความปลอดภัยของเฟซบุ๊ก​ (Facebook) ที่บังคับให้ผู้ใช้เปิดใช้งาน มิเช่นนั้นผู้ใช้จะไม่สามารถใช้บริการเฟซบุ๊กได้จนกว่าจะเปิดใช้งาน Facebook Protect ซึ่งก็มีผู้ใช้หลาย ๆ คนที่วิตกกังวล ว่าควรเปิดใช้งานดีหรือไม่ วันนี้เรามาทำความรู้จักกับ Facebook Protect กันดีกว่า ว่าตกลงแล้วคืออะไร??     เดิมทีเมื่อปีที่แล้ว Facebook Protect มีให้บริการในเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกาเท่านั้น ซึ่งจะมุ่งเน้นไปที่บัญชีของนักการเมือง พรรคการเมือง หน่วยงานราชการ กรรมการการเลือกตั้ง และผู้ใช้ที่เป็นเจ้าของเพจที่ได้รับการรับรอง (เครื่องหมายถูกสีฟ้า) ที่มีส่วนร่วมในกระบวนการการเลือกตั้ง ที่มีการกำหนดว่าผู้ใช้จะเป็นที่จะต้องตั้งค่าการยืนยันตัว 2 ขั้นตอน และเปิดให้เฟซบุ๊กสามารถมอนิเตอร์การใช้งานเพื่อตรวจสอบพฤติกรรมที่ผิดปกติเพื่อป้องกันการโดนแฮกนั่นเอง     ซึ่งก่อนหน้านี้ก็ได้มีรายงานจาก Axios ว่าในปี 2021 นี้ เฟซบุ๊กจะมีการขยายประเทศที่ให้บริการ Facebook Protect กับประเภทบัญชีที่กว้างมากยิ่งขึ้น นั่นจึงเป็นสาเหตุให้ผู้ใช้บางคนในประเทศไทยได้รับการแจ้งเตือนดังกล่าว ซึ่งถ้าไม่เปิดใช้งานภายใน 15 วัน…

หน่วยงานกึ่งอิสระ ชี้ เฟสบุ๊คมีระบบวีไอพี ให้คนดัง-นักการเมือง รอดระบบคัดกรองเนื้อหา

Loading

  Oversight Board คณะกรรมการที่เป็นหน่วยงานกึ่งอิสระ ซึ่งทำหน้าที่ทบทวนตรวจสอบนโยบายต่างๆ ของสื่อสังคมออนไลน์เฟสบุ๊ค (Facebook) ออกมาวิจารณ์สื่อสังคมออนไลน์ชั้นนำแห่งนี้ว่า มีมาตรฐานแตกต่างให้กับบัญชีของบุคคลมีชื่อเสียงและนักการเมือง ให้ไม่ต้องเข้าสู่ระบบคัดกรองเนื้อหาในสื่อสังคมออนไลน์เหมือนกับบัญชีผู้ใช้ทั่วไปได้ ตามรายงานของรอยเตอร์ ทาง Oversight Board ระบุในบล็อกด้วยเมื่อวันพฤหัสบดี (21 ตุลาคม) ว่า เฟสบุ๊คไม่ได้เปิดเผยตรงไปตรงมาในเรื่องระบบที่เรียกว่า ‘Cross-Check’ ซึ่งเป็นระบบที่ทางเฟสบุ๊คใช้ตรวจสอบคัดกรองเนื้อหาของบัญชีบุคคลที่มีชื่อเสียง ก่อนหน้านี้ สื่อเดอะ วอลล์ สตรีท เจอร์นัล รายงานเรื่องระบบสองมาตรฐานของเฟสบุ๊ค และว่ามีบัญชีราว 5.8 ล้านบัญชีที่อยู่ภายใต้ระบบ ‘Cross-Check’ ดังกล่าว ซึ่งทางโฆษกของเฟสบุ๊ค แอนดี สโตน กล่าวกับสื่อเดอะ วอลล์ สตรีท เจอร์นัล ว่าระบบ ‘Cross-Check’ ออกแบบมาเพื่อเหตุผลสำคัญ คือการสร้างขั้นตอนเพิ่มเติมที่เฟสบุ๊คจะสามารถบังคับใช้นโยบายกับเนื้อหาที่ต้องการความเข้าใจมากขึ้น ทาง Oversight Board ยืนยันว่า เฟสบุ๊คปกปิดการมีอยู่ของระบบ ‘Cross-Check’ นี้ โดยระบุว่า เมื่อเฟสบุ๊คอ้างถึงกรณีที่เกี่ยวข้องกับบัญชีสื่อสังคมออนไลน์ของอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์กับทางคณะกรรมการ ทางเฟสบุ๊คไม่ได้กล่าวถึงระบบ ‘Cross-Check’…

แคสเปอร์สกี้เตือนระวังทูลร้าย ใช้อีเมลแอดเดรสเชื่อมโยงบัญชี Facebook แนะผู้ใช้เปลี่ยนพาสเวิร์ด

