ผวา! ลูกค้า Ticketmaster โดนแฮ็กข้อมูล 560 ล้านรายทั่วโลก

Loading

“ชายนี่ฮันเตอร์“ อ้างแฮ็กข้อมูลส่วนตัว ที่อยู่ อีเมล เบอร์โทรศัพท์และข้อมูลบัตรเครดิตลูกค้า “ทิกเก็ตมาสเตอร์“ กว่า 560 ล้านรายทั่วโลก

’สกมช.‘ ชี้ปี 67 แรนซัมแวร์ยังป่วน ล็อคเป้าโจมตีหนีไม่พ้นรัฐ-เอกชน

Loading

ในปีที่ผ่านมา มีเหตุการณ์ที่ถูกกลุ่มแฮ็กเกอร์ดัง ที่ชื่อ ล็อคบิท และกลุ่มอื่น ๆ ทำการแฮ็กระบบของหน่วยงานรัฐ และเอกชน ในประเทศไทยประมาณ 30 ครั้ง โดยทาง สกมช. ได้เฝ้าติดตามในดาร์กเว็บ โดย กลุ่ม ล็อคบิท นี้ ได้มีการเรียกค่าไถ่หน่วยงานในไทยมีมูลค่าประมาณ 1,000 ล้านบาท

“การลักพาตัวไซเบอร์” สแกมรูปแบบใหม่ ที่นักศึกษาจีนในหลายประเทศกำลังตกเป็นเหยื่อ

Loading

GETTY IMAGES   สถานทูตจีนในกรุงวอชิงตัน ออกประกาศเตือนพลเมืองชาวจีนในสหรัฐฯ โดยเฉพาะนักศึกษา ว่าให้ระมัดระวัง “การลักพาตัวเสมือนจริง”   สถานทูตออกแถลงการณ์ดังกล่าวหลังจาก ไค จวง นักศึกษาชาวจีนวัย 17 ปี ที่ถูกรายงานว่าหายตัวไป ถูกพบอย่างปลอดภัยภายในแคมป์ชั่วคราวในเขตรกร้างห่างไกลผู้คนของรัฐยูทาห์ เมื่อวันที่ 31 ธ.ค. ที่ผ่านมา   พ่อแม่ของไคบอกกับเจ้าหน้าที่โรงเรียนว่า พวกเขาได้รับข้อความพร้อมภาพถ่ายที่ระบุว่า ลูกชายถูกลักพาตัวพร้อมกับคำเรียกร้องเงินค่าไถ่   จากข้อมูลของตำรวจ ระบุว่า ผู้ตกเป็นเหยื่อของการลักพาตัวทางไซเบอร์ มักถูกโน้มน้าวให้แยกตัวออกมาอยู่ลำพัง พร้อมกับถ่ายภาพให้ดูเหมือนว่ากำลังถูกจับ ถึงแม้ว่าผู้ก่อการลักพาตัวจะไม่ได้อยู่ตรงนั้นด้วยก็ตาม โดยเหยื่อจะถูกติดตามผ่านเฟซไทม์หรือสไกป์แทน   ทั้งเหยื่อและครอบครัวต่างถูกทำให้เชื่อว่าอีกฝ่ายจะได้รับอันตราย หากพวกเขาไม่ยอมทำตาม   ครอบครัวของไคถูกหลอกให้จ่ายเงินค่าไถ่ประมาณ 80,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 2.8 ล้านบาท เข้าบัญชีธนาคารแห่งหนึ่งในประเทศจีน จากข้อมูลของตำรวจท้องถิ่น   การลักพาตัวเสมือน (virtual kidnapping) คืออะไร   RIVERDALE POLICE DEPARTMENT ไค…

ตำรวจสหรัฐพบนักเรียนจีนในป่า หลังถูก “ลักพาตัวทางไซเบอร์” เรียกค่าไถ่

Loading

นักเรียนแลกเปลี่ยนชาวจีนคนหนึ่ง ซึ่งตกเป็นเหยื่อของการหลอกลวง “ลักพาตัวทางไซเบอร์” จนทำให้ผู้ปกครองของเขาถูกกรรโชกทรัพย์เป็นเงิน 80,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ราว 2.7 ล้านบาท) ถูกพบว่ายังมีชีวิตอยู่ แต่เขา “หนาวและหวาดกลัว” อยู่ในเต็นท์กลางป่าของรัฐยูทาห์

พ่อแม่ระวังให้ดี! มิจฉาชีพใช้ AI เลียนเสียง หลอกว่าลูกโดนจับเรียกค่าไถ่

Loading

  กลใหม่ มิจฉาชีพใช้ AI เลียนเสียง หลอกว่าลูกโดนเรียกค่าไถ่ พ่อแม่ – ผู้ปกครอง ต้องระวังให้ดีก่อนตกเป็นเหยื่อเสียเงินไม่รู้ตัว จากกรณีที่ มิจฉาชีพ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ กำลังระบาดอย่างหนัก มีหลอกลวงให้หลงเชื่อในรูปแบบต่างๆ เช่น อ้างชื่อหน่วยงานภาครัฐ หรือการส่ง SMS หลอกลวง ล่าสุดมิจฉาชีพมีการหลอกลวงรูปแบบใหม่ มีการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI (Artificial intelligence) เลียนเสียงนักศึกษาหรือผู้เสียหาย หลอกให้ผู้ปกครองหลงเชื่อว่านักศึกษาถูกเรียกค่าไถ่ พร้อมขู่โอนเงินเรียกค่าไถ่ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) แจ้งเตือนภัยขอให้ผู้ปกครองอย่าหลงเป็นเหยื่อแก๊งคอลเซ็นเตอร์ใช้รูปแบบพฤติการณ์เรียกค่าไถ่เสมือน โดยมิจฉาชีพจะโทรศัพท์หาพ่อแม่หรือผู้ปกครอง พร้อมส่งรูปบุตรหลานไปยังพ่อแม่หรือผู้ปกครอง และมิจฉาชีพจะหลอกว่าลูกหลานถูกเรียกค่าไถ่ โดยกลุ่มเป้าหมายของกลมิจฉาชีพ AI เลียนเสียง มี 2 กลุ่ม 1. นักศึกษาที่ตั้งใจเรียนดี อยู่เพียงลำพัง ในระดับชั้นอุดมศึกษา 2. ผู้ปกครอง   วิธีการของคนร้าย ใช้ AI เลียนเสียง หลอกว่าลูกโดนเรียกค่าไถ่ ทำยังไง ?…

สหรัฐเจอฤทธิ์แก๊งโจรไซเบอร์รัสเซีย เจาะระบบผ่านแอปโอนถ่ายข้อมูล

Loading

  หน่วยงานราชการของสหรัฐอเมริกาหลายแห่ง โดนโจมตีจากแก๊งอาชญากรไซเบอร์จากรัสเซีย โดยอาศัยช่องทางผ่านแอปพลิเคชันดาวน์โหลดข้อมูลยอดนิยม   เอริก โกลด์สตีน ผู้ช่วยผู้อำนวยการบริหารสำนักความมั่นคงโครงสร้างพื้นฐานและการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของสหรัฐ หรือ CISA แถลงเมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 2566 ว่า ขณะนี้ ทางสำนักงานกำลังให้ความช่วยเหลือแก่หน่วยงานราชการของรัฐบาลกลางหลายแห่ง ที่พบการบุกรุกจากภายนอก โดยผ่านช่องทางการใช้งานแอปพลิชัน MOVEit   สำนักงาน CISA กำลังประเมินอย่างเร่งด่วนถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น และแสดงความมั่นใจว่าจะสามารถแก้ไขได้อย่างทันท่วงที หนึ่งในหน่วยงานที่ยืนยันมาแล้วว่าโดนแฮ็กระบบคือกระทรวงพลังงาน   นอกเหนือจากหน่วยงานราชการหลายแห่งแล้ว ยังมีบริษัทและองค์กรเอกชนจำนวนมากที่โดนแฮ็กข้อมูลผ่านแอปพลิเคชันดังกล่าว ทาง CISA ระบุว่า แก๊งอาชญากรไซเบอร์ที่ชื่อว่า CLOP เป็นผู้ลงมือโจมตีไปทั่วโลกในครั้งนี้   CLOP เป็นแก๊งอาชญากรไซเบอร์จากรัสเซีย มีพฤติกรรมการก่ออาชญากรรมในลักษณะของการแฮ็กเข้าระบบของหน่วยงานแล้วขโมยข้อมูล จากนั้นก็นำไปเรียกค่าไถ่ซึ่งมักจะอยู่ในระดับหลายล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ ยังไม่ปรากฏการเรียกร้องในลักษณะดังกล่าวต่อหน่วยงานราชการของสหรัฐ   เจน อีสเตอร์ลีย์ ผู้อำนวยการของ CISA กล่าวว่า ยังไม่พบผลกระทบที่ก่อให้เกิดปัญหาใหญ่ในหน่วยงานราชการที่เป็นกิจการของพลเรือน และเสริมว่า กลุ่มแฮ็กเกอร์เพียงใช้ช่องโหว่ในซอฟต์แวร์ เจาะเข้ามาในระบบเครือข่ายเพื่อมองหาโอกาสที่เป็นไปได้ในการก่ออาชญากรรม   การแฮ็กระบบทั่วโลกครั้งใหญ่นี้เริ่มต้นราว…