ไมโครซอฟท์แฉ แฮ็กเกอร์อิหร่านเล็งเจาะบัญชีทีมหาเสียงปธน.สหรัฐ หวังป่วนเลือกตั้ง

Loading

ทีมนักวิจัยจากไมโครซอฟท์ (Microsoft) เปิดเผยในวันนี้ (9 ส.ค.) ว่า แฮ็กเกอร์ที่เชื่อมโยงกับรัฐบาลอิหร่านพยายามเจาะระบบบัญชีของ “เจ้าหน้าที่ระดับสูง” ในทีมหาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐเมื่อเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมา โดยเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นหลังจากที่แฮ็กเกอร์สามารถเจาะระบบบัญชีของเจ้าหน้าที่รัฐบาลท้องถิ่นระดับเคาน์ตีได้สำเร็จเมื่อไม่กี่สัปดาห์ก่อนหน้า

ชาวอเมริกันเข้าคูหาเลือกตั้งกลางเทอม – ยังไม่มีรายงานเหตุรุนแรง

Loading

A poll worker prepares “I voted” stickers for voters at the City Clerk’s Office ahead of the midterm election in Lansing, Michigan, U.S., Nov. 7, 2022.   ชาวอเมริกันหลายล้านคนเดินเข้าคูหาเลือกตั้งกลางเทอมในวันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน เพื่อเลือกสมาชิกรัฐสภา ผู้ว่าการรัฐและสมาชิกรัฐสภาส่วนท้องถิ่นในหลายรัฐทั่วประเทศ ท่ามกลางความกังวลด้านความปลอดภัยและการแทรกแซงต่าง ๆ แต่จนถึงขณะนี้การเลือกตั้งยังคงเป็นไปด้วยความราบรื่น   เจ้าหน้าที่จากหลายหน่วยงานของรัฐบาลกลางและรัฐบาลส่วนท้องถิ่นต่างเตรียมพร้อมรับมือเหตุฉุกเฉินต่าง ๆ ตั้งแต่การลอบโจมตีทางไซเบอร์ส การกระทบกระทั่งของกลุ่มที่มีความเห็นขัดแย้งทางการเมือง และการเผยแพร่ข้อมูลผิด ๆ ที่อาจทำให้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งประสบความยากลำบาก เช่น ไปคูหาผิด เป็นต้น   อย่างไรก็ตาม จนถึงขณะนี้ยังไม่มีรายงานความขัดแย้งหรือความรุนแรงเข้ามามากนัก มีเพียงปัญหาทางเทคนิคเล็ก ๆ น้อย ๆ ตามคูหาเลือกตั้งต่าง ๆ…

การทดลองเผย แพลตฟอร์มยักษ์ใหญ่ล้มเหลวในการกรองข้อมูลเท็จเกี่ยวกับการเลือกตั้งสหรัฐฯ

Loading

  Global Witness องค์กรไม่แสวงหากำไรด้านสิทธิมนุษยชน และทีมงาน Cybersecurity for Democracy (C4D) แห่งมหาวิทยาลัยนิวยอร์กเผยว่า Facebook และ TikTok ล้มเหลวในการขัดขวางโฆษณาที่เผยแพร่ข้อมูลเท็จเกี่ยวกับการเลือกตั้งกลางเทอมของสหรัฐอเมริกาที่จะมีขึ้นในเดือนพฤศจิกายน   โดย Global Witness ได้ทำการทดสอบมาตรการป้องกันการเผยแพร่ข้อมูลเท็จบนโซเชียลมีเดีย ด้วยการสร้างบัญชีปลอมบน Facebook, TikTok และ YouTube จากนั้นใช้บัญชีเหล่านี้สร้างโฆษณาทั้งในภาษาอังกฤษและสเปน   ทางองค์กรระบุว่าโฆษณาแต่ละตัวมีเนื้อหาที่เป็นข้อมูลเท็จอย่างชัดเจน อย่างการอ้างว่าคนที่จะไปเลือกตั้งได้ต้องฉีดวัคซีนก่อน หรืออ้างว่าต้องโหวต 2 ครั้งถึงจะมีความหมาย โฆษณาบางตัวก็ใส่วันที่ของการเลือกตั้งแบบผิด ๆ   พื้นที่เป้าหมายของโฆษณาเหล่านี้คือรัฐที่มีการแข่งขันกันอย่างสูสีระหว่างพรรคการเมืองใหญ่ ได้แก่ แอริโซนา โคโลราโด จอร์เจีย นอร์ทแคโรไลนา และเพนซิลเวเนีย   ผลก็คือมีเพียง YouTube เท่านั้นที่สามารถปิดกั้นโฆษณาทั้งหมด รวมถึงยังสามารถบล็อกบัญชีที่สร้างโฆษณาเท็จได้ด้วย   ในทางกลับกัน ในการทดลองครั้งแรก Facebook อนุมัติถึงร้อยละ 20 ของโฆษณาปลอมที่เป็นภาษาอังกฤษ และอนุมัติครึ่งหนึ่งของโฆษณาภาษาสเปน ในขณะที่การทดลองใหม่อีกครั้ง…