Loading

  นายเดนิส เลเกโซ นักวิจัยอาวุโสด้านความปลอดภัยไซเบอร์ ทีมวิเคราะห์และวิจัยระดับโลก (GReAT) ของแคสเปอร์สกี้ กล่าวถึงกระแสข่าวเรื่องทูลที่สามารถรวบรวมอีเมลของผู้ใช้งานเฟซบุ๊กและเชื่อมโยงเข้ากับบัญชี ว่า ทูลนี้ช่วยให้สามารถเชื่อมโยงที่อยู่อีเมลกับบัญชีเฟซบุ๊ก แม้ว่าผู้ใช้หรือกลุ่มบนเฟซบุ๊กจะตั้งค่าเลือก “ไม่แสดงอีเมลแอดเดรส” วิธีการป้อนรายชื่ออีเมลแอดเดรสจำนวนมาก จะสามารถโจมตีบัญชีเฟซบุ๊กแบบ brute-force เพื่อค้นหาว่าอีเมลแอดเดรสใดลงทะเบียนกับชื่อบัญชีใด ฐานข้อมูลเหล่านี้สามารถนำไปใช้เพิ่มเติมเพื่อวัตถุประสงค์ที่ผิดจริยธรรมและผิดกฎหมายต่างๆ เช่น การก่อกวนหรือกลั่นแกล้งในโลกออนไลน์ เนื่องจากบัญชีโซเชียลมีเดียมีข้อมูลส่วนบุคคลจำนวนมาก ด้วยช่องโหว่ส่วนเสริมหน้านี้ ผู้โจมตีสามารถเพิ่มฐานข้อมูลของตนได้ ตัวอย่างเช่น สามารถเพิ่มชื่อเต็มและข้อมูลอีเมลแอดเดรสที่เชื่อมโยงกับบัญชีเฟซบุ๊กเหล่านี้ได้ แคสเปอร์สกี้ขอแนะนำว่า หากผู้ใช้เฟซบุ๊กกังวลเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว ควรลงทะเบียนบัญชีโซเชียลมีเดียกับอีเมลแอดเดรสที่ไม่ได้เชื่อมโยงกับบัญชีอื่น มีบริการเฉพาะที่เปิดใช้งานรูปแบบนี้และจะป้องกันไม่ให้อาชญากรไซเบอร์ใช้ข้อมูลดังกล่าวได้หากมีการรั่วไหล   ———————————————————————————————————————————- ที่มา : TechTalkThai    / วันที่เผยแพร่  26 เม.ย.2564 Link : https://www.techtalkthai.com/guest-post-kaspersky-facebook-email/

‘เกาหลีใต้’ จ่อฟ้องเฟซบุ๊ค ปล่อยข้อมูลส่วนตัวรั่ว

Loading

    กลุ่มผู้ใช้งานเฟซบุ๊ค ในเกาหลีใต้ เตรียมรวมตัวฟ้อง ฐานปล่อยให้ข้อมูลผู้ใช้งานรั่วไหลไปยังบริษัทอื่น ๆ โดยไม่ได้รับอนุญาต บริษัทกฎหมายจีฮยางและศูนย์ข้อมูลจินโบ ซึ่งเป็นหน่วยงานให้ความช่วยเหลือทางด้านกฎหมายการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล อยู่ในระหว่างรวบรวมข้อมูลจากผู้ร้องทุกข์ที่ต้องการฟ้องเฟซบุ๊คจนถึงสิ้นเดือน พ.ค. เมื่อเดือน พ.ย. 2563 คณะกรรมการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลแห่งเกาหลีใต้ (PIPC) ระบุว่า เฟซบุ๊คได้ละเมิดกฎหมายของเกาหลีใต้ด้วยการส่งมอบข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานอย่างน้อย 3.3 ล้านคน จากจำนวนผู้ใช้งานทั้งสิ้น 18 ล้านคนให้กับบุคคลที่ 3 ตั้งแต่เดือนพ.ค. 2555 ถึงเดือนมิ.ย. 2561 ข้อมูลดังกล่าวประกอบไปด้วยประวัติการศึกษา อาชีพ สถานที่เกิด และสถานภาพความสัมพันธ์ รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับเพื่อนของผู้ใช้งาน ซึ่งทางหน่วยงานได้สั่งปรับเฟซบุ๊คเป็นเงิน 6.7 พันล้านวอน (6 ล้านดอลลาร์) และยื่นคำฟ้องคดีอาญาฐานปล่อยให้ข้อมูลรั่วไหล บริษัทกฎหมายจีฮยางระบุว่า “สิทธิในการตัดสินใจใช้ข้อมูลส่วนบุคคลควรที่จะต้องมีกฎหมายคุ้มครองอย่างเข้มงวด ในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของสิทธิมนุษยชน” พร้อมกล่าวว่า การกระทำของเฟซบุ๊คถือเป็นปัญหาที่ร้ายแรง รายงานระบุว่า มีผู้ใช้งานเฟซบุ๊คกว่า 500 ล้านคนทั่วโลกที่ประสบปัญหาดังกล่าว ส่งผลให้ประชาชนตั้งคำถามถึงระบบการรักษาความปลอดภัยทางข้อมูลของเฟซบุ๊ค   ——————————————————————————————————————————————– ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ …